พระนเรศวรเป็นเจ้า....ทรงหาญกล้า
พระนเรศวรเป็นเจ้า....ทรงหาญกล้า
สมเด็จพระนเรศวร และการระหว่างประเทศในภูมิภาคตะวันออก
เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งนักเรียนไทยระลึกถึงได้คือการยุทธ์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรแลพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี การยุทธ์ครั้งนั้นจบลงด้วยชัยชนะของกรุงศรีอยุธยาและการปราชัยของหงสาวดี การเผชิญหน้าครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจอมทัพแห่งราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองแห่งอุษาคเนย์ แม้เรื่องนี้จะเป็นที่นิยมในประวัติศาสตร์ไทย ทว่านักเรียนจำนวนน้อยที่จะตระหนักว่า แท้ที่จริงแล้วสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่พระเกียรติคุณนั้นได้ แผ่ขยายไปไกลเกินดินแดนสยามนัก และน้ำพระทัยอันหาญกล้านั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบุรพทิศทีเดียว
จดหมายเหตุหมิงสื่อ ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของราชวงศ์หมิงได้บันทึกว่า ฮิเดโยชิ ส่งสาส์นไปทั่วภูมิภาคตะวันออก ให้ราชอาณาจักรและแว่นแคว้น ต่าง ๆ อาทิ ต้าหมิง (จีนในราชวงศ์หมิง) ริวกิว ลูซอน และกรุงศรีอยุธยาส่งบรรณาการ ครั้น พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิ ก็ได้ส่งกำลังไปเกาหลีจริง ๆ สาส์นของ ฮิเดโยชิ มิใช่เพียงคำกล่าวผ่าน ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงครองสิริราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงส่งคณะทูตแจ้งต้าหมิง ณ กรุงปักกิ่ง ว่า ทางกรุงศรีอยุธยาพร้อมจัดส่งทัพร่วมกับต้าหมิง กระหนาบตีทัพของฮิเดโยชิ เพื่อรั้งไม่ให้ ฮิเดโยชิขยายอำนาจ ทางต้าหมิงได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับคณะทูตจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2135
ในระหว่างนี้ทัพหงสาวดี ยกมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้เป็นการศึกครั้งเด็ดขาด และผลลัพท์ก็แรงนัก ด้วยว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงได้กระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชามังสามเกียดเมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2136 กระนั้นก็ดีแม้องค์พระมหากษัตริย์สยามจักทรงมีน้ำพระทัยกล้าหาญนัก อุปราชแห่งมณฑลกวางตุ้ง และกวางสี ก็ถวายความเห็นต่อพระจักรพรรดิแห่งต้าหมิงว่าต้าหมิงเป็นราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่เกินกว่าจะต้องการ การสนับสนุนจากกองกำลังต่างแดน สยามก็ตั้งอยู่ห่างไกล เกรงว่ายากที่จะส่งทัพมาช่วยต้าหมิงได้ การร่วมศึกครั้งนี้จึงมิได้เกิดขึ้น
การเสนอเตรียมทัพเพื่อร่วมรบกับอาณาจักรต้าหมิงครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีน้ำพระทัยกล้าหาญเผยถึงวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่นัก กระนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้มิได้ปรากฎในตำราเรียนทั่วไป ผู้สนใจอาจศึกษารายละเอียดได้ในหนังสือหมิงสื่อ (Ming Shi)
ผู้เขียน คุณนามตระการ แก้วอรรณเรือง ในวารสาร E-Lanng
บทความเป็นภาษาอังกฤษ และแปลไทย ขอคัดลอกมาแต่ภาษาไทย เพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ต้าหมิง ( Da Ming ) และสยาม
สุสานกษัตริย์ราชวงศ์หมิง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ราชวงศ์สุโขทัยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยูธยา พระองค์ ที่ 18 พ.ศ. 2135-2148
พระเจ้า ซอนโจ เป็นกษัตริย์ราชวงศ์โชซอนองค์ที่ 14 ของประเทศเกาหลี พ.ศ. 2110 ถึง พ.ศ. 2151
สมเด็จพระจักรพรรดิหว่านลี่ (จู อี้จวุน ) กษัตริย์องค์ ที่ 13 ราชวงศ์หมิง แห่งประเทศจีน พ.ศ. 2115 - 2163
เป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุุน มีความเปลี่ยนแปลง ในตระกูล โชกุน
(โชกุน เป็นชื่อเรียกตำแหน่งทางการทหารของญี่ปุ่นสมัยโบราณ คำว่าโชกุนเป็นคำย่อของคำว่า เซอิไทโชกุน
ในช่วงแรกจะแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการของพระมหาจักรพรรดิ ส่วนในยุคหลังตั้งแต่สมัยคะมะคุระเป็นต้นมา ตำแหน่งโชกุนได้กลายเป็นตำแหน่งสืบตระกูล ถึงแม้ว่าจะรับพระบรมราชโองการแต่ก็เป็นแต่เพียงในนามเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงอำนาจของโชกุนในยุคหลังส่วนมากจะมีมากกว่าอำนาจของพระราชสำนัก นอกจากนี้ เวลาติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน ประเทศเหล่านั้นก็จะถือว่าโชกุนเป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่น โดยที่จะไม่กล่าวถึงจักรพรรดิ )
