ฉางอาน...ราชธานีที่ยิ่งใหญ่ในอดีต
อิ่งเจิ้ง.. จักรพรรดิ์จิ๋นซี
"ฉางอาน"
เมื่อหลิวปังตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ฮั่นเกาจู ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล ได้ย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน)
ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace)
ซึ่งก่อนหน้านั้น จักรพรรดิจิ๋นซีแห่งราชวงศฉิน รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สถาปนาเมืองเสียนหยางเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ทางเหนือของซีอานในปัจจุบัน ในอดีต เสียนหยางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น มีประชากรประมาณ 5 ถึง 6 แสนคน เกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่จอมจักรพรรดิจิ๋นซี ทรงเห็นว่า เมืองหลวง เสียนหยาง ยังมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จึงทรงโปรดให้สร้างเมือง เออฝาง ขึ้นทางใต้ของเมืองเสียนหยาง อีกเมืองหนึ่ง กล่าวกันว่า หลังจากราชวงศ์ฉินถูกชาวนาโค่นบัลลังก์แล้วบรรดาพระราชวัง และ ตำหนักในเมืองทั้งสองถูกเผาทำลายสิ้น โดยใช้เวลาเผานานถึง 3 เดือน
หลี่ซือหมิน
จักรพรรดิถังไท่จง ราชวงศ์ถัง
จักรพรรดิ ฮั่นเกาจู สร้างเมือง ฉางอาน ขึ้นบนพื้นที่ระหว่างที่ตั้งเมืองหลวงเสียนหยาง และเมืองเออฝาง ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นที่ตั้งเมืองฉางอานได้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน
เมือง ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่นนี้มีอาณาเขตโดยรอบ 25,000 เมตร พื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ตำหนักภายในเมืองมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เล่ากันว่า หลังจากสร้างตำหนักเสร็จแล้ว องค์จักรพรรดิฮั่น ตรัสว่า "ช่างใหญ่อะไรปานนี้"
800 ปีถัดมาจากที่ราชวงศ์ฮั่นสร้างเมือง ฉางอาน (เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยางเรียกว่าฮั่นตะวันออก) และเมื่อราชวงศ์ฮั่นล่มสลายลง
มี ราชวงศ์จิ้น และ ราชวงศ์เหนือใต้
บูเช๊กเทียนราชวงศ์ถัง
ในยุคราชวงศ์เหนือใต้
ราขวงศ์เป่ยโจว ปีที่ 1 ศักราชต้าติ้ง รัชกาลพระเจ้าจิ้งตี้ (ค.ศ. 581) เดือน 2 หยางเจียน เรืองอำนาจ
หยางเจียนขึ้นเป็นจักรพรรดิ แทนที่ราชวงศ์เป่ยโจว ตั้งชื่อประเทศว่า “สุย” ตั้งชื่อปีศักราชว่า “คายหวง” ทรงพระนามว่า “สุยเหวินตี้” ฉางอานยังคงเมืองหลวงเช่นเดิม นับแต่นั้นมา ยุคราชวงศ์ตอนเหนือได้สิ้นสุดลง
ปีที่ 2 ศักราชคายหวง (ค.ศ. 582) จักรพรรดิสุยเหวินตี้ได้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงฉางอานเดิม ตั้งชื่อว่าเมือง “ต้าซิงเฉิง”
ปีที่ 9 ศักราชคายหวง (ค.ศ. 589) กองทัพสุยจู่โจมแคว้นเฉินจนล่มสลาย และได้ปิดฉากยุคราชวงศ์ใต้ลง
นับจาก ค.ศ. 316 ที่ราชวงศ์ซีจิ้น (จิ้นตะวันตก) ล่มสลายแตกกระจายเป็นราชวงศ์เหนือใต้ จนถึงบัดนี้จึงได้สิ้นสุดลง ประเทศจีนกลับสู่การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง
จักรพรรดิสุยเหวินตี้ เปลี่ยน ฉางอาน ของราชวงศฮั่น เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ และเนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์สุยมาจากตระกูลหยาง ผู้คนจึงเรียกเมืองนี้ว่า เมืองตระกูลหยาง
ผู้หญิงราชวงศ์ถัง
เมื่อมาถึงราชวงศ์ถัง
จักรพรรดิราชวงศ์ถังได้เปลี่ยนชื่อเมืองต้าชิงเฉิง (ต้าสิ้ง ) (ต้าชิง) เป็น ฉางอาน และใช้ ฉางอานที่สร้างใหม่ของราชวงศ์สุย เป็นเมืองหลวง ฉางอาน ขณะเดียวกันก็มีการการก่อสร้างเมืองอย่างต่อเนื่อง จนเมือง ฉางอาน มีอาณาเขตโดยรอบถึง 36,700 เมตร พื้นที่ 84 ตารางกิโลเมตร มีทั้งวังหลวง อุทยานและที่ทำการเป็นจำนวนมาก เมืองฉางอันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น วังต้าหมิง (ต้าหมิงกง) ในเมืองฉางอันใหญ่มาก เขตซากของวังนี้กว้างกว่ายอดจำนวนพื้นที่วังต้องห้ามสมัยหมิงและชิงในกรุงปักกิ่ง 3 เท่ากว่า ๆ เทียบกับเมืองซีอานในอดีตนับว่าใหญ่กว่า 10 เท่า
