[บทความ] "อิเหนา"...นิทานเรื่องเล่าจากชวาสู่บทประพันธ์ทรงคุณค่าในวรรณคดีไทย...
ประวัติความเป็นมาของบทประพันธ์เรื่อง "อิเหนา"
อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่า "อิเหนาเล็ก (อิเหนา)" และ "อิเหนาใหญ่ (ดาหลัง)"ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้
"...อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง
สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ..."
นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัย "พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" เช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ..."
"...ร้องเรื่องระเด่นโดย...ษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรรณ- พตร่วมฤดีโลม ฯ..."
พักพาคูหาบรรณ- พตร่วมฤดีโลม ฯ..."
เนื้อเรื่องตรงกับ "อิเหนาเล็ก" ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ... ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่อง "อิเหนาใหญ่"
เรื่องอิเหนา... หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดาร เรียก "อิเหนา" ว่า “ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง
นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี...
"อิเหนา" ในวรรณคดีภาคภาษาไทย...
นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นักปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยก็ได้แต่งเรื่องอิเหนาขึ้นมาหลายสำนวนด้วยกัน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก และน่าแปลกใจที่พบว่ามีอิเหนาในภาษาไทยกว่าสิบสำนวน ดังนี้
1. บทละครเรื่องอิเหนาครั้งกรุงเก่า. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้มาจากเมืองนครศรี ธรรมราช มีอยู่ตอนเดียวเข้าใจว่าเป็นสำนวนครั้งกรุงเก่า
2. อิเหนาคำฉันท์. งานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งในสมัยธนบุรี จับตอนอิเหนาลักบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ
3. บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
4. บทละครเรื่องดาหลัง. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
5. บทละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
6. บทมโหรีเรื่องอิเหนา. ของเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) ในรัชกาลที่ 2
7. นิราศอิเหนา. ของสุนทรภู่ ตอนลมหอบ
8. บทสักวาเรื่องอิเหนา. แต่งในสมัยรัชกาลที่ 3
9. อิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนอุณากรรณ
10. อิเหนาคำฉันท์ พระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในรัชกาลที่ 4 ตอนเข้าห้องจินตะหรา
11. บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 68 บท
12. บทละครพูดเรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตอนศึกกระหมังกุหนิง
13. บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา. พระนิพนธ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตอนใช้บน
14. บทสักวาเรื่องอิเหนา เล่นถวายในรัชกาลที่ 5 ตอนเสี่ยงเทียน ตอนชนไก่ และตอนสึกชี
15. หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู
16. อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล
17. ปันหยี สะมิหรัง คำกลอน. น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ประพันธ์จากเรื่อง หิกะยัต ปันหยี สมิรัง
18. เล่าเรื่องอิเหนา รศ. วิเชียร เกษประทุม
อย่างไรก็ตาม เรื่องอิเหนาเป็นที่นิยมกันมากกว่าเรื่องดาหลัง เนื่องจากเรื่องดาหลังมีเนื้อเรื่องที่ซ้ำซ้อน และสับสนมากทีเดียว แต่แม้จะเป็นเรื่องจากชวา การบรรยายบ้านเมืองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนเป็นฉากของไทยทั้งสิ้น และนับว่าน่ายินดี ที่มีการนำอิเหนาฉบับของชวามาแปลให้ชาวไทยได้รู้จักและเปรียบเทียบกับอิเหนา ฉบับดั้งเดิมของไทย...
