แป๊ะลี้....เมืองร้อยริ้ว อยู่่ที่ใด
บางปะกงวันนี้ที่บางกรูด
ผู้ช่วยศาตราจารย์สุนทร คัยนันท์ ชาวแปดริ้ว ได้กล่าวถึงงานค้นคว้าของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่มีเรื่องเกี่ยวพันกับ เจิ้งเหอ หรือซำปอกง ว่า
ในเอเชียตะวันออกเฉัยงใต้นั้น คนจีนเดินทางไปถึงที่ไหนก็จะสร้างศาลซำปอกงไว้ที่นั่น สำหรับเมืองไทยนั้น ในเมืองไทย มี ศาล ซำปอกง 3 แห่ง คือ ที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ในกรุงเทพมหานคร ( ฝั่งธนบุรี เดิม) และที่วัดอุภัยภาติการาม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ( แก้ไข)
และจากจดหมายเหตุของจีนราชวงศ์หมิง ซึ่งได้ส่งทูตนำทัพเรือมาสู่กรุงสรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระอินทราธิราช อันเป็นสมัยที่ กรุงศรีอยุธยาและราชวงศ์หมิงของจีน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เมืองแปดริ้วน่าจะถูกเรียกว่า "แป๊ะลี้ " มาก่อน เพราะเป็นชุมชนที่อยู่ห่างจากปากอ่าวบางปะกง "ร้อยลี้" เพราะ 1 ลี้ เท่ากับ 333 เมตร หรือ 3 ลี้ เท่ากับ 1 กิโลเมตร (ประมาณ) หมายความว่า เมื่อ 600 ปี มาแล้ว ชาวจีนที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำบางปะกง จะเรียก แปดริ้ว ว่า แป๊ะลี้ ซึ่งหมายถึงเมือง ร้อยลี้ นั่นเอง และต่อมาอาจเพี้ยนเป็น แปดริ้ว และที่แปดริ้วมีสัญลักษณ์ชองเจิ้งเหอ ศาลซำปอกง แห่งที่สาม
นี่คือเมืองแป๊ะลี้ ในกาลก่อนของเจิ้งเหอ หรือไม่
นอกจากนี้ยังมีนักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า อิศรา เขียนบทความในหนังสือศึกษากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2503 ความว่า".... เปลี่ยนจากเซาที่แปลว่าความเงียบ ยังมีอีกคำที่เรียกว่า บางปลาสร้อยร้อยริ้ว บางปลาสร้อย ก็คือ เมืองชลบุรี ร้อยริ้ว ก็คือ แปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรา นั่นเอง
เมืองร้อยริ้วอยู่ที่ไหน ถ้าแปดริ้วและเมืองร้อยริ้วคือเมืองเดียวกัน ด้วยอิทธิพลของภาษาจีน เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า แป๊ะ มาเป็น แปด ในคำไทย เมืองฉะเชิงเทรา จะต้องเป็นเมืองเก่าแก่ หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งขุดพบในภายหลัง ล้วนอยู่ในบริเวณใกล้เมืองฉะเชิงเทราทั้งสิ้น ดังนั้นชุมชนโบราณของฉะเชิงเทรา ก็น่าจะเป็นเมือง ร้อยริ้ว ที่คล้องจองกับบางปลาสร้อย ชื่อเมือง พนัสนิคม พนมสารคาม สนามชัยเขต และบางปลาสร้อย ร้อยริ้ว ที่กล่าวมาชื่อจะคล้องจองกัน
ที่มา ความรู้เรื่องเมืองฉะเชิงเทราของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนทร คัยนันท์
นี่คือเมือง ร้อยริ้ว ของคุณอิศรา หรือไม่
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว
อาจารย์ชาญวิทย์กับผลงานทางประวัติศาสตร์
อาจารย์ชาญวิทย์เป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์ไทย อารยธรรมไทย ประวัติ ศาสตร์อยุธยา ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจร่วมสมัย ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรัชญาประวัติศาสตร์และระเบียบวิธีวิจัย ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ฯลฯ
อาจารย์มีพรสวรรค์ในการสอน สามารถปรุงเรื่องในประวัติศาสตร์จนออกรสสนุก เข้าใจง่าย กระทบต่อมอยากเรียนรู้ของนักศึกษาจำนวนมากมาย ยิ่งมีสไลด็ฝีมือการบันทึกภาพของอาจารย์เอง และการได้ออกไปทัศนศึกษายังแหล่งประวัติศาสตร์ประกอบด้วยแล้ว จึงทำให้อาจารย์ชาญวิทย์กลายเป็นนักประวัติศาสตร์ในดวงใจของลูกศิษย์ หลายต่อหลายคนที่เด่นดังอยู่ในวงการทั้งสายวิชาการ สายนักการเมือง สายนักเขียน นักหนังสือพิมพ์
