วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๒๒ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ขอขอบคุณภาพจาก xn--72c8ae4acia4czfxe.com
ดาวดึงส์ (บาลี: ตาวติ˚ส โลก) หรือ ตรัยตรึงศ์, ไตรตรึงษ์(สันสกฤต: त्रायस्त्रिंश लोक ตฺรายสฺตฺริ˚ศ โลก) เป็นชื่อของสวรรค์ (ภูมิของเทวดาทั้งหลาย) อันสำคัญยิ่งในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ คำว่า ตฺรายสฺตฺริ˚ศ เป็นรูปคำคุณศัพท์ของคำว่า ตฺรายสฺตฺริ˚ศตฺ (จำนวน ๓๓ ) อาจแปลความหมายได้ว่า "ที่อยู่ของเทพ ๓๓ องค์"
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ จากสวรรค์ฉกามาพจรทั้ง ๖ ชั้น(จัดอยู่ในกามภูมิ) โดยอยู่สูงขึ้นไปถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป ๓๓๖,๐๐๐ วา ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุอันสูง ๘๐,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดที่ยังเชื่อมอยู่กัยมนุสสภูมิหรือโลกมนุษย์ (อาจเทียบได้กับยอดเขาโอลิมปัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก) อาณาบริเวณโดยรอบ ๘๐,๐๐๐ ตารางโยชน์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง
เมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว ๗ ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประดับของพระอินทร์
บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ ๔ แห่ง คือ
๑. นันทวนุทยาน หรือ สวนนันทวัน (สวนที่รื่นรมย์) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในสวนด้านที่ใกล้กับตัวเมืองมีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า สระนันทาโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาโบกขรณี มีแผ่นศิลา ๒ แผ่น แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาปริถิปาสาณ เป็นศิลาที่มีรัศมีเรืองรอง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่านิ่มเหมือนขนสัตว์
๒ ผรุสกวัน หรือ ปารุสกวัน (ป่าลิ้นจี่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันใต้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในอุทยานนี้ด้านใกล้ตัวเมือง มีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราโบกขรณี มีก้อนแก้วใส ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ อีกก้อนหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราปริถิปาสาณ เป็นแก้วเกลี้ยงและอ่อนนุ่ม
๓ จิตรลดาวัน (ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วในอุทยานนี้แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลจิตรปาสาณ
๔. สักกวัน หรือ มิสกวัน (ป่าไม้ระคน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระใหญ่ในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปิริถิปาสาณ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
รายละเอียดอื่น ๆ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีเป็นสังเขปดังนี้
ขอขอบคุณภาพจากwatnakkharin.com
ดาวดึงส์ภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นที่สอง อยู่เหนือจาตุมหาราชิกาขึ้นไป ๔๖,๐๐๐ โยชน์
ดาวดึงส์ หรือ ดาวดึงสา คือ ภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคล ๓๓ คน ที่ได้สร้างกุศลไว้ในอดีต มีมาฆมานพ เป็นหัวหน้า เมื่อตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ พร้อมบริวารอีก ๓๒ รวมเป็น ๓๓ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ในชั้นดาวดึงส์
ดาวดึงสานี้ เป็นผืนแผ่นดินผืนแรก ที่เกิดขึ้นในโลกหลังจากโลกนี้ถูกทำลายด้วยน้ำ เมื่อน้ำงวดลง แผ่นดินผืนแรกที่โผล่ขึ้นก่อนแผ่นดินอื่น ๆ ก็คือ ยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นี้เอง
ลักษณะของดาวดึงส์ภูมิ เป็นมหานครใหญ่ อาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล เหนือเขาสิเนรุราชบรรพต ปรางค์ ปราสาท ล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์ แวดล้อมรอบเทวนครด้วยปราการกำแพงแก้วทิพย์ อีกเช่นกัน มีประตูกำแพงแก้วถึง ๑,๐๐๐ ประตู เมื่อประตูเหล่านั้นเปิดออกแต่ละครั้ง ปรากฏเสียงดังไพเราะยิ่งนัก
ในท่ามกลางพระนครนั้น มีปราสาทพิมานอันมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลืออยู่วิมานหนึ่ง คือ ไพชยนตปราสาทพิมาน มีรูปทรงสูง ประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ งามสุดจะพรรณนา เป็นที่ประทับแห่งสมเด็จพระอมรินทราธิราช
เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์ กับ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ๑๐๐ ปีในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วันในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammada.net
เทวดาที่อยู่ชั้นดาวดึงส์ มีอยู่ ๒จำพวก
๑. ภุมมัฏฐเทวดา
เทวดา ที่อยู่บนพื้นดิน ได้แก่ พระอินทร์ และ เทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร และเทวอสุรา ๕ จำพวก ที่อยู่ใต้เขาสิเนรุ
๒. อากาสัฏฐเทวดา
เทวดา ที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานลอยไปในกลางอากาศ ตั้งแต่เหนือพื้นดินยอดเขาสิเนรุ ไปจดขอบจักรวาล บางวิมานก็มีเทวดาอยู่ บางวิมานก็ไม่มีเทวดาอยู่
ความเป็นอยู่ของเทวดาในชั้นดาวดึงส์
ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากผลบุญที่ได้กระทำไว้ อารมณ์ที่ได้รับในชั้นดาวดึงส์ จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีเลย เทพบุตรจะมีวัย ๒๐ปี ส่วนเทพธิดามีวัย ๑๖ ปี เหมือนกันทุก ๆ องค์ไม่มีการแก่ เจ็บ ตาย ให้เห็น มีแต่ความสวยงาม เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป
เทพบุตรองค์หนึ่ง อาจจะมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา(ภรรยา) ๕๐๐ -๑,๐๐๐ หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่ได้ทำไว้
เทวดาในโลกนี้ มีการไปมาหาสู่ เบียดเบียนกันเช่นเดียวกับมนุษยโลก มีนักดนตรี นักร้อง เทพบุตร เทพธิดา มีความรักใคร่ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน หากขาดคู่ครอง ก็ย่อมจะเกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของตนไม่เบิกบานรื่นเริงเหมือนเทวดาที่มีคู่ครอง
เทวดาในชั้นดาวดึงส์ทั้งหลาย ต่างก็ไปหาความสุขสำราญในสวนทั้ง ๔ แห่งพร้อมด้วยบริวารของตนอย่างสำเริงสำราญ
คุณธรรม ๗ ประการ ที่ทำให้เป็นพระอินทร์
ผู้ที่ปรารถนาจะเกิดเป็นพระอินทร์ จะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลโดยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีคุณธรรม ๗.ประการ
๑ . เลี้ยงดูบิดา มารดา
๒. เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
๓ . กล่าววาจาอ่อนหวาน
๔. ไม่กล่าวคำส่อเสียด
๕. ไม่มีความตระหนี่
๖. ความซื่อสัตย์
๗. ระงับความโกรธได้
ปัจจุบันพระอินทร์ หรือ ท้าวสักกะเทวราช องค์นี้ ได้สำเร็จโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสักกปัณหสูตร นับเป็นพระอริยบุคคลขั้นแรกในพระพุทธศาสนา และอยู่ในดาวดึงส์ภิภพนี้ต่อไปจนสิ้นอายุขัย
เมื่อจุติจากชั้นดาวดึงส์แล้ว จะมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก และสำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล
เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ไปกลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก และได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุแล้ว จะไปบังเกิดเป็นพรหมโลก ในชั้นสุทธาวาสภูมิขั้นต้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และ อกนิฏฐาภูมิ ตามลำดับ และเข้านิพพาน ในชั้นสุดท้าย
สถานที่สำคัญในดาวดึงส์ภูมิ
สวรรค์ชั้นที่ ๒ มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากมาย ทำให้เกิดเป็นพุทธศาสนสถาน ที่สำคัญของเทวโลกหลายแห่ง ดังนี้
ขอขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net
ศาลาสุธรรมาเทวสภา