นับได้ว่าเมืองฉางอาน นี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างเกือบ 100 ปี
ซี่รีย์จีนบูเช๊คเทียน
หยางกุ้ยเฟยหญิงงามล่มเมือง (ถัง)
เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิงต่างๆมากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง,การแข่งขันชนไก่,ชักเย่อ,โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียงต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น
เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่างๆกว่า 70 ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น ซินหลอ(เกาหลีเหนือและใต้ในปัจจุบัน) และประเทศอื่นๆอีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย(ส่วนหนึ่งของประเทศอิรักในปัจจุบัน) กับทาจิคส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมืองฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เพื่อทำงานค้าขาย และเพื่อมาเรียนหนังสือ เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม
อาจจะพูดได้ว่า ฉางอาน เป็นเมืองนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่ง
แต่ที่น่าเสียดายคือในช่วงปลายราชวงศ์ถังได้มีศึกสงครามไม่หยุดหย่อน สิ่งก่อสร้าง 300 ปี ของฉางอานถูกทำลายหมดสิ้น เหลือเพียงสถูปห่านป่าใหญ่และสถูปห่านป่าเล็กเท่านั้น
ต่อมาหลังจากราชวงศ์ถังมา 2 - 3 ราชวงศ์ แม้ว่าที่ฉางอานจะมีการก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่ง แต่ตัวเมืองดั้งเดิมกลับเล็กลง
" ฉางอาน " เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ฉางอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหมของฝั่งตะวันตก ฉางอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี
ลั่วหยาง
จนเมื่อราชวงศ์หมิงเรืองอำนาจ
จนถึงปีแรกของ ราชวงศ์ หมิง (พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368 )) เมือง ฉางอาน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ซีอาน และเป็นชื่อที่ใช้ตราบถึงปัจจุบัน ส่วนเมืองหลวงของราชวงศหมิง คือ นานกิง และต่อมาย้ายไปปักกิ่ง
เมือง ซีอานที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นเมืองที่ถูกสร้างมา 600 ปีก่อนราชวงศ์หมิง โดยใน 300 ปีก่อนหน้านี้ เมืองซีอานได้มีโอกาสการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวเมืองในปัจจุบันมีพื้นที่มากถึง 129 ตารางกิโลเมตร เปรียบกับ ฉางอาน ในสมัยราชวงศ์ถังแล้วมีพื้นที่ใหญ่กว่าร้อยละ 50 มีจำนวนประชากรมากถึง 1 ล้าน 5 แสนคนโดยประมาณ ภายในเมืองนอกจากจะสร้างอาคารบ้านเรือนสมัยใหม่จำนวนมากแล้ว ยังมีการบูรณะสวนสาธารณะ และโบราณสถานที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่งด้วย หอนาฬิกากลางเมืองซึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ หมิง บรรดาเมืองหลวงในประวัติศาสตร์หลาย ๆ แห่งต่างมี หอนาฬิกา แต่ไม่มีที่ไหนจะมีชื่อเสียงอย่างของ ซีอาน สิ่งก่อสร้างสำคัญอีกแห่งหนึ่งทางด้านใต้ของหอนาฬิกาที่ถนนชื่อ ซานเซวี๋ย เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ของมณฑล ส่านซี ภายในมีแท่ง ศิลาจารึก ที่มีชื่อเสียง ซึ่งถูกทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง จำนวนมากกว่า 1 พัน แท่ง ด้านใต้ของซีอานยังมีสถูปห่านป่าใหญ่ (ต้าเอี้ยนถ่า วัดต้าฉือเอิน - พระถังซัมจั๋ง ) และสถูปห่านป่าเล็กเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง
ลั่วหยาง
เมื่อไม่นานมานี้การค้นพบกองทัพหุ่นทหาร และม้าประจำสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งของโลก เช่นเดียวกับ กำแพงเมืองจีน สุสานตั้งอยู่ที่อำเภอหลินถง ทางตะวันออกของซีอาน โดยกล่าวกันว่าเมื่อจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ก็ได้เริ่มสร้างสุสานทันที มีประชาชนร่วมก่อสร้างมากกว่า 7 แสนคน
