ราชวงศ์โมกุลมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ พุทธสังเวชนียสถาน ที่ควรเสริมรายละเอียดเล็กน้อยพอเป็นสังเขป ดังนี้
เจงกีสข่าน
ขอขอบคุณภาพจาก
th.wikipedia.org
อาณาจักรมองโกล หลังรัชสมัย เจงกิส ข่าน ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์โลก เพียงหนึ่งเดียวที่ยังคงส่งผลต่อโลกโดยตรงมาจวบจนทุกวันนี้ เพราะนอกจากในสมัยที่อาณาจักรของเจงกีสข่าน แผ่อำนาจอย่างกว้างไกลมีขนาดใหญ่กว่าสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แห่งอาณาจักรกรีก ถึง ๔ เท่า และมีขนาดใหญ่กว่าอาณาจักรโรมันอันเรืองอำนาจ ถึง ๒ เท่าแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า เลือดเนื้อเชื้อไขชาวมองโกล ในอดีตปัจจุบันได้กระจายกันอยู่ในแหล่งอารยะธรรมที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ของโลกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี จีน อาหรับ ยุโรปตะวันออก อุซเบ คาซัก ฯลฯ รัสเซีย อินเดีย หรือแม้แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตาม
ความเกี่ยวข้องต่ออาณาจักรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของมองโกล ได้เริ่มต้นขึ้น ในรัชสมัย ของข่านพระองค์หนึ่งซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจงกิสข่าน คือเจ้าชายคุบิไล หรือโลกรู้จักรพระองค์ในนาม ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวนของจีน ซึ่งพระองค์เป็นผู้ตีแตกสานความฝันของบรรพชนได้สำเร็จในที่สุด ทรงพระนามว่า กุบไลข่าน ผู้นำชาวมองโกล เข้ายึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
อาณาจักรแรก และอาณาจักรเดียว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับผลกระทบทางอารยธรรม หรือ ถึงขนาดอาณาจักร สูญเสียมากที่สุด ในภูมิภาคนี้ก็คือ พม่า หรืออาณาจักรพุกาม นั่นเอง
กุบไลข่าน
โดยในปีค.ศ. ๑๒๗๓ กุบไลข่านได้ทรงส่งคณะทูตสามชุดมายังอาณาจักรพุกาม (พม่า) เพื่อให้ยอมจำนนต่ออาณาจักรมองโกล แต่กษัตริย์พม่าในขณะนั้นทรงถือว่าพระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงโจมตีรัฐควนไกทางภาคเหนือของอาณาจักรพุกาม ทำให้ชาวมองโกลโกรธแค้น ต่อมากุบไลข่านจึงสั่งให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดินบุตรชายของขุนนางไซยิด อาจัลล์ ขุนนางมุสลิมซึ่งเป็นที่วางพระทัยของกุบไลข่านคนหนึ่ง นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม
ขณะเดียวกันพระเจ้านรธิหบดีของพม่า พระองค์ทรงวางกำลังช้างศึก ๒,๐๐๐ เชือก นำหน้ากระบวนทัพ และวางกำลังกองทหารม้าไว้สองด้าน ตามด้วยกองกำลังทหารราบ ผลจากสงครามครั้งนี้กองทัพพม่าปราชัยอย่างย่อยยับ มองโกลได้ยึดเมืองที่มีประชากรกว่า ๑๑๐,๒๐๐ ครอบครัว ตามชายแดนพม่า
ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๓๐ (ค.ศ. ๑๒๘๗ ) กุบไลข่านได้ส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การบังคับบัญชาโดยแม่ทัพอีเซน เตมูร์ พระราชนัดดาของพระองค์ แม่ทัพอีเซนได้นำทัพบุกไปถึงเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม และยึดเมืองหลวงอาณาจักรพุกามไว้ได้ พระเจ้านรธิหบดีของพม่าจึงได้ยอมจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อมองโกลทุกปี มีข่าวว่ากษัตริย์พม่าได้ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการเสวยยาพิษเพราะด้วยความเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง
ต่อมาคืออาณาจักรอันนัมและอาณาจักรจามปา ก็ต้องยอมศิโรราบในที่สุด แต่ไม่ถึงกับบ้านเมืองพังพินาศเช่นอาณาจักรพุกาม
การทำสงครามกับอาณาจักรอันนัมในช่วงแรก กองทัพมองโกลต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างเช่นอากาศร้อนชื้น ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๓๐ (ค.ศ. ๑๒๘๗) พวกเขาได้รวมกันเข้าเป็นกองทัพใหญ่ นำโดยเจ้าชายโตกอน และมุ่งตรงไปกรุงฮานอย และพบว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมและพระโอรสได้เสด็จหนีไปแล้ว ต่อมากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมก็ได้ตัดสินใจยอมจำนนโดยส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย และปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อราชสำนักกุบไลข่านต่อไป ด้วยเหตุผลคล้ายกันทางพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๖ แห่งอาณาจักรจามปาก็ได้ยอมจำนนและส่งเครื่องราชบรรณาการไปสวามิภักดิ์ราชสำนักกุบไลข่านเช่นเดียวกัน
