วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู



ชื่อไทย มะกล่ำตาหนู
ชื่อ อังกฤษ Jequirity
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abrus precatorius Linn.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่นๆ กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำเครือ มะกล่ำแดง มะแค๊ก (เชียงใหม่) เกมกรอม (สุรินทร์) ชะเอมเทศ ตากล่ำ (กลาง) มะขามเถา ไม้ไฟ (ตรัง) หมากกล่ำตาแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ)



ลักษณะ ทั่วไป
เป็นพืชไม้เถาในวงศ์ถั่ว





ต้น
ไม้เถาเลื้อย ขนาดเล็ก



ใบ
เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อยออกเป็นคู่ รูปขอบขนาน หรือไข่กลับ โคนและปลายมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ใต้ท้องใบมีขนเล็กน้อย





ดอก
ออกเป็นแกนช่อตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีม่วงแดง มีดอกย่อย กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวเรียงซ้อนจับกันเป็นพวงช่อ ตามเข็มนาฬิกา กลีบมีรอยหยัก 4 รอย และจะกลายเป็นฝักในภายหลัง





























บางครั้งใน 1 ช่อเป็นฝักจับช่อมากถึง 24 ฝัก เมื่ออ่อนฝักมีสีเขียว เนื้อเปลือกฝักจะเหนียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อฝักแก่ ฝักแก่จะแตกอ้าออกจากกันออก ข้างในมีเมล็ด 1-5 เมล็ด













ผล
เป็นฝักเวียน มีรอยคอดชัดเจน ตามลักษณะดอก เมื่ออ่อนฝักมีสีเขียว เนื้อเปลือกฝักจะเหนียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อฝักแก่ ฝักแก่จะแตกอ้าออกจากกันออกตามยาว และบิดเพื่อกระจายเมล็ด ข้างในมีเมล็ด 1-5 เมล็ด





เมล็ดเมื่อยังอ่อนสีชมพู แล้วเป็นสีแดงสด มีขั้วสีดำเห็นชัดเจน ผิวเรียบเป็นมันแข็ง ค่อนข้างกลม

การกระจายพันธุ์ พบทั่วไปในเขตอากาศร้อนพบได้ตั้งแต่ อินเดีย ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทบพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง จะทิ้งใบในหน้าแล้ง



สรรพคุณ
ราก ขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง แก้ไอและหวัด
ใบมีสารหวานชื่อ abrusosides ซึ่งมีความหวานสูงและไม่มีพิษ โดยมีสารหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 30-100 เท่า



เมล็ดของมะกล่ำตาหนูมีสารพิษ ชื่อ arbin ถ้ากลืนทั้งเมล็ดไม่มีอันตราย เพราะเปลือกแข็งมีถูกย่อยในทางเดินอาหาร แต่ถ้าขบเมล็ดให้แตกและกินเพียง 1-2 เมล็ด อาจเป็นพิษถึงตายได้ โดยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดท้องอย่างแรง ระบบทางเดินอาหาร ตับและไตจะถูกทำลาย ต้องรีบให้การปฐมพยาบาลโดยทำให้อาเจียน และรีบนำส่งโรงพยาบาล



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2 โดย http://www.qsbg.org
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th



พอนำภาพมาขึ้นจอ พลอยโพยมแทบเป็นลม เพราะมีงูหนึ่งตัวพังพาบพาดลำตัวอยู่กับกิ่งของต้นเกด ถ้าเห็นแต่แรกคงทิ้งกล้องวิ่งโกยอ้าวกลับบ้าน โดยปกติพลอยโพยมยังวิ่งเก่งอยู่และปลูกต้นเกดต้นนี้ไว้ไม่ไกลบ้านนัก ไปหาถ่ายภ่พที่บริเวณอื่นก็ได้
(ต้นเกด หรือที่ชาวฮินดู เรียกว่า “ครินี” หรือ “ไรนี” นี้
ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับ อยู่ใต้ต้นจิกเป็นเวลาครบ 7 วันแล้ว ก็เสด็จไปประทับต่อที่ใต้ต้นเกดอีกเป็นเวลา 7 วัน )



เมล็ดมะกล่ำตาหนูเป็นพืชที่มีสีสันงดงาม สะดุดตา แต่พืชชนิดนี้มีสารพิษ abrin ที่มีพิษรุนแรงมาก อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เด็กๆ อาจจะกินเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปัญหาการได้รับพิษจากมะกล่ำตาหนู แม้จะพบเพียงประปราย แต่การป้องกันโดยมีความเข้าใจที่ถูกต้องจะมีความสำคัญ ดังนั้นจึงได้ศึกษา รวบรวม และสรุปไว้ เพื่อให้แพทย์ได้คำนึงถึงภาวะเป็นพิษจากพืชดังกล่าว ซึ่งทำให้สามารถให้การวินิจฉัย และรักษาได้อย่างทันท่วงที