นิทานปันหยี หรือเรื่องอิเหนานับเป็นวรรณคดีต่างประเทศอีกเรื่องหนึ่งที่มีคำศัพท์ชวา จำนวนไม่น้อย เช่น บุหงา บุหลัน บุหรง ลางิต ตุนาหงัน มะงุมมะงาหรา ฯลฯ
เรื่องย่อ "อิเหนา" ฉบับพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บทละครเรื่อง "อิเหนา" ซึ่งพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" เป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องด้วยพระองค์ได้ทรงนำเค้าเรื่องพงศาวดารชวามาดัดแปลงโดยใช้ฉากขนบ ธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบไทย จึงเป็นเรื่องที่สะท้อนภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีเนื้อเรื่องย่อดังนี้
มีกษัตริย์วงศ์เทวาสี่พระนคร เป็นพี่น้องกัน ครองเมืองสำคัญตามลำดับ คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง สิงหัดส่าหรี มเหสีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหาเป็นพี่น้องกันด้วย ท้าวกุเรปันมีโอรสชื่อ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง เป็นชายหนุ่มรูปงาม มีความสามารถเชี่ยวชาญในการรบ และเป็นชายที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของเพศตรงข้าม ส่วนท้าวดาหามีธิดา ชื่อ บุษบา ซึ่งรูปงามมาก เป็นนางเอกของเรื่อง
ท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ได้หมั้นหมายอิเหนาและบุษบาไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อจะได้อภิเษกเป็นคู่ครองกันสมตามศักดิ์ศรีของวงศ์เทวา โดยที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ต่อมาอิเหนาเป็นผู้แทนท้าวกุเรปันไปในงานศพท้าวหมันยา ซึ่งมเหสีท้าวหมันหยาเป็นญาติ อิเหนาได้พบนาง จินตะหราวาตี ธิดาท้าวหมันหยา ได้นางจินตะหราซึ่งต่ำศักดิ์กว่าเป็นชายา เมื่อถึงเวลาจะต้องแต่งงานกับบุษบา อิเหนาซึ่งหลงนางจินตะหราอยู่ที่เมืองหมันหยาได้ปฏิเสธไม่กลับไปแต่งงานกับ บุษบา ท้าวดาหาพระบิดาของบุษบากริ้วโกรธมาก จึงประชดยกนางบุษบาให้จรกา แห่งเมืองล่าสำ ซึ่งรูปชั่วตัวดำ ต่อมา วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิงได้รูปวาดนางบุษบาที่จรกาให้ช่างลอบไปวาด แล้วเทวดามาบันดาลให้รูปวาดบุษบาหายไป ๑ รูป ไปตกอยู่ในมือวิหยาสะกำ เมื่อได้เห็นรูปก็หลงรัก ส่งทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหายกนางบุษบาให้จรกาแล้ว วิหยาสะกำแห่งเมืองกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาชิงนางบุษบา ท้าวกุเรปันและมเหสีส่งสารไปให้อิเหนายกทัพไปช่วยเมืองดาหา อิเหนาก็โอ้เอ้อยู่ จนต้องมีสารไปตัดเป็นตัดตายว่า
“...ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว
แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
อันองค์ท้าวดาหาธิบดี
นั้นมิใช่อาฤาว่าไร
แม้นมิยกพลไกรไปช่วย
ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี
แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย...”
แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
อันองค์ท้าวดาหาธิบดี
นั้นมิใช่อาฤาว่าไร
แม้นมิยกพลไกรไปช่วย
ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี
แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย...”
เมื่อ อิเหนาได้เห็นบุษบาเพียงครั้งแรกก็หลงรักและคลั่งไคล้อย่างหนัก จึงทำอุบายลักพานางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำและได้อยู่ร่วมกันมีความสุข แต่เทพยดา ปะตาระกาหลง ซึ่งเป็นอัยกา (ปู่) ไม่พอใจที่อิเหนาประพฤติตนไม่ดี จึงลงโทษบันดาลให้ลมพายุหอบนางบุษบา ซึ่งออกมาชมสวนไป และมีบันดาลให้นางกลายร่างเป็นชาย ชื่อ อุนากรรณ สาปไว้ด้วยว่า ต่อเมื่อพี่น้องสี่นครมาพบกันพร้อมหน้าเมื่อใด อุนากรรณจึงจะกลายร่างจากชายเป็นบุษบาได้ หากไม่ถึงเวลานั้น แม้อิเหนาพบบุษบา ก็ไม่สามารถจะทราบว่านางคือบุษบา ปะตาระกาหลาประทานกฤชให้อุนากรรณ ต่อจากนั้นอุนากรรณก็เที่ยวร่อนเร่พเนจรไปตามเมืองต่างๆ รบชนะได้ธิดาของเมืองต่างๆ มาร่วมเดินทาง
ฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าบุษบาหายไป ก็ออกติดตามหา ระหว่างทางรบชนะได้เมืองต่างๆ ได้พบอุนากรรณ แม้สงสัยว่าเป็นบุษบา แต่สืบอย่างไรก็พบว่าอุนากรรณเป็นชาย ต่อมาอิเหนาปลอมตัวเป็น ปันหยี (โจรป่า) ออกตามหานางบุษบาไปทุกหนทุกแห่งด้วยความทุกข์ทรมานใจ จนในที่สุดได้พบนางบุษบาบวชเป็นแอหนัง (ชี) อยู่ที่เขาตะหลากัน และตั้งใจว่าจะฆ่าตัวตาย ปันหยีปลอมเป็นเทวดาไปลวงนางแอหนังว่าจะพาไปสวรรค์ แล้วพานางมายังเมืองกาหลัง ทำอุบายให้ประสับตาพี่เลี้ยงเล่นหนังพรรณนาเรื่องของอิเหนาและบุษบาให้ นางแอหนังดู ในที่สุดปันหยีก็รู้ว่าแอหนังคือบุษบา ประจวบกับมีเหตุให้ระเด่นพี่น้องทั้งสี่เมืองมาครบ อิเหนาจึงสึกชี แอหนังเป็นบุษบา ภายหลังได้อภิเษกกัน
คุณค่าในวรรณคดีเรื่อง "อิเหนา" ฉบับพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะ ให้บทละครเรื่องอิเหนามีคุณค่าสูง ทั้งในเชิงวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ คีตศิลป์ เมื่อทรงพระราชนิพนธ์แต่ละตอนเสร็จแล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้ กรมขุนพิทักษ์เทเวศร์ นำไปทดลองขับร้องประกอบดนตรี จัดท่ารำ แก้ไขปรับปรุงให้รัดกุม กระชับ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทุกตอน ด้วยเหตุนี้ บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีความไพเราะ งดงาม เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์ ในเชิงนาฏศิลป์ก็เป็นบทละครที่มีลีลางดงาม พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาจึงเป็นที่ประทับใจผู้คนทุกยุคทุกสมัยตลอดมา มีผู้นำไปแสดงละคร ใช้เป็นบทขับร้อง และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวรรณคดีอันอมตะของชาติ และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีสโมสร ได้ตัดสินให้ อิเหนาเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร
พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานี้ นอกจากมีคุณค่าสูงเชิงวรรณศิลป์และนาฏศิลป์ คีตศิลป์ (ขับร้องและดนตรี) แล้ว ยังมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ด้วย เช่น สะท้อนภาพบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สถานที่ตามที่ปรากฏในเรื่อง อิเหนา ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น ยังกล่าวถึง ขนบประเพณีสำคัญทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน การดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจการค้าอาชีพ การแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยในอดีต ซึ่งบางอย่างยังเป็นแบบแผนประเพณีตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่ ประเพณีการพระเมรุ ซึ่งยังคงเป็นแนวปฏิบัติอยู่ในราชสำนักของไทย และให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีอื่นๆ เช่น แห่สระสนานใหญ่ ประเพณีโสกันต์ ซึ่งนักปราชญ์ทางวรรณคดีและสังคมศาสตร์กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ตรงตามตำราราชประเพณีโบราณ เพียงแต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ดังนั้น คนไทยสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนิยมยกย่องและศึกษาสืบทอดเรื่องอิเหนาตลอดมา ซึ่งนอกจากได้รับความเพลิดเพลิน ได้รับอรรถรสอันเปี่ยมด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์แล้ว ยังได้รับประโยชน์ด้านความรู้อันเป็นแบบแผนแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างดี เช่น คติในข้อที่บุตรธิดาไม่เชื่อฟังอยู่ในโอวาทบิดามารดา คือ อิเหนา ซึ่งต้องประสบเคราะห์กรรม พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก ต้องได้รับความทุกข์ทรมานยากลำบากสาหัสในการร่อนเร่ติดตามหานางบุษบาเป็น เวลาช้านานกว่าจะพ้นปัญหา ความรักหลงในอิสตรี อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนถึงชีวิต เช่น วิหยาสะกำ และความรักลูกตามใจจนเกิดภัยแก่ชีวิตทั้งของตนและลูก เช่น ท้าวกะหมังกุหนิง พระบิดาของวิหยาสะกำ เป็นต้น...