ส่วนอาณาจักรของไทย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ก็เป็นเพียงการส่งเครื่องราชบรรณาการไปเท่านั้น แต่มิได้โดนโจมตีจนบ้านเมืองเสียหาย
และยังมีอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งก็คืออินโดนีเซีย ที่รอดพ้นเงื้อมมือมองโกลอย่างหวุดหวิด เพราะรบกันครั้งแรก มองโกลถอยทัพเนื่องจากหลงเล่ห์ของชาวสิงหะส่าหรี และปรากฎว่าหลังจากแม่ทัพผู้นำทัพมาโจมตีกลับถึงอาณาจักรหยวน พระเจ้าคุบิไลข่านก็สิ้นพระชนม์ การยกทัพมาโจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงยุติ
ทุก ๆ อารยธรรม ที่เจริญถึงขีดสุด ไม่ว่าสมัยใดย่อมถึงกาลแตกดับ ขึ้นอยู่กับว่าการจากไปของวัฒนธรรมเหล่านั้น ได้หลงเหลือสิ่งใด ที่เป็นคุณูปการต่อโลกไว้บ้าง และผู้ที่อยู่ในโลกปัจจุบัน จะใช้ประโยชน์อันใดจากประวัติศาสตร์ ให้เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง สังคม และโลกมากที่สุด บทเรียนอันล้ำค่าของประวัติศาสตร์ จึงจะถือว่าได้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ต่อโลกแล้ว อย่างแท้จริง เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.indiaindream.com
ราชวงศ์โมกุล (Mughal dynasty) (มองโกล)พ.ศ. ๒๐๖๙ ในประเทศอินเดีย
คำว่า โมกุล มาจากคำว่า มองโกล อันเป็นชื่อเรียกชนเผ่าผิวเหลืองปัจจุบันชาวเอเชียตะวันออกเช่น จีน เกาหลี มองโกเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว เขมร ไทย พม่า จัดว่าเป็นเผ่ามองโกลเช่นกัน ชาวมองโกลที่สืบเนื่องมาจากจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เข้าไปรุกรบและยึดครองทวีปยุโรปบางส่วนและเอเชียเกือบทั้งหมดไว้ได้ หัวหน้ามองโกลที่ปกครองเอเชียกลางหันกลับไปนับถือศาสนาอิสลามตามชนพื้นเมืองและกลายเป็นเคร่งจัด ถือว่าการรุกรานเพื่อศาสนาเป็นภารกิจที่จำเป็นและเป็นกุศลมหาศาล ดังนั้นพวกเขาจึงรุกรบเข้าอินเดียโดยไม่เกรงกลัวอันตรายและตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้น แต่การรุกเข้ายึดอินเดียตอนนี้มองโกลต้อง โค่นจักรวรรดิมุสลิมด้วยกันเอง แต่คนละเชื้อสาย
กษัตริย์ของราชวงศ์โมกุลของอินเดียมีดังนี้
กษัตริย์บาบูร์
ขอขอบคุณภาพจาก
http://thaigoodview.com
๑. กษัตริย์บาบูร์ (Babu) เป็นปฐมวงศ์ของราชวงศ์นี้โดยการยึดอำนาจมาจากโลห์ดีกษัตริย์เดลลี ชาวอัฟกัน บาบูร์เป็นหลานเจ็งกิสข่าน จักรพรรดิ์มองโกลผู้ยิ่งใหญ่ของจีน แต่มีญาติเป็นตุรกีทางบิดา ได้ปกครองอินเดีย เมื่อพ.ศ.๒๐๖๙ ต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามบิดา ในขณะที่กุบไลข่านที่ปกครองจีนเป็นพุทธศาสนิกชน กษัตริย์บาบูร์ปกครองแผ่นดินอยู่ได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ.๒๐๗๓ รวม ๔ ปี พระศพของพระองค์นำไปฝังที่เมืองคาบูล อัฟกานิสถาน
๒. กษัตริย์หุมายุน (Humayun) เป็นโอรสของบาบูร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากกษัตริย์บาบูร์ พ.ศ.๒๐๗๓ ถูกเสรชาห์ยึดอำนาจได้ หุมายุนใช้เวลาหาสมัครพรรคพวกนานจึงยึดบัลลังก์กลับมาได้สำเร็จ กษัตริย์หุมายุนเป็นนักปกครองที่เข้มงวด ไม่ให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ กษัตริย์หุมายุนปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ.๒๐๙๙ รวม ๒๖ ปี
๓. กษัตริย์อักบาร์ (Akbar) เป็นโอรสของหุมายุน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากกษัตริย์หุมายุนเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๙ ด้วยพระชนม์เพียง ๑๓ ปี เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลัคเนาว์ ๑๓ ปี กษัตริย์อักบาร์มีเสนาคู่พระทัยเป็นฮินดูนามว่า ราชามานสิงห์ พระเจ้าอักบาร์มหาราชให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ได้บีบบังคับชาวฮินดู พุทธ เชนหรือซิกซ์ให้มานับถือศาสนาอิสลามเหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พยายามจะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่แต่ไม่สำเร็จ ทรงปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๘ รวม ๔๙ ปี
