บริเวณพุทธคยา
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-857-page-e.html
หมายเหตุ
๑.วิษณุบาท
แม่น้ำเนรัญชราที่เรียกว่าแม่น้ำผัลคุหน้าเมืองคยานั้นในปัจจุบันมีอาศรมของชาวฮินดู เรียกว่าวัดวิษณุบาท มีหินขนาดเท่ารอยเท้าคนธรรมดาเหยียบลงไว้ วัดจากปลายนิ้วหัวแม่เท้า ถึงปลายส้นยาว ๒๗ เซนติเมตร วีดที่ส่วนกว้างโคนนิ้วยาว ๙ เซนติเมตร สลักเป็นหิินสีดำอยู่กลางมณเฑียร (บางท่านบอกว่า นี่คือรอยบาทของพระพุทธองค์ก็มี )
บริเวณด้านในเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ มีผู้คนไปกราบไหว้เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน นำน้ำนมไปสักการะรดราดที่รอยเท้านั้น น้ำนมส่งกลิ่นอบอวลภายในมณเฑียร ห้ามผู้ที่นับถือศาสนาอื่นเข้าไป รวมทั้งพระสงฆ์ในพุทธศาสนาด้วย วิษณุบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ๑ ใน ๗ แห่งของศาสนาฮินดู
๒. พิธีสารทเมืองคยา
บริเวณลานเสาหินด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมหาโพธิ์เจดีย์ ใกล้กับสระมุจลินทร์ใหม่ ในเวลาข้างแรมเดือนสิบ จะมีผู้คนมาประกอบพิธีสารทล้นหลามไปจนถึงฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแม่แต่บริเวณมหาเจดีย์
ประเพณีสารทของอินเดียมีมาแต่นานปี มาจากความเชื่อที่อสูรคยาขอพรว่า
ตราบชั่วฟ้าดิน ภูเขา ทะเล และดวงดาวยังอยู่ ให้พระวิษณุ พระพรหม พระมหาเทพตลอดจนเทวดาทั้งหลาย ประทับบนธรรมศิลานี้และให้เรียกว่าคยาเกษตร ขอให้บ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ ์เกิดขึ้น ผู้ที่ต้องการความสุขจงมาประชุมที่นี่ ผู้ใด้อาบน้ำหรือถวายข้าวบิณฑ์ หรือทำพิธีสารท ณ ที่นี้ จะหลุดพ้นจากบาปทั้งมวล ขอให้บรรพบุรุษของเขาที่ล่วงลับไปแล้วได้ขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมโดยทั่วกันเถิด ขอให้สถานที่นี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ แม้ผู้คนที่มีโทษหนักถึงขั้นฆ่าพราหมณ์เมื่อมาล้างบาปที่นี่ ขอให้กลับมาเป็นผู้บริสุทธิ์ทุกประการ
สถานที่ถวายข้าวบิณฑ์มักทำกันที่เขารามศิลาทางเหนือหรือเปรตศิลา ทางตะวันตก และที่พุทธคยาแห่งนี้ก็นับรวมไปด้วย
พิธีสารทกับข้าวบิณฑ์เป็นพิธีเกี่ยวกับคนตาย ทำคู่กันเสมอในหมู่ชาวฮินดู การปลงศพนั้นเป็นอวมงคล ส่วนพิธีสารทเป็นมงคล เขาถือว่าเมื่อคนตาย ร่างกายที่เป็นสถุลสรีระย่อมถูกเผาผลาญไป แต่ดวงวิญญาณจะไม่ไปไหน จนกว่าจะมีพาหนะมารับ
พิธีถวายข้าวบิณฑ์ คือการนำผงแป้งมาคลุกกับน้ำ แล้วปั้นก้อนข้าวสาลีให้กลม ตั้งภาชนะหรือใบตอง และถ้วยน้ำ และอาหารกับนม พร้อมกรวดน้ำลงพื้นดินร้องเรียกชื่อผู้ตายให้มากินอาหารและให้มาอาบน้ำ เสร็จแล้วกรวดน้ำไปให้เปรต ถือว่าเปรตได้กินอิ่ม เป็นอันเสร็จพิธีโดยย่อที่นี่
พิธีสารทตามที่เห็น ทำกันที่เมืองคยา เรียกว่าคยาสารทนี้ น่าจะสืบต่อสัมพันธ์กับประเพณีไทย ที่เป็นการทำบุญลักษณะส่งให้ผู้ที่ตายไปแล้ว คล้าย ๆ กับทางใต้ที่มีงาน บุญชิงเปรต ทางภาคอิสานเรียกบุญข้าวประดับดิน หรือพิธีบุญช้าวสารท เป็นต้น แม้แต่ขนมหวานในเทศกาลที่เรานำไปทำบุญตักบาตร แจกจ่ายญาติพี่น้อง ในการทำบุญเดือนสิบ เรียกว่า กระยาสารท รั้น อาจจะเป็นคำเพี้ยนมาจาก คยาสารท ก็เป็นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
พระราชรัตนรังษี (วีรยุทโธ)
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235962
ที่เมืองคยานี้ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเป็นฮินดู และความเป็นพุทธ ที่ดูจะสับสนปนเปกันไป พลอยโพยมเห็นแล้ว งง งง อยู่กับการที่เห็นมีพวกฮินดูเข้ามาเดินปะปนกับชาวพุทธที่พุทธคยา เผอิญในหนังสือมีเรื่องราวของวิษณุบาท และพิธีสารทเมืองคยา ขอนำมาเผยแพร่ต่อ น่าเสียดายที่ไม่มีภาพของวัดวิษณุบาทมาประกอบบทความ มีแต่ภาพของนักบวชมหันต์ของฮินดู
ภาพที่สื่อข้างล่างต่อไปนี้ส่วนใหญ่นำมาจาก
http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-857-page-e.html
เที่ยวอินเดียตามมุมมองของพระมหานรินทร์
บันไดท่าน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ที่อยู่ของนักบวชมหันต์นนิกายทัสนามิสันยาสี ของฮินดู ซึ่งครอบครองพื้นที่พุทธคยา
ภายในที่อยู่ของนักบวชมหันต์ ซึ่งหลาย ๆ คนเรียกว่าวังมหันต์
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235962
พุทธบาทศิลา อายุไม่ต่ำกว่าพันปี อยู่ในครอบครองของพวกมหันต์ โดยมหันต์อ้างว่าเป็นเจ้าของ
พระพุทธรูป ภายในครอบครองของนักบวชมหันต์ นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ยังมีศิลปโบราณอันมีค่าที่สร้างสมัยคุปตะและโมริยะอีกมาก
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235962
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น