วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
ฃีวิตจริงที่ยิ่งกว่าบทประพันธ์ 1. ของศรินทร
คุณศรินทร เมธีวัชรานนท์
เมื่อเดือนสิงหาคมของปีนี้ พลอยโพยมได้มีโอกาสไปเยียมเยือน คุณศรินทร เมธีวัชรานนท์ ประธานกรรมการ (และผู้ก่อตั้ง) บริษัท ชาวเวอร์คิง แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กับเพื่อนรุ่นน้องที่มารับงาน (สาขาธนาคาร) ต่อจากพลอยโพยม ซึ่งพลอยโพยมเคยรู้จักท่านในขณะที่ตัวเองรับผิดชอบงานสาขาธนาคาร ฯ เมื่อพ้นหน้าที่ความรับผิดชอบมาแล้ว พลอยโพยมก็แทบไม่เหลือความทรงจำในเรื่องงานและลูกค้า เวลาลูกชายสอบถามเรื่องของธนาคารพลอยโพยมก็จะบอกว่า ระบบงาน กฎ ระเบียบต่าง ๆ คงเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โทรศัพท์ไปสอบถามเองดีกว่า ( อันที่จริงแม่ลืมงานพวกนี้ไปหมดแล้วต่างหาก) ส่วนน้องบางคนก็ถามว่าพี่จำลูกค้าคนโน้น คนนี้ได้ไหม พลอยโพยมก็เลือกที่จะจดจำไว้เพียงบางคนเท่านั้นแต่หากเลือกที่จะจำแล้วก็จำได้แม่นยำ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://sut1919.blogspot.com/2011/05/blog-post_23.html
เมื่อมีรุ่นน้องเอ่ยนามของคุณศรินทร พลอยโพยมก็นึกต่อไปถึงว่านามสกุล เมธีวัชรานนท์ บรรยายความทรงจำที่มีต่อคุณศรินทรได้ที่น้องบอกว่าใช่เลย พลอยโพยมจำได้ว่า คุณศรินทร เป็นสุภาพสตรีนักธุรกิจที่สงางาม ทันสมัย ยิ้มแย้มแจ่มใส อัธยาศัยดีไม่ถือตัวถึงขั้นเป็นคนที่เรียกว่าใจดีมาก ให้เกียรติผู้อื่น ทั้งที่รูปลักษณ์ไฮโซมาก หากขอความช่วยเหลือในธุรกิจงานธนาคาร คุณศรินทรก็ให้ความช่วยเหลือทุกครั้ง
แต่พลอยโพยมไม่เคยไปเยี่ยมเยียนท่านที่บริษัท เป็นแต่คุณศรินทรมาที่ธนาคาร
น้องบอกกับพลอยโพยมว่า "คุณศรินทรคิดถึงพี่พูดถึงพี่ด้วยความรู้สึกดีดี " พลอยโพยมก็มีความรู้สึกที่ดี ประทับใจกับคุณศรินทร จึงไปเยี่ยมท่านที่บริษัทซึ่งอยู่ที่อมตะนคร จังหวัดชลบุรี พลอยโพยมเรียนท่านว่าพลอยโพยมเขียนหนังสือ "วันวานของบางกรูด" เล่าเรื่องวันวานในวัยเด็กของตนเอง จึงได้ทราบว่าคุณศรินทรก็เขียนหนังสือเล่าเรื่องวันวานของท่าน ในชื่อหนังสือ " ภูเขาเคลื่อนได้ ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าบทประพันธ์ " และคุณศรินทรได้เล่าเรื่องราวให้พวกเราฟัง และมอบหนังสือ ภูเขาเคลื่อนได้ ให้กับพลอยโพยมมา
และได้รับอนุญาตให้เขียนเรื่องราวของคุณศรินทรได้
พลอยโพยมขอเล่าเรื่องราว วันวานของคุณศรินทร เมธีวัชรานนท์ ในอีกอรรถรส ไม่ใช่ความสนุกสนานที่เคยยลในยามเยาว์ ไม่ใช่เรื่องวิถีไทยพื้นบ้านในการดำรงชีวิต ไม่ใช่ภาพความสวยสดงดงามของธรรมชาติที่เสกสรรค์ปั้นแต่งให้มวลมนุษย์ แต่เป็นวิถีชีวิตที่พบวิบากรรมในวัยทำงานทั้งที่เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยและอบอุ่น ให้พบความทุกข์ระทมขมขื่นจนไม่มีที่ยืนในเมืองไทย การต่อสู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ที่ถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสี และที่สุดหลังจากได้รับพรของพระเจ้าที่ทรงเลือกประทานพรให้คุณศรินทร คุณศรินทรได้พบความยิ่งใหญ่ในใจตน จนทุกวันนี้คุณศรินทร มีความสุขมาก เป็นความสุขที่เ้รียกว่าสันติสุขและปิติสุขในใจ
ก่อนอื่นพลอยโพยมขอแนะนำหนังสือภูเขาเคลื่อนได้ของคุณศรินทร เมธีวัชรานนท์ ก่อน โดยคัดลอกมาดังนี้่
ภูเขาเคลื่อนได้
เป็นเรื่องราวการต่อสู้ของนักธุรกิจหญิงคนเก่ง "ศรินทร เมธีวัชรานนท์" ซึ่งประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เมื่ออายุเพียง 25 ปี และสามารถบริหารงานจนกลายเป็นบริษัทชั้นนำได้ในระยะเวลาไม่นาน แต่แล้วชีวิตอันสวยงามก็ต้องประสบปัญหา เธอถูกกล่าวร้ายว่าฉ้อโกง จนทำให้ต้องหลบไปไกลยังต่างแดน ต้องใช้ชีวิตลำบากยากเข็ญ จนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย แต่ด้วยความศรัทธาในพระเจ้า ทำให้เธอเลิกล้มความคิดนั้น และกลับมาต่อสู้ พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง จนได้รับการถอนฟ้อง
เธอได้รับชัยชนะทั้งในเรื่องคดีและชนะจิตใจตนเอง เพราะเธอให้อภัยกับทุกคนที่มีส่วนในการกล่าวร้าย และไม่ฟ้องร้องกลับ ซึ่งในทางธุรกิจแล้วเป็นเรื่องที่ดูโง่เขลามาก แต่ด้วยศรัทธาในพระเจ้า เธอเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด ต่อมาเธอก็สามารถกลับมาสร้างธุรกิจของตัวเองจนประสบความสำเร็จอีกครั้ง
ประสบการณ์ชีวิตของเธอ "ศรินทร เมธีวัชรานนท์" ผู้ที่เชื่อมั่นว่า ภูเขาเคลื่อนได้ หากคุณมีศรัทธา และไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ไม่ยอมแพ้ต่อความโกรธ เกลียด และความทุกข์ยาก แต่กลับนำมาเป็นแรงผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีสำหรับทุกท่านในการต่อสู้เพื่อมุ่งไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าได้เป็นอย่างดี
อาชีพ / ตำแหน่งปัจจุบัน
2536 – ปัจจุบันประธานกรรมการ (และผู้ก่อตั้ง)บริษัท ชาวเวอร์คิง แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
ปี 2546 – ปัจจุบัน ประธานกรรมการ (และผู้ก่อตั้ง) บริษัท เอสอาร์ แอดวานซ์ อินดัสตรีส์ จำกัด ( บริษัทผู้ผลิตกระจกนิรภัยรายใหญ่ )
ประวัติและตำแหน่งการทำงาน
2547 – 2551 กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัทหลักทรัพย์ KTBS จำกัด
2545 – 2546 ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน SiamFN จำกัด
2541 – 2545 กรรมการตรวจสอบ บริษัทหลักทรัพย์ แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน)
2539 – 2541 กรรมการ บริษัท Siam City Asset Management จำกัด (SCIAM) (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บลจ. ING Mutual Fund จำกัด (มหาชน) )
2542 – 2544 กรรมการผู้จัดการ (และผู้ร่วมก่อตั้ง) บริษัท เพรสโฮมแฟชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้ผลิตและส่งออกเคหะสิ่งทอส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา)
2530 – 2548 กรรมการผู้จัดการ (และผู้ก่อตั้ง) บริษัท เอสมาร์ท ดี-ไอ-วาย เซ็นเตอร์ จำกัด (บริษัทแห่งแรกในประเทศไทยที่ริเริ่มจำหน่ายสินค้าประเภท Do-It-Yourself หรือ D-I-Y)
2517 - 2523 กรรมการผู้จัดการคนแรก (และผู้ร่วมก่อตั้ง) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นวธนกิจ จำกัด (บริษัทในเครือของธนาคารทหารไทย จำกัด)
2514 - 2517 Marketing Executive Chase Manhattan Investment Co., Ltd.