ผู้ป่วยที่กินเมล็ดมะกล่ำตาหนู ในระยะแรกจะมีอาการของระบบทางเดินอาหารได้แก่ อาการระคายเคืองของปาก หลอดอาหาร และมีอาการ gastroenteritis เช่น อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ในรายที่อาการรุนแรงมากอาจมีอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่าย melena ผู้ป่วยอาจ shock จาก hypovolemia ได้ ในระยะที่ 2 ประมาณ 1-2 วันต่อมา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการทางระบบอื่นเช่น ซึม อ่อนเพลีย ชัก และมี retinal hemorrhage ตับอักเสบ ไตวาย เป็นต้น
การรักษาโดยการทำ decontamination เพื่อลดสารพิษที่จะถูกดูดซึม และรักษาแบบประคับประคอง เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ



มีรายงานจากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงการรับพิษจากเมล็ดมะกล่ำตาหนู 3 ราย ดังนี้
รายที่ 1
ผู้ป่วยเด็กอายุ 5 ปี ปกติสุขภาพแข็งแรงดี ก่อนมาโรงพยาบาลญาติเห็นผู้ป่วยกินเมล็ดมะกล่ำตาหนูไม่ทราบจำนวน ถามผู้ป่วยบอกว่ากินจนอิ่ม หลังจากนั้น 1 ชั่วโมงผู้ป่วยเริ่มอาเจียน มีเมล็ดมะกล่ำตาหนูออกมาด้วย และถ่ายเหลวเป็นมูก 4 ครั้ง ญาตินำส่งโรงพยาบาล
ที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ อาเจียนเป็นบางครั้ง วันรุ่งขึ้นซึมลง พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง มีชักเกร็ง 3 ครั้ง ตรวจร่างกาย มีไข้สูง T 38.4 องศาเซลเซียส



รายที่ 2
เป็นเด็กอายุ 9 ปี กินเมล็ดมะกล่ำเครือจำนวนมาก เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นถั่วแระ หลังจากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หลังจากที่อาการดีขึ้นบ้างแล้ว แพทย์ได้ให้กลับบ้าน วันต่อมาผู้ป่วยมีอาการอาเจียน ชัก 3 ครั้ง pupils fixed dilate หยุดหายใจต้องให้ respirator



รายที่ 3
ได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับอาการพิษที่เกิดขึ้น เนื่องจากเมล็ดมะกล่ำตาหนู โดยได้ลองเคี้ยวเมล็ดมะกล่ำตาหนูเล่น และได้คายส่วนใหญ่ทิ้ง แต่อาจกลืนลงไปเล็กน้อย 1ชั่วโมงต่อมา มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนประมาณ 20 ครั้งใน 6 ชั่วโมง และตลอดวันมีอาการท้องเสีย อ่อนเพลีย ขาไม่มีแรง เหงื่อออก ตัวเย็นมือสั่น อาการนี้เป็นอยู่ประมาณ 1 วัน แต่อาการท้องเสียและเลือดออกในทางเดินอาหารเป็นอยู่หลายวัน คิดว่าคงเป็นอาการที่เกิดจากเมล็ดมะกล่ำตาหนู เพราะไม่ได้รับประทานอย่างอื่น นอกเหนือจากอาหารปกติ


ทั้้งมะกล่ำตาช้างและมะกล่ำตาหนู เป็นพรรณไม้ที่พลอยโพยมพบเจอขณะเดินเท้า ( เท้าเปล่าจริ ง ๆ ) ไปโรงเรียน วัดผาณิตาราม หากเลือกเดินเส้นทางผ่านท้องนาขึ้นไปสู่เส้นถนนที่สองข้างทางถนนคันดินที่ยกสูง มีป่าสะแกและพรรณไม้ชายทุ่งมากมาย
แต่จะไม่พบต้นมะกล่ำดังกล่าวตามสวนของใครเลยหากเลือกเดินเส้นทางผ่านสวน แม้แต่สวนที่บ้านของยายขาเอง
ชีวิตชาวสวนที่ต้องคอยหมั่นเก็บหญ้าในสวน ทำให้วัชพืขหรือพรรณไม้ส่วนเกินที่คุณตาบุญปลูกไว้ จะถูกกำจัดหมด ไม่เหลือมาให้เด็ก ๆ ที่ซุกซนมีโอกาสไปเก็บมาเล่นได้
และเด็ก ๆ ในบ้าน จะไม่มีการอยากรู้อยากเห็นอยากลองกินพืชผลพรรณไม้แปลก ๆ ที่ไม่ได้ปลูกอยู้ในสวนหรือการไปซื้อหา มีพรรณไม้หลายชนิด ที่ไม่เคยกินในวัยเด็กทำให้กินไม่เป็นมาจนทุกว้นนี้เช่นละมุดสีดาเป็นต้น เพราะไม่มีปลูกอยู่ในสวน ปลูกแต่ละมุดธรรมดา อีกทั้งในสวนก็มีพรรณไม้ที่ให้ผลกินได้มากพอจนเหลือเฟือเก็บแจกญาติ ๆ ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อญาติ ๆ มาเยี่ยมเยือนยายขาได้อีกด้วย
ชีวิตในวัยเด็กครอบครัวใหญ่ลูกหลานยายขาล้วน กินดี อยู่ดี มีสุข สนุกสนานเหลือแสนจริงๆ



