พระนางสามาวดี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.naiin.com
นางสามาวดี เดิมมีชื่อว่าสามา เป็นธิดาของภัททวดีเศรษฐีแห่งเมืองภัททวดีนคร ซึ่งป็น อทิฏฐบุพพสหาย ( สหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน ) กันกับโฆสกเศรษฐี แห่งเมืองโกสัมพี
(ความเป็นอทิฏฐบุพพสหายระหว่างโฆสกเศรษฐีไ และ ภัททวดีเศรษฐี)
โฆสกเศรษฐีได้ฟังสมบัติและวัยและประเทศของภัททวติยเศรษฐี ในสำนักของพวกพ่อค้า ซึ่งมาแล้วจากภัททวดีนคร ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐีนั้น จึงส่งเครื่องบรรณาการไปแล้ว.
แม้ภัททวติยเศรษฐีได้ฟังสมบัติและวัยและประเทศของโฆสกเศรษฐี ในสำนักของพวกพ่อค้า ซึ่งมาแล้วจากกรุงโกสัมพี ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐี จึงส่งเครื่องบรรณาการไปแล้ว เศรษฐีทั้งสองนั้นได้เป็นอทิฏฐบุพพสหายกันและกัน ด้วยเหตุอย่างนี้. (http://www.watpaknam.com)
ครั้นต่อมา เกิดโรคระบาดในเมืองภัททวดีนคร เศรษฐีภัททวดี พาภรรยาและ ธิดาอพยพหนีโรคร้ายไปยังเมืองโกสัมพี ทรัพย์สมบัตติที่มีอยู่กระจัดกระจายหมดสิ้น
เมื่อเดินทางมาถึงเมืองโกสัมพีแล้ว ด้วยสภาพร่างกายที่อดอาหารมาหลายวัน อีกทั้งความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล ทำให้ไม่กล้าไปพบสหายด้วยสภาพอย่างนั้น จึงพักอาศัยในศาลาใกล้ ๆ โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น ตั้งใจว่าเมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วจึงจะเข้าไปหาโฆสกเศรษฐี
วันรุ่งขึ้น นางสามาเข้าไปรับอาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี รับอาหารมาจากนายมิตตะคนแบ่งอาหาร โดยรับอาหารมา ๓ ส่วน และในคืนนั้น ภัททวดีเศรษฐี ผู้บิดาถึงแก่กาละ (ตาย)
ในวันที่ ๒ นางสามาจึงไปขอรับอาหารมาเพียงมาเพียง ๒ ส่วน ในคืนนั้นภรรยาภัททวดีเศรษฐีก็ถึงแก่กาละไปอีกคน
ในวันที่ ๓ นางจึงไปขอรับอาหารมาเพียงส่วนเดียว
นายมิตตะเกิดความสงสัย นางสามาจึงเล่าความจริงให้ฟัง นายมิตตะจึงรับนางสามาเป็นธิดาบุญธรรม เมื่อนางไปอยู๋โรงทาน ได้ยินเสียงอึกทึกในโรงทานจากการยื้อแย่งของผู่้มารับทาน จึงหาทาง
แก้ไขโดยบอกบิดาบุญธรรมให้ทำรั้วกั้นเพื่อให้ผู้มารับทานเรียงแถวเข้ามารับแจกทานทีละคน ออกไปทีละคน เสีียงอึกทึกจึงได้เงียบหายไป
ต่อมาโฆสกเศรษฐี ที่เคยฟังเสียงอึกทึกทุกวันจนชิน สงสัยว่าเสียงอึกทึกเหล่านั้นเงียบหายไป
เมื่อสอบถามจนได้ทราบว่่าเป็นความคิดของนางสามา ซึ่งเป็นธิดาของภัททวดีเศรษฐีสหายของตน ก็รู้สึกพอใจ กล่าวยกย่องชมเชยในความฉลาดของนางเป็นอันมาก หลังจากนั้นนางจึงได้ชื่อว่า “สามาวดี” (วดี = รั้ว) และรับนางเป็นธิดาคนโตและมอบหญิงบริวารให้ ๕๐๐ คน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.baanmaha.com/
ต่อมาพระเจ้าอุเทนพระราชาแห่งกรุงโกสัมพีได้ทอดพระเนตรเห็นนางสามาวดีในวันงานนักขัตตฤกษ์ครั้งหนึ่ง ในขณะที่นางและบริวารออกมาชมการละเล่น ทรงพอพระทัยจึงขอนางจากโฆสกเศรษฐี และอภิเษกนางในตำแหน่งอัครมเหสี
ครั้งนั้นนายสุมนะ ซึ่งเป็นช่างดอกไม้ของเศรษฐีทั้ง ๓ คือ โฆสกเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐี และกุกกุฏเศรษฐี ได้ขอโอกาสจากเศรษฐี เพื่อถวายทานแก่พระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ในวันหนึ่ง เศรษฐีก็อนุญาต นายสุมนะจึงนิมนต์พระบรมศาสดา และตระเตรียมเครื่องสักการะเพื่อถวายทานในวันรุ่งขึ้น
นางขุชชุตตรา เป็นทาสีของพระนางสามาวดี รับหน้าที่จัดซื้อดอกไม้มาให้พระนางสามาวดีทุกวัน จากนายสุมนะ
โดยปกตินางชชุตตรา จะยักยอกเงินซื้อดอกไม้ไว้ทุกครั้งโดยจะใช้เงินซื้อดอกไม้เพียงครึ่งเดียวจากที่ได้รับมาจนถึงวันที่นายสุมนะได้รับอนุญาตให้ถวายทานแก่พระบรมศาสดาได้
ในวันนั้นสุมนมาลาการกล่าวกับนางขุชชุตตรา ว่า วันนี้ข้าพเจ้าจักถวายทาน จักบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้อันเลิศ ขอนางจงรออยู่เป็นผู้ช่วยเหลือในการนี้และฟังพระธรรมเทศนาเสียก่อนแล้วจึงรับดอกไม้ไปนางก็ตอบตกลง
หลังภัตกิจ พระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาแล้ว ได้ตรัสแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้น
นางขุชชุตตราสดับพระธรรมเทศนาแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จึงใช้เงินที่ได้รับมาซื้อดอกไม้เต็มตามจำนวนเงินไม่ล่วงละเมิดในศ๊ลห้าอีก
ครั้นกลับมายังพระราชนิเวศน์แล้ว พระนางสามาวดีเห็นดอกไม้มีจำนวนมากกว่าทุกครั้ง ทรงแปลกพระทัยทรงสอบถามนางขุชชุตตรา นางจึงเล่าความให้พระนางสามาวดีทราบความจริง ว่าแต่ก่อนนางได้ยักยอกค่าดอกไม้ไว้ครึ่งหนึ่งเสมอมา แต่วันนี้ได้ฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุธรรม จึงไม่ได้กระทำในสิ่งที่ไม่สมควรนั้นอีก
พระนางสามาวดีจึงขอให้นางขุชชุตตรา แสดงธรรมนั้นแก่พระนางและบริวารอีก ๕๐๐ คน เมื่อจบการแสดงธรรม ชนเหล่านั้นก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ยกนางไว้ในฐานะอาจารย์ และขอให้นางไปฟังธรรมจากพระบรมศาสดาแล้วนำมาแสดงแก่พวกตนทุกวัน
ต่อจากนั้น พระนางสามาวดี พร้อมด้วยบริวารมีจิตศรัทธาเลื่อมใสตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัย พากันสนใจในการฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสมาทานรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำ
เมื่อกาลเวลาผ่าไปนานเข้านางขุชชุตตราก็กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย - เนปาล
โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น