2512 - 2514 Marketing Officer (นักการตลาดสตรีคนแรก) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://kpisociety.com/committee11.php
ตำแหน่งอื่นๆ :
- 2536 กรรมการบริหารสมาคมหมู่บ้านเด็กฤดูร้อนนานาชาติ CISV
เครื่องราช :
- 2538 รางวัล "นักธุรกิจสตรีแห่งปี" ประเภทนักบริหารด้านพานิชกรรม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/people/view/life/5374
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
กินนรและกินรี
กินรี และ กินนร เป็นอมนุษย์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นอมนุษย์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน
ตำนานกินรี
กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเสกของพระพุธ
ขอขอบคุณภาพจาก www.a-liv.com
กิมบุรุษ แปลว่า บุรุษอะไร เดิมทีว่ามีหน้าเป็นมนุษย์ตัวเป็นนกเข้าลักษณะของคนธรรม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่า กิมบุรุษ หรือกินนร มาจากมูลอันเดียวกันคือ กี แปลว่าอะไร ดังนั้นคำว่า กิมบุรุษ ก็แปลว่าชายอะไร และกินนร แปลว่า คนอะไร ถ้าเป็นอิตถีลิงค์ ก็เรียกว่ากินรี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=krurapee&month
มีการสันนิษฐานว่ากินนรของไทยคงจะได้เค้ามาจากกิมบุรุษของอินเดีย ภาพกินนรของอินเดียนั้นหน้าเป็นคนตัวเป็นนกและเป็นเพศหญิงรูปร่างท่าทางเหมือนผู้หญิงอินเดียทั่ว ๆ ไป คืออวบอ้วนแข็งแรง ไม่อ่อนช้อยเหมือนกินนรไทย
อมนุษย์ที่หน้าเป็นคนแต่ท่อนล่างเป็นนกนี้ ก็แพร่หลายในประเทศญี่ปุุ่น มีภาพสลักไม้โบราณท่อนบนเป็นรูปสตรีท่อนล่างเป็นนก คนหนึ่งเป่าขลุ่ย คนหนึ่งตีกลอง แสดงว่าเป็นนักดนตรี คนธรรม์เป็นผู้ร้องลำำนำ และอัปสรเป็นผู้ทำระบำ ภาพสลักไม้ของประเทศญี่ปุ่นนี้ก็คงเป็นนางกินรีนั้่นเอง
ที่อยู่ของพวกกินนร กินรี กล่าวกันว่าอยู่ที่เขาไกลาศ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวว่า
" ในเหมเขาไกลาศนั้นแลว่า มีเมืองอันหนึ่งเทียรย่อมเงินแลทองและมีฝูงกินรีอยู่แห่งนั้น บ้านเมืองนั้นสนุกนักหนาดังเมืองไตรตรึงษาสวรรค์ และเมืองนั้นพระปรเมศวร ธ อยู่นั้นแล "
พระปรเมศวรก็คือพระอิศวร หมายความว่าพวกกินนรเป็นบริวารของพระอิศวร
ในเรื่องพระสุธนของไทยพราหมณ์ปุโรหิตแนะให้เอาคนธรรม์มาบูชายัญ ถ้าหาคนธรรม์ไม่ได้ก็ให้จับนางมโนราห์มาบูชายัญแทนไดุ้่
ซึ่งในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินนร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน
มีหลายประเทศที่มีนิทานคล้าย ๆ เรื่องพระสุธนหรือมโนราห์ กันแพร่หลาย เช่น ลาว เขมร มอญ บอร์เนียว ญี่ปุ่น และจีน
โดยมีเค้าโครงเรื่องที่คล้ายกัน คือมีสาวสวรรค์ลงมาเล่นน้ำและถอดปีกหางหรือเสื้อผ้าไว้ แล้วมีชายหนุ่มโขมยเอาปีกหางหรือเสื้อผ้าไว้ เลยกลับไปไม่ได้
นิทานของญี่ปุ่นมีชื่อเรื่องว่า "ฮาโกโรโม " แปลว่าเสื้อขนนก เพราะนางสวมเสื้อผ้านี้แล้วบินเหาะไปไหนมาไหนได้
ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และธรรมดากินนรนั้นย่อมกลัวน้ำเป็นที่สุด ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยกินนรในเรื่องพระสุธน เพราะนางมโนห์ราชอบไปเล่นน้ำที่สระกลางป่าหิมพานต์ จึงถูกพรานบุญดักจับตัวได้
และในกัลลาติชาดก ยังได้แบ่งพวกกินนรออกเป็น ๗ ประเภท คือ
เทวกินนร เป็นพวกเทพกินนร ครึ่งเทวดาครึ่งนก เป็นประเภทที่คนไทยคุ้นเคย
จันทกินนรา จากนิทานชาดก เรื่องจันทกินรี มีรูปกายเป็นคน แต่มีปีก
ทุมกินนรา น่าจะเป็นพวกอาสัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
ทัณฑมาณกินนรา ชนิดนี้น่าจะมีอะไรคล้ายๆ นกทัณฑิมา ซึ่งเป็นนกปากยาวดุจไม้เท้าอยู่บนใบบัว
โกนตกินนรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด
สกุณกินนรา - น่าจะเป็นกินนรที่มีร่างท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก ยังไม่ทราบชัดว่าแตกต่างจากประเภทที่ ๑ และ ๒ อย่างไร
กัณณปาวรุณกินนรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด
ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินนร และกินรีไว้ในที่ต่าง ๆ ในฉากของป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินนรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย
นางกินรี มีในวรรณกรรมของไทยหลายเรื่อง เรื่องที่แพร่หลายที่สุด คือวรรณกรรมเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ซึ่งตัวนางเอกเป็นนางกินรี มาจากป่าหิมพานต์และถูกจับได้เมื่อลงมาเล่นน้ำในสระ จนต้องกลายเป็นพระมเหสีของพระสุธนผู้เป็นมนุษย์ และถูกกลั่นแกล้งให้ถูกเผาทั้งเป็น แต่นางใช้อุบายหลอกขอปีกหางที่ถูกยึดไว้และบินหนีรอดมาได้ ภายหลังพระสุธนออกติดตามไปยังป่าหิมพานต์และได้พบกันในที่สุด นาฏกรรมในเรื่องนี้มีหลายชุดที่มีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ชุด มโนราห์บูชายัญ , ระบำกินรีร่อน และระบำไกรลาศสำเริง
ขอขอบคุณภาพจากbenjakye.igetweb.com
ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ เป็นระบำชุดหนึ่งที่ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ได้ประดิษฐ์ท่ารำให้มีลีลาอ่อนช้อย งดงาม กับทั้งสอดแทรกความร่าเริงของเหล่ากินรี ที่โผผินบินมาเริงระบำกันอย่างสนุกสนาน โดยให้เข้ากับท่วงทำนองและจังหวะเพลง บางครั้งรำก่อนมโนราห์บูชายัญ หรือบางครั้งก็รำต่อท้ายมโนราห์บูชายัญ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากวิกิพีเดีย
หนังสืออมนุษย์นิยายของ ส.พลายน้อย กินนร-กินรี
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามของคำว่า "กินนร" ไว้ดังนี้ "น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป. (ป.กินนร ; ส.กินนร, กึนร)."
ขอขอบคุณภาพจากwww.pinn.co.th
ในหนังสือ "เรื่องเบ็ดเตล็ด" ของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป ที่พิมพ์ แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล) ณ เมรุวัดไตรมิตต์วิทยาราม เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เล่าเรื่อง "กินนร - คนธรรพ์" ไว้ดังนี้
"กินนรมีรูปร่างอย่างไร ดูเหมือนไม่ต้องอธิบายก็ได้ เพราะคงรู้จักกัน แล้ว แต่ถ้าว่าตามลักษณะรูปร่างกินนรในวรรณคดีของอินเดียจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือ หน้าเป็นม้า ตัวเป็นคนและเป็นเพศชาย ใน Dawson's Classical Dictionary of Hindu Mythology ว่า กินนรเป็นนักดนตรีและนักขับร้องของเทวดา อยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้าเชิงเขาไกรลาส เป็นบริวารท้าวกุเวร เหตุดังนี้ท้าวกุเวรจึงมีชื่อว่า กินนเรศ แปลว่า เป็นใหญ่ในพวกกินนร แต่เดี๋ยวนี้กินนเรศ หมายความว่านางกินนรผิดกับความหมายเดิมที่ว่า เป็นใหญ่ในกินนร ทั้งนี้คงเนื่องมาจากคำอย่าง เยาวเรศ ยุพเรศ อรรคเรศ เป็นต้นเหตุให้กินนรเป็นกินนเรศไปด้วย เป็นเรื่องโรคติดต่อ คำว่า กินนร ในภาษาสันสกฤตและบาลี ใช้หมายความถึงคนถ่อยคนเลวก็ได้ และก็เป็นการแปลกอยู่หน่อย ในภาษาอาหมคือไทยที่อยู่ในประเทศอัสสัมเรียกคนถ่อยคนเลวว่า คนม้า ส่วนคำว่า "หน้าม้า" ในภาษาของเราเอง ก็เป็นคำที่ไม่เป็นมงคลแก่ผู้ที่ถูกเรียกนัก ถ้าคำนี้ไม่ได้หมายความว่า นั่ง อยู่ที่ม้าหน้าร้านคอย "ต้มหมู" แล้ว ก็น่าจะให้ชื่อว่า เป็นพวกกินนรเห็นจะได้
ขอขอบคุณภาพจาก www.xn--22c0ba9d0gc4c.com
แต่กินนรนั้นถ้าแปลกันตามรูปศัพท์ก็ว่า คนอะไร
ส่วนกินนรผู้หญิงเรียกว่า กินรี คำนี้ก็อีก เรามีเรื่องนางแก้วหน้าม้า ซึ่งมีลักษณะเป็นอย่างกินนรของอินเดียแท้ ๆ แต่กินนรของเราหน้าและตัวท่อนบนเป็นนางมนุษย์ ตัวท่อนล่างเป็นนกซึ่งไปตรงกับคนธรรพ์ของอินเดียที่มีรูปตอนบนเป็นมนุษย์และตอนล่างเป็นนก ดู (Grunwedel's Buddhist Art)
ส่วนคนธรรพ์ของเรารูปร่างเป็นยักษ์เป็นการผิดแผกกันอีก กินนรผู้ชายของเรามีรูปรางอย่างไรไม่พูดถึง เห็นจะมีรูปร่างเป็นมนุษย์อย่างพ่อนางมโนราในเรื่องพระสุธนกระมัง รูปสลักที่โบโรบุดุระ มหาสถูปในเกาะชวา มีเรื่องสุธนชาดก เป็นรูปพระสุธนกำลังหยอดธำมรงค์ลงในหม้อน้ำและมีนางกินนรเก้าตนกำลังไปตักน้ำอยู่ นางกินนรเหล่านี้ มีรูปร่างเป็นอย่างนางมนุษย์ตามธรรมดานั่นเอง เป็นอันผิดกับรูปร่างนางกินนรของเราอีก
ขอขอบคุณภาพจาก www.baanjomyut.com