สถานที่ฟังธรรมในเทวโลก บรรดาเทวดาทั้งหลายจะมาประชุมกันเพื่อฟังธรรม โดยมีท้าวสักกะเทวราช องค์อมรินทร์เป็นประธาน ศาลาแห่งนี้ ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ สูง ๕๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นที่ประกอบด้วยแก้วผลึก เสาเป็นทอง เครื่องบน คือ ขื่อ คาน ระแนง ทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ หลังคามุงด้วยอินทนิล เพดาน เสา ประกอบด้วยแก้วประพาฬ ลวดลายต่าง ๆ ช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยเงิน ตรงกลางศาลา เป็นที่ตั้งธรรมาสน์ สูง ๑ โยชน์ ทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ ปกกั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างธรรมาสน์ เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์เทวราช ถัดไปเป็นที่ประทับของเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ และ เทวดาอื่น ๆ ต้นปาริชาต (กัลปพฤกษ์)
อยู่ในอุทยานทิพย์ปุณฑริกวัน มีบริเวณกว้างขวาง มีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน กลางสวนนั้นมีต้นไม้ทองหลางใหญ่แผ่สาขาอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า ต้นปาริชาต หรือ กัลปพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์
ต้นกัลปพฤกษ์ นี้ ๑๐๐ ปี ถึงจะออกดอกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงคราวนั้น ดอกไม้ในสวรรค์นี้ก็จะบานสะพรั่ง เหล่าเทพบุตร เทพธิดา ก็จะพากันมารื่นเริง ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเฝ้าจนกว่าดอกไม้จะบาน
เมื่อดอกไม้สวรรค์บานแล้ว จะปรากฏแสงรุ่งเรืองงดงามยิ่งนัก รัศมีดอกปาริชาติจะส่องรัศมีรุ่งเรืองไปไกลหลายหมื่นวา เมื่อลมรำเพยพัดพาไปในทิศใด ย่อมส่งกลิ่นหอมไปในทิศนั้น เป็นระยะไกลแสนไกล
ดอกไม้นี้จะบานสะพรั่งไปทุกกิ่งก้านทั่วทั้งต้น ถ้าเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด ปรารถนาจะได้ดอกปาริชาตก็จะตกลงมาในมือดั่งรู้ใจ ถ้ายังไม่ได้รับในมือ ดอกก็ยังไม่ทันตกลงดิน โดยมีลมชนิดหนึ่ง จะพัดชูดอกไว้ในอากาศ จนกว่าเทพยดาผู้ใดประสงค์ก็จะมารับเอาไป
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
แท่นศิลาแก้ว สีแดงดังดอกชบา อ่อนนุ่มดังฟูกเมื่อพระอินทราธิราชประทับพักผ่อนอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลาอาสน์แล้ว แท่นทิพย์นี้ก็จะอ่อนยุบลงไปและเมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้น แท่นศิลาก็จะฟูขึ้นเต็มตามเดิม เป็นแท่นศิลาที่ประหลาดมหัศจรรย์ยุบและฟูเองโดยธรรมชาติ
สวนสวรรค์
อุทยานทิพย์ที่มีความรื่นรมย์ สนุกสนาน หาที่เปรียบไม่ได้ในมนุษยโลก เต็มไปด้วยบุปผาชาตินานาพรรณ มีสระโบกขรณีอันทิพย์ มีน้ำใสดั่งแก้ว มีก้อนศิลาที่เป็นทิพย์ รัศมีรุ่งเรือง มีแท่นที่นั่งอันอ่อนนุ่ม สีใสสะอาด เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็จะมาในสวนสำราญเหล่านี้อย่างไม่ขาดสาย อุทยานทิพย์ มีชื่อเสียง ๔ อุทยาน ได้แก่
นันทวันอุทยาน
จิตรลดาวันอุทยานทิพย์
มิสกวันอุทยานทิพย์
ปารุสกวันอุทยานทิพย์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://thaprajan.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
พระเกศจุฬามณีเจดีย์
สร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็นทิพย์ มีความสวยงามรุ่งเรืองยิ่งนัก ยอดพระเจดีย์เป็นทองคำบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ สูง ๘๐,๐๐๐ วา มีกำแพงทองคำล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ มีความยาว ๑๖๐,๐๐๐ วา ประดับด้วยธงนานาชนิด พระเจดีย์นี้เป็นที่บรรจุสิ่งที่มีค่ายิ่ง ๒ อย่างคือ
ขอขอบคุณภาพจากmahatep.myreadyweb.com
๑. พระเกศโมลี ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ มวยผมที่ตัดออก ขณะที่เสด็จออกบรรพชา และได้อธิษฐานว่า"ถ้าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไปบนนภากาศเถิดอย่าได้ตกลงสู้พื้นปฐพีเลย" ครานั้นสมเด็จพระมหาอมรินทราธิราช ผู้เป็นใหญ่ในชั้นดาวดึงส์นี้จึงนำเอาพระผอบทองมารองรับพระเกศโมลีไว้ แล้วนำขึ้นไปบนดาวดึงส์สวรรค์สร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระโมลีโดยเฉพาะ
๒. พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวา ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โทณพราหมณ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุได้นำเอาพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ที่ผ้าโพกศีรษะ แล้วจึงได้จัดพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือออกเป็น ๘ ส่วนเพื่อถวายแก่กษัตริย์ต่างๆ ในครั้งนั้นท้าวสักกะเทวราชจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวแก้วจากผ้าโพกศีรษะของโทณพราหมณ์นั้นลงสู่ผอบทองคำทิพย์อีกทอดหนึ่งด้วยกิริยาอันเลื่อมใส แล้วรีบเสด็จมาประดิษฐานบรรจุไว้ในพระเกศจุฬามณีเจดีย์นี้
โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนครแล้วแอบหยิบเอาพระเขี้ยวแก้วใส่มวยผมพระอินทร์จึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปประดิษฐานในพระเจดีย์จุฬามณี ในดาวดึงส์เทวโลก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://thaprajan.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
ทางไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ผู้ประสงค์จะไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ให้เพียรสร้างเสบียงไว้นำทางคือ บุญกุศล พยายามทำตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรมห้ามตนไม่ให้ทำกรรมอันหยาบช้าลามกอย่าให้บังเกิดความสกปรกแห่งกาย วาจา ใจ
ขอขอบคุณภาพจากboard.palungjit.org
ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า...
"ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่หวังผลบุญของการทำทาน แต่ทำทานโดยคิดว่า การทำทานนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม เมื่อตายลงย่อไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์"
"ดูกร สารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทาน แล้วให้ทานไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้ว เราจักได้เสวยผลทานนี้แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า การให้ทาน เป็นการกระทำที่ดี เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำการกิริยาตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์สวรรค์"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php?topic=2417.0
วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๒๑ สารนาถ
ขอขอบคุณภาพจาก www.amulet.in.th
ที่อิสิปตนมฤคทายวัน หรือสารนาถนี้ นอกจากปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้ว พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงพระสูตรอื่น ๆ อีกหลายสูตร ในต่างโอกาสต่างวาระกัน อาทิเช่น อนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัญจสูตร ปาสสูตร กฏุวิยสูตร รถการสูตร ซึ่งมีชื่ออย่างอื่นอีกว่า ปเจตนสูตร หรือจักกวัตติสูตร กับสมยสูตร และธัมมทินนสูตร
ขอขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net
ผลแห่งการที่ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวันนี้ ทำให้พระโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุจากพระพุทธองค์ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นอันได้มีพระภิกษุสาวกองค์แรกขึ้นในพระพุทธศาสนา และได้ทำให้พระสังฆรัตนะอันเป็นองค์หนึ่งแห่งพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโอากาสนั้น ทำให้พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ผลแห่งการที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร หรือปัญจสูตร ทำให้พระปัญจวัคคีย์ซึ่งทั้งหมดได้รับอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันตบุคคลในพระศาสนา
ขอขอบคุณภาพจาก th.wikipedia.org
ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะ และท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ได้แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต เป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคนแรกแห่งอุบาสกบริษัทที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดแล้ว ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ทั้งสองท่านเป็น อบาสกอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคู่แรกในฝ่ายอุบาสิกาบริษัท ที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล โดยนัยเดียวกันกับฝ่ายอุบาสกพระพุทธรัตนะ และพระธรรมรัตนะ เกิดที่แคว้นมคธ พระสังฆรัตนะ เกิดที่แคว้นกาสี พระรัตนตรัยเกิดขึ้นสมบูรณ์ที่แคว้นกาสีพระภิกษุสาวกองค์แรก และอุบาสกอุบาสิกาถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรกมีขึ้นที่แคว้นกาสี อุบาสกอุบาสิกาที่ถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรก เกิดที่แคว้นกาสี
ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net
ณ ที่นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงมีพระบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ สืบเนื่องจากการที่นางสุปปิยาอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาอย่างแรงกล้า ได้เฉือนเนื้อจากขาของตนให้ปรุงเป็นน้ำต้มเนื้อ ถวายแก่พระภิกษุรูปหนึ่งผู้มีความต้องการน้ำต้มเนื้อ ทั้งนี้โดยที่นางได้ปวารณาว่าจะจัดถวาย แต่แล้วก็ไม่สามารถจะหาเนื้อตามปกติในท้องตลาดได้
เรื่องราวความเป็นมาดังนี้
พระบรมศาสดาเสด็จกรุงพาราณสีพร้อมด้วยสงฆ์สาวก ประทับที่อิสิปตนมฤคทายวัน ขณะนั้นมีอุบาสิกา ชื่อ สุปปิยา ไปยังะระวิหารเพื่อเยี่ยมเยียนสงฆ์อาพาธ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า อาตมาประสงค์น้ำต้มเนื้อเพื่อนำมาประกอบเภสัช นางจึงกลับไปสั่งนางทาสีให้ออกไปหาซื้อเนื้อ แต่วันนั้นเป็นวันอุโบสถจึงไม่มีเนื้อขาย นางทราบความแล้วจึงใช้มีดเฉือนเนื้อขาของตนเองให้คนนำไปต้มแล้วนำไปถวาย ตัวนางเองใช้ผ้าพันขาแล้วเข้าไปนอนในห้อง เมื่อสามีกลับมารู้ความก็รู้สึกยินดีในการถวายทานของภรรยา จึงไปเผ้าพระบรมศาสดา กราบทูลนิมนต์ให้รับภัตตาหารยังเรือนของตน
รุ่งขึ้นหลังภัตกิจ พระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาแล้วตรัสถามถึงนางสุปปิยาทรางทราบว่านางป่วย จึงรับสั่งให้นำนางออกมาเฝ้า ขณะนางมองเห็นพระบรมศาสดานั่นเองบาดแผลที่ขาก็หายเป็นปกติ พระพุทธองค์ตรัสถามถึงสาเหตุ ทรงทราบแล้วเสด็จกลับมาจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์สอบถามว่าภิกษุรูปใดขอน้ำต้มเนื้อจากนางสุปปิยา ภิกษุรูปนั้นกราบทูลรับว่าตนเองเป็นผู้ขอ พระบรมศาสดาทรงตำหนิการกระทำเช่นนั้นว่าเป็นการไม่สมควร
จากนั้นทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ ผู้ล่วงละเมิดต้องอาบัติทุกกฏ นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อดังต่อไปนี้ คือ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือดาว และเนื้อหมี ผู้ล่วงละเมิดต้องอาบัติทุกกฏ จากนั้นเสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์
ในอรรถกถาธรรมบทมีเรื่องกล่าวไว้ว่า
เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นันททิยมาณพ แห่งพาราณสี ผู้ใจบุญและมีศรัทธาในพระศาสนาอย่างแรงกล้า ได้สร้างวิหารอย่างวิจิตรสวยงาม ณ อิสิปตนะมฤคทายวัน แล้วมอบถวายแด่พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ โดยสร้างศาลา ๔ หลัง ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ที่อิสิปตนมฤคมหาวิหาร ถวานทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์ทรงเป็นประมุขหลั่งน้ำทักษิโณทกลงในพระหัตถ์ของพระพุทธองค์ แล้วมอบถวาย
พร้อมกับการถวายน้ำทักษิโณทกได้มีปราสาททิพย์ ล้วนไปด้วยรัตนธ ๘ ประการ ทั้งกว้างและยาว ๑๒ โยชน์ โดยรอบสูงร้อยโยชน์ พรั่งพร้อมด้วยหมู่นางอัปสรหนึ่งพันได้ผุดขึ้นในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ครั้งนั้นพระโมคคัลลานะเถระได้ไปเที่ยวจาริก ถามพวกเทพบุตรที่ีมาไหว้ว่า ปราสาทนี้ของใคร เทพบุตรทั้งหลายกล่าวว่า เจ้าของปราสาทนี้ ชื่อ นันทิยะ เป็นบุตรกฎุมพี กรุงพาราณศรี ในโลกมนุษย์ได้สร้างศาลา ๔ หลังที่อิสิปตนมหาวิหารถวายพระสงฆ์ วิมานนี้เกิดขึ้นสำหรับนันทิยะ แม้เหล่าเทพอัปสรที่บังเกิดในปราสาทกก็มาไหว้พระโมคคัลลานะเถระและกล่าวว่า
"ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญพวกดิฉันเกิดในปราสาทนี้ เพื่อเป็นบริจาริกาของอุบาสกชื่อนันทิยะ กรุงพาราณศรี ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกแก่นันทิยะ เพื่อให้มาที่นี่"
พระโมคคัลลานะเถระรับคำแล้วลงมาจากเทวโลก กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าท่ามกลางบริษัทว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิพยสมบัติย่อมบังเกิดคอยท่าคนที่ทำบุญแล้ว แต่ยังอยู่มนุษยโลกหรือ "
พระบรมศาสดาทรงตรัสตอบว่า
"บุญทั้งหลายที่บุคคลกระทำแล้วย่อมคอยต้อนรับประคับประคองบุคคลที่ทำบุญไว้ ผู้จากโลกนี้สู่โลกอื่นเสมือนหนึ่งญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมา ฉะนั้น..."
ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช คือเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๒๐๐ ปีเศษ อิสิปตนมฤคทายวันได้เป็นวัดหรือสำนักใหญ่โต พระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างสถูปเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้ บางสิ่งยังคงมีปรากฏให้เห็นในบัดนี้
ขอขอบคุณภาพจากth.wikipedia.org
อิสิปตนมฤคทายวัน ดำรงความเป็นสำนักใหญ่โตและเป็นศูนย์กลางการพระศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งตลอดมา จวบจนกระทั่งถูกมุสลิมเตอร์กทำลาย เมื่อจวนจะสิ้นคริสต์ศตรวรรษที่ ๑๒ คือเมื่อประมาณพุทธศักราช ๑๗๓๗ หรือคริสต์ศักราช ๑๑๙๔ จากนั้นก็ถูกทอดทิ้งตลอดมาเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปี ไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้อีก เช่นเดียวกับนาลันทาและสำนักทางพุทธศาสนาอื่น ๆ ซึ่งก็ได้ถูกทำลายลงในระยะไล่เลี่ยกัน การถูกทำลายในยุคนี้ ถือว่าเป็นการถูกประหัตประหารอย่างไม่มีครั้งใดรุนแรงเท่ามีผลทำให้พระพุทธศาสนาต้องถึงกับเป็นสิ่งถูกลืม และหมดไปจากอินเดียในที่สุด
ปัจจุบันซากแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่สารนาถหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ได้รับการขุดค้นขึ้นมาให้ปรากฏ ผลจากการขุดค้นสำรวจทำให้ได้พบสิ่งต่าง ๆ มากมาย ที่ควรระบุชื่อโดยเฉพาะก็เช่น สถูปหมายจุดที่พระพุทธองค์เสด็จมาพบพระปัญจวัคคีย์ มูลคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธองค์ สถูป หมายจุดที่ทรงแสดงปฐมเทศนา เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก มหาราชซากสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกทรง สร้าง กับซากกุฏิ วิหารและเจดีย์ใหญ่น้อยจำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งได้รับยกย่องว่ามีความงามเป็นเลิศ และสิงห์หัวเสาพระเจ้าอโศก ซึ่งสลักอย่างสวยงามจากหินก้อนเดียว ให้เป็นสิงห์สี่ตัวนั่งหันหลังเข้าหากัน และทางอินเดียได้นำมาเป็นตราแผ่นดิน หรือตราของทางราชการ เช่นที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ )
http://www.indiaindream.com
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๒๐ ราชวงศ์โมกุลในอินเดีย
ราชวงศ์โมกุลมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ พุทธสังเวชนียสถาน ที่ควรเสริมรายละเอียดเล็กน้อยพอเป็นสังเขป ดังนี้
เจงกีสข่าน
ขอขอบคุณภาพจาก
th.wikipedia.org
อาณาจักรมองโกล หลังรัชสมัย เจงกิส ข่าน ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์โลก เพียงหนึ่งเดียวที่ยังคงส่งผลต่อโลกโดยตรงมาจวบจนทุกวันนี้ เพราะนอกจากในสมัยที่อาณาจักรของเจงกีสข่าน แผ่อำนาจอย่างกว้างไกลมีขนาดใหญ่กว่าสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แห่งอาณาจักรกรีก ถึง ๔ เท่า และมีขนาดใหญ่กว่าอาณาจักรโรมันอันเรืองอำนาจ ถึง ๒ เท่าแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า เลือดเนื้อเชื้อไขชาวมองโกล ในอดีตปัจจุบันได้กระจายกันอยู่ในแหล่งอารยะธรรมที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ของโลกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี จีน อาหรับ ยุโรปตะวันออก อุซเบ คาซัก ฯลฯ รัสเซีย อินเดีย หรือแม้แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตาม
ความเกี่ยวข้องต่ออาณาจักรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของมองโกล ได้เริ่มต้นขึ้น ในรัชสมัย ของข่านพระองค์หนึ่งซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจงกิสข่าน คือเจ้าชายคุบิไล หรือโลกรู้จักรพระองค์ในนาม ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวนของจีน ซึ่งพระองค์เป็นผู้ตีแตกสานความฝันของบรรพชนได้สำเร็จในที่สุด ทรงพระนามว่า กุบไลข่าน ผู้นำชาวมองโกล เข้ายึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
อาณาจักรแรก และอาณาจักรเดียว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับผลกระทบทางอารยธรรม หรือ ถึงขนาดอาณาจักร สูญเสียมากที่สุด ในภูมิภาคนี้ก็คือ พม่า หรืออาณาจักรพุกาม นั่นเอง
กุบไลข่าน
โดยในปีค.ศ. ๑๒๗๓ กุบไลข่านได้ทรงส่งคณะทูตสามชุดมายังอาณาจักรพุกาม (พม่า) เพื่อให้ยอมจำนนต่ออาณาจักรมองโกล แต่กษัตริย์พม่าในขณะนั้นทรงถือว่าพระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงโจมตีรัฐควนไกทางภาคเหนือของอาณาจักรพุกาม ทำให้ชาวมองโกลโกรธแค้น ต่อมากุบไลข่านจึงสั่งให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดินบุตรชายของขุนนางไซยิด อาจัลล์ ขุนนางมุสลิมซึ่งเป็นที่วางพระทัยของกุบไลข่านคนหนึ่ง นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม
ขณะเดียวกันพระเจ้านรธิหบดีของพม่า พระองค์ทรงวางกำลังช้างศึก ๒,๐๐๐ เชือก นำหน้ากระบวนทัพ และวางกำลังกองทหารม้าไว้สองด้าน ตามด้วยกองกำลังทหารราบ ผลจากสงครามครั้งนี้กองทัพพม่าปราชัยอย่างย่อยยับ มองโกลได้ยึดเมืองที่มีประชากรกว่า ๑๑๐,๒๐๐ ครอบครัว ตามชายแดนพม่า
ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๓๐ (ค.ศ. ๑๒๘๗ ) กุบไลข่านได้ส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การบังคับบัญชาโดยแม่ทัพอีเซน เตมูร์ พระราชนัดดาของพระองค์ แม่ทัพอีเซนได้นำทัพบุกไปถึงเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม และยึดเมืองหลวงอาณาจักรพุกามไว้ได้ พระเจ้านรธิหบดีของพม่าจึงได้ยอมจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อมองโกลทุกปี มีข่าวว่ากษัตริย์พม่าได้ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการเสวยยาพิษเพราะด้วยความเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง
ต่อมาคืออาณาจักรอันนัมและอาณาจักรจามปา ก็ต้องยอมศิโรราบในที่สุด แต่ไม่ถึงกับบ้านเมืองพังพินาศเช่นอาณาจักรพุกาม
การทำสงครามกับอาณาจักรอันนัมในช่วงแรก กองทัพมองโกลต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างเช่นอากาศร้อนชื้น ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๓๐ (ค.ศ. ๑๒๘๗) พวกเขาได้รวมกันเข้าเป็นกองทัพใหญ่ นำโดยเจ้าชายโตกอน และมุ่งตรงไปกรุงฮานอย และพบว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมและพระโอรสได้เสด็จหนีไปแล้ว ต่อมากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมก็ได้ตัดสินใจยอมจำนนโดยส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย และปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อราชสำนักกุบไลข่านต่อไป ด้วยเหตุผลคล้ายกันทางพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๖ แห่งอาณาจักรจามปาก็ได้ยอมจำนนและส่งเครื่องราชบรรณาการไปสวามิภักดิ์ราชสำนักกุบไลข่านเช่นเดียวกัน
ส่วนอาณาจักรของไทย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ก็เป็นเพียงการส่งเครื่องราชบรรณาการไปเท่านั้น แต่มิได้โดนโจมตีจนบ้านเมืองเสียหาย
และยังมีอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งก็คืออินโดนีเซีย ที่รอดพ้นเงื้อมมือมองโกลอย่างหวุดหวิด เพราะรบกันครั้งแรก มองโกลถอยทัพเนื่องจากหลงเล่ห์ของชาวสิงหะส่าหรี และปรากฎว่าหลังจากแม่ทัพผู้นำทัพมาโจมตีกลับถึงอาณาจักรหยวน พระเจ้าคุบิไลข่านก็สิ้นพระชนม์ การยกทัพมาโจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงยุติ
ทุก ๆ อารยธรรม ที่เจริญถึงขีดสุด ไม่ว่าสมัยใดย่อมถึงกาลแตกดับ ขึ้นอยู่กับว่าการจากไปของวัฒนธรรมเหล่านั้น ได้หลงเหลือสิ่งใด ที่เป็นคุณูปการต่อโลกไว้บ้าง และผู้ที่อยู่ในโลกปัจจุบัน จะใช้ประโยชน์อันใดจากประวัติศาสตร์ ให้เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง สังคม และโลกมากที่สุด บทเรียนอันล้ำค่าของประวัติศาสตร์ จึงจะถือว่าได้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ต่อโลกแล้ว อย่างแท้จริง เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.indiaindream.com
ราชวงศ์โมกุล (Mughal dynasty) (มองโกล)พ.ศ. ๒๐๖๙ ในประเทศอินเดีย
คำว่า โมกุล มาจากคำว่า มองโกล อันเป็นชื่อเรียกชนเผ่าผิวเหลืองปัจจุบันชาวเอเชียตะวันออกเช่น จีน เกาหลี มองโกเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว เขมร ไทย พม่า จัดว่าเป็นเผ่ามองโกลเช่นกัน ชาวมองโกลที่สืบเนื่องมาจากจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เข้าไปรุกรบและยึดครองทวีปยุโรปบางส่วนและเอเชียเกือบทั้งหมดไว้ได้ หัวหน้ามองโกลที่ปกครองเอเชียกลางหันกลับไปนับถือศาสนาอิสลามตามชนพื้นเมืองและกลายเป็นเคร่งจัด ถือว่าการรุกรานเพื่อศาสนาเป็นภารกิจที่จำเป็นและเป็นกุศลมหาศาล ดังนั้นพวกเขาจึงรุกรบเข้าอินเดียโดยไม่เกรงกลัวอันตรายและตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้น แต่การรุกเข้ายึดอินเดียตอนนี้มองโกลต้อง โค่นจักรวรรดิมุสลิมด้วยกันเอง แต่คนละเชื้อสาย
กษัตริย์ของราชวงศ์โมกุลของอินเดียมีดังนี้
กษัตริย์บาบูร์
ขอขอบคุณภาพจาก
http://thaigoodview.com
๑. กษัตริย์บาบูร์ (Babu) เป็นปฐมวงศ์ของราชวงศ์นี้โดยการยึดอำนาจมาจากโลห์ดีกษัตริย์เดลลี ชาวอัฟกัน บาบูร์เป็นหลานเจ็งกิสข่าน จักรพรรดิ์มองโกลผู้ยิ่งใหญ่ของจีน แต่มีญาติเป็นตุรกีทางบิดา ได้ปกครองอินเดีย เมื่อพ.ศ.๒๐๖๙ ต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามบิดา ในขณะที่กุบไลข่านที่ปกครองจีนเป็นพุทธศาสนิกชน กษัตริย์บาบูร์ปกครองแผ่นดินอยู่ได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ.๒๐๗๓ รวม ๔ ปี พระศพของพระองค์นำไปฝังที่เมืองคาบูล อัฟกานิสถาน
๒. กษัตริย์หุมายุน (Humayun) เป็นโอรสของบาบูร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากกษัตริย์บาบูร์ พ.ศ.๒๐๗๓ ถูกเสรชาห์ยึดอำนาจได้ หุมายุนใช้เวลาหาสมัครพรรคพวกนานจึงยึดบัลลังก์กลับมาได้สำเร็จ กษัตริย์หุมายุนเป็นนักปกครองที่เข้มงวด ไม่ให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ กษัตริย์หุมายุนปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ.๒๐๙๙ รวม ๒๖ ปี
๓. กษัตริย์อักบาร์ (Akbar) เป็นโอรสของหุมายุน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากกษัตริย์หุมายุนเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๙ ด้วยพระชนม์เพียง ๑๓ ปี เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลัคเนาว์ ๑๓ ปี กษัตริย์อักบาร์มีเสนาคู่พระทัยเป็นฮินดูนามว่า ราชามานสิงห์ พระเจ้าอักบาร์มหาราชให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ได้บีบบังคับชาวฮินดู พุทธ เชนหรือซิกซ์ให้มานับถือศาสนาอิสลามเหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พยายามจะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่แต่ไม่สำเร็จ ทรงปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๘ รวม ๔๙ ปี
ในรัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์มหาราช เมื่อพ.ศ. ๒๑๔๓ มีพ่อค้าชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียเพื่อค้าขายและก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Indian Company) ขึ้น ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นบริษัทที่เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมดในสมัยต่อมา
กษัตริย์อักบาร์มหาราช
ขอขอบคุณภาพจาก
www.indiaindream.com
๔. กษัตริย์ชาห์ฮังคีร์ (Jahangir) เป็นโอรสของพระเจ้าอักบาร์ มหาราช ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากพระเจ้าอักบาร์ มหาราช พ.ศ. ๒๑๔๘ เมื่อพระชนม์ ๓๗ ปี เคยก่อการกบฏต่อพระบิดาหลายครั้งแต่ก็ได้รับการให้อภัย กษัตริย์ชาห์ฮังคีร์ มีมเหสีนามว่านูรชาหัน ทรงปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ.๒๑๗๐รวม ๒๒ ปี
๕. กษัตริย์ชาห์ ชาฮัน (Sha jahan) เป็นโอรสของชาห์ฮังคีร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากพระบิดาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ โดยการฆ่าพี่น้องหลายคน ต่อมามีมเหสีชื่อ มุมตัส มาฮาล มีพระโอรส ธิดาด้วยกัน ๑๔ คน ชาห์ ชาฮันเป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล เป็นอนุสาวรีย์ความรักมอบให้แก่มเหสี กษัตริย์ชาห์ ชาฮันปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ.๒๒๐๒ รวม ๓๑ ปี
กษัตริย์ชาห์ ชาฮัน (Sha jahan)
จักรพรรดิซาห์ จาฮาล และ พระนางมุมตัสมะฮาล
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.bloggang.com
๖. กษัตริย์ออรังเซบ (Aurangzeb) เป็นโอรสของ ชาห์ ชาฮัน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากกษัตริย์ชาห์ ชาฮัน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๒ โดยจับ กษัตริย์ชาห์ ชาฮัน ขังคุกเพราะกลัวว่าราชสมบัติจะหมดไปจากการสร้างทัชมาอาล จึงขังจนชาห์ ชาฮัน จนสิ้นพระชนม์ในคุก แต่พยายามทำดีเพื่อลบล้างความชั่วของตน กษัตริย์ออรังเซบได้ทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้นอื่น ๆ ครั้งที่สำคัญที่สุดคือการรบระหว่างพระเจ้าออรังเซบกับพระเจ้าศิวจี กษัตริย์ฮินดู แห่งแคว้นมหาราษฎร์ภาคใต้ ทั้งสองฝ่ายได้เสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลการรบนั้นพระเจ้าออรังเซบกำชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด นอกนั้นยังมีสงครามระหว่างชาวซิกซ์กับอิสลาม เป็นต้น ประเทศอังกฤษเริ่มรุกอินเดียทีละน้อย จักวรรดิโมกุลเริ่มลดลงตามลำดับ กษัตริย์ออรังเซบปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๒๕๑ รวม ๔๙ ปี
มายุคนี้พุทธศาสนาในภาคเหนือและภาคกลางของอินเดียได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว จากการยึดครองอินเดียของกองทัพมุสลิมที่ยาวนาน คงเหลือแต่ภาคใต้บางส่วน เช่น ที่เมืองท่านาคปัฏฏินัม แต่แม้การะนั้นก็ต้องต่อสู่กับศาสนาฮินดูอย่างรุนแรง ดังเช่น นายเอ.ไอยัปปะ ยืนยันในงานเขียนของเขาว่า
"เมื่อนักบวชไศวะ และไวศณพของฮินดู เริ่มแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพุทธศาสนาอย่างรุนแรง และนักปราชญ์ชาวพุทธโต้วาทีแพ้ต่อพวกเขา แม้ขณะนั้นเมืองนาคปัฏฏินัมก็ยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ ชาวพุทธที่ถูกรังแก (จากที่อื่น) ก็ทยอยกันเข้าไปกลบภัยอยู่ที่นั่น ชาวพุทธที่เหลืออยู่ในอินเดียใต้ก็ค่อยๆ กลับไปนับถือศาสนาฮินดู จนกระทั่งพุทธศควรรษที่ ๒๑ ยังมีพุทธศาสนิกชนอาศัยอยู่นาคปัฏฏินัม"
ดังนั้นเมืองท่านาคปัฏฏินัม จึงเป็นที่หลบภัยของพระสงฆ์และพุทธบริษัทจนถึง พ.ศ. ๒๑๐๐ ตามบันทึกของพระถังซัมจั๋ง พ.ศ. ๑๑๐๐ ได้กล่าวสถานการณ์พุทธศาสนาว่ามีวัดที่นาคปัฏฏินัม ๑๐๐ วัด มีพระ ๑๐,๐๐๐ รูป มีวัดที่สำคัญ ๔ วัดคือวัดโศการาม วัดศิลปะแบบจีน วัดคุรุปาลัมปาไล และวัดจุฬามณีวิหาร เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.indiaindream.com
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๙ ป่าอืสิปตนมฤคทายวัน
อิสิปตนมฤทายวัน...สารนาถ...
ขอขอบคุณภาพจาก
www.geocities.ws
อิสิปตนมฤทายวัน เป็นป่าไม้ที่มีความร่มรื่น เป็นที่ตกลงของเหล่าฤาษี
ความเดิมเล่ากันว่า
ฤาษีผู้ทรงฌานสมาบัตินิยมมาชุมในุมกัน ณ สถานที่แห่งนี้สนทนาธรรมกัน ข้อตกลงใน ข้ออรรถ ข้อธรรมต่าง ๆ บางท่านเล่าว่า พระฤาษีเหาะมาจากทิศใด ๆ ก็ตาม ก็จะตกลงมา ณ ที่ตรงนี้
เมื่อดูตามคำศัพท์ที่ว่า อิสิ + ปตนะ ก็น่าจะได้ความเช่นนั้นอยู่เหมือนกัน
ป่าอิสิปตนมฤทายวัน ปัจจุบันเรียกว่าสารนาถ
สารนาถ หรือป่าอิสิปตนมฤทายวัน แคว้นเมืองพาราณศรี เป็นสังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เมื่อวันเพ็ญ อาสาฬหมาส ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี
สถานที่แห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ มีพวกฤาษีชีไพรตั้งอาศรมอยู่นอกเมือง โดยเฉพาะในครั้งพุทธกาล ป่าอิสิปตนมฤทายวัน เป็นรมมณียสถานที่สมบูรณณ์ด้วยนักพรต ดาบส ฤาษี แม้แต่ปัญวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้ละทิ้งพระพุทธองค์ขณะเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็พากันมาอยู่ที่นี่
ขอขอบคุณภาพจาก
http://ld2541.blogspot.com/2012/05/blog-post_150.html
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจึงออกเดินทางต่อไปโดยลำดับ จนถึงพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี. พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นเราเดินทางมาแต่ไกลจึงได้นัดหมายกันว่า ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้ ที่เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับบาตรจีวร แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา ก็จักประทับนั่ง.
เมื่อเราเข้าไปใกล้ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในข้อนัดหมายกัน คือ บางรูปลุกขึ้นรับบาตรจีวร บางรูปปูอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่พูดกับเราโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส"
เราจึงบอกภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้พูดกับตถาคตโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส" ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับเราว่า
ดูกรอาวุโส โคดม แม้เพราะการประพฤติอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นเพราะการบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างนั้น ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ ก็บัดนี้ ไฉนเล่า ท่านผู้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอได้
เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.
พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวคัดค้านกับเราเป็นครั้งที่สอง เป็นครั้งที่สาม
เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้ เราจึงได้กล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน.
พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย.
เราจึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดง ธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมายในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง.
เราจึงได้สามารถให้พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ยอมเข้าใจตาม.
ขอขอบคุณภาพจาก
www.kammatan.com
เรากล่าวสอนภิกษุสองรูปภิกษุสามรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสามรูปนำมา.
เรากล่าวสอนภิกษุสามรูป ภิกษุสองรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสองรูปนำมา......"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://ld2541.blogspot.com/2012/05/blog-post_150.html
ตามมิคาราชชาดก กล่าวว่า
ป่าอิสิปตนมฤทายวัน แห่งนี้ เป็นที่อาศัยของกวางซึ่งพระเจ้ากรุงพาราณสีโปรดพระราชทานไว้ และให้ความคุ้มครองด้วยคุณธรรมของพระยากวางโพธิสัตว์
คำว่า "สารนาถ" นำมาจาก "สารังคนาถ " แปลว่าพื้นดินที่เป็นที่พึ่งของสัตว์ คือกวาง หมายถึงที่พึ่งอันประเสริฐของมวลมนุษย์ จากการประกาศพระธรรมจักร คือ ทางเดินที่เลือกไว้ดีแล้ว ได้แก่ "มัชฌิมาปฏิปทา"
.
