วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

หลวงพ่อพุทธโสธร



ขอตอบน้อง ที่ใช้นามว่าชอบเที่ยว ที่จะต้องมีการ Present หวังว่าจะพอเป็นประโยชน์สำหรับงานนี้ของน้องชอบเที่ยว

เรื่องหนังสือข้อมูลพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารนั้น
พลอยโพยมคัดลอกมาจากหนังสือ โสธรวรารามวรวิหาร นิมิตแห่งบุญ ซึ่งจัดพิมพ์โดย คุณฐิระวัตร กุลละวณิขย์ ขณะดำรงตำแหน่ง อธิบกรมโยธาธิการและผังเมือง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานอำนวยการและบริหารงานก่่อสร้างพระอุโบสถ ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลหนังสือแห่งปี ในขณะนี้นด้วย หนังสืองามมาก ตั้งแต่กล่องใส่หนังสือ หน้าปกและภายในเล่มหนังสือ ไม่มีจำหน่ายค่ะ พลอยโพยมได้รับความอนุเคราะห์ จากเพื่อน ชื่อคุณสุดา ชัยรัต ไปตามล่าหามาให้

เรื่องใบเสมา น้องลองเข้าไปอ่านบทความนี้ใน
http://school.obec.go.th/bkngm/pic/bai-sema.html

รวมทั้งพลอยโพยมมีบทความ เกี่ยวกับ วัด หลวงพ่อพุทธโสธร และพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร รวม 4 บทความ ตามวันที่ ดังนี้

วัด..สัญลักษณ์ แห่งความศรัทธาของชาวพุทธ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร : สถาปัตยานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 255454

พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร : สถาปัตยานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ตำนานพระพุทธรูปสามพี่น้อง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

โดย คลิกขวา ในหัวข้อคลังบทความของบล็อก เลือก ปี 2011 แล้วคลิกเดือน กันยายน

ด้านข้างพระอุโบสถมีวิหารที่มีผู้คนมากมายไปจุดธูปเทียนถวายดอกไม้บูชาที่ด้านนอกและเข้าไปปิดทองพระพุทธรูปด้านในนั้น เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธรองค์จำลองรวมทั้งพระพุทธรูปต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า 

สาเหตุที่มีองค์พระพุทธโสธรองค์จำลอง (ซึ่งมีหลายองค์ ) ก็เพราะมีวาระที่ต้องอัญเชิญหลวงพ่อออกนอกพระอุโบสถหลายวาระ เช่น อัญเชิญหลวงพ่อมาแห่รอบตลาดในงานวันแห่หลวงพ่อประจำ ปี ช่วงเดือน 12 ของทุกปี เป็นการแห่หลวงพ่อทางบก มีการอัญเชิญ หลวงพ่อลงเรือแห่ทางน้ำ 2 วันหลังจากแห่ทางบกแล้ว ในบางคราวก็มีวาระอื่น ๆ อีกด้วย เป็นเรื่องราวขนบธรรมเนียมที่สืบสานมาเป็นเวลาร้อยกว่าปีแล้ว ส่วนหลวงพ่อองค์จริงก็สถิตอยู่บนแท่นในพระอุโบสถตลอดเวลา

ขณะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ หลวงพ่อองค์จริงซึ่งได้ก่อปูนครอบองค์พระไว้คือไม่ได้เคลื่อนย้ายท่านไปไหน จนเมื่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จซึ่งใช้เวลายาวนานหลายปี ปรากฎว่าปูนที่หุ้มองค์จริงไว้นั้นร้าว ก็เลยต้องมีการปั้นปูนหุ้มองค์พระใหม่ สังเกตุฝีมือปั้นปูนหุ้ม จะเห็นชัดว่าคนละฝีมือกันเนื่องจากเป็นคนละคนปั้นและเป็นคนละยุคสมัยกันด้วย

ในระหว่างการก่อสร้าง ก็ยังต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้คนที่นับถือศรัทธามากราบไหว้ แก้บน ปิดทององค์หลวงพ่อโสธร จึงมีวิหารชั่วคราวสำหรับการนี้ และวิหารนี้ก็มีหลวงพ่อโสธรองค์จำลององค์เดิมที่มีมาแต่เดิม เป็นพระประธาน พร้อมพระพุทธรูปที่เคยอยูในพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อให้ผู้คนที่เคารพนับถือศรัทธาปิดทองถวายบูชา  และก็เลยมีวิหารนี้มาโดยตลอดแม้การสร้างพระอุโบสถเสร็จสิ้นลง  ส่วนในอุโบสถจริงไม่มีการปิดทององค์พระพุทธรูป

ขอให้ Present บทความสำเร็จราบรื่นด้วยดีนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น