คำว่า "คนธรรพ์" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ)." นอกจากนั้นพจนานุกรมยังได้เก็บลูกคำไว้อีก ๒ คำ คือ
๑. คนธรรพ์วิวาห์ (คนทันพะ - ) น. การได้เสียเป็นผัวเมียกันเอง. (ส. คนฺธรฺววิวาห)
๒. คนธรรพศาสตร์ (คนทับพะ - ) น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่าวิชาดนตรี)
ขอขอบคุณข้อมูล
จากบทความของจำนงค์ ทองประเสริฐ
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
http://www.oknation.net/blog/ThaiTeacher/2010/04/26/entry-1
ขอขอบคุณภาพจาก www.nanagarden.com
กิน - นอน / eng /kin. neon/] (n ) รูปพหูพจน์ของสัตว์ (อมนุษย์) ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้; รูปพหูพจน์ที่รวมทั้งเพศผู้และเพศเมียของสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายดังกล่าว; กินรี และ กินริน = เพศเมีย และ กินนรา = (รูปเอกพจน์) เพศผู้
ในวรรณคดีไทยหลายเรื่องมีการพูดถึงกินนรกับกินรีพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า กินนรกับกินรี เป็นอมนุษย์ในเทพนิยาย กินนรเป็นเพศชาย และกินรีเป็นเพศหญิง แต่ก็มักเรียกปน ๆ กันไป กินนร หมายถึงทั้ง ๒ เพศก็มี กินนรกับกินรีอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ และอาจอยู่กันเป็นบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง เช่น กินนรกับกินรีในบทละครเรื่อง นางมโนห์รา-พระสุธน ก็บอกว่ามีบ้านเมืองของกินนรอยู่เชิงเขาไกรลาส
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.thaigoodview.com
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายว่า กินนร มี ๒ ชนิด
ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก
อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหนก็ใส่ปีกใส่หางบินไป
กินนรชนิดแรกนั้นเรามักเห็นกันบ่อย ๆ ในภาพวาดและรูปปั้น เช่น ที่อยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นรูปครึ่งคนครึ่งนก ส่วนที่มีรูปเป็นมนุษย์และใส่ปีกหางบินได้นั้น สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ กล่าวว่า ตรงกับรูปสลักที่มหาสถูปโบโรบุโดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย นางมโนห์ราในบทละครเก่าแก่ของไทยก็อยู่ในกินนรจำพวกที่ ๒ นี้ด้วย เมื่อนางจะถูกบูชายัญก็ร้องขอปีกหางมาสวมใส่ เพื่อรำถวายเทวดาเป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่อได้ปีกหางแล้วก็บินหนีกลับไปนครของนางที่ป่าหิมพานต์
ในเรื่องของอินเดีย กล่าวว่า พวกกินนรนั้น ถ้าได้คู่สู่สมเป็นสามีภรรยากันแล้วย่อมมีความรักใคร่ซื่อตรงต่อกันเสมอ เมื่อกวีอินเดียกล่าวถึงความรักระหว่างหญิงชายที่บริสุทธิ์ซื่อตรงต่อกัน ก็มักยกเอาความรักของกินนรขึ้นมาเปรียบ วรรณคดีไทยที่มีชื่อของกินนรกินรีปรากฏอยู่เสมอมีอยู่หลายเรื่อง ที่เป็นเรื่องของกินนรโดยตรง เช่น บทละครเรื่องมโนห์รา และที่เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรยายและบทพรรณนาก็มีมากในวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น ในไตรภูมิโลกวินิจฉัย ของพระยาธรรมปรีชา เรียบเรียงขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dailynews.co.th/article/44/183926
ข้อมูลของกินนร และกินรี มีหลากหลายดังที่พลอยโพยมรวบรวมมา ท่านที่ต้องการใช้ข้อมูลลองพิจารณากันตามอัธยาศัย อาจจะมีในส่วนข้อมูลของคุณ ส.พลายน้อยและจากวิกิพีเดีย ที่นำเรื่องมาประมวลผลข้อมูลเข้าด้วยกัน ส่วนบทความอื่น ๆ พลอยโพยมนำข้อมูลดิบมานำ้เสนอเป็นแต่ละที่มาของบทความ
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.himmapan.com/thai/himmapan_bird_thepkinnaree.html
สุดท้ายนี้ขอตอบข้อคิดเห็นในเชิงคำถามของคุณ tuping เมื่อ25 กรกฎาคม 2556 ว่า"กินนร-กินรี เป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ ท่อนบนเป็นมนุษย์ท่อนล่างเป็นนก ขาเป็นนก แต่ทำไมภาพในเรื่องพระสุธน-มโนราห์ จึงเป็นคนทั้งตัวแต่มีปีก ผิดลักษณะของสัตว์หิมพานต์น่าแปลกใจดี " ด้วยบทความสุดท้าย ซึ่งเป็นบทความจากนิตยสารกินรีของการบินไทยฉบับหนึ่ง (จำไม่ได้ว่าฉบับใด ปี พ.ศ.ใด ) ต่อไปนี้
ขอขอบคุณภาพจาก www.chaiwbi.com
กินรีคืออมนุษย์ชนิดหนึ่ง กล่าวกันว่ามีอยู่ในหิมวัตประเทศตามความเชื่อของชาวอินเดียซึ่งชาวไทยเรียกว่า ป่าหิมพานต์ คำว่ากินรีนี้ใช้เรียกอมนุษย์ที่เป็นเพศหญิง ถ้าเพศชายเรียกว่ากินนร
ไทยได้รับรูปแบบกินรีมาจากประเทศอินเดีย และได้ดัดแปลงเสียใหม่ตามความคิดของคนไทยเอง
กินรีของไทยจึงมีลักษณะเป็นหญิงงามทรงเครื่องพัสตราภรณ์อย่างนางฟ้า มีรูปกายท่อนล่างเป็นนก สามารถบินไปมาในอากาศและเดินทางไปมาระหว่างมนุษยโลกกับเทวโลกได้ เมื่อจะสรงน้ำก็สามารถถอดปีกหางออกและเมื่อนั้นจะมีรูปเป็นเหมือนหญิงสาวธรรมดาทุกประการ กินรีมีชื่อเสียงในเรื่องการบิน จะบินได้อย่างรวดเร็วและสามารถบินไปสู่มิติต่าง ๆ ได้ จนมนุษย์ธรรมดาไม่อาจติดตามได้ กินรีของไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นนางเอกในปัญญาสชาดก คือ มโนราห์ นั่นเอง
ระบำที่เรียกกันว่า มโนราห์บูชายัญ คือระบำที่ใช้แสดงประกอบเรื่องนี้ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นระบำกินรีที่งดงามน่าสนใจที่สุดชุดหนึ่งในนาฏศิลป์ชั้นสูงของเมืองไทย
วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556
ต้นใบพาย ...ที่หายลับกับวันวาน
พลอยโพยมขออภัยที่ขอใช้หน้า blog นี้ตอบคำถามจากข้อคิดเห็น ของ 2 ท่านเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านอื่น ๆ ที่สนใจข้อมูลนี้ด้วย
จากบทความวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เรื่อง ลีลาปลาตีน...เลนถิ่นปลาเขือ
คุณ Tam Urzaorage ได้มีคำถามเมื่อ วันที่24 กรกฎาคม 2556 ว่า ใช้ดินอะไรปลูกว่านใบพายหรอครับ ต้องขออภัยคุณ Tam Urzaorage ที่ไม่ได้ตอบคำถุามนี้ทาง e-mail
จากบทความข้างต้น ต้นใบพายของพลอยโพยมหมายความถึงต้นใบพายตามภาพที่แสดง เป็นใบพายที่พลอยโพยมเคยพบเห็นมากมายที่ชายน้ำบางปะกงที่บ้านหน้าวัดบางกรูดโดยเฉพาะคลองที่ขุดอ้อมข้าง ๆ และหลังบ้านอื้อเฮียบหมง มีต้นใบพายชนิดนี้ขึ้นเรียงรายกันเป็นกอใหญ่บ้าง กอเล็กบ้างเป็นจำนวนมาก ลักษณะดินที่มีต้นใบพายมาขึ้นอยู่นี้เป็นดินลักษณะดินเลนชายฝั่ง ปลาตีนจะมาคลานเล่นกระโดดเรี่ยพื้นเลนไปโน่น ไปนี่ ในเวลาน้ำลง เมื่อถึงเวลาน้ำขึ้นต้นใบพายเหล่านี้ก็จะจมอยู่ใต้น้ำ
เมื่อพลอยโพยมย้ายบ้านมาจากบ้านบางกรูดหลายปี จนในที่สุดบ้านอิ้อเฮียบหมงถูกรื้อถวายวัดบางกรูดไป นานเข้า นานเข้า คลองนี้ก็ตื้นเขินเพราะในอดีตจะต้องมีการขุดลอกคลองเป็นประจำ เมื่อไม่มีการขุดลอกคลองทั้งดินเลน ไม้ชายน้ำต่าง ๆ เช่นจาก แสม ลำพู ตะบูนขาว ถอบแถบน้ำ และวัชพืชต่าง ๆ ก็รุกล้ำจนหมดสภาพคลอง ด้านข้างสะพานท่าน้ำอื้อเฮียบหมงด้านซ้ายที่เคยมีต้นใบพายขึ้นอยู่ก็เช่นกันรกเรื้อจนมองไม่เห็นดินชายฝั่ง
ต่อมาพลอยโพยมได้พบเห็นต้นใบพายที่เคยรู้จักคุ้นเคยขายในร้านค้าต้นไม้ (พรรณไม้ชายฝั่งและพรรณไม้น้ำ ) ที่สวนจตุจักรเมื่อประมาณราวสิบปีที่แล้วปลูกอยู่ในกระถางจึงซื้อมาพร้อมพรรณไม้น้ำอื่น ๆ เช่นคล้าน้ำ อเมซอน ใบพายชนิดที่หลาย ๆ คนเรียกว่าสันตะวาใบพาย
บางครั้งเมื่อน้ำในกระถางที่ปลูกพรรณไม้น้ำดังกล่าวนี้แห้งเหือดนานเป็นเดือน ๆ พรรณไม้น้ำก็พร้อมใจชักชวนกันตายไปด้วยกันก็ตามที แต่เมื่อเติมน้ำลงไปใหม่พรรณไม้น้ำเหล่านี้ก็เจริญเติบโตได้ใหม่จากเหง้าเดิมในกระถาง แต่แล้ว จู่ ๆ ต้นใบพายจากสองภาพข้างบนก็ล้มหายตายจากลาลับหลบเร้นไม่เห็นต้นและเหง้าไปอย่างสิ้นเชิงไม่มีการงอกต้นใหม่ให้ รอจนเป็นปี ๆ ก็ไม่มีต้นใหม่ให้อีกเลย
พลอยโพยมกลับไปหาที่สวนจตุจักรอีกหลายครั้ง แม้แต่ในปัจจุบันนี้หากได้ไปจะสอดส่องมองหาก็ไม่เคยพบว่าแม่ค้านำมาขายอีกเลย เคยหาซื้อตามร้านค้าขายปลาตู้ก็พบแต่พรรณไม้น้ำอื่น ๆ
พลอยโพยมหวนกลับไปบางกรูดตระเวนตามหาต้นใบพายตามบ้านญาติ คนรู้จัก ไล่ตามลำน้ำบางปะกงจากบางกรูดไปจนถึงแถบบางคล้า เมื่อถามหาจะได้รับคำตอบว่าต้นใบพายนี้สูญหายไร้ร่องรอยไปในช่วงที่น้ำทะเลรุกล้ำมาทำให้น้ำในแม่น้ำบางปะกงเป็นน้ำกร่อยเป็นเวลาที่ยาวนานขึ้นกว่าเดิมบางปีเป็นน้ำกร่อยเกือบแปดเดือน และยังมีกุ้งกุลาดำมาเป็นความฝันของคนที่มีที่ดินติดชายแม่น้ำ รื้อสวน รื้อนาพากันทำบ่อเลี้ยงกุ้งกันเกือบทั้งบางและหลาย ๆ บาง