"อิเหนา" เนื้อเรื่องย่อทั้งหมด
ใน ดินแดนชวาแต่โบราณมีกษัตริย์ราชวงศ์หนึ่ง เรียกว่า วงศ์อสัญแดหวาหรือวงศ์เทวา กล่าวกันแต่เดิมว่าเมืองหมันหยามีเจ้าเมือง มีธิดาสี่ องค์ เจ้าเมืองหมันหยาคิดจะแต่งการสยุมพรให้กับธิดาทั้งสี่ แต่หากษัตริย์ที่คู่ควรไม่ได้ ต่อมามีเหตุเกิดขึ้นคือมีพระขรรค์ ชัยกับธงผุดขึ้นที่หน้าพระลาน ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพงชาวเมืองเดือดร้อนเจ้าเมืองหมันหยาจึงป่าวประกาศให้ กษัตริย์เมืองต่างๆ มาถอนพระขรรค์กับธงออกเพื่อ แก้อาถรรพ์ ผู้ใดทำได้สำเร็จจะยกธิดาและสมบัติให้กึ่งหนึ่งกษัตริย์เมืองต่างๆที่มาอาสา ก็ไม่สามารถถอนพระขรรค์กับธงได้ จนอสัญแดหวา สี่องค์ที่มาสถิต ณ เขาไกรลาส แปลงกายเป็นมนุษย์มาฉุดถอนพระขรรค์กับธงได้สำเร็จ เทวราชทั้งสี่ไม่ขอรับสมบัติหากขอเพียงธิดาเป็น คู่ครองและจะไปสร้างเมืองอยู่เอง
เทวาองค์แรกพา ธิดาองค์ที่หนึ่งไปสร้างเมืองกุเรปันองค์ที่สองพาธิดาองค์รองไปสร้างเมืองดา หา องค์ที่สามพาธิดาองค์รองสุดท้องไปสร้าง เมืองกาหลังและองค์ที่สี่พาธิดาองค์สุดท้องไปสร้างเมืองสิงหัดส่าหรี สี่เมืองนี้จึงนับเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ด้วยเกียรติและยศศักดิ์ ด้วยเป็นวงศ์ อสัญแดหวาและยังเป็นที่ยอมรับและยกย่องของหัวเมืองน้อยใหญ่ และสี่เมืองนี้เท่านั้นที่สามารถตั้งตำแหน่งมเหสีได้ ๕ องค์ อันได้แก่ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกูและเหมาหลาหงี
ส่วนความ เกี่ยวพันระหว่างวงศ์อสัญแดหวากับเมืองหมันหยานั้นเรียกได้ว่าเกี่ยวดองกัน เพราะวงศ์อสัญแดหวารุ่นต่อๆมา ล้วนได้ธิดาเมืองหยันหยา มาเป็นประไหมสุหรี
สมัย ต่อมาเจ้าผู้ครองเมืองกุเรปันประสงค์จะมีโอรสกับประไหมสุหรี จึงได้ทำพิธีบวงสรวงเทวดาและได้โอรสสมพระทัยโหรทำนายว่าโอรสจะเป็นผู้มีเด ชานุภาพยิ่งใหญ่ แต่เมื่ออายุได้ ๑๕ ชันษาจะมีเคราะห์ต้องพลัดพรากจากเมืองถึงสามครั้ง จะไปได้ชายาเมืองอื่น พลัดบ้านพลัดเมืองถึง ๑๓ ปีจึงจะกลับคืนกุเรปันวันที่โอรสประสูติวงศ์อสัญแดหวาซึ่งเป็นบรมอัยกาสถิต อยู่บนสวรรค์ได้นำกริชแก้วสุรกานต์จารึกชื่อ อิเหนา มาวางไว้ข้างตัว
ฝ่าย ประไหมสุหรีเมืองหมันหยา ได้ให้กำเนิดธิดาชื่อ จินตะหราวาตี ประไหมสุหรีของเมืองหมันหยา ได้ให้กำเนิดโอรสชื่อ สุหรานากง ซึ่งวงศ์อสัญแดหวาได้นำกริชจารึกชื่อมาประทานให้เช่นเดียวกับอิเหนา เมืองกาหลังได้กำเนิดธิดาแต่ประไหมสุหรีชื่อ สกาหนึ่งหรัด และเป็นคู่ตุหนาหงัน(คู่หมั้น) กับสุหรานากง ส่วนเมืองดาหา ประไหมสุหรีได้กำเนิดธิดาชื่อ บุษบา ซึ่งทางเมืองกุเรปันได้สู่ขอตุนาหงันไว้กับอิเหนา อีก ๕ ปี ต่อมาประไหมสุหรีของเมืองดาหาก็ได้ให้กำเนิดโอรสชื่อ สียะตรา
