วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สาบเสือ

สาบเสือ




สาบเสือ
ฃื่ออังกฤษ: Bitter bush, Siam weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odoratum (L.) R.M.King & H.Rob.
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)




ชื่อท้องถิ่น

ในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละแห่ง เช่นช้าผักคราด ไช้ปู่กอ ชิโพกวย เซโพกวย บ่อโส่ บ้านร้าง เบญจมาศ ผักคราด ผักคราดบ้านร้าว ฝรั่งรุกที่ ฝรั่งเหาะ พาทั้ง เพาะจีแคมนทน มุ้งกระต่าย ยี่สุ่นเถื่อน รำเคย เส้โพกวย หญ้าค่าพั้ง หญ้าดงร้าง หญ้าดอกขาว หญ้าฝรั่งเศส หญ้าพระศิริไอยสววค์ หญ้าเมืองวาย หญ้าเมืองฮ้าง หญ้าลืมเมือง หญ้าเลาฮ้าง หญ้าเหม็น หนองเส้นเปรง หมาหลง หญ้าเสือหมอบ ฝรั่งเหาะ ฝรั่งรุกที่ หญ้าครกขาว หญ้าเมืองงาย




สาบเสือ เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่หาง่ายมากมีอยู่ทั่วไป จัดว่าเป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ประโยชน์ได้ดีที่เดียว เราใช้" ต้นสาบเสือ" เป็นดรรชีชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ เพราะหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอก สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ ก็เพราะว่าดอกของมันไม่มีกลิ่นหอมเลยแต่กลับมีกลิ่นสาบ คนโบราณเวลาหนีสัตว์ร้ายอื่นเข้าดงสาบเสือจะปลอดภัย เพราะสัตว์อื่นนั้นจะไม่ได้กลิ่นคน



สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม




ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร




ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน








ดอก
ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม




ลักษณะผล
ผลแห้ง ไม่แตก ลักษณะเป็นเส้นยาวแบน มีขน



ถิ่นกำเนิด
สาบเสือ เป็นวัชพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนใต้ของฟลอริดาจนถึงพื้นที่ตอนเหนือของอาร์เจนตินา ระบาดไปทั่วเขตร้อนของโลกทุกทวีป ยกเว้นการระบาดเข้าไปในทวีปออสเตรเลียซึ่งเพิ่งจะพบเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาภายใน 10 ปีที่ผ่านมา




สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้




ต้น
เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง แล้วนอกจากนี้
ทั้งต้น มีกลิ่นแรง เป็นยาฆ่าแมลง ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วย ถ้าใช้แต่น้อยเป็นน้ำหอมได้




ใบ
ใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กระอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซากูรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย



ใบ ตำผสมกับปูนพอกห้ามเลือด ตำปิดแผลเป็นยาสมานแผลที่ดี ทั้งต้น มีกลิ่นแรง เป็นยาฆ่าแมลง ถ้าใช้แต่น้อยเป็นน้ำหอมได้ ใบ ตำผสมเกลือ พอกแผลห้ามเลือด ใบและดอก ตำบีบน้ำทาห้ามเลือด สาร 4, 5, 6, 7 tetramethoxyflavone และแคลเซียม ที่พบในใบทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น สารสกัดจากกิ่งและใบด้วยคลอโรฟอร์มและอะซีโตนมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Bacillus subtilis ซึ่งทำให้เกิดหนอง



ดอก
เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้ ทั้งต้น
เป็นยาแก้บาดทะยัก และซอยที่ แผล
ราก
ผสมกับรากมะนาวและรากย่านาง ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ป่า




การแพร่กระจาย
ขึ้นทั่วไปทั้งในสภาพดินชื้นหรือ แห้ง แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้าง ว่างเปล่า และตามที่มีแสงแดดมากๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=261



ต้นสาบเสือนี้ พ่อมังกร และแม่ละม่อมของพลอยโพยม  เรียกว่าต้นหมาหลง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น