ขอขอบคุณภาพจาก
picasaweb.google.com
ปัจจุบันเป็นบุญสถานของผู้แสวงบุญที่มาจาริก มาไหว้พระ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ของชาวพุทธทั่วโลก ด้วยสำคัญว่าเป็นที่ " สังฆรัตนะ " เกิดขึ้นสมบูรณ์ครั้งแรกในโลกเมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกและกัณฑ์ลำดับต่อมา ได้เทศนาโปรดบุตรเศรษฐีชื่อว่า ยสะ ไม่นานพระอริยสงฆ์ก็เกิดขึ้น ๖๐ องค์ ในพรรษาแรกนี้เอง
ขอขอบคุณภาพจากdownload.buddha-thushaveiheard.com
อุบัติสังฆรัตนะ
ในวันเพ็ญเดือนอาสฬะ คือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ซึ่งทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ท่านได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนาแล้วประทับจำพรรษาแรก ณ อิสิปตนมฤทายวัน
วันต่อมา พระพุทธองค์ประทานโอวาทแก่ปัญญจวัคคีย์ที่เหลือด้วยธรรมีกถา ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านวัปปะ และท่านภัททิยะ ว่า
"สื่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา"
ท่านทั้งสองบรรลุธรรมแล้วได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาประทานอหิภิกขุอุปสมบทแก่ท่านทั้งสองนั้น
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารที่ภิกษุทั้งสาม (ที่บรรลุแล้ว) บิณฑบาตนำมาถวาย ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น
วันต่อมา พระโลกนาถประทานโอวาทแก่ปัญญวัคคีย์ที่เหลือด้วยธรรมีกถา ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านมหานามะและท่านอัสสชิ ว่า
" สื่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา "
ท่านทั้งสองบรรลุธรรมแล้วได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานอหิภิกขุอุปสมบทแก่ท่านทั้งสองนั้น
ขอขอบคุณภาพจากprovince.m-culture.go.th
สถูปเจาคันธี
จากเมืองพาราณสีไปทางตะวันออก เฉียงเหนือประมาณ ๙ กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณเจดีย์หรือสถูปเก่าที่เป็นอนุสรณ์ของปัญจวัคคีย์ทั้ ๕ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษ ที่ ๗ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงว่า ครั้งเมื่อปัญจวัคคีย์หลีกหนีพระพุทธองค์ด้วยสำคัญผิดเพราะมีมิจฉาทิษฐิอย่างแรงได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ หลังจากทรงตรัสรู้แล้วพระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาเสด็จมาโปรดปัญญวัคคีย์ สันนิษฐานว่าพบกัน ณ ที่จุดนี้เป็นครั้งแรก และได้ทำความเข้าใจกันในเบื้องต้น จากนั้นนำไปสู่ป่าอิสิปตนมฤทายวัน ตรัสสอนธรรมะอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ณ ที่นั้น
เดิมเจดีย์แห่งนี้สูง ๓๐๐ ฟุต ผุพังตามกาลเวลา เหลืออยู่ ๗๐ ฟุต และมีลักษณะส่วนบนที่เบี่ยงเบนจากพุทธศิลปไปมาก ด้วยว่าเมื่อครั้งราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจ เกิดความวุ่นวายแย่งราชสมบัติเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ หูมายูน (Humayun) กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล ทรงเป็นกษัตรย์ที่ทรงปกครองที่เข้มงวด ไม่ให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ กษัตริย์ราชวงศ์โมกุล และถูกเสรชาห์ยึดอำนาจได้ ต้องไร้บัลลังก์ถึง ๑๕ ปี เคยมาลี้ภัยที่สถูปแห่งนี้ เมื่อบ้านเมืองสงบดี ต่อมาจนถึง อักบาร์มหาราช
(กษัตริย์อักบาร์ (Akbar) เป็นบุตรของหุมายุน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดา พ.ศ.๒๐๙๙ ขณะอายุ ๑๓ ปี เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลัคเนาว์ ๑๓ ปี มีเสนาคู่ใจเป็นฮินดูนามว่า ราชามานสิงห์ ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ได้บีบบังคับชาวฮินดู พุทธ เชนหรือซิกซ์ให้มานับถือศาสนาอิสลามเหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พยายามจะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่แต่ไม่สำเร็จ ปกครองจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๘ รวม ๔๙ ปี
ในสมัยของจักรพรรดิอักบาร์พ.ศ. ๒๑๔๓ พ่อค้าชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียเพื่อค้่าขายและก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Indian Company) ขึ้นซึ่งต่อมาก็กลายเป็นบริษัทที่เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมดในสมัยต่อมา )
อักบาร์มหาราช โปรดให้สร้างหอคอยแปดเหลี่ยม ขึ้นใน พ.ศ. ๒๑๓๑ บนสถูปทางพุทธศาสนาที่สูงถึงฟ้าคราม เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่ หูมายูน กษัตริย์มุสลิมบิดาของอักบาร์เสด็จมาสารนาถ หมายถึงการแสดงอิทธิพลของศาสนาอิสลามนั่นเอง เชอร์อเล็กซานเดอร์ ฯ พยายามเจาะลงที่ใจกลางสถูปจากเบื้องบน เพื่อค้นหาพระบรมสารีริกธาตู แต่ก็หาไม่พบ การเจาะแบบนี้ทำให้พระสถูปไม่ถูกทำลาย
เจาคันธี เป็นรอยต่อของอดีตที่น่าระลึกถึง โดยลักษณะเป็นสถถาปัตยกรรมของโมกุล ที่สร้างทับยอดยอดเจดีย์เดิมของพุทธศาสนา เป็นเครื่องเตือนใจผู้มาเยือนให้รู้ซึ้งถึงความเปลี่ยนแปลงของ อำนาจ ทรัพย์และบริวาร โดยอาศัยช่วงจังหวะที่มีกำลังแต่ไร้จิตสำนึกจนปรากฎให้เห็นแก่โลกเช่นนี้เอง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://ld2541.blogspot.com/2012/05/blog-post_150.html
http://www.indiaindream.com
หนังสือสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย - เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโท)
วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๘ เมืองพาราณสี ๒.
เมืองพาราณสี
ความเก่าแก่โบราณของเมืองพาราณสี มีปรากฏในชาดกมากว่า ๔,๐๐๐ ปี ชื่อเมืองถูกกล่าวขวัญไว้ในต่างยุคสมัยมากมาย เช่น สุตโสมชาดก เรียกสุทัสสนะโสภณ ทัณฑชาดก เรียกพรหมวัฒนะ ยุวันชัยชาดก เรียกรามนคร และอีกหลายชาดก เรียกกรุงพาราณสีว่า กาสีนครก็มี กาสีกุระ ก็มี
พาราณสี เคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสีมาแต่ครั้งพุทธกาล เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่ก่อนพุทธกาล เป็นเมืองที่มีความชำนาญเชิงการพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีสินค้าส่งออกลือชื่อคือ ผ้าไหมกาสี เครื่องสำอางกาสีวิเลปนะ และเครื่องประดับด้วยช่างฝีมือประณีต มีการติดต่อโดยตรงกับเมืองสาวัตถี เมืองเวสาลี เมืองราชคฤห์ และเมืองสำคัญอื่น ๆ
พระพุทธองค์ทรงเคยมีพุทธวจนะว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในกรุงพาราณสี ได้มีพระราชาแห่งรัฐกาสี ทรงพระนามว่า พรหมทัต เป็นกษัตริย์ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีแสนยานุภาพอันเกรียงไกร มีพาหนะมาก เป็นมหาวิชิต มีฉางหลวงเต็มด้วยข้าวเปลือก"
นั่นคือภาพรวมของเมืองพาราณศรี เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาก่อน
ขอขอบคุณภาพจาก
ความเก่าแก่ของเมืองพาราณสี มีมาพร้อม ๆ กับแม่น้ำคงคาทีเดียว
ตามประวัติมาจาก
พระมนู มนุษย์คนแรกในตำนานอินเดียอยู่เมืืองพาราณสี ตามทำเลเมืองบอกว่า พาราณสีนี้ตั้งอยู่ระหว่าง ๒ ลำน้ำ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำคงคา เหนือขึ้นไปเป็นแม่น้ำวรุณ ใต้ลงมาเป็นแม่น้ำอสี ดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสองเรียกว่า วาราณสี และเดิมทีมีอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งเรียกว่า อาณาจักรกาสี ซึ่งมีวาราณสีเป็นเมืองหลวง แต่อาณาจักรนี้มีอายุอยู่ได้ไม่นานก็ถูกทำลาย คำว่า กาสี จึงค่อย ๆ เลือนมาเป็นชื่อเมืองหลวงไปยุคหนึ่ง ในคัมภีร์ปุราณ ปรากฎชื่อเมืองนี้ว่า มหาสมาสน์บ้าง อานันทวนาบ้าง ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก ในสมัยออรังเซบ กษัตริย์อิสลามผู้เรืองอำนาจ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็น มหมุดาบัด แต่ว่าไม่ค่อยมีใครนิยมเรียก ชื่อที่ตั้งในยุคนั้นจึงหายไปเอง
มีการเล่าตำนานสืบต่อกันไว้พอเป็นต้นแบบของชื่อพาราณสีตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา ในมหากบิลชาดก กล่าวว่า พาราณสี มาจากวานร กับสีสะ รวมกันเข้าเป็นวานรสีสะ โดยอ้างอิงมหากบิลโพธิสัตว์ ผู้เป็นหัวหน้าวานร มีบริวาร ๕๐ ตำนานเรื่องลิงขาวลิงดำได้แสดงคุณเครื่องแห่งธรรมของความเป็นผู้นำให้บริวารและพระเจ้ากรุงพาราณสีฟัง เมื่อสิ้นชีพแล้วจึงนำอัฐิในส่วนของศรีษะของพญาวานรนั้นมาไว้ที่เจดีย์ใกล้ทางสามแพร่งแห่งเมือง จึงได้นามว่าวาราณสี เมืองแห่งศรีษะของพระยาวานรโพธิสัตว์ แต่ในเอกสารการท่องเที่ยวของรัฐยูพีบอกว่า วาราณสี ได้มาจากคำว่า วารุณ กับอสี เพราะเป็นที่บรรจบของแม่น้ำวรุณ และแม่น้ำอสี ก่อนจะไหลสู่แม่น้ำคงคา ที่ท่า อธิเกศวร เป็นท่าน้ำที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งของเมืองพาราณสี
ตามตำนานพระพุทธศาสนากล่าวว่า พระพุทธเจ้าก่อนทรงบรรลุพระโพธิญาณ เคยเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ มีพระเตมีย์ พระสุวรรณสาม เป็นต้น และบำเพ็ญบารมีในยุคสมัยพระเจ้าพรหมทัตผู้ครองเมืองพาราณสีหลายชาติ เรียกว่าในชาดก ๕๐๐ ชาติ มีประวัติที่เกิดขึ้น ณ เมืองพาราณสี เกินกว่าครึ่ง
ปัจจุบันเมืองพาราณสีคือที่ชุมนุมทางศาสนา ศูนย์กลางแสวงบุญของศาสนิกหลายศาสนาที่กำหนดด้วยศรัทธาให้เมืองพาราณสีเป็นบุญสถาน เมืองที่ใช้ประกอบวิธีกรรมการบวงสรวง กราบไหว้บูชา โดยเฉพาะพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตทางศาสนาฮินดู มีเทวาลัยโบราณจำนวน พัน ๆ แห่ง ที่ตั้งศิวลึงค์มากที่สุดในโลก มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ให้ใช้อาบชำระบาป มีท่าน้ำให้ลอยบาปได้ ท่าน้ำบางแห่งใช้เป็นสวรรค์ ท่าน้ำบางท่าแบ่งให้เป็นป่าช้า ผู้ที่ตายแล้วก็มีสิทธิ์ในการใช้สอยได้เสมอกัน เช่นท่ามณิกรรณการ์ฆาต เมรุหลวงของชาวฮินดู เป็นลานส่งร่างไร้วิญญาณของศพที่ถูกเผามากว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว ไฟไม่เคยดับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทฺโธ )
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๗ เมืองพาราณสี ๑
เมืองพาราณสี แห่งแคว้นกาสี
ขอขอบคุณภาพจาก
www.vichadham.com
พาราณสี (บาลี: Bārāṇasī พาราณสี; สันสกฤต: वाराणसी, Vārāṇasī วาราณสี, เสียงอ่านฮินดูสถาน: [ʋaːˈɾaːɳəsiː] ( ฟัง)) เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี (Kingdom of Kashi) ในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากลัคเนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอุตตรประเทศเป็นระยะทาง ๓๒๐ กิโลเมตร พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ (สัปดาปุริ, Sapta Puri) ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาเชน พาราณสีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า ๔,๐๐๐ ปี เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดียและยังจัดเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกด้วย ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก ครั้งสมัยอาณานิคม เมืองนี้มีชื่อว่า เบนาเรส (Benares)
ขอขอบคุณภาพจาก
หนังสือสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย - เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโท)
แคว้นกาสี ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ พาราณสี ก่อนพุทธกาล กาสี เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมาก มาในพุทธสมัยกลับอ่อนกำลังและหมดความสำคัญลง ถึงขั้นต้องขึ้นกับแคว้นโกศล โดยมีพระเจ้าปเสนทิแห่งแคว้นโกศล เป็นพระราชาของแคว้นกาสีนี้ด้วย
อาณาเขตของแคว้นกาสี มีปรากฏว่า ทางทิศตะวันออก ติดกับแคว้นมคธ ทิศเหนือติดกับแคว้นโกศล ทิศตะวันตกติดกับแคว้นวังสะ แต่ไม่มีระบุไว้ว่ามีขอบเขตแค่ไหน ยกเว้นด้านตะวันออกซึ่งได้พูดถึงแล้ว สำหรับเมืองหลวงของแคว้นพาราณสี ต่างกับเมืองอื่น ๆ คือสามารถดำรงมั่นคงอยู่ได้ตลอดมา ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจน กระทั่งบัดนี้ ไม่ถูกทิ้งร้างให้เป็นซาก หรือเปลี่ยนสภาพเป็นอื่นไป จนแทนค้นหาไม่พบเหมือนเมืองอื่น ๆ ยังคงตั้งอยู่ที่เดิมและรักษานามเดิมไว้ได้ตลอดมา
ขอขอบคุณภาพจาก
www.dhammanukroh.org
ตัวเมืองพาราณสี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา ระหว่างปากน้ำพารณะหรือวารณะ หรือวรุณะ กับปากน้ำอสี ซึ่งไหลมาออกแม่น้ำคงคาทางเหนือ และใต้ของเมืองโดยลำดับ เพราะเมืองตั้งอยู่ระหว่างปากน้ำทั้งสองดังกล่าว จึงได้เอาชื่อของลำน้ำทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน ตั้งเป็นชื่อเมืองว่า พาราณสี หรือ วาราณสี ชื่อตามทางการปัจจุบัน คือ วาราณสี สมัยอังกฤษปกครองเรียกว่า เบนาเรสบ้าง บนารัสบ้าง เดี๋ยวนี้เบนาเรสหายไปแล้ว ยังใช้กันอยู่บ้างแต่บนารัส
ขอขอบคุณภาพจาก
www.oceansmile.com
ปัจจุบัน พาราณสีมีฐานะเป็นจังหวัด หรือเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งมีลัคเนาว์ เป็นเมืองหลวง เป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีการคมนาคมติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ทั้งทางเครื่องบิน รถยนต์ และรถไฟ อยู่ห่างจากเดลีโดยทางรถไฟ ๗๖๓ กิโลเมตร จากกัลกัตตา ๖๗๘ กิโลเมตร จากบอมเบย์ ๑๔๙๕ กิโลเมตร จากปัฏนา ๒๒๙ กิโลเมตรและจาก คยา ๒๒๐ กิโลเมตร
ในสมัยพุทธกาล พาราณสีเป็นเมืองใหญ่และเจริญ เป็นศูนย์ กลางการค้าที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ผ้ากาสีและเครื่องหอมแก่นจันทน์ของแคว้นกาสี เป็นสินค้าซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งในสมัยโน้นและในสมัยนี้
ขอขอบคุณภาพจาก
www.pawluang.com
อิสิปตนะมฤคทายวัน สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ อยู่ที่แคว้นกาสีนี้ ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ เป็นเขตชานเมืองพาราณสี อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ในสมัยโน้น ระยะทางจากพุทธคยาถึงสารนาถ (คือจากอุรุเวลาเสนานิคมถึงอิสิปตนะมฤคทายวัน) มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่า ๑๘ โยชน์ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศคำสอนของพระองค์เป็นครั้งแรกที่นี่ ทรงได้พระสาวกองค์แรกถึงองค์ที่ ๖๐ ที่นี่ ทรงเริ่มงานประกาศพระศาสนาด้วย การส่งพระสาวกรุ่นแรก ๖๐ ท่านดังกล่าว ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ให้แยกย้ายกันไปยังที่ต่าง ๆ จากที่นี่
ที่อิสิปตนะมฤคทายวัน หรือสารนาถนี้ นอกจากปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้ว พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงพระสูตรอื่น ๆ อีกหลายสูตร ในต่างโอกาสต่างวาระกัน อาทิเช่น อนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัญจสูตร ปาสสูตร กฏุวิยสูตร รถการสูตร ซึ่งมีชื่ออย่างอื่นอีกว่า ปเจตนสูตร หรือจักกวัตติสูตร กับสมยสูตร และธัมมทินนสูตรผลแห่งการที่ทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันนี้ ทำให้พระโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุจากพระพุทธองค์ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นอันได้มีพระภิกษุสาวกองค์แรกขึ้นในพระพุทธศาสนา และได้ทำให้พระสังฆรัตนะอันเป็นองค์หนึ่งแห่งพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโอากสนั้น ทำให้พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ผลแห่งการที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร หรือปัญจสูตร ทำให้พระปัญจวัคคีย์ซึ่งทั้งหมดได้รับอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันตบุคคลในพระศาสนา
ขอขอบคุณภาพจาก
www.rmutphysics.com
ณ ที่นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงมีพระบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ สืบเนื่องจากการที่นางสุปปิยาอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาอย่างแรงกล้า ได้เฉือนเนื้อจากขาของตนให้ปรุงเป็นน้ำต้มเนื้อ ถวายแก่พระภิกษุรูปหนึ่งผู้มีความต้องการน้ำต้มเนื้อ ทั้งนี้โดยที่นางได้ปวารณาว่าจะจัดถวาย แต่แล้วก็ไม่สามารถจะหาเนื้อตามปกติในท้องตลาดได้
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะ และท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ได้แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต เป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคนแรกแห่งอุบาสกบริษัทที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดแล้ว ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ทั้งสองท่านเป็นอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเป็นคู่แรกในฝ่ายอุบาสิกาบริษัท ที่ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล
ขอขอบคุณภาพจาก
board.palungjit.org
โดยนัยเดียวกันกับฝ่ายอุบาสกพระพุทธรัตนะ และพระธรรมรัตนะ เกิดที่แคว้นมคธ พระสังฆรัตนะ เกิดที่แคว้นกาสี พระรัตนตรัยเกิดขึ้นสมบูรณ์ที่แคว้นกาสีพระภิกษุสาวกองค์แรก และอุบาสกอุบาสิกาถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรกมีขึ้นที่แคว้นกาสี อุบาสกอุบาสิกาที่ถึงไตรสรณคมน์เป็นครั้งแรก เกิดที่แคว้นกาสี
มีเรื่องกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบทว่า เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นันททิยมาณพ แห่งพาราณสี ผู้ใจบุญและมีศรัทธาในพระศาสนาอย่างแรงกล้า ได้สร้างวิหารอย่างวิจิตรสวยงาม ณ อิสิปตนะมฤคทายวัน แล้วมอบถวายแด่พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ ด้วยผลแห่งกรรมดีดังกล่าว ได้มีวิมานสำหรับนันทิยะเกิดขึ้นคอยท่าในสวรรค์ ตั้งแต่นันทิยะยังไม่ตายในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช คือเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๒๐๐ ปีเศษ อิสิปตนะมฤคทายวันได้เป็นวัดหรือสำนักใหญ่โต พระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างสถูปเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้ บางสิ่งยังคงมีปรากฏให้เห็นในบัดนี้
ขอขอบคุณภาพจาก
www.matichon.co.th
อิสิปตนะมฤคทายวัน ดำรงความเป็นสำนักใหญ่โตและเป็นศูนย์กลางการพระศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งตลอดมา จวบจนกระทั่งถูกมุสลิมเตอร์กทำลาย เมื่อจวนจะสิ้นคริสต์ศตรวรรษที่ ๑๒ คือเมื่อประมาณพุทธศักราช ๑๗๓๗ หรือคริสต์ศักราช ๑๑๙๔ จากนั้นก็ถูกทอดทิ้งตลอดมาเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปี ไม่มีโอกาสฟื้นตัวได้อีก เช่นเดียวกับนาลันทาและสำนักทางพุทธศาสนาอื่น ๆ ซึ่งก็ได้ถูกทำลายลงในระยะไล่เลี่ยกัน การถูกทำลายในยุคนี้ ถือว่าเป็นการถูกประหัตประหารอย่างไม่มีครั้งใดรุนแรงเท่ามีผลทำให้พระพุทธศาสนาต้องถึงกับเป็นสิ่งถูกลืม และหมดไปจากอินเดียในที่สุด
ปัจจุบันซากแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่สารนาถหรืออิสิปตนะมฤคทายวัน ได้รับการขุดค้นขึ้นมาให้ปรากฏ ผลจากการขุดค้นสำรวจทำให้ได้พบสิ่งต่าง ๆ มากมาย ที่ควรระบุชื่อโดยเฉพาะก็เช่น สถูปหมายจุดที่พระพุทธองค์เสด็จมาพบพระปัญจวัคคีย์ มูลคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธองค์ สถูป หมายจุดที่ทรงแสดงปฐมเทศนา เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก มหาราชซากสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกทรงสร้าง กับซากกุฏิ วิหารและเจดีย์ใหญ่น้อยจำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธรูปบางปฐมเทศนา ซึ่งได้รับยกย่องว่ามีความงามเป็นเลิศ และสิงห์หัวเสาพระเจ้าอโศก ซึ่งสลักอย่างสวยงามจากหินก้อนเดียว ให้เป็นสิงห์สี่ตัวนั่งหันหลังเข้าหากัน และทางอินเดียได้นำมาเป็นตราแผ่นดิน หรือตราของทางราชการ เช่นที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้
ขอขอบคุณภาพจาก
www.dhammajak.net
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.vichadham.com/buddha/city16.html