ต้นใบพาย ปลาตีน ปลาเขือ ปูตัวเล็กตัวน้อย ลดจำนวนจนบางพื้นที่ไม่เคยพบเห็นหลังจากหิ่งห้อยที่เคยพราวพร่างสว่างตาเวลามืดมลายหายไปไม่หวนคืนให้ตื่นตาอีกต่อไปโดยค่อย ๆ ลดจำนวนลงและไม่มีเลย
เพราะน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อดินต้องมีระดับความเค็มที่เพียงพอ เกษตรกรต้องสั่งซื้อน้ำทะเลมาผสมในบ่อเลี้ยงให้ได้ระดับความเค็ม และน้ำที่มีความเค็มในบ่อเลี้ยงเหล่านี้จะถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำบ่อแล้วบ่อเล่า นอกจากความเค็มแล้วยังมีสารเคมี ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะสารเคมีที่ใช้เพื่อเป็นการรักษาโรคของกุ้งกุลาดำที่เกิดปัญหาป่วยในระหว่างการเลี้ยง แม้บ่อเลี้ยงของเกษตรกรบางคนไม่มีปัญหาต้องพึ่งยาวิทยาศาสตร์ที่เป็นสารเคมีต่าง ๆ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ปลอดโรคก็ยังมีสารเคมีตัวอื่น ๆ ในปริมาณมากและเป็นการใช้สารเคมีหลายชนิดด้วยกัน
ดังนั้นระบบนิเวศวิทยาทีี่่มีสา่รเคมีมากมายได้ทำลายวงจรชีวิตของสัตว์น้ำหลายชนิด โดยเฉพาะหิ่งห้อยที่ต้องคอยพึ่งพาสัตว์น้ำอื่น ๆ จึงไม่อาจดำรงพันธุ์อยู่ได้
ทั้งนี้ก็รวมไปถึงพืชพรรณไม้น้ำด้วย
ฝันร้ายจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำของชายฝั่งบางปะกงผ่านไป แต่สิ่งที่คงเหลืออยู่ คือความรกร้างทรุดโทรมของแผ่นดิืนที่เคยเขียวขจีของสวนไร่และนาข้าว
แม้ว่าปัจจุบันพื้นที่หลาย ๆ แห่งที่ริมฝั่งบางปะกงเริ่มมีหิ่งห้อยให้แสงวิบวับบ้างแม้จะไม่ถึงขั้นพร่างพรายประกายแสง มีปลาตีนเริ่มคลานและกระโดดเรี่ยเลนให้พบเจอในหลายพื้นที่ ปูก้ามดาบ ลูกปูหลาย ๆ สีมีให้แลชมในบางฤดูกาล แต่ต้นใบพายยังหายลับไม่คืนกลับมา ภาพต้นใบพายในกระถางนี้พลอยโพยมไปถ่ายมาจากกรมประมงที่บางเขนเมื่อสามสี่ปีก่อน ย้อนไปหาใหม่ก็ไม่พบเจอเสียแล้วเช่นกัน
แต่เท่าที่หาเรื่องราวของต้นใบพายจากอากู๋ผู้รอบรู้หลักแหลม ( Google ) " ปราชญ์ไอที "ที่ล้ำเลิศของผู้คนยุคนี้ พบว่ามีคุณปัทมพงษ์ โพสต์ข้อความไว้ตั้งแต่เดือน มกราคม 2012 ว่า
บ้านสวนพชรที่บ้านสวนอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการใกล้แม่น้ำเจ้าพระยายังมีต้นว่านใบพายหาได้ไม่ยากจึงอยากอนุรักษ์ไว้ให้คนได้รู้จัก โดยมีจำหน่ายด้วย
ซึ่งสามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้ที่หมายเลข 081 -6940200 หรือ 084-563-1782
นาย ปัทมพงษ์ บุญสอาด
ธนาคาร ธนชาต สาขา สามแยก405
เลขบัญชี 405-2-22800-6
http://www.bansuanpa-chara.com
พลอยโพยมก็อยากอนุรักษ์ต้นใบพายไว้เช่นกัน
ต้นใบพายของคุณปัทมพงษ์
เมื่อลองติดตามอ่านดูหลาย ๆ ที่ ก็พบว่าชาวประชาที่เลี้ยงปลากัด เรียกต้นใบพายนี้กันว่า ต้นว่านใบพาย ซึ่งชาวบางกรูดเรียกว่า ต้นใบพาย และเด็กๆ ที่เลี้ยงปลากัด ก็ใช้ต้นใบพายชนิดนี้ใส่ในโหลปลากัดกัน
พลอยโพยมมีข้อมูลมาแบ่งปันตามเอกสารที่มีในมือ แต่ไม่มีเอกสารหนังสือเรื่องว่านเลย ขอใช้ข้อมูลตามที่มีแบ่งปันข้อมูลดังนี้
วาน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptocoryne ciliata Roxb
ชื่อพ้อง -
ชื่ออื่น ว่านน้ำรูปใบหอก
เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี
ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ในดินใต้น้ำส่งใบและดอกเจริญเหนือน้ำ
ใบ
เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ใบยาว 15-40 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ผิวใบด้านล่างสีเขียวหม่น ก้านใบยาว 15-30 เซนติเมตร หรือขึ้นกับระดับน้ำ
ดอก
ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกสั้น มีใบรองรับช่อดอกลักษณะเป็นกาบรูปทรงกระบอกยาวปลายเปิดเป็นรูปไข่ เรียวแหลม ขอบใบมีขนยาวสีม่วงชมพู
พบตามลำธารในป่้าพรุและป่าดิบชื้น
ส่วนพรรณไม้น้ำที่เรียกว่า ใบพาย
ใบพาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptocoryne balansae Gagnep
ชื่อพ้อง -
ชื่ออื่น -
เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี จัดเป็นพืชใต้น้ำ ต้นใต้ดินเป็นเหง้าสั้น ๆ ส่วนเหนือดินลักษณะเป็นกอประกอบด้วยโคนก้านใบหุ้มประกบไว้
ใบ
เป็นใบเดี่ยวมีก้านสั้นกว่าแผ่นใบซึ่งมีลักษณะเรียวยาว แผ่นใบไม่เรียบเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบสีเขียวสด ใบยาวประมาณ20-30 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร
ดอก
ออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีกาบสีม่วง ยาวเรียวและบิดเล็กน้อยหุ้มช่อดอกไว้
เป็นพืชที่พบได้ในบ้านเราแต่ไม่บ่อยนัก สามารถขึ้นได้ทั้งในน้ำกระด้างและที่มีแสงจัด นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลา
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
พรรณไม้น้ำในประเทศไทย ของรองศาสตราจารย์คุณหญิงสุชาดา ศรีเพ็ญ ภาควิชาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พลอยโพยมมีภาพจากหนังสือพรรณไม้น้ำสวยงาม กรมประมง ฯ ดังนี้
ขอขอบคุณภาพจาก พรรณไม้น้ำสวยงาม ของสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรมประมง ฯ
พรรณไม้สกุล Cryptocoryne มักเรียกกันว่า คริป (Crypts ) เป็นพรรณไม้น้ำที่อยู่ในวงศ์ Araceae จัดเป็นพืชมีดอกใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชล้มลุกขึ้นในน้ำจืด ตามหนองบึงที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขังตื้นๆ หรือบริเวณริมคลองที่มีน้ำไหลเอื่อย ๆ
ลักษณะลำต้น
เป็นเหง้าใต้ดินมีไหลสั้น ๆ ใบแตกออกเป็นกระจุกรอบข้อแทงขึ้นมาจากพื้น เส้นใบเรียงตัวขนานกัน ก้านใบเป็นโพรง
ดอก
ออกเป็นช่อชูขึ้นมาเหนือน้ำ หุ้มด้วยกาบประดับที่มีลักษณะเป็นหลอดปลายแผ่ออกคล้ายปากแตรมีส่วนโคนโป่ง
จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากเนื่องจากสวยงามแปลกตา ชนิดที่นิยมนำมาประดับตู้ปลา ได้ แก่
C. blassii (บอนแดง) พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย ต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งแรง ใบเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงขนาดใบยาว 4-8 เซนติเมตร ก้านใบผอมยาวมีดอกเป็นช่อสีเหลือง
C. ciliata ( ใบพาย วาน้ำ Ciliated Cryptocoryne ) มีการแพร่กระจายในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย
ต้นเป็นแท่งอ้วน ๆ มีไหลสั้น ๆใบเป็นรูปหอกสีเขียวท้ายแหลมปลายแหลมกว้าง 6-10 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1- 5 เซนติเมตร จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
C. cordata ( ใบพาย Siamese Cryptocoryne ) เป็นพรรณไม้น้ำพื้นเมืองของไทย มีใบสีแดงเข้ม สูงได้ถึง 15 - 20 เซนติเมตร
C.balansae (บอนน้ำ ใบพายมวกเหล็ก) เป็นพรรณไม้น้ำพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายบนที่สูงบริเวณน้ำตกหรือลำธารน้ำไหล มีใบรูปหอกแคบยาว ปลายใบแหลม แผ่นใบสีเขียวอ่อนถึงชมพูแดงมีรอยย่นเป็นลอนดูเด่นแปลกตา จัดเป็นพรรณไม้น้ำขนาดกลาง
C.tonkinensis มีใบเรียวยาวขนาดเล็กใบใต้น้ำมีสีเขียวถึงสีน้ำตาลแดง ยาว 20-40 เซนติเมตร กว้าง 5-15 มิลลิเมตร ลักษณะคล้ายเส้นผม
C.wendtii มีใบและก้านใบสีเขียวอมแดง
C. griffithii มีต้นเป็นพุ่มสูง 30-40 เซนติเมตร ใบสีเขียวมรกต ใต้ใบมีสีเขียวอมเทา
พรรณไม้น้ำสกุล Cryptocoryne จัดเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ช้า ในธรรมชาติจะเกิดต้นอ่อนขึ้นปีละ 1-3 ต้นเท่านั้น
สถาบันนวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้ศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจนกระทั่งประสบความสำเร็จสามารถขายพันธุ์พรรณไม้น้ำสกุล Cryptocoryne ได้แล้วจำนวน 4 ชนิดคือ C.balansae C. tonkinensis C blassii และ C.wendtii
ในหนังสือเล่มนี้มีพืชในสกุล Acorus ซึ่งมีลักษณะเด่น คือมีใบแตกออกจากลำต้นเรียงกันคล้ายรูปพัดสวยงาม
และเรียกพืชในสกุล Acorus ว่า ว่านน้ำ เป็นพรรณไม้น้ำ ที่อยู่ในวงศ์ Araceae
จัดเป็นพืชมีดอก ใบเลี้ยงเดี่ยว มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีลำต้นเป็นไรโซม ( Rhizome ) อยู่ใต้ดิน
ใบมีลักษณะแบน เรียวยาว ปลายแหลม รูปร่างคล้ายดาบ ฐานใบเป็นกาบเรียงเป็นโคนต้นเป็น 2 แถว
ชอบขึ้นบริเวณที่ลุ่มน้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