โดย กาญจนี ละอองศรี
สำหรับผู้ที่สนใจผลงานของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เชิญเข้าไปหาข้อมูลของท่านได้ที่
www.charnvitkasetsiri.com
สำหรับหนังสือเชิงอรรถที่ ผูู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนทร ฯ ระบุท้ายเล่มที่เกี่ยวข้องกับ ดร. ชาญวิทย์ คือ "มะละกา ศูนย์กลางการค้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2518 หน้า76)
พลอยโพยม พยายามสืบค้นว่าเรื่องราวของแป๊ะลี้ หรือเมืองร้อยริ้ว ของคนจีนในราชวงศ์หมิงควรจะมีเรื่องราวอยู่ในหนังสือใดอีก ก็พบว่า มีเอกสารที่น่าสนใจอีกคือเอกสารสรุปการสัมนาวิชาการ ปี พ.ศ. 2549 เรื่อง
"30 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : 600 ปีซำปอกง/เจิ้งเหอกับอยุธยาและอุษาคเนย์ ": เอกสารสรุปการสัมมนาวิชาการ / บรรณาธิการ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สมถวิล ลือชาพัฒนพร
เผอิญช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิด ภัยพิบัติ น้ำท่วมใหญ่กรุงทพมหานคร ฯ ไม่สะดวกจะสัญจรไปที่ใด ๆ ได้แต่เก็บเนื้อเก็บตัวอยู่กับเหย้าเฝ้าระวังบ้านเรือนตัวเอง ทำให้ไม่สามารถไปสืบหาเอกสารฉบับดังกล่าวได้ ก็เลยมีรายละเอียดเพียงแค่นี้
กรุงศรีอยุธยา
ส่วนเจิ้งเหอ และซำปอกง มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่ขอนำมาเล่าสู่ท่านผู้อ่าน ดังนี้
เจิ้งเหอ คือ ขันทีคนสำคัญในราชวงศ์หมิงของจีน มีความเป็นมาดังนี้
เจิ้งเหอ (郑和)(ค.ศ. 1371 – 1433) เดิมแซ่หม่า(马)(มาจากภาษาอาหรับว่า Muhammad) ชื่อ เหอ และมีชื่อรองว่า ซันเป่า (ภาษาอาหรับคือ Abdul Subbar) ถือกำเนิดที่เมืองคุนหยางมณฑลหยุนหนันหรือยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ครอบครัวเป็นชาวมุสลิม ปู่และพ่อของเจิ้งเหอเคยเดินทางไปยังนครเมกกะ เพื่อร่วมพิธีฮัจญ์ พ่อของเจิ้งเหอจึงได้รับการเรียกขานด้วยความเคารพว่า หม่าฮาจือ หรือ “ฮัจญี” แม่ของเจิ้งเหอแซ่เวิน(温) เจิ้งเหอมีพี่ชายชื่อหม่าเหวินหมิง กับพี่สาวอีกสองคน ครอบครัวของเจิ้งเหอเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปในละแวกนั้น
ต่อเมื่อปี ค.ศ. 1381 จูหยวนจางหรือหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ยกทัพมากวาดล้างกองกำลังของมองโกลแห่งราชวงศ์หยวนที่ยังปักหลักอยู่ในแถบหยุนหนัน ท่ามกลางความวุ่นวายของสงคราม เจิ้งเหอที่ขณะนั้นมีวัยเพียง 11 ปี ตกเป็นเชลยศึกของกองทัพหมิง ถูกตอนเป็นขันที หรือที่เรียกว่าซิ่วถง(秀童)ให้ทำงานรับใช้ในกองทัพ
หลังจากสงครามสงบลง ในปี ค.ศ. 1385 เจิ้งเหอติดตามกองทัพหมิงขึ้นเหนือไป เข้าร่วมในสมรภูมิรบทางภาคเหนือ จวบจนอายุได้ 19 ปี จึงได้รับการคัดเลือกให้อยู่ภายใต้ร่มธงของเอี้ยนหวังจูตี้(朱棣)องค์ชายสี่แห่งราชวงศ์หมิงที่นครปักกิ่ง นับแต่นั้นเจิ้งเหอก็คอยติดตามอยู่ข้างกายของจูตี้ กลายเป็นคนสนิทที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปี ค.ศ. 1399 – 1402 เมื่อจูตี้เปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับหลานชายของตน หมิงฮุ่ยตี้ (明惠帝)(ปีศักราชเจี้ยนเหวิน) ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากจูหยวนจาง โดยเจิ้งเหอได้สร้างความดีความชอบในศึกครั้งนี้ไว้อย่างมาก ช่วยให้จูตี้ได้ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์มังกรเป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ (明成祖) (ปีศักราชหย่งเล่อ) ในที่สุด เจิ้งเหอได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นหัวหน้าขันที และในปี ค.ศ. 1404 จูตี้พระราชทานแซ่ “เจิ้ง” (郑)จึงกลายมาเป็น “เจิ้งเหอ” หรือที่รู้จักกันในนามของ ซันเป่ากง หรือซำปอกง (三宝公)
