วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
บทเพลงในช่วงที่พลอยโพยมนำมาประกอบบทความในเริ่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้านี้ ชื่อเพลงว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อยู่ ทางเหนือของเมืองพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยพุทธกาลอยู่ใน แคว้นมคธ ชมพูทวีป (ในปัจจุบันอยู่ใน รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า เขตป่าอภัยทานแก่สัตว์ เป็นที่บำเพ็ญตบะของฤษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมมันตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพราหมณ์ ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกริยา ได้มาบำเพ็ญตบะที่นี่แทน
ในวันเพ็ญเดือนหก หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา ในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ ๗ วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณ ว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เองต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง ห้า พักอาศัย อยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
หลังจากทรงสามารถทำให้ปัญจวัคคีย์เชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แน่แล้วและยินยอมฟังธรรม
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะอันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
(ขอใช้คำภาษาไทยแทนคำบาลี และเล่าไม่จบบทเพราะยาวมาก)
เอ วันเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย, ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ,
ใกล้นครพาราณสี,
ตัต์ระ โข ภะคะวา ปัญจวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ,
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า , ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า
เทว์เม ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ,
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา, เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย
โย จากัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,
นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่, ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,
หิโน , เป็นของต่ำทราม
คัมโน, เป็นของชาวบ้าน
โปถุชขะนิโก, เป็นของคนชั้นปุถุชน
อะนะริโย , ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ,
อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย , นี้อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค,
อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,
ทุกโข, เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์,
อะนะริโย, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,
อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย,
เอเต เต ภิกขเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ,ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างนั้น มีอยู่,
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ, เป็นไปเพื่อความสงบ,
อะภิญญาญะ, เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม
นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน,
กะตะมา จะสา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฎิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น, เป็นอย่างไรเล่า?
อะยะเมวะ อะริโย อัฎฐังคิโก มัคโค,
คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ, ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
(๑ )สัมมาทิฎฐิ, ความเห็นชอบ ( ๒ ) สัมมาสังกับโป , ความดำริชอบ (๓ )สัมมาวาจา,การพูดจาชอบ( ๔ ) สัมมากัมมันโต,การทำการงานชอบ ( ๕ ) สัมมาอาซีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ (๖)สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ (๗ ) สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ (๘) สัมมาสะมาธิ,ความตั้งใจมั่นชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชณิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , นี้แล คือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ, เป็นไปเพื่อความสงบ,
อะภิญญาญะ, เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง,
สัมโพธายะ, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม,
นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือทุกข์นี้ มีอยู่คือ,
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข , ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่,
ยายัง ตัณหา , นี้คือตัณหา,
โปโนพภะวิกา, อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,
นันทิราคะ สะหะคะตา, อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน,
ตัต์ระ ตัต์ราภินันทินี, อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,
เสยยะถีทัง, ได้แก่ ตัณหาเหล่านี้คือ,
กามะตัณหา, ตัณหาในกาม,
ภะวะตัณหา, ตัณหาในความมี ความเป็น,
วิภะวะตัณหา, ตัณหาในความไม่มี ไม่เป็น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี่, มีอยู่
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปแห่งตัณหา,โดยไม่มีเหลือนั้นนั่นเอง,
จาโค, เป็นความสละทิ้ง
ปะฏินิสสัคโค, เป็นความสลัดคืน,
มุตติ, เป็นความปล่อย,
อะนาละโย, เป็นความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่ ,
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ,
(๑ )สัมมาทิฎฐิ, ความเห็นชอบ ( ๒ ) สัมมาสังกับโป , ความดำริชอบ (๓ )สัมมาวาจา,การพูดจาชอบ( ๔ ) สัมมากัมมันโต,การทำการงานชอบ ( ๕ ) สัมมาอาซีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ (๖)สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ (๗ ) สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ (๘) สัมมาสะมาธิ,ความตั้งใจมั่นชอบ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาาทิ, ญาณัง, อุทะปาทิ , ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้,
ตังโข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ
ก็อริยสัจคือทุกข์ นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ
ก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ญาณขึ้นแล้วแก่เรา ,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า,
อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้,
....…………………..
…………………….
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานั้น โกณฑัญญะ ได้ "ธรรมจักษุ" (ดวงตาเห็นธรรม) คือเข้าใจแจ่มแจ้ง และบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
พระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า " โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" ด้วยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า ได้รู้แล้วนั้น คำว่า "อญฺญา" จึงได้กลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อท่านว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่บัดนั้นมา
ครั้นท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระสงฆ์รูปแรกและเป็นปฐมสาวก
จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
ในวันต่อมา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถา
ในวันแรม ๑ ค่ำ พระภัททิยเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒
ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓
ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔
ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕
อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตรคือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ด้วยกันทั้งหมด ในคราวเดียวกันซึ่ง
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ,
จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์, ก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย,เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้แล.. ( อนัตตลักขณสูตร)
ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกออกประกาศพระศาสนา พระปัญจวัคคีย์ก็ได้จาริกไปบำเพ็ญศาสนกิจในถิ่นต่างๆ เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะนั้น เป็นพระอสีติมหาสาวก ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้รัตตัญญูคือ "ผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศานาและได้บวชก่อนผู้อื่น
เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะเข้าสู่วัยชรามากแล้ว ท่านได้ทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษาอยู่ ณ สระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์ อยู่ที่นั่นได้ ๑๒ ปี จึงปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน
(พระอัญญาโกณฑัญญะได้เคยตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ
ว่าขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด
พระพุทธเจ้า ปทุมุตตระ ทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู
รวมทั้งพระปัญจวัคคีย์อีกสี่ท่านนี้มีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน)
บทสวดเต็มมีดังนี้
บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะฌามะ เส ฯ
บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เอวันเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
อิ ทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสมาธิฯ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิญานัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dmc.tv/pages/praying/Dhammajak.html
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น