พรรณไม้น้ำสวยงาม ของสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ กรมประมง ฯ
ขอตอบคำถามว่าใช้ดินอะไรปลูกใบพาย พลอยโพยมคิดว่าดินที่ปลูกน่าจะเป็นดินประเภทเดียวกับดินที่ใช้ปลูกบัว หรือดินมีลักษณะกึ่งดินโคลน หรือเลนแข็งตามชายแม่น้ำชายคลอง (ถ้าหาได้โดยไม่ต้องซื้อหา)
หรือดินอย่างในภาพต้นใบพายที่อยู่กับพื้นดินของคุณปัทมพงษ์ ซึ่งเป็นต้นใบพายตามธรรมชาติ แต่สำหรับที่พลอยโพยมคุ้นเคยดินจะเหลวกว่านี้
ส่วนคำถามของคุณ tuping เมื่อ25 กรกฎาคม 2556
"กินนร-กินรี เป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ ท่อนบนเป็นมนุษย์ท่อนล่างเป็นนก ขาเป็นนก แต่ทำไมภาพในเรื่องจึงเป็นคนทั้งตัวแต่มีปีก ผิดลักษณะของสัตว์หิมพานต์น่าแปลกใจดี "
พลอยโพยมขอกล่าวถึงคราวหน้า
เพิ่มเติม
เนื่องจากพลอยโพยมคิดจะซื้อต้นใบพายจากคุณปัทมพงษ์มาลองปลูกชายแม่น้ำบางปะกงที่บริเวณตำบลบางกรูดใหม่ เมื่อวานนี้ก็ไปที่บ้านพี่สุกัลยาแต่เมื่อลองปรึกษากันดูก็คิดว่าลงเอาลงปลูกในคลองบ้านพี่สุกัลยาไม่ได้ นอกจากพี่สุกัลยาต้องปลูกลงกระถางไว้เหมือนที่พลอยโพยมกำลังจะซื้อมาปลุกใหม่
พลอยโพยมปรึกษาคุณมีนกรใกล้ตัวว่าจะเอาไปลงชายคลองแถบตำบลบางซ่อน ( บรรจงฟาร์ม) ได้รับคำอธิบายว่า คงต้องทำใจที่ต้นใบพายนี้คงจะไม่อาจกลับมาแพร่พันธุ์ในธรรมชาติที่ริมชายฝั่งแม่น้ำบางปะกงได้อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากแม่น้ำบางปะกงมีระยะเวลาที่น้ำกร่อยนานขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งความเค็มของสายน้ำก็เพิ่มระดับความเค็มขึ้น ทั้งนี้หลังจากปากอ่าวบางปะกงได้ถูกขุดลอกสันดอนออกไปเพื่อให้เรือใหญ่ ๆ ที่บรรทุกสรรพสิ่งหลายอย่างเข้ามาทั้งที่โรงไฟฟ้า ทั้งโกดังสินค้าต่าง ๆ ที่เรียงรายกันริมแม่น้ำผ่านเข้าออกได้สะดวก ในอดีตนั้นเรือบรรทุกขนาดความจุแค่ 100 ตัน จะผ่านเข้ามาในลำน้ำบางปะกงจะต้องรอช่วงที่น้ำทะเลขึ้นมาก ๆ จึงจะล่วงล้ำเข้ามาในแม่น้ำบางปะกงได้ แต่หลังจากขุดสันดอนแล้วเรือขนาดความจุ 500 ตันก็แล่นเข้าออกได้สบาย ๆ ทุกเวลา ร่องน้ำของแม่น้ำบางปะกงก็เป็นร่องน้ำลึกขึ้นกว่าเดิม น้ำเค็มในทะเลที่เคยมาเปลี่ยนสภาพน้ำจืดเป็นน้ำกร่อยในลำน้ำบางปะกงที่เคยทำให้แม่น้ำเป็นน้ำกร่อยในระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตรจากปากอ่าวกลายเป็น 140 กิโลเมตร ทำให้น้ำกร่อยขึ้นไปถึงจังหวัดปราจีนบุรีจนในที่สุดต้องสร้างเขื่อนทดน้ำ
จากอดีตเวลาหน้าน้ำกร่อยที่กินเวลานาน 4 เดือนนั้น เมื่อถึงฤดูฝนน้ำฝนที่ตกไหลลงมาตามเส้นทางน้ำจากต้นแม่น้ำบางปะกงในเวลาน้ำลงก็ไหลไปสู่ทะเล เมื่อไหลมาถึงสันดอนน้ำจะถูกเก็บกักไว้ไม่ไหลพรวดพราดสู่ทะเลหมด ครั้นน้ำทะเลหนุนกลับมาในช่วงน้ำขึ้นความเค็มของน้ำก็จะเจือจางไปเรื่อย ๆ กับปริมาณฝนที่ตกลงมาเรื่อย ๆ เช่นกัน คนบางกรูดจึงหมั่นคอยฟังข่าวว่าตอนนี้น้ำจืดลงมาถึงไหนกันแล้ว
แต่ปัจจุบันเมื่อน้ำฝนที่ไหลลงมาทำให้น้ำในแม่น้ำเจือจางความเค็มลงไหลไปถึงปากอ่าวก็ไหลเลยไปรวมกับห้วงมหรรณพกว้างใหญ่ไพศาลในทะเลถูกกลืนกินเป็นน้ำเค็มไปหมดสิ้น เมื่อน้ำทะเลหนุนกลับมาก็เป็นน้ำทะเลเค็มจัดไหลเวียนขึ้นมาไปได้ไกลตามความลึกของร่องน้ำ วัฎจักรในธรรมชาติของลำน้ำบางปะกงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาด้วยน้ำมือของมนุษย์
จึงสอดคล้องกับวลีว่า สิ่งใดมีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์
เมื่อมนุษย์ไขว่คว้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างความเจริญทางวัตถุต่าง ๆ ธรรมชาติก็ถูกทำลายไป ธรรมชาติถูกมนุษย์รุกรานรังแกความสมดุลย์ที่เคยมีสูญสลายหายไป โลกจึงรับโทษมหันต์จากธรรมชาติกันอยู่ทุกวันนี้เห็นกันได้ชัดเจนในปัจจุบัน
แม้วิทยาการจะก้าวหน้าไปมากพืชพันธุ์ต่างๆ สามารถเพาะเนื้อเยื่อได้ แต่พืชพันธุ์จากการเพาะเนิ้อเยื่อนั้นไม่อาจแพร่พันธุ์ได้เองในธรรมชาติอีกต่อไปแล้ว
แม้แต่พืชผักสวนครัวก็ไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อได้จากพืชผักที่ซื้อหามาบริโภคในตลาด หรือใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต นอกจากได้มาจากชาวบ้านที่ปลูกเองในธรรมชาติแต่ปริมาณที่ผู้คนจะปลูกพืชผักกันเองในปัจจุบันก็มีน้อยมากเพราะสวนถูกเปลี่ยนสภาพไปมากทุกจังหวัดของเมืองไทยเสียแล้ว ที่ใกล้ตัวพลอยโพยมที่สุดก็คือสวนทั้งหลายที่บ้านบางกรูด
ช่างน่าเสียดายกับวันคืืนของวันวาน
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
พรรณไม้..โล่ติ้น ชื่อชินหู
โล่ติ้น
สำหรับคนบ้านนอกแล้วชื่อโล่ติ้นเป็นชื่อของพรรณไม้ที่คุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่่งส่วนใหญ่จะนิยมเรียกว่าต้นหางไหลมากกว่า แม้ว่าจะมีชื่อเต็มว่าหางไหลแดงก็ตามที แต่ชาวบางกรูดมักเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นหางไหล ทั้งนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันดีว่าต้นหางไหลนั้นมีชื่อว่าต้นโล่ติ้นด้วย
ชาวสวนโดยทั่ว ๆ ไปจะมีต้นโล่ติ้นนี้เป็นพรรณไม้ประจำสวน
สำหรับเกษตรทำบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา ก็จะต้องใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของต้นโล่ติ้นเสมอมา
โล่ติ้น
ชื่อท้องถิ่น : ไหลแดง
ชื่ออื่น : กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหลน้ำ อวดน้ำ และโพตะโกซ่า
ชื่อสามัญ : Tuba root
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris sp.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ความเป็นมา มีรายงานว่าชาวจีนเป็นผู้นำโล่ติ๊นมาปลูกเมื่อปี พ.ศ.2470 โดยใช้ส่วนของรากทุบแช่น้ำค้างคืน สังเกตว่าน้ำที่แช่โลติ๊นขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว ก็จะนำไปรดสวนผักเพื่อฆ่าหนอน หรือแมลงที่มากัดกินผัก ซึ่งนับว่าได้ผลดี
ในสมัยต่อมาได้มีผู้วิเคราะห์รากโลติ๊นพบว่ามีสารที่มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวมีพิษ เรียกชื่อสารพิษนี้ในเวลาต่อมาว่า โรตีโนน (Rotinone)
สารพิษนี้นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงอีกด้วย โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง เป็นสารอินทรีย์สลายเร็ว ไม่ตกค้างในพืชอาหารและสิงแวดล้อม
ในเมืองไทยพบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับโลติ๊นประมาณ 21 ชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบว่า มีสารพิษมากและนิยมปลูกเป็นการค้า คือ ชนิดแดง และชนิดขาว ซึ่งพบว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5 เปอร์เซนต์ ในไทยพบชนิดแดงมากกว่าขาว โดยพบมากตามบริเวณแม่น้ำปิง ตั้งแต่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ส่วนภาคกลางพบมากแถวปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และท้องที่ใกล้เคียง ในภาคกลางนอกจากจะเรียกว่า หางไหล อาจเรียกชื่อตามท้องถิ่นที่มีพืชนี้ขึ้นว่า อวดน้ำ ไหลน้ำ กะลำเพาะ และโพตะโกซ่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบบริเวณต้นน้ำและเชิงเทือกเขาภูพาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นโดยทั่วไปมีลักษณะกลม
ใบใบอ่อนและยอดมีขนอ่อนสีน้ำตาลปนแดง เถาหรือลำต้นส่วนที่แก่มีสีน้ำตาลปนแดงเช่นกัน แต่จะเริ่มมีสีเขียวเห็นชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง ใบแก่มีสีเขียว ในก้านใบหนึ่งๆ จะมีใบตั้งแต่ 5 ถึง13 ใบ โดยใบจะขึ้นเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 2-4 คู่ ใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ) จะมีขนาดเล็กที่สุด และเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดก้านใบแต่ละก้านจะขึ้นบนลำต้นสลับด้านกัน ใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่ กว้างประมาณ 3.0 - 9.5 ซ.ม. และยาวตั้งแต่ 6.5 - 27.0 ซ.ม. โคนใบเล็กเรียวขึ้นไปและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนสีเขียวลักษณะมัน เส้นแขนงลักษณะคล้ายก้างปลาได้ชัด แต่ไม่ยาวจนชิดขอบใบ ด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน เส้นใบมีลักษณะเขียวปนน้ำตาล
ดอกออกเป็นช่อ มีลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่ง ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ช่อดอกออกตามลำต้น แต่ละช่อยาวประมาณ 20-25 ซ.ม.
