ต้นมะพอกในสมัยนั้นขึ้นมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง วัวควายในสมัยนั้นมีส่วนสำคัญในการแพร่พันธุ์ โดยกินผลมะพอกที่สุกและหล่นร่วงกระจายตามโคนต้น กินแล้วก็ถ่ายมูลไว้ตามไร่นาจึงมีต้นมะพอกขึ้นอยู่ทั่วไปและค่อนข้างมาก
ดอกมะพอก
ในขณะนั้นประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันตัง (ทัง) ตังอิ๊ว มาจากประเทศจีน รวมทั้งในขณะนี้เราก็ยังนำเข้าน้ำมันตังอื๊ว หรือ ตังออยล์ จากประเทศจีนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้นำมันนี้ในงานของโรงพิมพ์ และงานอื่น ๆ อีกหลายด้าน
ซึ่งน้ำมันตังอื๊วนี้สามารถสกัดได้จากต้น มะเยาหิน
มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Botaniei ทราบว่ากำลังมีผู้ทำการวิจัยพืชพันธุ์นี้อยู่
ต้นมะพอก
ชื่อไืทย มะพอก
ชื่ออื่น (ท้องถิ่น ) กระท้อนรอก (ตราด) จัด จั๊ด (ลำปาง) ตะเลาะ เหลอะ (ส่วย สุรินทร์) ตะโลก (เขมร สุรินทร์) ท่าลอก (พิษณุโลก นครราชสีมา ปราจีนบุรี) ประดงไฟ ประดงเลือด (ราชบุรี) พอก (อุบลราชธานี) มะคลอก (สุโขทัย อุตรดิตถ์) มะมื่อ หมักมื่อ (ภาคเหนือ) หมักมอก (พิษณุโลก) หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์, ตะลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parinari anamensis Hance.
ชื่อวงศ์ Chrysobalanaceae
ต้นมะพอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพอกเป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลเทา ลอกหลุดได้และแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม เป็นร่องลึก
ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบมน หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ( apiculate ) โคนใบมน ขอบใบเรียบ หน้าใบเขียว ท้องใบเหลือบขาวเด่นชัด และมีขนละเอียด มีขนละเอียดด้านล่างสีขาวแกมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายใบมนหยักคอดและมีติ่งแหลม เส้นใบข้างตรงและขนานกัน 12-15 คู่ เส้นใบนูนด้านบน ก้านใบยาว 0.7-1 เซนติเมตร มักจะมีต่อมเล็กๆ 2 ต่อม
ดอก
เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ก้านช่อมีขนสีน้ำตาลอมส้มหนาแน่น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5 - 12 อัน มีขนาดไม่เท่ากัน ก้านเกสรตัวเมียติดที่ฐานของรังไข่ ยาวเท่าๆกับเกสรตัวผู้ รังไข่มีขนหนาแน่น เชื่อมกับชั้นกลีบเลี้ยงด้านหนึ่ง ชั้นกลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ไม่เท่ากัน ขนาดประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวปนเหลือง
ผล
เป็นผลสดรูปร่างค่อนข้างกลม หรือรีแกมรูปกระสวย หรือกลมรีเหมือนไข่ ผิวแข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน และมีตุ่มเล็กๆ หรืิ้อเกล็ดสีเทาแกมน้ำตาลปกคลุม ผิวฉ่ำน้ำเนื้อชุ่มบาง ชั้นในมีขนหนาแน่น เนื้อของผลสุกรอบ ๆ เมล็ดมีรสหวานหอม รับประทานได้ เนื้อข้างในเมล็ดรับประทานได้มีรสมันคล้ายถั่ว เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดจะพบเมล็ดข้างในมีปุยสีน้ำตาลคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ดอยู่ กระรอก กระแต ชอบกินเมล็ดใน
ผลจะแก่ประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์
เมล็ด
เมล็ดเดี่ยวโต แข็ง
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การกระจายพันธุ์
พบทั่วไปสามารถขึ้นได้ทั้งป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทั่วไปทุกภาค ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนสูงถึง 1500 เมตร
ประโยชน์
เนื้อไม้ เป็นกระพี้สีเหลืองอ่อน แก่นสีชมพูเรื่อๆ เนื้อค่อนข้างละเอียดใช้ทำกระดาน ฝา ฝ้า
ผล เนื้อภายในใช้รับประทานได้ และมีรสหวาน
เมล็ด
สกัดน้ำมันใช้เป็นน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น ให้ทาเครื่องเขินให้เป็นเงา ทากระดาษร่มกันน้ำซึม ปัจจุบันใช้เป็นน้ำมันเคลือบธนบัตร ทำให้ทนทานเป็นเงา มีกลิ่นหอมและเนื้อกระดาษไม่ติดกัน
ต้นมะพอกจัดเป็นไม้หวงห้ามรับประทานประเภท ข.
