พุุทธคยา ๗
สิ่งสำคัญในบริเวณใกล้เคียง
๒. สถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างเป็นที่ถึงนางสุชาดา
ผู้ถวายข้าวมธุปายาส
เนินดินที่มองเห็นแวดล้อมด้วยหมู่บ้าน ตาลต้นโต มีกองฟางสูงเรียงรายโดยรอบ กล่าวกันว่านั่นคือบ้านของนางสุขาดา ธิดากฎุุมพี แห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคมผู้ถวายข้าวมธุปายาส อันประณีตแด่พระมหาบุรูษก่อนการตรัสรู้ อยู่ห่างจากฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประมาณ ๒๐๐ เมตร ปัจจุบีันมีสะพานข้ามไปได้เกือบถึงบ้าน ซึ่งในสมัยก่อนผู้แสวงบุญต้องเดินลุยแม่น้ำเนรัญชรา หรือลุยทรายไกลนับกิโลเมตรกว่าจะถึงจุดหมาย
ขอขอบคุณภาพจากwww.tamdee.net -
(กฎุุมพี หมายถึง ผู้มีทรัพย์ ซึ่งก็มาจากคำว่า กุฏุมฺพ (กุ-ตุม-พะ) ที่แปลว่า ขุมทรัพย์ ลง ณี และ อิก (อิ-กะ) ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต จึงแปลว่า ผู้มีทรัพย์ หรือ ผู้มีขุมทรัพย์ มีฐานะต่ำกว่า เศรษฐี )
สถูปบ้านนางสุชาดา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอโศก
ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net
อชปาลนิโครธ (นิคโครฺโธ) คือต้นไทรหรือต้นนิโครธหรือต้นกร่าง
ต้นอชปาลนิโครธมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอยู่หลายเหตุการณ์โดยเริ่มจากตอนที่พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวมธุปยาสจากนางสุชาดา
ซึ่งกล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่ามีชื่อว่าสุเมธพราหมณ์ โดยพระพุทธเจ้าในกาลนั้นซึ่งมีพระนามว่าทีปังกร ทรงพยากรณ์ว่าสุเมธพราหมณ์นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก
ดังข้อความตอนหนึ่งในทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑ ว่า
“ท่านทั้งหลาย จงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะอันรุ่งเรืองนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระตถาคตชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระเกียรติยศมาก จักเสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ จักทรงบำเพ็ญเพียรทุกกรกิริยาแล้ว เสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว ฯ”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=623283
ในพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า
นางสุชาดาได้เคยตั้งปณิธานบูชาเทพารักษ์ครั้งเมื่อยังสาวว่า ขอให้ได้สามีที่มีตระกูลที่เสมอกัน และขอให้บุตรคนแรกเป็นชาย ครั้นนางได้สามีและบุตรชายสมใจนึก จึงคิดจะหุงข้าวมธุปายาสอันประณีตด้วยเครื่องปรุงทุกประการไปบวงสรวงเทพารักษ์ที่เคยได้บนบานไว้
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.dhammavariety.com
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ นางจึงสั่งให้บ่าวไพร่ตระเตรียมทำข่าวมธุปายาสเป็นการใหญ่ และสั่งให้นางปุณณทาสีคนใช้ออกไปทำความสะอาดปัดกวาดที่โคนไม้นิโครธพฤกษ์นั้นเพื่อจัดตั้งเครื่องสังเวยเทพารักษ์ นางปุณณทาสี เห็นพระมหาบุรุษประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้นั้น ผินพระพักตรทอดพระเนตรไปทางปราจีนทิศ (ทิศตะวันออก) มีรัศมีพระกายแผ่ซ่านออกไปเป็นปริมณฑลงดงามยิ่งนัก นางก็ทึกทักตระหนักแน่ในจิตทันทีว่า วันนี้เทพยดาจากต้นไทรมาคอยรับข้าวมธุปายาสของสังเวยของนางสุชาดาด้วยมือทีเดียว นางดีใจรีบกลับไปแจ้งกับนางสุชาดา