ผลเกิดจากการผสมเกสร มีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักอ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ ภายในฝักมีเมล็ด ซึ่งมีลักษณะกลม และแบนเล็กน้อย สีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่จะแยกออกจากกัน ทำให้เมล็ดร่วงลงพื้นดิน
เมื่อมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปพืชชนิดนี้มีทรงพุ่มหนาทึบ อาจใหญ่หรือเล็กกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สามารถปลูกเป็นไม้ร่มหรือไม้ดอกก็ได้
การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
สารพิษในโล่ติ้น นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่าเมื่อพ่นบนตัวแมลง สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ ทำให้แมลงตายได้ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง การใช้สารพิษอาจใช้ในรูปของสารละลายหรือในรูปผง ถ้าใช้ในรูปผงจะมีประสิทธิภาพใน การฆ่าหมัด เห็บ ไรไก่ ปลวก แมลงวัน เรือด เพลี้ยอ่อนบางชนิด หนอนเจาะผัก มวนปีก แก้ว ด้วงเต่าแตง ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหนอนเจาะกะหล่ำปลี และศัตรูพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น
สารพิษในโล่ติ้นสามารถใช้พ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชเพราะสารนี้เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช สลายตัวเร็ว ไม่มีผลตกค้างในพืชอาหารและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากโล่ติ๊นเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินแล้วยังใช้ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดิน และป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย
วิธีใช้ทางการเกษตร
ใช้รากที่ทุบแล้ว 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปีบ แช่ไว้ 2 วัน สังเกตว่าน้ำที่แช่โล่ติ๊นขุ่นขาว คล้ายน้ำซาวข้าว กรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดแปลงพืชผลในช่วงที่มีแดดอ่อน เพื่อฆ่าหนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังใช้ฆ่าเหา เรือด และเบื่อปลา กุ้ง หอย ปู เพื่อเตรียมสระเลี้ยงสัตว์น้ำ วัยอ่อนเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทางยา
ในสมัยโบราณแพทย์ตามชนบทได้ใช้เถาโล่ติ๊นผสมกับยาอื่นๆเพื่อปรุงเป็นยาขับระดูสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือก้อน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า แพทย์โบราณทางจังหวัดสุโขทัยใช้เถาโล่ติ๊นตากแห้ง และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆสำหรับดองสุรารับประทาน เพื่อใช้เป็นยาขับลมและบำรุงโลหิตยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลมและถ่ายเสมหะอีกด้วย แต่การใช้พืชสมุนไพรทุกชนิดอาจมีผลข้างเคียง ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร
http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=24
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
สำหรับคนบ้านนอกแล้วชื่อโล่ติ้นเป็นชื่อของพรรณไม้ที่คุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่่งส่วนใหญ่จะนิยมเรียกว่าต้นหางไหลมากกว่า แม้ว่าจะมีชื่อเต็มว่าหางไหลแดงก็ตามที แต่ชาวบางกรูดมักเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นหางไหล ทั้งนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันดีว่าต้นหางไหลนั้นมีชื่อว่าต้นโล่ติ้นด้วย
ชาวสวนโดยทั่ว ๆ ไปจะมีต้นโล่ติ้นนี้เป็นพรรณไม้ประจำสวน
สำหรับเกษตรทำบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา ก็จะต้องใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของต้นโล่ติ้นเสมอมา
โล่ติ้น
ชื่อท้องถิ่น : ไหลแดง
ชื่ออื่น : กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหลน้ำ อวดน้ำ และโพตะโกซ่า
ชื่อสามัญ : Tuba root
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris sp.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ความเป็นมา มีรายงานว่าชาวจีนเป็นผู้นำโล่ติ๊นมาปลูกเมื่อปี พ.ศ.2470 โดยใช้ส่วนของรากทุบแช่น้ำค้างคืน สังเกตว่าน้ำที่แช่โลติ๊นขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว ก็จะนำไปรดสวนผักเพื่อฆ่าหนอน หรือแมลงที่มากัดกินผัก ซึ่งนับว่าได้ผลดี
ในสมัยต่อมาได้มีผู้วิเคราะห์รากโลติ๊นพบว่ามีสารที่มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวมีพิษ เรียกชื่อสารพิษนี้ในเวลาต่อมาว่า โรตีโนน (Rotinone)
สารพิษนี้นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงอีกด้วย โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง เป็นสารอินทรีย์สลายเร็ว ไม่ตกค้างในพืชอาหารและสิงแวดล้อม
ในเมืองไทยพบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับโลติ๊นประมาณ 21 ชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบว่า มีสารพิษมากและนิยมปลูกเป็นการค้า คือ ชนิดแดง และชนิดขาว ซึ่งพบว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5 เปอร์เซนต์ ในไทยพบชนิดแดงมากกว่าขาว โดยพบมากตามบริเวณแม่น้ำปิง ตั้งแต่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ส่วนภาคกลางพบมากแถวปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และท้องที่ใกล้เคียง ในภาคกลางนอกจากจะเรียกว่า หางไหล อาจเรียกชื่อตามท้องถิ่นที่มีพืชนี้ขึ้นว่า อวดน้ำ ไหลน้ำ กะลำเพาะ และโพตะโกซ่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบบริเวณต้นน้ำและเชิงเทือกเขาภูพาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นโดยทั่วไปมีลักษณะกลม
ใบใบอ่อนและยอดมีขนอ่อนสีน้ำตาลปนแดง เถาหรือลำต้นส่วนที่แก่มีสีน้ำตาลปนแดงเช่นกัน แต่จะเริ่มมีสีเขียวเห็นชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง ใบแก่มีสีเขียว ในก้านใบหนึ่งๆ จะมีใบตั้งแต่ 5 ถึง13 ใบ โดยใบจะขึ้นเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 2-4 คู่ ใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ) จะมีขนาดเล็กที่สุด และเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดก้านใบแต่ละก้านจะขึ้นบนลำต้นสลับด้านกัน ใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่ กว้างประมาณ 3.0 - 9.5 ซ.ม. และยาวตั้งแต่ 6.5 - 27.0 ซ.ม. โคนใบเล็กเรียวขึ้นไปและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนสีเขียวลักษณะมัน เส้นแขนงลักษณะคล้ายก้างปลาได้ชัด แต่ไม่ยาวจนชิดขอบใบ ด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน เส้นใบมีลักษณะเขียวปนน้ำตาล
ดอกออกเป็นช่อ มีลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่ง ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ช่อดอกออกตามลำต้น แต่ละช่อยาวประมาณ 20-25 ซ.ม.
ผลเกิดจากการผสมเกสร มีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักอ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ ภายในฝักมีเมล็ด ซึ่งมีลักษณะกลม และแบนเล็กน้อย สีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่จะแยกออกจากกัน ทำให้เมล็ดร่วงลงพื้นดิน
เมื่อมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปพืชชนิดนี้มีทรงพุ่มหนาทึบ อาจใหญ่หรือเล็กกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สามารถปลูกเป็นไม้ร่มหรือไม้ดอกก็ได้
การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
สารพิษในโล่ติ้น นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่าเมื่อพ่นบนตัวแมลง สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ ทำให้แมลงตายได้ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง การใช้สารพิษอาจใช้ในรูปของสารละลายหรือในรูปผง ถ้าใช้ในรูปผงจะมีประสิทธิภาพใน การฆ่าหมัด เห็บ ไรไก่ ปลวก แมลงวัน เรือด เพลี้ยอ่อนบางชนิด หนอนเจาะผัก มวนปีก แก้ว ด้วงเต่าแตง ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหนอนเจาะกะหล่ำปลี และศัตรูพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น
สารพิษในโล่ติ้นสามารถใช้พ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชเพราะสารนี้เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช สลายตัวเร็ว ไม่มีผลตกค้างในพืชอาหารและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากโล่ติ๊นเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินแล้วยังใช้ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดิน และป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย
วิธีใช้ทางการเกษตร
ใช้รากที่ทุบแล้ว 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปีบ แช่ไว้ 2 วัน สังเกตว่าน้ำที่แช่โล่ติ๊นขุ่นขาว คล้ายน้ำซาวข้าว กรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดแปลงพืชผลในช่วงที่มีแดดอ่อน เพื่อฆ่าหนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังใช้ฆ่าเหา เรือด และเบื่อปลา กุ้ง หอย ปู เพื่อเตรียมสระเลี้ยงสัตว์น้ำ วัยอ่อนเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทางยา
ในสมัยโบราณแพทย์ตามชนบทได้ใช้เถาโล่ติ๊นผสมกับยาอื่นๆเพื่อปรุงเป็นยาขับระดูสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือก้อน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า แพทย์โบราณทางจังหวัดสุโขทัยใช้เถาโล่ติ๊นตากแห้ง และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆสำหรับดองสุรารับประทาน เพื่อใช้เป็นยาขับลมและบำรุงโลหิตยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลมและถ่ายเสมหะอีกด้วย แต่การใช้พืชสมุนไพรทุกชนิดอาจมีผลข้างเคียง ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร
http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=24
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556
พรรณไม้ - มะพอก
มารู้จักต้นมะพอกที่สามารถนำมาหีบน้ำมันได้และไพจิตรได้นำมาวิจัยการใช้ประโยชน์จนได้รับรางวัล
ต้นมะพอกในสมัยนั้นขึ้นมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง วัวควายในสมัยนั้นมีส่วนสำคัญในการแพร่พันธุ์ โดยกินผลมะพอกที่สุกและหล่นร่วงกระจายตามโคนต้น กินแล้วก็ถ่ายมูลไว้ตามไร่นาจึงมีต้นมะพอกขึ้นอยู่ทั่วไปและค่อนข้างมาก
ดอกมะพอก
ในขณะนั้นประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันตัง (ทัง) ตังอิ๊ว มาจากประเทศจีน รวมทั้งในขณะนี้เราก็ยังนำเข้าน้ำมันตังอื๊ว หรือ ตังออยล์ จากประเทศจีนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้นำมันนี้ในงานของโรงพิมพ์ และงานอื่น ๆ อีกหลายด้าน
ซึ่งน้ำมันตังอื๊วนี้สามารถสกัดได้จากต้น มะเยาหิน
มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Botaniei ทราบว่ากำลังมีผู้ทำการวิจัยพืชพันธุ์นี้อยู่
ต้นมะพอก
ชื่อไืทย มะพอก
ชื่ออื่น (ท้องถิ่น ) กระท้อนรอก (ตราด) จัด จั๊ด (ลำปาง) ตะเลาะ เหลอะ (ส่วย สุรินทร์) ตะโลก (เขมร สุรินทร์) ท่าลอก (พิษณุโลก นครราชสีมา ปราจีนบุรี) ประดงไฟ ประดงเลือด (ราชบุรี) พอก (อุบลราชธานี) มะคลอก (สุโขทัย อุตรดิตถ์) มะมื่อ หมักมื่อ (ภาคเหนือ) หมักมอก (พิษณุโลก) หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์, ตะลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parinari anamensis Hance.
