การเตรียมงานก่อนวันลอยอัฐิบรรพบุรุษแซ่อื้อ สู่แม่น้ำบางปะกงเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
เจาะบริเวณฐานของเจดีย์เพื่อนำอัฐิออกจากเจดีย์
เมื่อเป็นช่องกว้างพอแล้ว ต้องมีคนมุดช่องที่เจาะกว้างแล้วนี้เข้าไปภายในเจดีย์
พระภิกษุของวัดมาร่วมสังเกตการณ์ มีพระภิกษุครองจีวรสีน้ำตาลแดง คือพระอโณทัย สงวนสัตย์ หลานของตระกูล ซึ่งไปปฎิบัติธรรมอยู่ที่รัฐฉาน ประเทศพม่า กลับมาชั่วคราวเพื่อร่วมงานนี้
โกศและอัฐิที่แตกหักและกระจัดกระจายในเจดีย์เนื่องจากถูกฟ้าผ่า มีเศษอิฐร่วงลงสู่ใจกลางเจดีย์บริเวณแท่นวางโกศบรรจุอัฐิ
เชิญอัฐิออกจากโกศบรรจุในโลงจำลอง
อัฐิที่เชิญออกจากโกศต่าง ๆ ประมาณ ยี่สิบกว่าท่าน รวมกันอยู่ในโลง
นิมนต์พระภิกษุมาบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ
ป้ายหินอ่อนบอกเล่าเรื่องราวสายตระกูล
ป้ายหินอ่อนบอกเล่าเรื่องราวการสร้างเจดีย์นี้
ป้ายหินอ่อนเก่าที่ทำไว้ใน ปี พ.ศ.2549
ปิดช่องที่ขุดเจาะบริเวณฐานเจดีย์เรียบร้อยแล้ว
วางพวงมาลัย รอบเจดีย์ตามป้ายหินอ่อน สี่แผ่น
มีพิธีทำบุญสวดพระอภิธรรมในตอนกลางคืน
กรวดน้ำอุทิศบุญกุศล
ตกแต่งดอกไม้สดประดับเมรุจำลองในวันก่ิอนงานจริง
ดอกรักเรียงร้อยห้อยสายชายอุบะ
ดอกไม้ประดับเหนือโลง
งานฝีมือดอกไม้สดโดยอาจารย์ ณัฐปนนท์ สิงห์ยศ จากศูนย์ศิลปกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ด้วยความปรารถนาของหลาน ๆ ที่อยากให้อัฐิท่านบรรพบุรุษ สถิตย์บนสถานที่ที่วิจิตรงดงามตระการตา
ทั้งการสร้างเมรุ จำลอง โลงจำลอง และการประดับดอกไม้ เป็นความตั้งใจอย่างยิ่งของลูกหลาน
แม้แต่ที่พื้นก็ยังประดับต้นไม้หลากสี
ผลงานที่ตั้งใจทำทั้งหมดงดงามสมใจ
ประณีตและบรรจง
ดอกกุหลาบมัดกลีบจัดแต่งเป็นดอก
การเย็บแบบ
การตกแต่งประดับรอบสี่ด้านของเมรุจำลอง ทั้งเย็บแบบ เรียงเรียงห้อยอุบะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น