ในผลมีน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น
ภูมิปัญญาอีสานในอดีตมีการสร้างอุปกรณ์เฉพาะในการหีบน้ำมันจากเมล็ดพอกโดยใช้ต้นไม้ตั้งต้นขูดเอาแก่นออกปล่อยเป็นรูเปิดทั้งสองด้าน เจาะรูตรงกลางลำต้นด้านล่างบีบน้ำมันจากเมล็ดมะพอกโดยใช้แผ่นไม้อัดทั้งสองด้านเข้าหาตอนกลาง น้ำมันที่ได้จะไหลออกตรงรูที่เจาะไว้
สรรพคุณ
ตำรายาไทย
ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม และอาบแก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วมด้วย) แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม
ยาพื้นบ้าน ใช้ แก่น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หืด
เปลือกต้น ประคบแก้ ช้ำใน แก้ปวดบวม
เปลือกต้น อุ่นไอน้ำร้อนประคบแก้ฟกช้ำ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=93
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศา่สตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12101
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
ต้นสัก
พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดย นายเต็ม สมิตินันทน์
เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้ เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้ามไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข.
ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟันและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้ มีจำนวนกว่า ๒๕๐ ชนิด พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าภาคหลวงไว้ด้วย เช่น
ประดู่แดง
ประดู่เหลือง
ไม้ก่อ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้พะยุง ไม้ชิงชันหริอเกดแดง ไม้กระพี้เขาควายหรือเกดดำ ไม้ประดู่ ไม้กันเกรา ไม้กระเจา ไม้ตะแบกเปลือกหนา ไม้ตะแบกเปลือกบาง ไม้เสลา ไม้อินนิล ไม้กระบาก ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหิน ไม้ตะเคียนราก ไม้เต็งหรือแงะ ไม้เต็งตานี ไม้รังหรือเปา ไม้ยางเหียง ไม้ยางกราด ไม้ยางพลวง ไม้ยมหอมหรือสีเสียดอ้ม ไม้สนทะเล เป็นต้น
ตะแบก
ต้นอินทนิล (น้ำ)
ไม้หวงห้ามประเภท ข.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก หรือ มีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น เช่นเปลือกหรือเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือ ชัน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จะหาของอื่นมา ใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟัน โค่น ล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ
พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือ
สนเขา เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ใน สกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง ๒๕-๓๐ เมตร ใบรูปเข็ม มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ
สนสองใบ (Pinus merkusii)
สนสามใบ (Pinus khasya)
ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่
พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอ โดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม
ขุนไม้ (Podocarpus wallichii) ใบกว้าง สอบเรียวทางปลายและโคน
พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน
แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กอยู่ชิดติดกัน
เป็นแผงคล้ายใบสนแผง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบเขา
มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กเรียวปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบ
สามพันปี (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลมเป็นเกล็ดเล็กๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร
กฤษณาหรือกระลำพัก เป็นไม้สกุลอะควิลาเรีย (Aquilaria) ซึ่งขึ้นตามป่าดิบ เรียกกันทั่วๆไปว่า กฤษณา มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ Aquilaria crassna และ Aquilaria intergra พันธุ์ไม้สองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก ยากที่จะจำแนกออกจากกันได้ แต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าเป็นไม้ในสกุลนี้ คือ มีใบบาง เนื้อแน่น มีเส้นใบถี่ เปลือกสีเทา ลอก ออกได้ง่ายตามยาวของลำต้นและมีใยเหนียวมาก
หอม หรือ สบ หรือ กะตุก (Altingia siamensis)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ขึ้นตามป่าดิบ ใบมีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร เนื้อไม้มีกลิ่น
หอมกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminticus และ H.kurzii) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตรไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าดิบ ผลให้เมล็ดใช้สกัดน้ำมันทำยารักษาโรคเรื้อนได้ผลดี
มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ (Parinari annamense) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ผลให้เมล็ดใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน และกระดาษ
รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata และ M. laccifera) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกให้ยางสีดำใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน
ต้นกฤษณา ที่วัดนาหลวง(ต้นเล็กเรียงกันสามต้น) รวมทั้งแนวไม้ที่สูงประมาณ1-2 เมตร ล้วนเป็นต้นกฤษณาปลูกใหม่
นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น ยังมีไม้อยู่อีก ๒ ชนิดที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้หวงห้าม ชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
คอกสัก
ไม้สัก (Tectona grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง ๒๐-๓๐ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม และมีเปลือกบางๆ หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
ไม้ยาง (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ดอกสีชมพูผลกลมปลายแหลม มีปีก ๒ ปีกใหญ่และปีกรูปหูนู ๓ ปีกเนื้อไม้สีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ไม้ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆ ไป คือ
ยางนา (Dipterocarpus alatus)
ยางพาย (Dipterocarpus costatus)
ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus)
ยางมันหมู (Dipterocarpus kerrii)
ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis)
ต้นยาง
ต้นยาง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://guru.sanook.com
ส่วนมะเยาหินมีข้อมูลดังนี้
มะเยาหิน หรือภาษาจีนเรียกว่า มะเย้า ลาวเรียกว่า มะเก๋า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tung Oil Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Botaniei สายพันธุ์ Montana นำเข้าจากซัมเหนือของลาว
“มะเยาหิน” (Candlenut) Aleurites Montana เป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร พบมากทางตอนเหนือของประเทศลาวและย่านเดียนเบียนฟูของเวียดนาม ชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า หมากเก๋า หมากเยาหินและหมากน้ำมัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานในบางจังหวัด แต่พบในปริมาณน้อย มะเยาหินเป็นพืชพลังงานที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะการให้น้ำมันในปริมาณที่สูง นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ให้ร่มเงาได้ดี ลักษณะสวยงามคือ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นรูปทรงสวยคล้ายต้นหูกวาง มีกิ่งแตกจากลำต้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมี 5 กิ่งมีหลายชั้นตามอายุของต้น
ใบ มีขนาดใหญ่ก้านใบยาวเป็นแฉก 4 แฉกสวยงามเมิ่ออายุต้นมากขึ้นใบจะเล็กลงสีจะเขียวเข้ม แฉกใบจะเล็กลงและหายไป
ดอก ออกช่อที่ปลายกิ่ง สีขาวอมชมพู สวยงาม
ผล ขนาดเท่าลูกมะนาว มีลายเส้นนูนที่เปลือกผล ออกพู 3-4 พู 1 พูมี 1 เมล็ดสีเขียว เมื่อแก่จัดผิวจะออกนวล และเปลือกผลจะดำ และแห้งในที่สุด
เมล็ด มีขนาดใหญ่เกือบเท่าหัวแม่มือลักษณะกลมแบนมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง-บาง คล้ายกะลาทำให้รักษาเนื้อในเมล็ดได้ดีโดยที่เปอร์เซนต์ของน้ำมันไม่หายไปนานรวม 2 ปี
ผลิตภัณฑ์จากมะเยาหิน
1. ใช้ทำหมึกคอมพิวเตอร์
2. ใช้ทำหมึกปากกาลูกลื่นทั่วไป (โมนามิ)
3. ใช้ทำหมึกพิมพ์ธนบัตร
4. ใช้ทำสีน้ำมันทาไม้ทั่วไป
5. ใช้ทำน้ำมันเงา (ยูรีเทน)
6. ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น (ทนแรงกดได้ถึง 20 ตัน)
7. ทำน้ำมันตังอิ้วบริสุทธิ์ (ลิตรละ 80 บาท)
8. ใช้ทำน้ำมันไบโอดีเซล
9. เปลือกใช้ทำถ่านอัดแท่ง (เหมือนถ่านหิน)
10. กิ่งก้าน และใบใช้ทำเชื้อเพลิงเขียว
11. กากที่หีบน้ำมันแล้วใช้ทำปุ๋ยหมักตรึงธาตุ N ได้เยี่ยม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.alenthailand.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น