ปลาตะโกก คละ...ปลากระสูบ
ปลาตะโกก
ชื่อสามัญปลาตะโกก ปลาโจก
ชื่อสามัญ อังกฤษ: Soldier river barb
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ลักษณะทั่วไป
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ประเภทมีเกล็ดอยู่ในวงศฺ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวสีขาวเงินแกมสีน้ำเงินอมฟ้าด้านข้างแบน ด้านใต้ลำตัวมีสีเงินอมขาว หัวเล็กแหลม ปากเล็กและอยู่คล้อยมาใต้จะงอยปาก มีหนวด 2 คู่ หรือ 4 เส้น อยู่ริมฝีปาก บริเวณแก้มมีตุ่มเม็ดเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว แต่ละแถวขนานกันดูเหมือนเส้นขนาน ตุ่มเหล่านี้เป็นอวัยวะรับความรู้สึก เกล็ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ สีเงิน เส้นข้างตัวสมบูรณ์ ปลายของท่อเส้นข้างตัวแยกออกเป็นสองแฉกหรือสามแฉก
ครีบหลังและครีบท้องมีจุดประสีดำบางๆหรือหนาทึบ ครีบหลังยกสูงหางคอด ครีบหางเว้าลึก แยกเป็นสองแฉกเว้าลึก ครีบต่าง ๆ สีเทาจาง
นิสัย -ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก
เมื่อ2 ปีมาแล้วคอนไปถ่ายภาพปลาตูนี้ ลำบากมากเพราะลักษณะไฟที่ส่องในตู้ มัว ๆ ครึ้ม ๆ
(เพิ่งนึกออกว่า คงเป็นการสร้างบรรยากาศให้ปลาตะโกก เหมือนได้อยู่ในที่น้ำขุ่น ๆ ละกระมัง)
อาหาร-ปลาตะโกกหากินตามพื้นดินท้องน้ำ สัตว์หน้าดิน กินพวกตัวอ่อนของหนอนและหอยน้ำจืด ปู สาหร่ายสีเขียวและสาหร่ายสีน้ำตาลโดยอาหารของปลาตะโกกเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลแต่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกหอยสองฝา
ขนาด-พบทั่วไปยาว 30-40 ซ.ม. แต่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาวถึง 80 ซ.ม.
ประโยชน์-เนื้อมีรสดี ราคาแพง นิยมนำมาทำเป็นอาหารประเภทต้มยำ
สมัยพลอยโพยมเด็ก ๆ หากพบปลาตะโกก ตัวเล็ก ๆ ก็มักเข้าใจผิดว่าเป็นปลาสร้อย แต่ถ้าจับปลา 2 ชนิดมาเรียงเทียบกัน ก็จะรู้ว่า ตอนเด็ก ๆ ขาดความสังเกตุจึงแยกไม่ออก เผอิญภาพนี้ ปลาตะโกก 2 ตัวล่าง ใหญ่กว่าปลาสร้อย 2 ตัวบนมาก ก็จะเห็นความแตกต่างได้ชัด
ว่ายเรียงเคียงคู่ ดูน่ารักนักหนา ปลาตะโกก และปลากระสูบ
ปลาตะโกก
ที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ ของกรมประมงเลี้ยงปลาตะโกกอยู่ร่วมตู้กับปลากระสูบ
ปลากระสูบมีจำนวนน้อยกว่าปลาตะโกก แต่ ก็ดูสมานฉันท์กลมเกลียวกันดี ว่ายเสียดสีกันบ้าง แต่ไม่มีปัญหา
ปลากระสูบตัวนี้ดูราวดาวล้อมเดือนด้วยปลาตะโกกอย่างนั้นเลยทีเดียว
ปลากระสูบจุด
ปลากระสูบจุด
ชื่อสามัญกระสูบจุด
ชื่อสามัญ อังกฤษ Eye-spot barb, Spotted hampala barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampala dispar
วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinida
วงศ์ย่อย Cyprininae
ปลากระสูบจุด
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งรวมฝูงอยู่ในวงค์เดียวกับปลาตะเพียน สกุลเดียวกับปลากระสูบขีด รูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกันมากแต่มีขนาดเล็กกว่า
มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีแดงเรื่อ
ลักษณะที่แตกต่างไปจากปลากระสูบขีดก็คือ ครีบหางเล็กและสั้น แฉกบนของครีบหางใหญ่กว่าแฉกล่าง หนวดที่ริมฝีปากบนสั้นมาก ลักษณะเด่นอยู่ที่มีจุดสีดำขนาดใหญ่อยู่กลางลำตัวข้างละจุด หางมีสีแดงเหมือนปลากระสูบขีด แต่ริมแฉกบนและล่างไม่มีแถบสีดำ