เจิ้งเหอซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำปอกงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า30ประเทศถึง 7 ครั้ง
การเดินทางของเจิ้งเหอมีจุดประสงค์ที่จะผูกมิตรกับอาณาจักรต่างๆโดยจักรพรดิหย่งเล่อทรงส่งเจิ้งเหอเป็นแม่ทัพเรือราชวงศ์หมิงนำกองเรือขนาดยักษ์ไปตามหาจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งการเดินทางเจิ้งเหอก็ต้องใช้กำลังทหารปราบปรามบ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือราชวงศ์หมิงนั้นมีความยิ่งใหญ่เหนือกว่าทุกชนชาติ
เจิ้งเหอเป็นขันที จึงไม่มีบุตรหลานเป็นของตนเอง ดังนั้นพี่ชายของเขาจึงยกบุตรชายของตนให้ใช้แซ่เจิ้ง เพื่อเป็นผู้สืบทอดของเจิ้งเหอ ปัจจุบันมีทายาทหลายสาย ได้แก่ ที่หนันจิง ซูโจว หยุนหนัน และที่เชียงใหม่ประเทศไทย
กรุงศรีอยุธยา จากwww.thaigoodview.com
นัยสำคัญของกรุงศรีอยุธยา ปักกิ่งและ ฮันยาง
กรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระอินทราชา
สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือสมเด็จพระนครินทราธิราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 1902 ( ค.ศ. 1359 ) พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 1952 (ค.ศ. 1409) สมเด็จพระอินทราชาครองราชย์ได้ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1967 (ค.ศ. 1424)
เจ้านครอินทร์เคยเสด็จไปเมืองจีนในปี พ.ศ. 1920 (ค.ศ. 1377) เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้ากรุงจีนแห่งราชวงศ์หมิงให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง โดยจดหมายเหตุทางจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เจียวลกควนอิน" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทร์ หลังจากได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์และพระเจ้ากรุงจีนได้แต่งราชทูตเพื่อเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างกันอีกหลายครั้ง โดยจดหมายเหตุจีนออกพระนามพระองค์หลังขึ้นครองราชสมบัติแล้วว่า "เจียวลกควนอินตอล่อทีล่า" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทราธิราช
เส้นทางสายไหมของจีน
ประเทศจีน ในช่วงราฃวงศ์หมิง ( ค.ศ.1368-1644 ) รวม 276 ปี
ราชวงศ์หมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนหรือพวกมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของพวกแมนจูในภายหลัง
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น ( ค.ศ.1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น
พ.ศ. 1911 - 1941(ค.ศ. 1368 - 1398) จูหยวนจาตั้งราชวงศ์หมิง พระนามแต่งตั้งคือหมิงไท่จู พระนามที่รู้จักทั่วไปคือ จักรพรรดิหงอู่ มีเมืองหลวง คือนานกิง
หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์
พ.ศ.1941 - 1945 ( ค. ศ. 1398 - 1402 ) จู หยุ่นเหวิน พระนามแต่งตั้งคิอหมิงฮุยตี้ พระนามรู่้จักทั่วไปคือ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน
ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเอี้ยนเหวินซึ่งเป็นลุงได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจรัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ
พ.ศ.1945 - 1967 (ค.ศ. 1402 - 1424) เอี้ยนหวังจูตี้ หรือเวินตี้ พระนามแต่งตั้งคือ หมิงเฉิ่งจู่ หรือไท่จง พระนามรู้จักทั่วไปคือ จักรพรรดิหย่งเล่อ
ในปีพ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองนานกิงไปยังกรุงปักกิ่ง
ช่วงปลายราชวงศ์หมิง สภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของรัฐบาลก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น จนปี พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) กองทหารชาวนาบุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์
เกาหลี
ส่วนราชวงศ์โซซอนของเกาหลี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1931 แผ่นดินซึ่งปกครองโดยราชวงศ์โครยอที่ปกครองเกาหลีมาถูกล้มล้างราชบัลลังก์ และให้พระเจ้าคงยาง ครองราชย์เป็นกษัตริย์หุ่นเชิด
นายพลลีซองเก (태조; Lee Seong-gye) ขุนพลคนสำคัญแห่งราชวงศ์โครยอ (Korea Dynasty) ได้ก่อการยึดอำนาจในปี พ.ศ. 1935 (ค.ศ. 1392) ขึ้นเป็นพระเจ้าแทโจ ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเสียใหม่เป็นโชซอนและย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ฮันยาง หรือ กรุงโซลในปัจจุบัน
ราชวงศ์โซซอน เริ่มต้น ในปี พ.ศ.1935
ซึ่งเป็นช่วงการครองราชสมบัติ ของสมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือสมเด็จพระนครินทราธิราช เป็นรัชสมัยที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา (ประสูติ พ.ศ. 1902 ครองราชย์ พ.ศ. 1952-1967 ) ทรงเป็นกษัตริย์ไทย ที่อยุู่ในช่วง ราฃวงศ์หมิงรัชสมัยที่ 3 ของจีนและมีการย้ายเมืองหลวงจากนานกิงไปปักกิ่ง อีกทั้งอยู่ในช่วงที่ประเทศเกาหลีผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ จาก ราชวงศ์ โครยอ หรือโคเรียว เป็น ราชวงศ์ โซซอน และมีการย้ายเมืองหลวง จากแคซองมาอยู่ฮันยางหรือกรุงโซลในปัจจุบัน
คำว่า "โครยอ" มาจาก "โคกูรยอ" หนึ่งในสามอาณาจักรโบราณของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า "โคเรีย" ในภาษาอังกฤษ และ "เกาหลี" ในภาษาไทย
ส่วนโซซอน ก็มาจาก "โคโซซอน " อาณาจักรแรกของเกาหลีเมื่อเกือบ 5 พันปีมาแล้ว
จากเมือง แป๊ะลี้ หรือร้อยริ้ว ลิ่ว ๆ ตามลมตามน้ำกระแสไกลไปถึง กรุงศรีอยุธยา ฝ่าลมและคลื่น ขึ้นผืนแผ่นดินจีนในราชวงศ์หมิง ตรงดิ่งไปราชวงศ์ โซซอน ของเกาหลี วกกลับมาบางกรูดที่อยู่ของเวปไซต์นี้
ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย และผู้จัดการออนไลน์
ภาพจากอินเทอร์เนท
จะติดต่อคุณ พลอยโพยม ได้อย่างไรครับ
ตอบลบผมก็ เป็นคนหนึ่งที่สนใจในประวัติศาสตร์บ้านเกิด เหมืนกันผมมีพระราชพงศาวดาร ฉบับ ปลีกอยู่ ครับ
พอเป็นเค้าลาง ได้บ้างเกี่ยวกับที่มาของฉะเชิงเทรา
และก็หลักฐานร่วมสมัยในช่วงอยุธยาตอนต้น
ขาดแต่การวิพากษ์ เอกสาร
ถ้าอย่างไรก็ช่วยมาวิพากษ์ กันน่ะครับ อัฐพงษ์ 089-08961699 สนใจครับ
ด้วยความยินดีค่ะ ติดต่อทางอีเมล์ก่อนดีไหมคะ Amornbyj@gmail.com เป็นคนแปดริ้วหรือเปล่าคะ เรื่องเมืองฉะเชิงเทราสมควรต้องมีการวิพากษ์ จริง ๆ ค่ะ
ตอบลบปีนี้ 2566 10 ปีพอดีเลยค่ะท่านอาจารย์อัฐพงษ์ พี่อมร ขออภัยนะคะ
ลบ