นางสุชาดามีความปลาบปลื้มใจ มอบเครื่องประดับให้นางปุณณทาสี หยิบถาดทองคำออกมา ๒ ถาด ถาดหนึ่งใส่ข่าวมธุปายาสจนหมด มิได้เหลือเศษไว้เลย ซึ่งเต็มถาดพอดี แล้วใช้ถาดทองคำอีกถาดหนึ่งปิดไว้แล้วห่อหุ้มด้วยผ้าทองอันบริสุทธิ์ แล้วนางสุชาดาก็แต่งกายงดงามด้วยอาภรณ์ แล้วจึงยกถาดขึ้นทูนเหนือเศียรเกล้าของนางเอง ลงจากเรือนด้วยด้วยหญิงคนใช้บริวาร ครั้นถึงต้นไทร เห็นพระมหาบุรุษงดงามด้วยรัศมีดังนั้นก็มีความโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดาโดยแท้ เดินยอบกายเข้่าไปเฝ้าแต่ไกลด้วยความคารวะ ครั้นเข้าไปใกล้ก็น้อมถาดข้าวมธุปายาสถวายด้วยความเคารพยิ่ง
ขอขอบคุณภาพจาก www.thairath.co.th
ขณะนั้นบาตรดินอันเป็นทิพย์ ซึ่ง ฆฏิการพรหมถวายแต่แรกบรรพชาเกิดอันตรธานหายไปจากที่นั้น พระมหาบุรุษก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกรับ แล้วทอดพระเนตรดูนางสุขาดา แสดงให้นางรู้ชัดว่า พระองค์ไม่มีบาตรที่ถ่ายข้าวมธุปายาสไว้ นางสุชาดาทราบชัดโดยพระอาการ ก็กราบทูลว่า
ขอขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com -
หม่อมฉันขอถวายทั้งหมด พระองค์มีพระประสงค์ประการใด โปรดนำไปตามพระหฤทัยทั้งหมดเถิด
แล้วถวายอภิวาทกราบทูลอีกว่า
"ความปรารถนาของหม่อมฉันสำเร็จอันใด ขอสิ่งซึ่งพระหฤทัยของพระองค์ประสงคฺ์จงสำเร็จฉันนั้นเถิด "
ขอขอบคุณภาพจาก
www.pawluang.com
แล้วนางก็ก้มกราบถวายบังคมลากลับเรือนด้วยความสุขใจเป็นล้นพ้น
พระมหาบุรุษเสด็จลุกจากที่ประทับทรงถือถาดข้าวมธุปายาสเสโ้จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประทับบ่ายพระพักตรสู่บุรพทิศ แล้วทรงปั้นข้าวมธุปายาส เป็น ๔๙ ปั้น เสวยจนหมด แล้วทรงถือถาดทองคำไปสู่แม่น้ำ ทรงอธิษฐานเสี่ยงทายพระบารมีว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป แล้วทรงลอยถาดทองคำนั้นลงในแม่น้ำเนรัญชรา ขณะนั้นอานุภาพพระบารมีของพระองค์ซึ่งทรงบำเพ็ญมาบริบูรณ์ดีแล้วได้แสดงให้เห็นเป็นอัศจรรย์ ถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำแม่น้ำเนรัญชราขึ้นไปประมาณ ๑ เส้น แล้วจึงจมลงสู่นาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช
ขอขอบคุณภาพจากwww.84000.org
ปัจจุบันนี้ตรงบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นสถานที่พระมหาบุรุษทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำ อยู่ตรงข้ามกับมหาเจดีย์พุทธคยา เรียกว่าท่าสุปปติฏฐะ มีเทวาลัยซึ่งชาวบ้านยังนับถือ มีการนำเครื่องสักการะบูชาอยู่เนือง ๆ ติดกับฝั่งแม่น้ำเนรัญชรามีบ่อน้ำโบราณอยู่แห่งหนึ่ง และต้นโพธิ์ใหญ่ มีผู้สร้างรูปปั้น โสตถิยพราหมณ์ ถวายหญ้ากุศะแก่พระพุทธงค์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
ขอขอบคุณภาพจาก
ภาพของพระมหานรินทร์
ผู้คนที่มาสักการะสถูปจะจุดเทียนและปิดทองที่สถูป
บริเวณรอบสถูป
หญ้ากุศะในแม่น้ำเนรัญชราที่แห้งเห็นแต่พื้นทราย
ข้าวมธุปายาส
ข้าวมธุปายาส คือข้าว สุกหุงด้วยนมโคจืดด้วยน้ำผึ้ง
ปฐมสมโพธิเล่าว่า นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกันและได้ลูกที่มีบุญ
เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน
โดยมีการเตรียมการไว้ก่อนดังนี้คือ นางสุชาดา สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ ให้แม่โคกินชะเอมเครือ กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา
แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ ละ ๕๐๐ ตัว แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูง
หนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน
แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนเหลือแม่โคนม ๘ ตัว เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง ๘ มาหุงข้าวมธุปายาส
การรีดนมจากแม่โควันนั้นรีดง่ายเกินคาด แม้ว่าลูกโคไม่ได้กินนมในวันนั้น เมื่อนำภาชนะเข้าไปรอง กลับมีน้ำนมไหลออกมาเอง
ขยายความ
วิธีเตรียมทำข้าวมธุปายาสของนางสุขาดามีดังนี้ นางให้เลี้ยงแม่โคนมไว้ในป่าชะเอมจำนวน ๑,๐๐๐ ตัว ให้แม่โคกินชะเอมเครือ กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา
แล้วให้แม่โคนม ๕๐๐ ตัว ดูดกินน้ำนมของแม่โคนม ๑,๐๐๐ ตัวนั้น
แล้วให้แม่โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มกินน้ำนมของแม่โคนม ๕๐๐ ตัวนั้น
แล้วให้แม่โคนม ๑๒๕ ตัว ดูดกินน้ำนมของแม่โคนม ๒๕๐ ตัวนั้น
แล้วให้แม่โคนม ๖๓ ตัว ดูดกินน้ำนมของแม่โคนม ๑๒๕ ตัวนั้น
แล้วให้แม่โคนม ๓๒ ตัว ดูดกินน้ำนมของแม่โคนม ๖๓ ตัวนั้น
แล้วให้แม่โคนม ๑๖ ตัว ดูดกินน้ำนมของแม่โคนม ๓๒ ตัวนั้น
และในท้ายที่สุดนางให้แม่โคนม ๘ ตัว ดื่มกินน้ำนมของแม่โคนม ๑๖ ตัวนั้น
หลังจากนั้นนางก็จะนำแม่โคทั้ง ๘ ตัว มารีดเอาน้ำนม
และนำน้ำนมมาเคี่ยวจนข้นเป็นนมข้นหวาน ทำให้มีรสอร่อยมาก เรียกว่า "ขีรปริวรรต"
และในวันที่นางให้รีดนมนั้น ลูกโคไม่กล้าเข้าใกล้แม่โคเหล่านั้นเลย พอนางสุชาดาน้อมภาชนะเข้าไปเท่านั้น น้ำนมก็หลั่งออกมาจากเต้านมของแม่โคเอง นางเห็นดังนั้นก็เกิดความปิติยินดีอย่างยิ่ง เมื่อได้แล้วจึงเทน้ำนมลงใส่ภาชนะใหม่
นางสุชาดาเริ่มประกอบพิธีหุงข้าวมธุปายาส โดยจัดหาฟืนใส่ในเตาและก่อไฟด้วยตนเอง เทน้ำนมและเครื่องปรุงลงในภาชนะยกตั้งบนเตาไฟฟองน้ำนมเวียนเป็นทักษิณาวัฏ ไฟในเตาก็ปราศจากควันน่าอัศจรรย์
ในวันที่นางสุขาดาปรุงข้าวมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรฐ ท้าวรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และ ท้าวเวสวัณ ก็มายืนอารักขาก้อนเส้าเตาปรุงทั้ง ๔ ทิศ รวมทั้ง ท้าวมหาพรหม ก็นำทิพย์เศวตฉัตรมากางกั้นข้างบนกระทะเพื่อเป็นสิริมงคล และป้องกันธุลีบนนภากาศ สมเด็จอมรินทราธิราช เสด็จลงมาก่อไฟใส่ฟืน เทวดาเจ้าในหมื่นโลกธาตุ ก็นำทิพยโอชามารวมใส่ลงไปในหม้อปรุงนั้น ประชาชนในทวีปทั้ง ๔ และทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ห้อมล้อม ต่างเป็นดังจักรบีบรวงผึ้งอันอุดมด้วยน้ำผึ้งใส่เข้าไปในภาชนะที่กำลังปรุงนั้น เมื่อทำดังนี้แล้วก็ได้เป็นข้าวมธุปายาส
ข้าวมธุปายาสมีการกล่าวถึงไว้หลายเรื่อง เช่น มิคารเศรษฐี พ่อสามีของนางวิสาขา บริโภคข้าวมธุปายาสอันมีน้ำน้อย และในมัคลัตถทีปนีได้กล่าวถึงเศรษฐีขี้เหนียวหุงข้าวมธุปายาสบริโภคเอง
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล
http://www.dhammajak.net
http://download.buddha-thushaveiheard.com
http://www.baanmaha.com
เข้ามธุปายาส (ข้าวมธุปายาส).บำรุง บารมี, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย (ภาคเหนือ) เล่ม ๒ : กรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น