จิกสวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia racemosa Roxb.
อยู่ในวงศ์ : LECYTHIDACEAE (BARRINGTONIACEAE)
ชื่ออื่น : จิกบ้าน (กรุงเทพฯ); ปูตะ (มลายู-นราธิวาส)
จิกสวน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตร
ลำต้นมักมีปุ่มปม เปลือกสีเทาถึงน้ำตาลเทา เรียบถึงแตกเป็นแผ่น เปลือกชั้นในสีเหลืองแกมน้ำตาลถึงชมพู มีเส้นใยเหนียว
ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบคล้ายกระดาษ ไม่นุ่ม ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่กลับ ใบเกลี้ยง ทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบสอบแคบ ขอบใบหยักละเอียด เส้นใบ 13-18 คู่ ก้านใบอ้วนสั้น
ดอก
ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจะ ยาว 30-60 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยลง ดอกใหญ่ เสันผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ใบประดับรูปสามเหลี่ยม หลอดกลีบเลี้ยงเปิดออกมี 2-5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 4 กลีบ ไม่ติดกัน สีชมพู หรือขาวอมชมพู รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมขอบขนาน แผ่ออกกว้าง เกสรเพศผู้ก้านยาว จำนวนมาก รวมกันเป็นพู่ ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ผล
ผลมีสีเขียวถึงเขียวอมม่วง รูปไข่ถึงรูปรี ปลายผลแหลมทั้งสองด้าน มีกลีบเลี้ยง 2-4 กลีบ
จิกสวน ขึ้นในบริเวณน้ำท่วมขัง และริมแม่น้ำที่ไม่ห่างไกลทะเลมากนัก บางครั้งนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ มีเขตการกระจายพันธุ์ทางกาคกลาง ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใด้ และภาคใต้ของประเทศไทย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.aquatoyou.com
ภาพดอกจิกเหล่านี้ถ่ายประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน
ชาวบ้านทั่วไปเรียกต้นจิกนี้ว่า จิกสวน จิกบ้าน บางคนก็เรียกจิก (เฉย ๆ )
เวลามีดอกไม่มีการผลัดใบ และชอบขึ้นใกล้แหล่งน้ำ แต่ก็สามาาถปลูกได้ ในพื้นที่ทั่ว ๆ ไปบางครั้งก็พบเห็นในพื้นที่ริมถนนหนทางที่ไม่แหล่งน้ำเลยก็มี
พลอยโพยมไม่สามารถถ่ายภาพช่อดอกที่บานยาวเต็มเส้นสายของช่อดอกได้เลยแม้จะตั้งใจและพยายามเพียงใด ไปคอยถ่ายภาพตั้งแต่ยังไม่มีแสงตะวันสาดส่องก็ไม่เคยได้ภาพเลย เพราะดอกจะทยอยบานแล้วค่อย ๆ ร่วงลงมาจากโคนเส้นไล่มาหาปลายเส้น ในหนึ่งช่อใช้เวลาหลายวันกว่าจะบานครบทุกดอกตูม และทยอยร่วงลงมาทุก ๆ วัน เห็นภาพที่หลาย ๆ ท่าน ถ่ายภาพดอกที่บานอะร้าอร่ามงามตาเต็มทั้งเส้นสายของช่อดอกมาได้น่าอิจฉาเสียจริง
หากมีผู้จะนำข้อมูลไปใช้กรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ยังมีข้อมูล ของจิกน้ำ หรือในบางเอกสารเช่นหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเรียกว่า จิก ใช้ฃื่อสามัญภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ เหมือน จิกน้ำใน วิกิพีเดีย และมีข้อมูลดังนี้
จิกน้ำ หรือ จิกอินเดีย หรือ จิกนา หรือ จิกมุจรินทร์
ชื่ออังกฤษ: Indian Oak, Freshwater Mangrove)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula
เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ Lecythidaceae (BARRINGTONIACEAE )
จิกน้ำมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามภาษาถิ่นว่า "กระโดนทุ่ง" หรือ "กระโดนน้ำ" (อีสาน-หนองคาย), "ปุยสาย" หรือ "ตอง" (ภาคเหนือ) "กระโดนสร้อย" (พิษณุโลก) และ "ลำไพ่" (อุตรดิตถ์)
มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้และอัฟกานิสถาน, ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียแถบรัฐควีนส์แลนด์ โดยมักขึ้นใกล้ริมแหล่งน้ำ เป็นไม้ประเภทผลัดใบ สูง 5-15 เมตร
ลำต้น
เป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล แดงเข้ม
ใบ
เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด เป็นรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ขอบจักถี่ เวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงใบอ่อนเป็นสีแดง
ดอก
ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ห้อยลงเป็นระย้า ราว 30-40 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เป็นสีแดง หรือ ชมพู เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้เป็นฝอย ๆ สีชมพู หรือ สีแดง จำนวนมาก เวลามีดอกบานพร้อมกัน
โดยเฉพาะช่วงมีดอกจะทิ้งใบมีแต่ยอดอ่อนเป็นสีแดงจัด
ดอกออกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ในปีถัดไป
ผล
ลักษณะกลมยาว มีสันตามยาว มีเมล็ด
ประโยชน์
ยอดอ่อน และ ดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับลาบ, น้ำตก , แจ่ว และขนมจีน รสชาติมันปนฝาด
นอกจากนี้แล้วเนื้อไม้ยังใช้ทำไม้อัด ทำเครื่องเรือน
สรรพคุณ
เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา และเป็นสมุนไพรแก้ระดูขาว
ใบแก่ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง
เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือไม้ดอกและไม้ประดับ
วิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น