อิเหนา เจริญวัยจนอายุได้ ๑๕ ชันษา ก็มีความเชี่ยวชาญเก่งกล้าสมเป็นโอรสกษัตริย์ ต่อมาพระมารดาของประไหมสุหรีเมืองหมันหยาทิวงคต ท้าวหมันหยาจึงมีราชสาส์นแจ้งไปยังเมืองกุเรปันและเมืองดาหา ทางเมืองกุเรปันจึงให้อิเหนานำเครื่องเคารพศพไปร่วมงาน
ครั้น อิเหนาไปถึงเมืองหมันหยา ได้เข้าเฝ้าท้าวหมันหยาและพบกับจินตะหราธิดาเจ้าเมืองจึงนึกรักคิดใคร่ได้ นางจนไม่ยอมกลับกุเรปัน ท้าวกุเรปันเห็นว่างานศพก็เสร็จสิ้นแล้วจึงให้คนถือหนังสือไปตามตัวอิเหนา กลับโดยบอกเหตุผลว่าพระมารดาทรงครรภ์แก่ใกล้ประสูติ อิเหนาต้องจำใจกลับวังแต่ได้เขียนเพลงยาวและฝากแหวนสองวง ขอแลกกับสไบของนางจินตะหรา เมื่ออิเหนาถึงเมืองกุเรปันก็ทราบว่าประไหมสุหรีกำเนิดธิดาชื่อ วิยะดา และท้าวดาหาได้สู่ขอตุนาหงันไว้ให้กับสียะตราน้องชายบุษบา อิเหนากลับมากุเรปันก็คร่ำครวญคิดถึงจินตะหรา ท้าวกุเรปันจึงมีราชสาส์นเร่งรัดไปยังท้าวดาหาเพื่อจะจัดการวิวาห์ระหว่าง อิเหนากับบุษบาให้เป็นที่เรียบร้อย
ฝ่ายอิเหนา ระแคะระคายว่าจะต้องแต่งงานกับบุษบา จึงออกอุบายขออนุญาตท้าวกุเรปันออกประพาสป่า แล้วปลอมตัวเป็นนายโจรชื่อ มิสารปันหยีให้พี่เลี้ยงและไพร่พลปลอมเป็นชาวบ้านป่าทั้งสิ้นเดินทางมุ่ง หน้าสู่ภูเขาปะราบีใกล้เมืองหมันหยา
กล่าวถึง กษัตริย์สามพี่น้องอีกวงศ์หนึ่ง องค์แรกครองเมืองปันจะรากัน มีธิดาชื่อสการะวาตี องค์รองครองเมืองปักมาหงัน มีธิดาชื่อ มาหยารัศมี มีโอรสชื่อ สังคามาระตา องค์ที่สามครองเมืองบุศสิหนา เพิ่งไปสู่ขอนางตรสาธิดาเมืองปะตาหรำมาเป็นชายา ระหว่างเดินทางกลับจากพิธีวิวาห์ พี่น้องทั้งสามเมืองก็แวะพักนมัสการฤาษีสังปะติเหงะซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่เชิง เขาปะราปี
ระหว่างที่ไพร่พลของอิเหนาพักอยู่ที่เชิงเขาปะ ราปี ประสันตาพี่เลี้ยงของอิเหนาได้ล่วงล้ำไปมีเรื่องวิวาทกับไพร่พลของท้าวบุ ศสิหนา ท้าวบุศสิหนายกทัพมารบ กับอิเหนาซึ่งใช้ชื่อว่า มิสารปันหยี ท้าวบุศสิหนาถูกมิสารปันหยีแทงตกม้าตาย ท้าวปันจะรากันและท้าวปักมาหงันทราบจากฤาษีสังปะติเหงะว่า มิสารปันหยี คืออิเหนา จึงยอมอ่อนน้อมไม่สู้รบด้วย ทั้งยกสการะวาตีมาหยารัศมีและสังคามาระตาให้แก่อิเหนาด้วย