ชื่อวงศ์ Chrysobalanaceae
ต้นมะพอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพอกเป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลเทา ลอกหลุดได้และแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม เป็นร่องลึก
ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบมน หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ( apiculate ) โคนใบมน ขอบใบเรียบ หน้าใบเขียว ท้องใบเหลือบขาวเด่นชัด และมีขนละเอียด มีขนละเอียดด้านล่างสีขาวแกมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายใบมนหยักคอดและมีติ่งแหลม เส้นใบข้างตรงและขนานกัน 12-15 คู่ เส้นใบนูนด้านบน ก้านใบยาว 0.7-1 เซนติเมตร มักจะมีต่อมเล็กๆ 2 ต่อม
ดอก
เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ก้านช่อมีขนสีน้ำตาลอมส้มหนาแน่น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5 - 12 อัน มีขนาดไม่เท่ากัน ก้านเกสรตัวเมียติดที่ฐานของรังไข่ ยาวเท่าๆกับเกสรตัวผู้ รังไข่มีขนหนาแน่น เชื่อมกับชั้นกลีบเลี้ยงด้านหนึ่ง ชั้นกลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ไม่เท่ากัน ขนาดประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวปนเหลือง
ผล
เป็นผลสดรูปร่างค่อนข้างกลม หรือรีแกมรูปกระสวย หรือกลมรีเหมือนไข่ ผิวแข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน และมีตุ่มเล็กๆ หรืิ้อเกล็ดสีเทาแกมน้ำตาลปกคลุม ผิวฉ่ำน้ำเนื้อชุ่มบาง ชั้นในมีขนหนาแน่น เนื้อของผลสุกรอบ ๆ เมล็ดมีรสหวานหอม รับประทานได้ เนื้อข้างในเมล็ดรับประทานได้มีรสมันคล้ายถั่ว เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดจะพบเมล็ดข้างในมีปุยสีน้ำตาลคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ดอยู่ กระรอก กระแต ชอบกินเมล็ดใน
ผลจะแก่ประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์
เมล็ด
เมล็ดเดี่ยวโต แข็ง
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบทั่วไปสามารถขึ้นได้ทั้งป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทั่วไปทุกภาค ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนสูงถึง 1500 เมตร
ประโยชน์
เนื้อไม้ เป็นกระพี้สีเหลืองอ่อน แก่นสีชมพูเรื่อๆ เนื้อค่อนข้างละเอียดใช้ทำกระดาน ฝา ฝ้า
ผล เนื้อภายในใช้รับประทานได้ และมีรสหวาน
เมล็ด
สกัดน้ำมันใช้เป็นน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น ให้ทาเครื่องเขินให้เป็นเงา ทากระดาษร่มกันน้ำซึม ปัจจุบันใช้เป็นน้ำมันเคลือบธนบัตร ทำให้ทนทานเป็นเงา มีกลิ่นหอมและเนื้อกระดาษไม่ติดกัน
ต้นมะพอกจัดเป็นไม้หวงห้ามรับประทานประเภท ข.
ในผลมีน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น
ภูมิปัญญาอีสานในอดีตมีการสร้างอุปกรณ์เฉพาะในการหีบน้ำมันจากเมล็ดพอกโดยใช้ต้นไม้ตั้งต้นขูดเอาแก่นออกปล่อยเป็นรูเปิดทั้งสองด้าน เจาะรูตรงกลางลำต้นด้านล่างบีบน้ำมันจากเมล็ดมะพอกโดยใช้แผ่นไม้อัดทั้งสองด้านเข้าหาตอนกลาง น้ำมันที่ได้จะไหลออกตรงรูที่เจาะไว้
สรรพคุณ
ตำรายาไทย
ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม และอาบแก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วมด้วย) แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม
ยาพื้นบ้าน ใช้ แก่น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หืด
เปลือกต้น ประคบแก้ ช้ำใน แก้ปวดบวม
เปลือกต้น อุ่นไอน้ำร้อนประคบแก้ฟกช้ำ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=93
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศา่สตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12101
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
ต้นสัก
พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดย นายเต็ม สมิตินันทน์
เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้ เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้ามไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข.
ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟันและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้ มีจำนวนกว่า ๒๕๐ ชนิด พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าภาคหลวงไว้ด้วย เช่น
ประดู่แดง
ประดู่เหลือง
ไม้ก่อ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้พะยุง ไม้ชิงชันหริอเกดแดง ไม้กระพี้เขาควายหรือเกดดำ ไม้ประดู่ ไม้กันเกรา ไม้กระเจา ไม้ตะแบกเปลือกหนา ไม้ตะแบกเปลือกบาง ไม้เสลา ไม้อินนิล ไม้กระบาก ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหิน ไม้ตะเคียนราก ไม้เต็งหรือแงะ ไม้เต็งตานี ไม้รังหรือเปา ไม้ยางเหียง ไม้ยางกราด ไม้ยางพลวง ไม้ยมหอมหรือสีเสียดอ้ม ไม้สนทะเล เป็นต้น
ตะแบก
ต้นอินทนิล (น้ำ)
ไม้หวงห้ามประเภท ข.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก หรือ มีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น เช่นเปลือกหรือเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือ ชัน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จะหาของอื่นมา ใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟัน โค่น ล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ
พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือ
สนเขา เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ใน สกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง ๒๕-๓๐ เมตร ใบรูปเข็ม มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ
สนสองใบ (Pinus merkusii)
สนสามใบ (Pinus khasya)
ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่
พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอ โดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม
ขุนไม้ (Podocarpus wallichii) ใบกว้าง สอบเรียวทางปลายและโคน
พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน
แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กอยู่ชิดติดกัน
เป็นแผงคล้ายใบสนแผง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบเขา
มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กเรียวปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบ
สามพันปี (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลมเป็นเกล็ดเล็กๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร
กฤษณาหรือกระลำพัก เป็นไม้สกุลอะควิลาเรีย (Aquilaria) ซึ่งขึ้นตามป่าดิบ เรียกกันทั่วๆไปว่า กฤษณา มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ Aquilaria crassna และ Aquilaria intergra พันธุ์ไม้สองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก ยากที่จะจำแนกออกจากกันได้ แต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าเป็นไม้ในสกุลนี้ คือ มีใบบาง เนื้อแน่น มีเส้นใบถี่ เปลือกสีเทา ลอก ออกได้ง่ายตามยาวของลำต้นและมีใยเหนียวมาก
หอม หรือ สบ หรือ กะตุก (Altingia siamensis)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ขึ้นตามป่าดิบ ใบมีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร เนื้อไม้มีกลิ่น
หอมกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminticus และ H.kurzii) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตรไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าดิบ ผลให้เมล็ดใช้สกัดน้ำมันทำยารักษาโรคเรื้อนได้ผลดี
มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ (Parinari annamense) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ผลให้เมล็ดใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน และกระดาษ
รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata และ M. laccifera) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกให้ยางสีดำใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน
ต้นกฤษณา ที่วัดนาหลวง(ต้นเล็กเรียงกันสามต้น) รวมทั้งแนวไม้ที่สูงประมาณ1-2 เมตร ล้วนเป็นต้นกฤษณาปลูกใหม่
นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น ยังมีไม้อยู่อีก ๒ ชนิดที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้หวงห้าม ชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
คอกสัก
ไม้สัก (Tectona grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง ๒๐-๓๐ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม และมีเปลือกบางๆ หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
ไม้ยาง (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ดอกสีชมพูผลกลมปลายแหลม มีปีก ๒ ปีกใหญ่และปีกรูปหูนู ๓ ปีกเนื้อไม้สีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ไม้ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆ ไป คือ
ยางนา (Dipterocarpus alatus)
ยางพาย (Dipterocarpus costatus)
ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus)
ยางมันหมู (Dipterocarpus kerrii)
ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis)
ต้นยาง
ต้นยาง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://guru.sanook.com
ส่วนมะเยาหินมีข้อมูลดังนี้
มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Botaniei สายพันธุ์ Montana นำเข้าจากซัมเหนือของลาว
“มะเยาหิน” (Candlenut) Aleurites Montana เป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร พบมากทางตอนเหนือของประเทศลาวและย่านเดียนเบียนฟูของเวียดนาม ชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า หมากเก๋า หมากเยาหินและหมากน้ำมัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานในบางจังหวัด แต่พบในปริมาณน้อย มะเยาหินเป็นพืชพลังงานที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะการให้น้ำมันในปริมาณที่สูง นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ให้ร่มเงาได้ดี ลักษณะสวยงามคือ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นรูปทรงสวยคล้ายต้นหูกวาง มีกิ่งแตกจากลำต้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมี 5 กิ่งมีหลายชั้นตามอายุของต้น
ใบ มีขนาดใหญ่ก้านใบยาวเป็นแฉก 4 แฉกสวยงามเมิ่ออายุต้นมากขึ้นใบจะเล็กลงสีจะเขียวเข้ม แฉกใบจะเล็กลงและหายไป
ดอก ออกช่อที่ปลายกิ่ง สีขาวอมชมพู สวยงาม
ผล ขนาดเท่าลูกมะนาว มีลายเส้นนูนที่เปลือกผล ออกพู 3-4 พู 1 พูมี 1 เมล็ดสีเขียว เมื่อแก่จัดผิวจะออกนวล และเปลือกผลจะดำ และแห้งในที่สุด
เมล็ด มีขนาดใหญ่เกือบเท่าหัวแม่มือลักษณะกลมแบนมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง-บาง คล้ายกะลาทำให้รักษาเนื้อในเมล็ดได้ดีโดยที่เปอร์เซนต์ของน้ำมันไม่หายไปนานรวม 2 ปี
ผลิตภัณฑ์จากมะเยาหิน
1. ใช้ทำหมึกคอมพิวเตอร์
2. ใช้ทำหมึกปากกาลูกลื่นทั่วไป (โมนามิ)
3. ใช้ทำหมึกพิมพ์ธนบัตร
4. ใช้ทำสีน้ำมันทาไม้ทั่วไป
5. ใช้ทำน้ำมันเงา (ยูรีเทน)
6. ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น (ทนแรงกดได้ถึง 20 ตัน)
7. ทำน้ำมันตังอิ้วบริสุทธิ์ (ลิตรละ 80 บาท)
8. ใช้ทำน้ำมันไบโอดีเซล
9. เปลือกใช้ทำถ่านอัดแท่ง (เหมือนถ่านหิน)
10. กิ่งก้าน และใบใช้ทำเชื้อเพลิงเขียว
11. กากที่หีบน้ำมันแล้วใช้ทำปุ๋ยหมักตรึงธาตุ N ได้เยี่ยม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.alenthailand.com
ต้นมะพอกในสมัยนั้นขึ้นมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง วัวควายในสมัยนั้นมีส่วนสำคัญในการแพร่พันธุ์ โดยกินผลมะพอกที่สุกและหล่นร่วงกระจายตามโคนต้น กินแล้วก็ถ่ายมูลไว้ตามไร่นาจึงมีต้นมะพอกขึ้นอยู่ทั่วไปและค่อนข้างมาก
ดอกมะพอก
ในขณะนั้นประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันตัง (ทัง) ตังอิ๊ว มาจากประเทศจีน รวมทั้งในขณะนี้เราก็ยังนำเข้าน้ำมันตังอื๊ว หรือ ตังออยล์ จากประเทศจีนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้นำมันนี้ในงานของโรงพิมพ์ และงานอื่น ๆ อีกหลายด้าน
ซึ่งน้ำมันตังอื๊วนี้สามารถสกัดได้จากต้น มะเยาหิน
มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Botaniei ทราบว่ากำลังมีผู้ทำการวิจัยพืชพันธุ์นี้อยู่
ต้นมะพอก
ชื่อไืทย มะพอก
ชื่ออื่น (ท้องถิ่น ) กระท้อนรอก (ตราด) จัด จั๊ด (ลำปาง) ตะเลาะ เหลอะ (ส่วย สุรินทร์) ตะโลก (เขมร สุรินทร์) ท่าลอก (พิษณุโลก นครราชสีมา ปราจีนบุรี) ประดงไฟ ประดงเลือด (ราชบุรี) พอก (อุบลราชธานี) มะคลอก (สุโขทัย อุตรดิตถ์) มะมื่อ หมักมื่อ (ภาคเหนือ) หมักมอก (พิษณุโลก) หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์, ตะลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parinari anamensis Hance.