เมื่อมาอยู่ตำบลแสนภูดาษหลังสิ้นบุญทั้งพ่อมังกรและแม่ละม่อมซึ่งเป็นผู้คอยเก็บกำจัดวัชพืข ก็เริ่มมีพรรณไม้ที่มาเติบโตแพร่พรรณให้พลอยโพยมเดินถ่ายรูปได้มากมายหลายพรรณ
โดยไม่รู้มาก่อนเหมือนกันว่าเมล็ดของมะกล่ำตาหนูมีพิษร้ายแรงอย่างที่พบข้อมูลข้างต้นมา

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

มะกล่ำตาช้าง..มะกล่ำเผือก

มะกล่ำตาช้าง





ชื่อไทย มะกล่ำตาช้าง
ชื่อสามัญ Red Sandalwood Tree, Coralwood Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina L.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่ออื่น มะกล่ำต้น มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), มะแค้ก หมากแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแดง มะหัวแดงมะโหดแดง (ภาคเหนือ) , บนซี (สตูล), ไพเงินกล่ำ (นครศรีธรรมราช), ไพ (มลายู-ภาคใต้), มะกล่ำตาไก่ (ภาคเหนือ)



ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง


ต้น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5-20 เมตร เรือนยอดมีรูปทรงเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนมีขนนิ่มสีน้ำตาลปนเทา เปลือกต้นมีรอยแตกประปราย สีน้ำตาลอ่อน



ใบ
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับตามกิ่ง แต่ละใบมี ใบย่อย 6-15 คู่ รูปรี รูปไข่หรือรูปขอบขนาน โคนใบและปลายใบมน ขอบใบเรียบ ยอดนำมารวกหรือนึ่งใสปลา กินได้







ดอก
เป็นดอกฃ่อกลมยาว รูปทรงกระบอก คล้ายหางกระรอกกลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีก้านดอกสั้น กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม







ผล
เป็นฝักแบน บิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ ม้วนเป็นเกลียวเมื่อแก่ เมล็ดสีแดงแบนกลม






การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด



แหล่งที่พบ
ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป





ประโยชน์
เป็นไม้เนื้อ เเข้งนิยมนำมาทำเครื่่่่่่่่องเรือน เปลือกกับเนื้อไม้ใช้ย้อมผ้าสีธรรมชาติเป็นสีแดงได้ ปลูกเป็นไม้ประดับได้




สรรพคุณทางสมุนไพร
ราก รสเปรี้ยวเล็กน้อย เเก้เสมหะ เเก้ร้อนใน เเก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี
ใบ แก้โรคปวดข้อ บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด







เมล็ด ตำผสมน้ำเล็กน้อย พอกดับพิษ รักษาแผลหนอง ฝี
ใบและเมล็ด แก้โรคริดสีดวงทวารหนัก




เมล็ดใน : เป็นยาเบื่อพยาธิ และเบื่อไส้เดือนได้ดี




"มะกล่ำต้น" ไม้มงคลประจำสิงห์บุรีพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri
https://sites.google.com/site/korakottu72/bthkhwam-thi-prathab-ci
http://thailand-an-field.blogspot.com












มะกล่ำเผือก




ชื่อไทย มะกล่ำเผือก
ชื่ออื่น คอกิ่ว มะขามย่าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Abrus pulchellus Wall. ex Thwaites subsp. pulchellus
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE



ต้น
เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก เป็นพุ่มทึบ ใบ
ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย รูปขอบขนานหรือไข่กลับ ดอก
ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดหรือซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาว ผล
ผลเป็นฝัก เมล็ดค่อนข้างกลม สีขาว




สรรพคุณ
ใบ มีสารหวาน (abrusoside A,B,Cและ D) ให้ความหวานกว่าน้ำตาล 300 เท่า จึงใช้แทนน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม เมล็ด มีสารพิษ ทำให้ตายได้

ขอชอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri


พลอยโพยมไม่เคยพยเห็นมะกล่ำเผือก  จึงอยากให้คนอื่น ๆ ได้รู้จักด้วย  รู้จักแต่มะกล่ำตาช้างและมะกล่ำตาหนู   เมล็ดของมะกล่ำ เป็นของเล่นในวัยเด็กที่ชอบสอดส่ายสายตามองหาแล้วเก็บมาเล่นเพราะสีสดสวยแดงจ้า ผิวเม็ดลื่นเป็นมันแข็ง