จากนั้นอิเหนาก็เข้าเมืองหมันหยา และได้จินตะหราเป็นชายาสมใจ แล้วได้พามาหยารัศมีและสะการะวาตีมาอยู่ด้วยกัน
ฝ่าย เมืองดาหาเมื่อเตรียมการพิธีวิวาห์เสร็จก็แจ้งไปยังท้าวกุเรปัน ท้าวกุเรปันก็ร้อนใจที่ทราบว่าอิเหนาไปได้จินตะหราเป็นชายาจึงให้คนถือ หนังสือไปตามให้อิเหนากลับอิเหนาพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมกลับ และขอถอนหมั้นบุษบา ท้าวดาหาได้ทราบความก็ขุ่นเคืองมากถึงกับตัดสินพระทัยว่าแม้นใครมาขอบุษบาก็ จะยกให้ทันที
กล่าวถึงเมืองพี่เมืองทั้งสองเมือง เมืองพี่คือเมืองล่าสำ เมืองน้องคือเมืองจรกา ท้าวล่าสำมีธิดาชื่อ กุสุมาเป็นคู่หมั้นกับสังคามาระตาฝ่ายท้าวจรกายังไม่มีคู่ด้วยรูปชั่วตัวดำ เมื่อได้ทราบข่าวทางเมืองดาหาก็แต่งเครื่องบรรณาการมาขอบุษบา ท้าวดาหาก็ยินดียกให้ ด้วยกำลังแค้นเคืองอิเหนา
กล่าว ถึงกษัตริย์อีกวงศ์หนึ่ง องค์พี่ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีโอรสชื่อ วิหยาสะกำ องค์รองครองเมืองปาหยัง มีธิดาสององค์ ชื่อ รัตนาระติกา และรัตนาวาตี องค์สุดท้องครองเมืองประหมันสลัด มีโอรสชื่อ วิหรากะระตา มีธิดาชื่อ บุษบาวิลิศ
อยู่ มาวิหยาสะกำออกเที่ยวป่า องค์อสัญแดหวาไม่ต้องการให้บุษบาแต่งงานกับจรกา จึงจำแลงเป็นกวางทองล่อวิหยาสะกำไปพบรูปนิมิตของบุษบา วิหยาสะกำเห็นรูปก็หลงรักไม่เป็นอันกินอันนอน ท้าวกะหมังกุหนิงจึงแต่งเครื่องบรรณาการไปขอบุษบาให้โอรสทั้งที่รู้ว่าท้าว ดาหาได้ยกบุษบาให้กับจรกาแล้ว
เมื่อท้าวดาหาไม่ยินยอม ท้าวกะหมังหุหนิงจึงยกทัพมารบเมืองดาหาทางเมืองดาหาจึงรีบบอกไปยังเมืองพี่เมืองน้องและเมืองจรกาให้มาช่วย
ท้าว กุเรปันมีราชสาส์นไปยังอิเหนาที่เมืองหมันหยาให้มาช่วยท้าวดาหาอิเหนาจึงจำ ต้องยกทัพมาช่วยและได้รบกับท้าวกะหมังกุหนิงซึ่งถูก อิเหนาแทงด้วยกริชถึง แก่ความตาย วิหยาสะกำก็ถูกสังคามาระตาแทงตกม้าตาย ทางเมืองดาหาทราบว่าอิเหนามีชัยต่อข้าศึก ก็ให้จัดพิธีต้อนรับอิเหนาเข้าเมือง เมื่ออิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหา ไปพบบุษบาก็เสียดายและนึกรัก
อิเหนาพยายามยืดเวลา เพื่อจะอยู่เมืองดาหานานๆ และไปร่วมพิธีใช้บนที่ภูเขาวิลิศมาหรา อิเหนาพยายามหาโอกาสเข้าใกล้บุษบาและพยายามกลั่นแกล้งจรกาให้บุษบารังเกียจ จรกา มิหนำซ้ำอิเหนายังถือโอกาสกอดจูบบุษบาตอนมะเดหวีกับบุษบาเข้าไปเสี่ยงเทียน ในถ้ำ
