วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาจวด


วงศ์ปลาจวด (Sciaenidae)

ชื่อ อังกฤษ: Croaker, Drum

เป็นวงศ์ในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง

ปลาวงศ์ปลาจวด มีหลายสกุลและชนิด โดยมากเป็นปลาทะเลพบในน้้าจืดเพียงไม่กี่ชนิด




ปลาม้า เป็นปลาวงศ์ปลาจวดที่เป็นปลาน้ำจืด

ลักษณะทั่วไปของปลาวงศ์ปลาจวด

มีลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ คือ มีส่วนหัวโต จะงอยปากยื่นยาวแต่ปลายมน ตาโตอยู่ค่อนข้างไปทางด้านบนของหัว ปากมักอยู่ไปทางด้านล่าง ริมฝีปากบาง มีฟันเป็นเขี้ยวซี่เล็ก ๆ มักมีรูเล็ก ๆ อยู่ใต้คาง ครีบหลังยาวและเว้าเป็น 2 ตอน โคนครีบหางคอดกิ่ว ปลายหางอาจจะมีปลายแหลมหรือตัดตรง เกล็ดมีขนาดเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวจนถึงปลายครีบหาง ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก มีกระเพาะลมขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อรอบ ซึ่งสามารถทำเสียงได้เวลาตกใจหรือในฤดูผสมพันธุ์

ถิ่นอาศัยของปลาจวด

พบในเขตอบอุ่นรอบโลกมากกว่า 270 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น สกุล Aplodinotus ส่วนมากพบในน้ำกร่อย

สำหรับในประเทศไทยพบราว 40 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงชนิดเดียว คือ ปลาม้า
สำหรับปลาในวงศ์นี้ ภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาจวด" หรือ "ปลาหางกิ่ว"
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอยู่ชนิดหนึ่งที่เป็นปลาที่หายากมาก พบในเขตทะเลประเทศจีน คือ Bahaba taipingensis




ภาพปลาม้า

นิสัยของปลาจวดคือรักสงบ ชอบกบดานนิ่งอยู่ตามพื้น

ขนาดความยาวประมาณ 17-60 ซม.

กินอาหารจ้าพวกสัตว์น้้าขนาดเล็กกว่า เช่น กุ้ง ปู ตัวอ่อนแมลง แมลง และปลา



ประโยชน์ เนื้อปลามีรสชาติอร่อย นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร ถุงลมนำไปตากแห้งทำเป็นกระเพาะปลา

ปลาจวด ชนิดที่มีลักษณะคล้ายปลาม้ามาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bahaba polykladiskos (Bleeker,1852) มีรูปร่างเรียว ส่วนหางคอดกิ่ว ปากมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรบนยาวถึงกลางตาหรือขอบตาหลัง ฟันมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ครีบหลังแบ่งเป็นสองครีบ ครีบแรกเป็นก้านครีบแข็ง ครีบที่สองมีก้านครีบแข็งเป็นก้านครีบแรกต่อด้วยก้านครีบอ่อน ครีบหางเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ล้าตัวสีเทาอ่อนหรือเหลืองเหลือบเงิน มีขนาดตัวประมาณ 30-40 ซม. เกล็ดเรียบมีขนาดเล็ก เกล็ดเส้นข้างล้าตัวถึงปลายของครีบหาง


ปลาหางกิ่ว

ในทางอนุกรมวิธาน การใช้ลักษณะภายนอกอาจไม่เพียงพอในการจำแนก ต้องใช้ลักษณะภายในแยกชนิดของปลาทั้งสองออกจากกัน โดยการจำแนกปลาม้ากับปลาจวดนั้น จะดูที่กระเพาะลม (swimbladder) ซึ่งจะมีข้อแตกต่างของกระเพาะลมอยู่ตรงที่ กระเพาะลมปลาม้าจะมีเส้นแตกแขนงออกมาจากด้านหลังของผนังกระเพาะลมหลายคู่ ในขณะที่กระเพาะลมของปลาจวดมีเส้นที่แตกแขนงออกมาจากด้านหลังของกระเพาะลมเพียงคู่เดียว

