ปลาหางไก่...ในสายชล
ปลาหางไก่
หางไก่ว่ายแหวกว่าย
หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
คิดอนงค์องค์เอวอร
ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
จากกาพย์เห่เรือบทชมปลา พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ฯ ( เจ้าฟ้ากุ้ง)
ปลาหางไก่
ชื่อสามัญ ปลาหางไก่
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ MOUSTACHED TAPER-TAIL ANCHOVY
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coilia lindmani
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลามีเกล็ดขนาดเล็ก
เป็นปลาทะเลที่มีขนาดเล็กมาก ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในน้ำจืด มองดูผิวเผินเหมือนลูกปลา รูปร่างเพรียว ลำตัวแบนข้าง ท้องเป็นสันคม จะงอยปากสั้นทู่ ตาโตมีหนวดยาว 2 คู่ หัวค่อนข้างโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ครีบหลังสูง ครีบอกมีก้านครีบแข็งยาว ครีบหูมีก้านครีบส่วนบนแยกเป็นเส้นยาว ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นเชื่อมติดกับครีบหาง
ลำตัวมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียว ตัวค่อนข้างใส ครีบสีจาง
นิสัย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ และจะย้ายถิ่นขึ้นมาบริเวณน้ำหลากในฤดูฝน เป้นปลาที่ค่อนข้างเลี้ยงยาก เนื่องจากตื่นตกใจและตายง่าย
ถิ่นอาศัย
บริเวณปากแม่น้ำตามที่ตื้น พบที่ชลบุรี สมุทรสาคร แม่น้ำเจ้าพระยา ชอบอยู่เป็นกลุ่มจำนวนมาก
อาหาร- เป็นปลากินเนื้อ ชอบกินกุ้ง ลูกปลา และแมลงน้ำเป็นอาหาร
ขนาด-ความยาวประมาณ 4-5 ซ.ม. ขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 20 ซ.ม.
ประโยชน์- นิยมนำมาแปรรูปทำปลาร้าและน้ำปลา
เนื่องจากปลาหางไก่เป็นปลาขนาดเล็กจึงมักถูกปล่อยลงในแม่น้ำถ้าปลาหางไก่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ด้วยนิสัยที่ตื่นตกใจง่ายจึงมักตายเสียก่อน
ในปัจจุบัน ถ้ามีการเหวี่ยงแห และมีปลาหางไก่ติดขึ้นมาผู้คนที่บางกรูดก็ยังปลดปลาหางไก่ออกจากแหและโยนคืนสู่สายชล แต่หากปลาหางไก่กระโดดเพราะตกใจลงมาในเรือผีหลอก ก็มักตายคาท้องเรือและถูกโยนลงสู่แม่น้ำเช่นกันในขณะที่เจ้าของเรือทำความสะอาดเรือ และซากปลาหางไก่ก็เป็นห่วงโช่อาหารให้ปลาใหญ่ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น