วิกิพีเดีย
วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
บทเพลงในช่วงที่พลอยโพยมนำมาประกอบบทความในเริ่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้านี้ ชื่อเพลงว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อยู่ ทางเหนือของเมืองพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยพุทธกาลอยู่ใน แคว้นมคธ ชมพูทวีป (ในปัจจุบันอยู่ใน รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า เขตป่าอภัยทานแก่สัตว์ เป็นที่บำเพ็ญตบะของฤษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมมันตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพราหมณ์ ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกริยา ได้มาบำเพ็ญตบะที่นี่แทน
ในวันเพ็ญเดือนหก หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา ในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ ๗ วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณ ว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เองต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง ห้า พักอาศัย อยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
หลังจากทรงสามารถทำให้ปัญจวัคคีย์เชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แน่แล้วและยินยอมฟังธรรม
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะอันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
(ขอใช้คำภาษาไทยแทนคำบาลี และเล่าไม่จบบทเพราะยาวมาก)
เอ วันเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย, ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ,
ใกล้นครพาราณสี,
ตัต์ระ โข ภะคะวา ปัญจวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ,
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า , ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า
เทว์เม ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ,
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา, เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย
โย จากัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,
นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่, ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,
หิโน , เป็นของต่ำทราม
คัมโน, เป็นของชาวบ้าน
โปถุชขะนิโก, เป็นของคนชั้นปุถุชน
อะนะริโย , ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ,
อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย , นี้อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค,
อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,
ทุกโข, เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์,
อะนะริโย, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,
อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย,
เอเต เต ภิกขเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ,ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างนั้น มีอยู่,
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ, เป็นไปเพื่อความสงบ,
อะภิญญาญะ, เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม
นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน,
กะตะมา จะสา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฎิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น, เป็นอย่างไรเล่า?
อะยะเมวะ อะริโย อัฎฐังคิโก มัคโค,
คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ, ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
(๑ )สัมมาทิฎฐิ, ความเห็นชอบ ( ๒ ) สัมมาสังกับโป , ความดำริชอบ (๓ )สัมมาวาจา,การพูดจาชอบ( ๔ ) สัมมากัมมันโต,การทำการงานชอบ ( ๕ ) สัมมาอาซีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ (๖)สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ (๗ ) สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ (๘) สัมมาสะมาธิ,ความตั้งใจมั่นชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชณิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , นี้แล คือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ, เป็นไปเพื่อความสงบ,
อะภิญญาญะ, เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง,
สัมโพธายะ, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม,
นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือทุกข์นี้ มีอยู่คือ,
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข , ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่,
ยายัง ตัณหา , นี้คือตัณหา,
โปโนพภะวิกา, อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,
นันทิราคะ สะหะคะตา, อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน,
ตัต์ระ ตัต์ราภินันทินี, อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,
เสยยะถีทัง, ได้แก่ ตัณหาเหล่านี้คือ,
กามะตัณหา, ตัณหาในกาม,
ภะวะตัณหา, ตัณหาในความมี ความเป็น,
วิภะวะตัณหา, ตัณหาในความไม่มี ไม่เป็น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี่, มีอยู่
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปแห่งตัณหา,โดยไม่มีเหลือนั้นนั่นเอง,
จาโค, เป็นความสละทิ้ง
ปะฏินิสสัคโค, เป็นความสลัดคืน,
มุตติ, เป็นความปล่อย,
อะนาละโย, เป็นความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่ ,
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ,
(๑ )สัมมาทิฎฐิ, ความเห็นชอบ ( ๒ ) สัมมาสังกับโป , ความดำริชอบ (๓ )สัมมาวาจา,การพูดจาชอบ( ๔ ) สัมมากัมมันโต,การทำการงานชอบ ( ๕ ) สัมมาอาซีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ (๖)สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ (๗ ) สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ (๘) สัมมาสะมาธิ,ความตั้งใจมั่นชอบ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาาทิ, ญาณัง, อุทะปาทิ , ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้,
ตังโข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ
ก็อริยสัจคือทุกข์ นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ
ก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ญาณขึ้นแล้วแก่เรา ,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า,
อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้,
....…………………..
…………………….
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานั้น โกณฑัญญะ ได้ "ธรรมจักษุ" (ดวงตาเห็นธรรม) คือเข้าใจแจ่มแจ้ง และบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
พระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า " โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" ด้วยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า ได้รู้แล้วนั้น คำว่า "อญฺญา" จึงได้กลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อท่านว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่บัดนั้นมา
ครั้นท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระสงฆ์รูปแรกและเป็นปฐมสาวก
จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
ในวันต่อมา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถา
ในวันแรม ๑ ค่ำ พระภัททิยเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒
ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓
ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔
ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕
อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตรคือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ด้วยกันทั้งหมด ในคราวเดียวกันซึ่ง
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ,
จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์, ก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย,เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้แล.. ( อนัตตลักขณสูตร)
ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกออกประกาศพระศาสนา พระปัญจวัคคีย์ก็ได้จาริกไปบำเพ็ญศาสนกิจในถิ่นต่างๆ เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะนั้น เป็นพระอสีติมหาสาวก ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้รัตตัญญูคือ "ผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศานาและได้บวชก่อนผู้อื่น
เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะเข้าสู่วัยชรามากแล้ว ท่านได้ทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษาอยู่ ณ สระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์ อยู่ที่นั่นได้ ๑๒ ปี จึงปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน
(พระอัญญาโกณฑัญญะได้เคยตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ
ว่าขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด
พระพุทธเจ้า ปทุมุตตระ ทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู
รวมทั้งพระปัญจวัคคีย์อีกสี่ท่านนี้มีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน)
บทสวดเต็มมีดังนี้
บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะฌามะ เส ฯ
บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เอวันเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
อิ ทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสมาธิฯ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิญานัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dmc.tv/pages/praying/Dhammajak.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)