ชื่อวงศ์ Chrysobalanaceae
ต้นมะพอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพอกเป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลเทา ลอกหลุดได้และแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม เป็นร่องลึก
ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบมน หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ( apiculate ) โคนใบมน ขอบใบเรียบ หน้าใบเขียว ท้องใบเหลือบขาวเด่นชัด และมีขนละเอียด มีขนละเอียดด้านล่างสีขาวแกมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายใบมนหยักคอดและมีติ่งแหลม เส้นใบข้างตรงและขนานกัน 12-15 คู่ เส้นใบนูนด้านบน ก้านใบยาว 0.7-1 เซนติเมตร มักจะมีต่อมเล็กๆ 2 ต่อม
ดอก
เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ก้านช่อมีขนสีน้ำตาลอมส้มหนาแน่น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5 - 12 อัน มีขนาดไม่เท่ากัน ก้านเกสรตัวเมียติดที่ฐานของรังไข่ ยาวเท่าๆกับเกสรตัวผู้ รังไข่มีขนหนาแน่น เชื่อมกับชั้นกลีบเลี้ยงด้านหนึ่ง ชั้นกลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ไม่เท่ากัน ขนาดประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวปนเหลือง
ผล
เป็นผลสดรูปร่างค่อนข้างกลม หรือรีแกมรูปกระสวย หรือกลมรีเหมือนไข่ ผิวแข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน และมีตุ่มเล็กๆ หรืิ้อเกล็ดสีเทาแกมน้ำตาลปกคลุม ผิวฉ่ำน้ำเนื้อชุ่มบาง ชั้นในมีขนหนาแน่น เนื้อของผลสุกรอบ ๆ เมล็ดมีรสหวานหอม รับประทานได้ เนื้อข้างในเมล็ดรับประทานได้มีรสมันคล้ายถั่ว เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดจะพบเมล็ดข้างในมีปุยสีน้ำตาลคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ดอยู่ กระรอก กระแต ชอบกินเมล็ดใน
ผลจะแก่ประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์
เมล็ด
เมล็ดเดี่ยวโต แข็ง
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบทั่วไปสามารถขึ้นได้ทั้งป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทั่วไปทุกภาค ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนสูงถึง 1500 เมตร
ประโยชน์
เนื้อไม้ เป็นกระพี้สีเหลืองอ่อน แก่นสีชมพูเรื่อๆ เนื้อค่อนข้างละเอียดใช้ทำกระดาน ฝา ฝ้า
ผล เนื้อภายในใช้รับประทานได้ และมีรสหวาน
เมล็ด
สกัดน้ำมันใช้เป็นน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น ให้ทาเครื่องเขินให้เป็นเงา ทากระดาษร่มกันน้ำซึม ปัจจุบันใช้เป็นน้ำมันเคลือบธนบัตร ทำให้ทนทานเป็นเงา มีกลิ่นหอมและเนื้อกระดาษไม่ติดกัน
ต้นมะพอกจัดเป็นไม้หวงห้ามรับประทานประเภท ข.
ในผลมีน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น
ภูมิปัญญาอีสานในอดีตมีการสร้างอุปกรณ์เฉพาะในการหีบน้ำมันจากเมล็ดพอกโดยใช้ต้นไม้ตั้งต้นขูดเอาแก่นออกปล่อยเป็นรูเปิดทั้งสองด้าน เจาะรูตรงกลางลำต้นด้านล่างบีบน้ำมันจากเมล็ดมะพอกโดยใช้แผ่นไม้อัดทั้งสองด้านเข้าหาตอนกลาง น้ำมันที่ได้จะไหลออกตรงรูที่เจาะไว้
สรรพคุณ
ตำรายาไทย
ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม และอาบแก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วมด้วย) แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม
ยาพื้นบ้าน ใช้ แก่น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หืด
เปลือกต้น ประคบแก้ ช้ำใน แก้ปวดบวม
เปลือกต้น อุ่นไอน้ำร้อนประคบแก้ฟกช้ำ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=93
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศา่สตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12101
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
ต้นสัก
พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดย นายเต็ม สมิตินันทน์
เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้ เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้ามไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข.
ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟันและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้ มีจำนวนกว่า ๒๕๐ ชนิด พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าภาคหลวงไว้ด้วย เช่น
ประดู่แดง
ประดู่เหลือง
ไม้ก่อ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้พะยุง ไม้ชิงชันหริอเกดแดง ไม้กระพี้เขาควายหรือเกดดำ ไม้ประดู่ ไม้กันเกรา ไม้กระเจา ไม้ตะแบกเปลือกหนา ไม้ตะแบกเปลือกบาง ไม้เสลา ไม้อินนิล ไม้กระบาก ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหิน ไม้ตะเคียนราก ไม้เต็งหรือแงะ ไม้เต็งตานี ไม้รังหรือเปา ไม้ยางเหียง ไม้ยางกราด ไม้ยางพลวง ไม้ยมหอมหรือสีเสียดอ้ม ไม้สนทะเล เป็นต้น
ตะแบก
ต้นอินทนิล (น้ำ)
ไม้หวงห้ามประเภท ข.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก หรือ มีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น เช่นเปลือกหรือเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือ ชัน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จะหาของอื่นมา ใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟัน โค่น ล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ
พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือ
สนเขา เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ใน สกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง ๒๕-๓๐ เมตร ใบรูปเข็ม มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ
สนสองใบ (Pinus merkusii)
สนสามใบ (Pinus khasya)
ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่
พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอ โดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม
ขุนไม้ (Podocarpus wallichii) ใบกว้าง สอบเรียวทางปลายและโคน
พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน
แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กอยู่ชิดติดกัน
เป็นแผงคล้ายใบสนแผง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบเขา
มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กเรียวปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบ
สามพันปี (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลมเป็นเกล็ดเล็กๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร
กฤษณาหรือกระลำพัก เป็นไม้สกุลอะควิลาเรีย (Aquilaria) ซึ่งขึ้นตามป่าดิบ เรียกกันทั่วๆไปว่า กฤษณา มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ Aquilaria crassna และ Aquilaria intergra พันธุ์ไม้สองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก ยากที่จะจำแนกออกจากกันได้ แต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าเป็นไม้ในสกุลนี้ คือ มีใบบาง เนื้อแน่น มีเส้นใบถี่ เปลือกสีเทา ลอก ออกได้ง่ายตามยาวของลำต้นและมีใยเหนียวมาก
หอม หรือ สบ หรือ กะตุก (Altingia siamensis)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ขึ้นตามป่าดิบ ใบมีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร เนื้อไม้มีกลิ่น
หอมกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminticus และ H.kurzii) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตรไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าดิบ ผลให้เมล็ดใช้สกัดน้ำมันทำยารักษาโรคเรื้อนได้ผลดี
มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ (Parinari annamense) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ผลให้เมล็ดใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน และกระดาษ
รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata และ M. laccifera) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกให้ยางสีดำใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน
ต้นกฤษณา ที่วัดนาหลวง(ต้นเล็กเรียงกันสามต้น) รวมทั้งแนวไม้ที่สูงประมาณ1-2 เมตร ล้วนเป็นต้นกฤษณาปลูกใหม่
นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น ยังมีไม้อยู่อีก ๒ ชนิดที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้หวงห้าม ชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
คอกสัก
ไม้สัก (Tectona grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง ๒๐-๓๐ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม และมีเปลือกบางๆ หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
ไม้ยาง (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ดอกสีชมพูผลกลมปลายแหลม มีปีก ๒ ปีกใหญ่และปีกรูปหูนู ๓ ปีกเนื้อไม้สีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ไม้ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆ ไป คือ
ยางนา (Dipterocarpus alatus)
ยางพาย (Dipterocarpus costatus)
ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus)
ยางมันหมู (Dipterocarpus kerrii)
ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis)
ต้นยาง
ต้นยาง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://guru.sanook.com
ส่วนมะเยาหินมีข้อมูลดังนี้
มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Botaniei สายพันธุ์ Montana นำเข้าจากซัมเหนือของลาว
“มะเยาหิน” (Candlenut) Aleurites Montana เป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร พบมากทางตอนเหนือของประเทศลาวและย่านเดียนเบียนฟูของเวียดนาม ชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า หมากเก๋า หมากเยาหินและหมากน้ำมัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานในบางจังหวัด แต่พบในปริมาณน้อย มะเยาหินเป็นพืชพลังงานที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะการให้น้ำมันในปริมาณที่สูง นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ให้ร่มเงาได้ดี ลักษณะสวยงามคือ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นรูปทรงสวยคล้ายต้นหูกวาง มีกิ่งแตกจากลำต้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมี 5 กิ่งมีหลายชั้นตามอายุของต้น
ใบ มีขนาดใหญ่ก้านใบยาวเป็นแฉก 4 แฉกสวยงามเมิ่ออายุต้นมากขึ้นใบจะเล็กลงสีจะเขียวเข้ม แฉกใบจะเล็กลงและหายไป
ดอก ออกช่อที่ปลายกิ่ง สีขาวอมชมพู สวยงาม
ผล ขนาดเท่าลูกมะนาว มีลายเส้นนูนที่เปลือกผล ออกพู 3-4 พู 1 พูมี 1 เมล็ดสีเขียว เมื่อแก่จัดผิวจะออกนวล และเปลือกผลจะดำ และแห้งในที่สุด
เมล็ด มีขนาดใหญ่เกือบเท่าหัวแม่มือลักษณะกลมแบนมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง-บาง คล้ายกะลาทำให้รักษาเนื้อในเมล็ดได้ดีโดยที่เปอร์เซนต์ของน้ำมันไม่หายไปนานรวม 2 ปี
ผลิตภัณฑ์จากมะเยาหิน
1. ใช้ทำหมึกคอมพิวเตอร์
2. ใช้ทำหมึกปากกาลูกลื่นทั่วไป (โมนามิ)
3. ใช้ทำหมึกพิมพ์ธนบัตร
4. ใช้ทำสีน้ำมันทาไม้ทั่วไป
5. ใช้ทำน้ำมันเงา (ยูรีเทน)
6. ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น (ทนแรงกดได้ถึง 20 ตัน)
7. ทำน้ำมันตังอิ้วบริสุทธิ์ (ลิตรละ 80 บาท)
8. ใช้ทำน้ำมันไบโอดีเซล
9. เปลือกใช้ทำถ่านอัดแท่ง (เหมือนถ่านหิน)
10. กิ่งก้าน และใบใช้ทำเชื้อเพลิงเขียว
11. กากที่หีบน้ำมันแล้วใช้ทำปุ๋ยหมักตรึงธาตุ N ได้เยี่ยม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.alenthailand.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)