เนื่องจากโชกุนรุ่นที่ 15 ของตระกูล อะชิคะงะชื่อ มุโระมะชิ โชกุน คนสุดท้ายของตระกูล อะชิคะงะ นั้น บะกุฟุ มุโระมะชิ( รัฐบาลโชกุน มุโระมะชิ ) ล่มสลาย ในปี พ.ศ. 2116 เพียงแต่ดำรงตำแหน่งโชกุนในนามถึง พ.ศ. 2131
ไดเมียวแย่งชิงอำนาจกัน จนถึงยุค เซงโงกุ ของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ แต่ ฮิเดโยชิ ก็มิได้ดำรงตำแหน่งโชกุน
ปราสาทเอะโดะของตระกูลโทะกุงะวะ ปัจจุบันคือพระราชวังอิมพีเรียล
การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)
โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ รวบรวมประเทศญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุได้สำเร็จ และมีความทะเยอทะยานที่จะพิชิตจีน จึงส่งทูตมาโชซอนเพื่อขอความร่วมมือในการบุกยึดจีนในพ.ศ. 2130 โดยผ่านทางตระกูลโซเจ้าครองเกาะซึชิมา ซึ่งเป็นทางเดียวที่โชซอนติดต่อกับญี่ปุ่น แต่เจ้าครองเกาะเห็นว่า โชซอนไม่มีวันจะเข้ากับญี่ปุ่นรุกรานจีน หากส่งสาสน์ไปจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการค้าที่เกาะซึชิมา พึงมี จึงเปลี่ยนแปลงเนื้อความในสารให้เป็นการทำสัมพันธไมตรีธรรมดา ในพ.ศ. 2133 พระเจ้าซอนโจจึงส่งทูตไปขอบพระทัย โทโยโตมิ ที่เกียวโต แต่โทโยโตมิ กำลังทำสงครามกับไดเมียวอื่น อยู่ ทำให้ทูตโชซอนต้องรออยู่หลายวัน และโทโยโตมิ เข้าใจว่าทูตโชซอนมาส่งบรรณาการ จึงไม่ให้การต้องรับอย่างสมเกียรติเท่าที่ควร และเขียนสาสน์อย่างไม่เคารพพระเจ้าซอนโจ ให้ร่วมมือกันบุกยึดจีน
การกระทำของ โทโยโตมิ สร้างความประหลาดใจและความสงสัยให้กัยโชซอนอย่างมาก และไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะมีความสามารถทำอะไรจีนราชวงศ์หมิงได้ ทูตฝ่ายตะวันตกรายงานว่า โทโยโตมิ สะสมกำลังกองทัพไว้ขนาดใหญ่มาก แต่ทูตฝ่ายตะวันออกกลับบอกว่ากองทัพนี้เอาไว้รบกับไดเมียวอื่นๆในญี่ปุ่น พระเจ้าซอนโจทรงเชื่อฝ่ายตะวันออก และทรงละเลยความเป็นไปได้ของภัยคุกคามจากญี่ปุ่น
เมื่อไม่ได้รับการตอบรับ ในพ.ศ. 2134 โทโยโตมิ จึงส่งสาสน์มาว่าจะยกทัพผ่านโชซอนไปจีน ทำให้ในที่สุดฝ่ายโชซอนจึงรู้ถึงสงครามที่กำลังจะเกิด จึงเร่งเตรียมกำลังทัพ แต่ไม่ทันเพราะปีถัดมาพ.ศ. 2135 ญี่ปุ่นได้เข้ามารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์
ในที่สุดเกาหลีก็สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้
โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยความชราภาพ ใน ปี พ. ศ. 2141
จนถึงในปี พ.ศ.2146 ( ค.ศ.1603 ) โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ ได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโต ให้ดำรงตำแหน่ง เซอิไทโชกุน เป็นปฐมโชกุนแห่งตระกูล โทะกุงะวะ หรือ เอะโดะบะกุฟุ ( รัฐบาลโชกุนเอะโดะ) อันจะปกครองประเทศญี่ปุ่นไปอีกประมาณสองร้อยห้าสิบปี โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเอะโดะ หรือโตเกียวในปัจจุบัน และเอะโดะ ก็คือ พระราชวังอิมพีเรียลอันงดงามและมโหฬารอยู่ในขณะนี้ ( ซึ่งมีการซ่อมแซมใหม่หลังจากถูกระเบิดเมื่อครั้งงสงครามโลกครั้งที่ 2 )
อิเอะยะสุยังได้หลีกเลี่ยง ที่จะส่งกองทัพของตนเข้าร่วมการรุกรานอาณาจักรโชซอน (การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)) ของฮิเดโยชิในค.ศ. 1592 เป็นการรักษากำลังทหารของตนเอง ไม่ให้เสียไปกับสงครามที่ไม่คุ้มค่า
ในยุค กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ของเอเชีย มีเพียงจักรพรรดิหว่านหลี่ แห่งราชวงศ์หมิง ที่ไม่มีศึกสงคราม และที่ญี่ปุ่นมีศึกภายในระหว่างไดเมียวและว่างเว้นตำแหน่งโชุนไปหลายปี ส่วนองค์สมเด็จพระจักรพรรดิของญี่ปุ่นในช่วงรอยต่อของโชกุนตระกูล อะชิคะงะ( รัฐบาลโชกุน มุโระมะชิ ) และโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ ( รัฐบาลโชกุนเอโดะ) มี 2 พระองค์ คือ
พ.ศ. 2100 -2129 ( ค.ศ. 1557 - 1586 สมเด็จพระจักรพรรดิโองิมาชิ
พ.ศ. 2129 - 2154 (ค.ศ. 1586 - 1611 สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โยเซ
ละครญี่ปุ่นชุดเจ้าหญิงอัตสึ เป็นเรื่องราวของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ คนที่ 13 14 และ 15 แห่งรัฐบาลเอะโดะ และเป็นอันสิ้นสุด การมีรัฐบาลโชกุน การมีโชกุนเป็นผู้นำการทหาร และบรรดาซามูไร ของประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งมีเรื่องราวน่าสนใจมากมาย)
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย
ภาพจากอินเทอร์เนท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น