วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

[บทความ] หลากหลาย....มากมายกล้วย

หลากหลาย..มากมายกล้วย

จากเหง้าใต้ดิน เติบกล้าแตกหน่อ
สร้างกาบเกิดก่อ อยู่เหนือดินได้
ซ้อนกันจนแกร่ง ยืนต้นแตกใบ
จากเล็กจนใหญ่ ตระหง่านสดงาม

แตกปลีทิ้งช่อ ล่อด้วยเกสร
หอมชวนภมร เกาะพักทักถาม
จึงตกเครือผล รอโค่นลงตาม
วันคืนครู่ยาม อายุพืชพันธุ์

ให้ลูกแล้วล้ม จมสู่ผืนดิน
ตายแล้วไม่สิ้น ประโยชน์สร้างสรรค์
เป็นปุ๋ยเพื่อหน่อ เนื้อนาอารัญ
สืบสายเผ่าพันธุ์ รับใช้แผ่นดิน........

สำนวนไทยเกี่ยวกับกล้วย

ดื่่นเป็นกล้วยน้ำว้า
หมายความว่า มีมากจนเห็นเป็นธรรมดา

หมาเห่าใบตองแห้ง
หมายความว่า คนที่เก่งแต่พูด

ปอกกล้วยเข้าปาก
หมายความว่า ง่าย สะดวก

รักนวลสงวนตัว
หมายความว่า ไม่ปล่อยตัว ปล่อยใจ
เป็นสำนวนใช้สั่งสอนตักเตือนผู้หญิง

จาก หนังสืออ่านประกอบเรื่องกล้วย เพื่อนผู้ให้
ของโครงการตำรา โรงเรียนรุ่งอรุณ


กล้วยกับความเชื่อของชาวล้านนา

ชาวล้านนานิยมปลูกกล้วย บริโภคกล้วย จึงมีความผูกพันกับกล้วยมาแต่โบราณ และมีความเชื่อเกี่ยวกับกล้วยมากมาย

ความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกกล้วย

ชาวล้านนามีความเชื่อในเรื่องข้อห้ามของการปลูกกล้วย ซึ่งถือเป็นความอัปมงคล ดังนี้
ไม่ปลูกกล้วยไว้สองด้านในลักษณะขนาบตัวเรือนบ้าน
ไม่ปลูกกล้วยตีนเต่า
ไม่ปลูกกล้วยในด้านทิศใต้ของบ้าน
ห้ามปลูกกล้วยใกล้ตัวบ้าน หากใบกล้วยคลุมถึงหลังคา หรือมีเงาบังบ้านจะเกิดความเสื่อมเสีย

ความเขื่อในเรื่องส่วนต่าง ๆของกล้วย

รากหรือเหง้าของต้นกล้วย
เฉพาะส่วนที่เน่า เชื่อว่าเป็นยารักษาโรคเรื้อนของสุนัข หากนำเอาส่วนนี้ไปคลุกกับกำมะถันบดละเอียด ทาผิวหนังสุนัข จะมีผลให้สุนัขหายจากโรคเรื้อนได้ ส่วนที่ยังคงสภาพอยู่และยังไม่เน่าเละ นิยมเอาไปทาและทุบหนังหน้ากลองที่หุ้มใหม่ จะช่วยให้หนังขยายตัวและมีความเหนียวคงทนถาวร

หน่อกล้วย
ในพิธีกรรมมงคลต่าง ๆ เช่น งานทำบุญสืบชะตาเพื่อสืบต่ออายุ เป็นต้น สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือ หน่อกล้วย เพราะเชื่อว่าเป็นความหมายของความเจริญงอกงามและอุดมสมบูรณ์
นอกจากนี้ หนึ่งในพิธีห้ามฝนที่ได้ผล ได้แก่ การให้แม่หม้ายเปลือยกายไปปลูกกล้วยกลางแจ้ง โดยให้นำหน่อกล้วยไปปลูกลงดินในลักษณะเอาส่วนปลายฝังดิน เอาส่วนโคนชี้ขึ้นฟ้า