ปลากระสูบจุด
ภาพจาก http://www.siamensis.org/taxonomy/term/818/0
นิสัย เป็นปลานักล่า
ถิ่นอาศัย -ในแม่น้ำลำคลองทุกภาคของประเทศ ลำคลองหนองและบึงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี หนองหานจังหวัดสกลนคร แม่น้ำศรีสงครามจังหวัดนครพนม ห้วยหลวงจังหวัดอุดรธานี
และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว
อาหาร-กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ลุกกุ้ง ลูกปลาที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด-ความยาวประมาณ 11-20 เซนติเมตร
ประโยชน์- เป็นอาหารได้ทั้งสดและแปรรูปเป็น ปลาเจ่า ปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลากระสูบขีด
ปลากระสูบขีด
ภาพจาก moohin. com
ชื่อสามัญ กระสูบขีด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษTRANSVERSE-BAR BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampala macrolepidota
วงศ์ ปลาตะเพียน Cyprinida
ปลากระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาอีสานว่า "สูบ", "สูด", "สิก" หรือ "ขม" เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาตะเพียน ตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบน ท้องกลมมน จะงอยปากแหลม ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบท้อง เกล็ดใหญ่ สีของปลาชนิดนี้เป็นที่สะดุดตาแตกต่างกับปลาชนิดอื่นอย่างเด่นชัด เมื่อเจริญวัยเต็มที่ลำตัวจะเป็นสีขาวเงิน สีด้านหลังค่อนข้างเข้ม มีลายดำพาดขวางกลางตัว จากส่วนหน้าของครีบหลังไปยังฐานของครีบท้อง ครีบหางเป็นแฉกลึกสีแดงสดริมแฉกบนและล่างของหางเป็นสีดำ ครีบอื่น ๆ สีส้มหรือแดง
นิสัย
ว่องไวปราดเปรียวและตื่นตกใจง่าย โดยทั่วไป เป็นปลานักล่ามีนิสัยก้าวร้าวไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงรวมกับชนิดอื่นเพราะแม้แต่พวกเดียวกันเอง ถ้ามีขนาดแตกต่างกัน หากนำมาเลี้ยงรวมกันจะกัดกันเอง
เป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ
ถิ่นอาศัย
พบในหนองบึง อ่างเก็บน้ำ ลำห้วย แม่น้ำลำคลองทั่วไป ภาคใต้พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี และในทะเลสาบสงขลา ภาคกลางพบในแม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยไปจนถึงบึงบอระเพ็ด แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ภาคเหนือพบที่แม่น้ำปิง แม่น้ำจีน และภาคอีสานพบมากในแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำศรีสงคราม และในเขตจังหวัดชลบุรี จันทบุรี และตราด
อาหารเป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ กินลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร
ขนาด-มีขนาดใหญ่กว่าปลากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน คือ สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่เต็มที่
ประโยชน์-เป็นอาหารได้ทั้งสด และแปรรูป เช่น รมควันและตากแห้ง
เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ที่มาของข้อมูล กรมประมง วิกิพีเดีย
http://www.nicaonline.com/articles1/site/view_article.asp?idarticle=111
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น