หากเจอปลาม้าหรือปลาจวด แล้วไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเป็นตัวไหนกันแน่ ก็ต้องท้าการผ่าเอากระเพาะลมออกมาดู จะสามารถบอกได้ว่าเป็นปลาม้าหรือปลาจวด และข้อแตกต่างอีกประการที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปลาม้าเป็นปลาชนิดเดียวในวงศ์ปลาจวดที่เป็นปลาน้้าจืดที่พบในประเทศไทย ดังนั้นพอสรุปได้ว่าปลาม้าแตกต่างจากปลาจวดจากลักษณะภายในคือกระเพาะลม และถิ่นอาศัยคือปลาม้าเป็นปลาที่อาศัยในแหล่งน้้าจืดส่วนปลาจวดจะมีถิ่นอาศัยในน้้ากร่อยและทะเล ทำให้สามารถแยกปลาม้าออกจากปลาจวดได้

ที่มาของข้อมูล

หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ และ

ปลาม้าต่างจากปลาจวดอย่างไร

โดยอุไรวรรณ กว้างขวาง

กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรประมงน้้าจืด

มีข้อมูลปลาจวดในทะเลสาบสงขลา

ชื่อสามัญ Soldier croaker

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nibea soldado

ลักษณะทั่วไป ปลาจวดเป็นปลาน้ำกร่อย มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเขียวอ่อน ส่วนหลังมีเทาปนดำ ท้องสีขาวเงิน เกล็ดมีขนาดเล็ก หัวค่อนข้างเล็กลาดลงต่ำ ตาค่อนข้างเล็ก ปากกว้างจะงอยปากสั้นทู่ ครีบหลังมี 2 ส่วนเชื่อมติดกัน ปลายครีบยาวเป็นแพจรดโคนหาง ครีบท้องและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและแหลมคมยื่นยาว ครีบหางยาวปลายแหลม ครีบต่าง ๆ สีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในทะเลและบริเวณปากแม่น้ำ

ประโยชน์ เนื้อปลามีรสชาติอร่อย นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร ถุงลมนำไปตากแห้งทำเป็นกระเพาะปลา

บริเวณที่พบในทะเลสาบสงขลา บริเวณปากทะเลสาบจากเกาะหนูและเกาะแมว, บริเวณตั้งแต่หัวเขาแดงถึงเกาะยอ, บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอกจากเกาะยอถึงปากรอ, จากคลองหลวงบริเวณปากรอขึ้นไปจรดเส้นเขาติดต่อระหว่างเกาะใหญ่และปลายแหลมจองถนน



ปลาหางกิ่ว

ที่ตำบลบางกรูดเราจะแยกเรียกปลาจวด และปลาหางกิ่ว เป็นปลาคนละชนิดกัน สอดคล้องกับเอกสารวิชาการฉบับที่ 30 ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมง เมื่อ ปี พ.ศ. 2526 โดยสันทนา ดวงสวัสดิ์และคณะ เรื่อง สภาวะการประมง ชนิด และการแพร่กระจายของสัตว์น้ำบางปะกง โดยที่ ปลาจวด ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Johnius trachycephaius

ปลาหางกิ่วใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudosciaena sp. ซึ่งในวิกิพีเดียได้แยกสกุลชองปลาจวดไว้ดังนี้

Aplodinotus

Argyrosomus

Aspericorvina

Atractoscion

Atrobucca

Austronibea

Bahaba

Bairdiella

Boesemania

Cheilotrema

Chrysochir

Cilus

Collichthys

Corvula

Ctenosciaena

Cynoscion

Daysciaena

Dendrophysa

Elattarchus

Equetus

Genyonemus

Isopisthus

Johnius

Kathala

Larimichthys

Larimus

Leiostomus

Lonchurus

Macrodon

Macrospinosa

Megalonibea

Menticirrhus

Micropogonias

Miichthys

Miracorvina

Nebris

Nibea

Odontoscion

Ophioscion

Otolithes

Otolithoides

Pachypops

Pachyurus

Panna

Paralonchurus

Paranibea

Pareques

Pennahia

Pentheroscion

Plagioscion

Pogonias

Protonibea

Protosciaena

Pseudosciaena

Pseudotolithus

Pteroscion

Pterotolithus

Roncador

Sciaena

Sciaenops

Seriphus

Sonorolux

Stellifer

Totoaba

Umbrina

ปลาจวดเป็นปลาที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับหน้าตาของคน ว่า "หน้าตาเหมือนปลาจวด " และโดยทั่วไปน่าจะนิยมใช้มากกว่า "หน้าตาเหมือนปลากระทุงเหว"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น