ต้นกล้วย
ต้นกล้วยเป็นต้นไม้อาถรรพณ์ มีคุณสมบัติในการข่มอาคม คนที่มีอาคมจะไม่เข้าไปดงกล้วย เพราะเกรงว่าอาคมขลังในกายจะเสื่อมถอย ยิ่งผู้ใดไปเตะตีชกต่อยต้นกล้วยด้วยความคะนองยิ่งเห็นผลทันตา มนตราต่างๆ ในกายจะเสื่อมอิทธิฤทธิ์ลงทันที อนึ่งในพิธีห้ามฝนห้ามลมพายุ หากเกิดฝนกระหน่ำ พายุพัดแรง โบราณท่านนิยมเอามีดปลายแหลมไปเสียบต้นกล้วยให้ปลายมีดทะลุชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดมา เชื่อว่าพายุจะอ่อนแรงลงและสงบลงในไม่ช้า นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า กรณีมีงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงานเป็นต้น งานดังกล่าวหากแกงหยวกกล้วยเลี้ยงดูแขก จะทำให้เกิดความรักความสมัครสมานปรองดองกันเป็นอย่างดี เพราะท่อนหยวกมีเส้นใยอันเปรียบเสมือนสายใยรักสายใยใจเชื่อมโยงกันและกัน ตลอดไป

กาบกล้วย
กาบกล้วยมักนำมาใช้ในงานพิธีกรรม สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ "สะตวง" หมายถึงกระบะหรือกระทงที่ทำจากกาบกล้วย สำหรับใส่เครื่องบัดพลีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กาบกล้วยดูเหมือนจะเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติไปโดยปริยาย นอกจากนี้ในแง่ของพลังแห่งการข่มมนตรา โบราณท่านห้ามนำเอากาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นหมวกสวมศีรษะ จะทำให้อาคมเสื่อมเพราะอำนาจของกาบกล้วย.

สนั่น ธรรมธิ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

http://www.thainews70.com/news/news-culture-sanon/view.php?topic=404


นอกจากกล้วยที่พบเห็นโดยทั่วไป คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง แล้ว ยังมีกล้วยอีกมากมายหลายชื่อ ให้แปลกใจ ว่า กล้วยพันธุ์แบบนี้มีด้วยหรือ


กล้วยบัวทอง


ปลีกล้วย (จำชื่อกล้วยไม่ได้เสียแล้ว)


กล้วยงาช้าง


กล้วยช้าง


กล้วยร้อยหวี


กล้วยหอมทิพย์


กล้วยหอมกะเหรี่ยง


กล้วยไข่พระตะบอง


กล้วยไข่ทองเงย


กล้วยหักมุกนวล


กล้วยพม่าแหกคุก


กล้วยน้ำเชียงราย


กล้วยน้ำว้านวลจันทร์


กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี


กล้วยน้ำว้ากาบดำ สมุทรสงคราม


กล้วยน้ำว้ากาบขาว


กล้วยน้ำไท


กล้วยแซลอ


กล้วยแดงสยาม

กล้วยตานีดำ


กล้วยนางพญา


กล้วยป่าปลีเหลือง


กล้วยเทพพนม


กล้วยเทพรส ดิบ


กล้วยเทพรส สุก


กล้วยตำนวล


กล้วยตำนวล


กล้วยนมสาว


กล้วยนมสวรรค์


กล้วยสายน้ำผึ้ง


กล้วยนมหมี


กล้วยหินดิบ

กล้วยหินสุก


กล้วยนากทองผาภูมิ


กล้วยพม่าแหกคุก


กล้วยตีบดำ

ส่วนใหญ่ของภาพเป็นกล้วยจาก สมบัติ อาณาจักรกล้วย

ที่บางกรูดนอกจากปลูกกล้วยแบบตั้งใจปลูกกล้วยโดยเฉพาะแล้วยังนิยมปลูกกล้วยไว้เป็นพี่เลี้ยงต้นไม้อื่น ๆ ที่ปลูกใหม่ แม้แต่การทำสวนใหม่ ในที่ดินใหม่ ก็จะนิยมปลูกกล้วยไว้ก่อนต้นไม้อื่นแล้วค่อย ๆ ปลูกไม้อื่นตามมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น