ในรัชสมัยของพระเจ้าอักบาร์มหาราช เมื่อพ.ศ. ๒๑๔๓ มีพ่อค้าชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียเพื่อค้าขายและก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Indian Company) ขึ้น ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นบริษัทที่เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมดในสมัยต่อมา
กษัตริย์อักบาร์มหาราช
ขอขอบคุณภาพจาก
www.indiaindream.com
๔. กษัตริย์ชาห์ฮังคีร์ (Jahangir) เป็นโอรสของพระเจ้าอักบาร์ มหาราช ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากพระเจ้าอักบาร์ มหาราช พ.ศ. ๒๑๔๘ เมื่อพระชนม์ ๓๗ ปี เคยก่อการกบฏต่อพระบิดาหลายครั้งแต่ก็ได้รับการให้อภัย กษัตริย์ชาห์ฮังคีร์ มีมเหสีนามว่านูรชาหัน ทรงปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ.๒๑๗๐รวม ๒๒ ปี
๕. กษัตริย์ชาห์ ชาฮัน (Sha jahan) เป็นโอรสของชาห์ฮังคีร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากพระบิดาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ โดยการฆ่าพี่น้องหลายคน ต่อมามีมเหสีชื่อ มุมตัส มาฮาล มีพระโอรส ธิดาด้วยกัน ๑๔ คน ชาห์ ชาฮันเป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล เป็นอนุสาวรีย์ความรักมอบให้แก่มเหสี กษัตริย์ชาห์ ชาฮันปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ.๒๒๐๒ รวม ๓๑ ปี
กษัตริย์ชาห์ ชาฮัน (Sha jahan)
จักรพรรดิซาห์ จาฮาล และ พระนางมุมตัสมะฮาล
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.bloggang.com
๖. กษัตริย์ออรังเซบ (Aurangzeb) เป็นโอรสของ ชาห์ ชาฮัน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากกษัตริย์ชาห์ ชาฮัน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๒ โดยจับ กษัตริย์ชาห์ ชาฮัน ขังคุกเพราะกลัวว่าราชสมบัติจะหมดไปจากการสร้างทัชมาอาล จึงขังจนชาห์ ชาฮัน จนสิ้นพระชนม์ในคุก แต่พยายามทำดีเพื่อลบล้างความชั่วของตน กษัตริย์ออรังเซบได้ทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้นอื่น ๆ ครั้งที่สำคัญที่สุดคือการรบระหว่างพระเจ้าออรังเซบกับพระเจ้าศิวจี กษัตริย์ฮินดู แห่งแคว้นมหาราษฎร์ภาคใต้ ทั้งสองฝ่ายได้เสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลการรบนั้นพระเจ้าออรังเซบกำชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด นอกนั้นยังมีสงครามระหว่างชาวซิกซ์กับอิสลาม เป็นต้น ประเทศอังกฤษเริ่มรุกอินเดียทีละน้อย จักวรรดิโมกุลเริ่มลดลงตามลำดับ กษัตริย์ออรังเซบปกครองแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๒๕๑ รวม ๔๙ ปี
มายุคนี้พุทธศาสนาในภาคเหนือและภาคกลางของอินเดียได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว จากการยึดครองอินเดียของกองทัพมุสลิมที่ยาวนาน คงเหลือแต่ภาคใต้บางส่วน เช่น ที่เมืองท่านาคปัฏฏินัม แต่แม้การะนั้นก็ต้องต่อสู่กับศาสนาฮินดูอย่างรุนแรง ดังเช่น นายเอ.ไอยัปปะ ยืนยันในงานเขียนของเขาว่า
"เมื่อนักบวชไศวะ และไวศณพของฮินดู เริ่มแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพุทธศาสนาอย่างรุนแรง และนักปราชญ์ชาวพุทธโต้วาทีแพ้ต่อพวกเขา แม้ขณะนั้นเมืองนาคปัฏฏินัมก็ยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ ชาวพุทธที่ถูกรังแก (จากที่อื่น) ก็ทยอยกันเข้าไปกลบภัยอยู่ที่นั่น ชาวพุทธที่เหลืออยู่ในอินเดียใต้ก็ค่อยๆ กลับไปนับถือศาสนาฮินดู จนกระทั่งพุทธศควรรษที่ ๒๑ ยังมีพุทธศาสนิกชนอาศัยอยู่นาคปัฏฏินัม"
ดังนั้นเมืองท่านาคปัฏฏินัม จึงเป็นที่หลบภัยของพระสงฆ์และพุทธบริษัทจนถึง พ.ศ. ๒๑๐๐ ตามบันทึกของพระถังซัมจั๋ง พ.ศ. ๑๑๐๐ ได้กล่าวสถานการณ์พุทธศาสนาว่ามีวัดที่นาคปัฏฏินัม ๑๐๐ วัด มีพระ ๑๐,๐๐๐ รูป มีวัดที่สำคัญ ๔ วัดคือวัดโศการาม วัดศิลปะแบบจีน วัดคุรุปาลัมปาไล และวัดจุฬามณีวิหาร เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.indiaindream.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น