ครั้นกลับเข้าเมือง อิเหนาจึงคิดลักพาบุษบาหนี โดยสร้างสถานการณ์ว่ามีข้าศึกเข้ามาปล้นเมืองดาหาอิเหนาอาศัยความโกลาหลปลอม ตัวเป็นจรกาพาบุษบาหนีออกนอกเมืองไปซ่อนไว้ ในถ้ำกลางป่าแล้วย้อนรอยกลับเข้าเมืองดาหา ทำเหมือนไม่รู้ว่าบุษบาถูกลักพาไป
กล่าวถึงองค์ อสัญแดหวาขุ่นเคืองอิเหนาที่ทำหยาบหยามตามอำเภอใจ จึงบันดาลให้ลมหอบพาบุษบาและพี่เลี้ยงไปตกยังเมืองประมอตันเพื่อให้พลัดกัน กับอิเหนาและองค์อสัญแดหวายังแปลงบุษบาให้ดูเหมือนผู้ชาย ให้ชื่อว่าอุณากรรณ ท้าวประมอตันได้พบจึงรับไปเป็นโอรสบุญธรรมฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าลมหอบบุษบา หายไปก็เสียใจมาก จึงปลอมเป็นนายโจรมิสารปันหยีออกติดตามนาง ระหว่างทางก็ตีได ้เมืองเล็กเมืองน้อยเป็นเมืองขึ้น อิเหนาพยายามตามหาบุษบาต่อไปแต่ไม่พบ จึงไปบวชเป็นฤาษีชื่อ กัศมาหราอายัน
ข้าง อุณากรรณก็พยายามออกติดตามหาอิเหนาเช่นเดียวกัน จนไปถึงภูเขาปัจจาหงันที่อิเหนาบวชเป็นฤาษีอยู่ ทั้งสองได้พบกันแต่ก็ไม่รู้จักกันอุณากรรณเดินทางต่อไปถึงเมืองกาหลัง ต่อมาอิเหนาลาจากเพศฤาษีติดตามอุณากรรณไปยังเมืองกาหลังด้วย
เมื่อ อยู่ที่เมืองกาหลัง ทั้งท้าวกาหลัง อุณากรรณและมิสารปันหยีต่างไม่รู้จักกันเพียงแต่สงสัยคลับคล้ายคลับคลา ต่อมาอุณากรรณเดินทางจากเมืองกาหลังไปสืบหาอิเหนา และไปบวชเป็นชี ณ ภูเขาตะหลากันโดยใช้ชื่อว่า ชีติหลาอรสา
ต่อมาประ สันตาได้พบนางชีติหลาอรสา ก็สงสัยว่าจะเป็นบุษบา จึงมาทูลอิเหนาอิเหนาจึงปลอมตัวเป็นเทวดาชื่อ หลงหลังอาหลัด ไปหานางที่อาศรม แล้วหลอกว่าจะมารับนางไปอยู่ที่เมืองฟ้า แต่กลับพานางเข้าเมืองกาหลัง ประสันตาได้ทำอุบายเล่นหนังตามเรื่องราวของอิเหนาโดยเริ่มตั้งแต่เมื่อขึ้น ไปไหว้พระปฏิมาบนภูเขาวิลิศมาหรา กระทั่งบุษบาถูกลมหอบไป ในที่สุดอิเหนากับบุษบาก็จำได้ ทั้งสียะตราและวิยะดาก็ได้พบกัน
เมื่อ พบกันพร้อมหน้า ที่เมืองกาหลังแล้ว อิเหนาก็ยังไม่กล้ากลับเมืองดาหาเพราะเกรงท้าวดาหาจะกริ้วสียะตราจึงต้อง แต่งสาส์นไปทูลให้ท้าวกุเรปันและท้าวดาหาทรงทราบ เพื่อให้สองกษัตริย์ยกโทษและรับอิเหนากลับเข้าเมือง
ในที่ สุดท้าวกุเรปัน ท้าวดาหาก็จัดกองทัพมารับอิเหนาและบุษบาที่เมืองกาหลังทั้งได้จัดงานพิธี อภิเษกให้อิเหนาด้วย มีเจ้าเมืองต่างๆ มาร่วมพิธีมากมาย จากนั้นอิเหนาก็ปกครองแว่นแคว้นแดนชวาด้วยความสุขสืบมา
ที่มา สกุลไทย /.wikipedia
Photo Cr. - retardo58
'อิเหนารำพึง' โดย พันธ์ พะเนียงเวทย์