โบราณสถานที่มีชื่อเสียงในปริมณฑลของซีอาน มีมากมายโดยเฉพาะสุสานของจักรพรรดิหลาย ๆ พระองค์และคลังสมบัติ อาจจะทำให้กล่าวได้ว่า บริเวณเมืองซีอานคือพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ทางตะวันออกของ ซีอาน ห่างไปประมาณ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชื่อ ปั้น-ภอ-ฌุน ได้มีการค้นพบหมู่บ้านที่มีอายุกว่า 6 พันปี ซึ่งมีประชากรประมาณ 500 คน ฮ่องเต้ของราชวงศ์ โจวตะวันตก ได้เคยสร้างเมืองหลวง 2 เมือง ทางตะวันตกของ ซีอาน
ซีอาน มีความหมายว่า ความสงบสุขทางตะวันตก
ซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มัชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่่งที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน
ซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน
ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
ภาพจำลองพระราชวังต้าหมิงในอดีต
ในราชวงศ์ถัง มีฉางอานเป็นเมืองหลวง ใน ค.ศ. 618-904 (พ.ศ. 1161 - 1447) เมืองลั่วหยางเป็นเมืองหลวง ใน ค.ศ. 904-907 (พ.ศ. 1447-1450 )
ปี ค.ศ. 690 (พ.ศ. 1233) อู่เจ๋อเทียน ( บูเช็กเทียน)ประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว มีนครหลวงที่ลั่วหยาง ตั้งตนเป็นจักรพรรดินี ทรงอำนาจสูงสุด ด้วยวัย 67 ปี ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน
เมืองลั่วหยาง เป็นเมืองสำคัญในอดีตไม้แพ้เมืองฉางอาน
เมืองลั่วหยางเป็นราชธานีของจีนมาหลายยุคหลายสมัย รวมระยะเวลายาวนานกว่าพันปี 13 ราชวงศ์
มีกษัตริย์หรือฮ่องเต้เคยประทับอยู่ที่เมืองนี้กว่า 105 พระองค์
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
http://www.baanjomyut.com
ที่มาของภาพ
http://board.postjung.com/m/534802.html
http://topicstock.pantip.com/จากคุณเมื่อไหร่จะหายเหงา
http://www.blogger.com
ตำหนักหานหยวน (含元殿) ตำหนักที่เรียกได้ว่าเป็นใจกลางของพระราชวังต้าหมิง เป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีความโอ่อ่าอลังการมากที่สุดในสมัยนั้น ใช้สำหรับการจัดพิธีการสำคัญต่าง ๆของประเทศ
ในงาน Shanghai Expo 2010 มีตัวแทนสิ่งก่อสร้างจากนครซีอาน “ตำหนักต้าหมิงกง” ส่วนการแสดงด้านการอนุรักษ์โบราณสถานขนาดใหญ่แห่งเดียวในงาน Expo
“พระราชวังต้าหมิง” สิ่งก่อสร้างอันเคยเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร ศิลปะและวัฒนธรรมในสมัยราชวงศ์ถัง
พระราชวังต้าหมิง (大明宫 ; ต้าหมิงกง) เป็น 1 ใน 3 สิ่งปลูกสร้างสำคัญของนครฉางอานภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถังเช่นเดียวกันกับพระราชวังไท่จี๋ (太极宫; วังเก่าสมัยราชวงศ์สุย) และพระราชวังซิ่งชิ่ง (兴庆宫) ปัจจุบันอยู่ในเขตนครซีอานมณฑลส่านซี ตามหลักฐานที่ปรากฎ ต้าหมิงกงเป็นพระราชวังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 1177 (ค.ศ. 634) ภายใต้ชื่อ “พระราชวังหย่งอาน” (永安宫) โดยจักรพรรดิองค์ที่ 2 ผู้เป็นตำนานของราชวงศ์ถัง “ถังไท่จง” (นามเดิม หลีซื่อหมิน) เพื่อให้เป็นพระราชวังฤดูร้อนเพื่อการพักผ่อนของ“ถังเกาจู่” (นามเดิม หลี่หยวน) จักรพรรดิองค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์ถังผู้เป็นบิดา แต่มีอันต้องหยุดการก่อสร้างในปีที่ 2 ภายหลังการสวรรคตของถังเกาจู่ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพระราชวังต้าหมิงในเวลาต่อมา
ตำหนักหลินเต๋อ (麟德殿) เป็นสถานที่ใช้รับรองและจัดงานเลี้ยงสำหรับแขกสำคัญจากชนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอิทธิพล และแขกตัวแทนจากต่างประเทศ
ตำหนักเสวียนเจิ้ง (宣政殿) ที่ทำการประจำวันของจักรพรรดิ และเป็นที่ ๆ บรรดาเหล่าข้าราชการชั้นสูงจะมาเข้าเฝ้ารับคำสั่งราชการ
เชิญติดตามอ่านรายละเอียดและชมภาพที่
http://www.thaixian.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539231999&Ntype=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น