วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

เกียรติยศยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอโศกมหาราช



เกียรติยศยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอโศกมหาราช




พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ (คนอินเดียเรียกวาเมาระยัน) ซึ่งทั้งสองคำมีความหมายว่า นกยูง

ในเบื้องต้นพระองค์เป็นกษัตริย์นักรบที่ดุร้าย ทำสงครามเพื่อขยายดินแดนแต่หลังจากสงครามแคว้นกาลิงคะ มีคนล้มตายจากการสู้รบมากมาย และที่ตายเพราะขาดอาหาร ประสบโรคระบาด บาดเจ็บ พิการ หลังสงครามอีกนับไม่ถ้วนเช่นกัน จึงเกิดความสลดสังเวชพระทัย เลิกทำสงคราม ภายหลังทรงนับถือพุทธศาสนาและทรงทำนุบำรุงศาสนาพุทธมีคุณเอนกอนันต์ดังนี้



๑. สร้างวัดจำนวน ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูทวีป

๒. เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสภานแทนการเดินทางไปล่าสัตว์หรือหาความสุขจากการเบียดเบียนเหล่าชีวิตสัตว์

๓. เลิกทำสงครามขยายดินแดน แต่หันมาสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศเพื่อนบ้านด้วยธรรม

๔.อุปถัมภ์การทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ และส่งพระสงฆ์ออกไปประกาศพุทธศาสนาทั่วโลก จำนวน ๙ สาย




๕.ทรงงดดื่มสุราและเนื้อสัตว์ในวันสำคัญ ๆ ต่อมาได้กลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาคือไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นแบบอย่างให้คนอินเดียปฎิบัติตาม และประชาชนชาวอินเดียมากกว่า ๘๐ % ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนันอบายมุขต่าง ๆ

๖.ทรงปักตั้งเสาศิลาไว้ในพุทธสถานและสถานที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย และต่อมาเสาศิลาเหล่านี้ได้กลายเป็นสัญญลักษรณ์ของศาสนาพุทธ เพราะมีเรื่องราวและธรรมของพระพุทธองค์ จารึกไว้


๗. ทรงเป็นแบบอย่างให้พระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ ดำเนินตาม คืออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ดังปรากฎในศิลาจารึก ฉบับน้อย จารึกฉบับใต้ ตอนที่ ๑ ความว่า
" นับเป็นเวลาเกินกว่า ๒ ปีครึ่งแล้วที่ข้า ฯ ได้เป็นอุบาสก แต่ตลอดเวลา ๑ ปี ข้่า ฯ มิได้กระทำความเพียรใด ๆ อย่างจริงจังเลย และนับแต่เป็นเวลาปีเศษแล้วที่ช้าฯ ได้เข้าหาสงฆ์ ข้า ฯ จึงได้ลงมือทำความเพียรอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา"



๘ มีพระจริยาวัตรบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน มีจริยาวัตรที่งดงามอีกหลายประการเช่น

-การแต่งตั้งอำมาตย์ผู้แนะนำประชาชนให้ตั้งอยู่ในธรรม
-การประกาศให้ข้าราชการรักษาอุโบสถศีลในวันพระ หรือวันอุโบสถ
-การขุดบ่อน้ำเพื่อสาธารณะประโยชน์
-การปลูกต้นไม้เพื่อให้คนพักในระหว่างการเดินทาง
-การตั้งโรงพยาบาลรักษาทั้งมนุษย์และสัตว์



๙. จารึกของพระองค์ที่รับสั่งให้จารึกไว้บนต้นเสา โขดหิน หรือแผ่นหิน ได้กลายเป็นหลักปฎิบัติให้ประชาชนชาวอินเดียปฏิบัติตามได้อย่างดี เรียกได้ว่า เป็นข้อปฎิบัติ ระเบียบ กฏหมายที่ดีที่สุดที่โลกเคยมีมา

๑๐. ตัวหนังสือที่พระองค์รับสั่งให้จารึกไว้ได้กลายเป็นต้นแบบอักษรในประเทศอินเดียทั้งหมด รวมทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร ศรีลังกา ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากอักษรพรามหมีของพระองค์

๑๑ . จารึกของพระองค์ทำให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเป็นจริง ที่มีบุคคลและประวัติศาสตร์สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาปรากฎให้โลกรับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลาจารึกที่ลุมพินี ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า พระพุทธธเจ้าประสูติที่ลุมพินี พระพุทธองค์เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องเล่าขาน หรือนิยายปรัมปรา



๑๒. ประกาศห้ามมิให้ฆ่าสัตว์เพื่อการกีฬา แบะรับประทานเป็นอาหาร และคำประกาศนี้ส่งผลให้ชาวอินเดียเกือบทั้งหมดเป็นมังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นอาหาร กินแต่พืชผักผลไม้ สัตว์นานาชนิด อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างมีความสุขสามารถพบเห็นได้ดาษดื่นในอินเดีย เช่น นกยูงนานาชนิด ลิง แร้ง วัว เดินได้อย่างมีความสุขบนท้องถนน ชายฝั่งทะเลที่ยาวประมาณ ๖,๐๐๐ กิโลเมตร ไม่มีการทำประมงด้วยเริือประมงขนาดใหญ่ เด็ก ๆชาวอินเดียไม่ถือหนังสติ๊กไล่ยิงนก กิ้งก่า นี่คือการรักษาศีลข้อหนึ่ง

๑๓. ทรงมีนโยบายเอาชนะด้วยธรรม คือคุณความดี (ธรรมวินัย) ทำให้ชาวอินเดียมีจิตที่เมตตา ไม่ส่งทหารไปรุกรานประเทศอื่น ๆ ไม่แย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นประชาชนที่เรียกร้องประเทศอังกฤษ ด้วยการใช้ความอดทน ไม่เบียดเบียนสู้รบด้วยอาวุธ

๑๔. ทรงตอนกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์มอบให้พระนางสังฆมิตตา (พระธิดา) นำไปปลูกที่เมืองอนุราธปุระศรีลังกา และกลายเป็นสิ่งที่ชาวศรีลังกาเคารพสักการะมากที่สุดในประเทศ


พระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ เขียน ว่าพบต้นเสาศิลาพระเจ้าอโศกตามสถานที่และเมืองต่าง ๆ จำนวน ๒๙ ต้น บางเสาแตกหักไม่สามารถระบุขนาดเสาได้




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ ของวัดไทยพุทธภูมิจัดพิมพ์เผยแพร่
โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น