กลับมาที่นครกุสินารา หลังจาก ออกนอกนครนี้ไปนานมากหลายเดือน
ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จสู่นครกุสินาราเพื่อปรินิพพานที่เมืองนี้นั้น ชาวบ้านยังเรียกชื่อเดิมว่า กุศินาคาร์ หรือกุสินารา บางส่วนนิยมเรียกกันในชื่อว่า "มถา กุนวาร์" หรือ "มถากัวร์" ซึ่งเลือนมาจากคำว่า "มฤตกุมาร" แปลว่า "เจ้าชายสิ้นชีพ" หมายถึงพระพุทธองค์เสด็จมาเข้าปรินิพพานนั่นเอง
ในมหาปรินิพพานสูตร เรียกที่นี่ว่า สาลวัน ซึ่งแสดงว่ามีต้นสาละเป็นหลัก อยู่ในคัมภีร์ สารัตถัปกาสินี เรียกที่นี่ว่า อุปวัตตนะ ซึ่งหมายถึงปรินิพพาน คือเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงที่นี่ ได้เสด็จขึ้นประทับบนกูฎาคาร ศาลาของมัลลกษัตริย์ ซึ่งสร้างไว้เป็นที่พักผ่อนในระหว่างที่เสด็จมาประพาส
กูฏาคารศาลานี้ตั้งอยู่ระหว่างไม้สาละคู่หนึ่ง ซึ่งมีลำต้นกลมงามประดุจต้นตาล มียอดน้อมเข้าหากัน
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.craftsonsales.com/crossstitch-CX-EV-TB24.html
พระพุทธองค์ตรัสขอให้พระอานนท์จัดตั้งที่นอน ผินศรีษะไปทางด้านเหนือระหว่างไม้สาละคู่นั้น เมื่อพระองค์ประทับสีหไสยาสน์ก็ปรากฏสิ่งอัศจรรย์ขึ้น
กล่าวคือต้นสาละผลิดอกออกผลผิดฤดูกาล หล่นพรูมาถวายสักการะพระตถาคต พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า "อานนท์ การบูชาก็เท่านี้แหละ ตถาคตมิได้ยินดีเท่ากับ
นายวินเซนต์ สมิธ เข้าใจว่าเมืองกุสินาราอยู่ในประเทศเนปาล ห่างจาก กาฐมาณฑุ ประมาณ ๓๐ ไมล์ แต่ยังหาสถานที่ไม่พบ ในพุทธประวัติธิเบตบอกว่า เมืองกุสินาราอยู่ในแคว้นอัสสัม และทุกวันนี้ชาวพุทธธิเบต ลาดัค ภูฐานและจีนตะวันตกเฉียงใต้ ยังนิยมไปนมัสการเมืองกุสินาราในแคว้นอัสสัม มีวัดแห่งหนึ่งเรียกว่า ฮาโซ ใครจะอธิบายว่า ฮาโซ ไม่ใช่กุสินารา ก็ไม่เชื่อ
สมเด้จพระเทพรัตนราขสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงนิพนธ์ไว่ในทัศนะจากอืนเดีย เมื่อคราวเสด็จกุสินารา เมื่อ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่า
"สถานที่นี้ชวนให้คิดถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่มีสิ่งใดอยู่ค้ำฟ้า สถานที่ซึ่งพระตถาคตเจ้าตรัสว่าเป็นเมืองใหญ่แห่งพระเจ้าจักรพรรดิราช เต็มไปด้วยความบันเทิงสุข ครั้นถึงสมัยพุทธกาล กลับกลายเป็นเพียงต้นสาละ มาถึงสมัยเราก็ไม่มีอะไรหลงเหลือจากสมัยพุทธกาล อย่าว่าแต่เหตุการณ์นานเช่นนี้ ดูกรุงศรีอยุธยาของเราบ้าง ตามเอกสารโบราณว่าเป็นเมืองเจริญรุ่งเรือง ขณะนี้ปราสาทราชวังล้วนเหลือแต่กองอิฐ ชวนสังเวชในความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย สิ่งที่เหลือคือคุณงามความดี ธรรมอันประเสริฐ"
( ทัศนะจากอินเดีย หน้า ๑๐๖)
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
หมายเหตุ มีเอกสารข้อมูลหลายแห่งระบุว่าพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานใต้ต้นรังคู่ แต่พลอยโพยมขอใช้ข้อมูลตามหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น
แก้ไขเพิ่มเติม มีนาคม พ.ศ ๒๕๕๙
ภาพดอกสาละข้างต้นคือ ต้นสาละลังกา มิใช่สาละในพระพุทธประวัติ
ขอเสนอภาพต้นและดอกสาละที่สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน กรุงกุสินารา
ขอขอบคุณภาพจากกัลยาณมิตร คุณอัคคภูมิ ศาสนานันทน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น