วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

[บทความ] ลอยประทีป..วิถีเวียงวัง ลอยกระทง วิถีชาวบ้าน

ลอยประทีป....วิถีเวียงวัง


ส่วนยอดบนสุดของกระทงที่ส่งเข้าประกวดของวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

ความงดงามในการประดิษฐ์ประดอยประดับตกแต่งกระทงสำหรับประเพณีลอยกระทง ฝีมือที่ปรากฎน่าอัศจรรย์ใจในแรงบันดาลใจ
ทำให้หวนนึกถึงว่าในครั้งโบราณ ตามเวียงวังต่าง ๆ คงระดมช่างฝีมือดอกไม้ มาเรียงร้อยมาลี ที่ใช้ประดับกระทงสำหรับการลอยประทีป
ขอสื่อภาพไล่ระดับลงมาจากส่วนบนสุด


สายอุบะรอบร้อย ห้อยระย้า


ตาข่ายที่เรียงร้อยด้วยดอกรักและดอกพุด


ผลไม้แกะสลักเป็นดอกไม้ ปกติจะเป็นจำปา หรือดอกจำปี ห้อยชายอุบะ


พวงมาลัยร้อยด้วยกลีบกุหลาบและดอกพุด แขวนทุกมุม


พวงมาลัยที่ร้อยไม่ซ้ำลายกัน


พวงมาลัยมุมที่สาม


พวงมาลัยประดับมุม ขณะถ่ายภาพ พวงมาลัยอยู่ไม่ครบมุมเสียแล้ว


ลักษณะโครงสร้างบ่งบอกความความอ่อนช้อยที่แทรกอยู่กับความแข็งแกร่ง


กระทงที่งดงามน่าพิศวง
วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราเมื่อหลายปีก่อนจะเปิดสอนวิชาทางด้านการช่าง แต่เดิมเรียกว่าโรงเรียนการช่างชาย ต่อมายกระดับเป็นวิทยาลัยเทคนิคและเริ่มรับนักเรียนหญิงเข้ามาเรียน ปัจจุบันผลงานด้านดอกไม้สดงดงามไม่น้อยหน้า วิทยาลัยอาฃีวศึกษาฉะเชิงเทรา

กระทง..วิถีชาวบ้าน

ภูมิปัญญาของเด็กชายวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่นำลูกมะพร้าวแห้งมาตกแต่งเป็นรูปเรือ เพื่อจำหน่ายในงานลอยกระทง
ขนาดเล็กใหญ่ตามขนาดของมะพร้าวแห้งที่มี


นำผลมะพร้าวมาเลื่อยผ่าซีก แยกเปลือกและเส้นใยมะพร้าวเป็นสองซีก โดยคงกะลาไว้ทั้งลูก แล้วเลื่อยหัวท้ายของกะลามะพร้าวออกมองดูคล้ายเป็นดั่งหลังคาเรือกระแซง


นำดอกไม้มาตกแต่ง ด้วยความที่เป็นเด็กผู้ชายจึงใช้ดอกไม้ที่หาได้ง่ายประดับด้วยลักษณะปักลงไปง่าย ๆ


ปักธูปเทียนลงบนเส้นใยของเปลือกมะพร้าว
เป็นธูปเทียนที่หาซืัอสำเร็จรูปมีดอกไม้พลาสติกเสียบ เพื่อให้มีก้านแหลมพอที่จะปัก ธูปเทียน บนเปลือกเส้นใยของลูกมะพร้าว


กระทงนี้ มองคล้ายเรือกระแชง
เรือกระแชงมีรูปร่างเหมือนแตงโมผ่าครึ่งตามยาว และมีหลังคาที่เรียกว่ากระแชง
(กระแชงคือครื่องบังแดดฝน เย็บด้วยใบเตยหรือใบจาก, ลักษณนามว่า ผืน; เรือที่มีหลังคาที่ทำด้วยวัสดุชนิดนี้เรียกว่า เรือกระแช)


ฝีมือประดับตกแต่งที่ประณีตขึ้นอีกระดับ มองภาพออกว่า งานนี้มีผู้หญิงช่วยทำ
มิใช่ใครอื่น คุณแม่ของเขาเอง


กระทงเรือลูกมะพร้าวที่สำเร็จเรียนบร้อย สนนราคาลำละ 20 บาท


เรือลูกมะพร้าวขนาดใหญ่สนนราคา 30 บาท

ภาพที่สื่อนี้ เป็นกระทงลูกมะพร้าวที่พลอยโพยมพบวางกองกับพื้นใกล้เคียงกับกระทงประกวด เป็นกระทงที่เหลือจากการขายในคืนลอยกระทง ผู้คนเดินผ่านไปมาไม่มีใครสนใจ แต่พลอยโพยมสนใจหยุดมองและหยิบขึ้นมาพิจารณา นึกเห็นภาพคนประดิษฐ์ที่ค่อย ๆ ใช้เลื่อย เลื่อยลูกมะพร้าวออกอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ถูกลูกกะลามะพร้าว คงเหลือไว้ทั้งลูก เมื่อมะพร้าวถูกเลื่อยเป็นสองซีก ซีกที่ไม่มีกะลามะพร้าวใช้งานอะไรไม่ได้โยนทิ้งไป กาบใยมะพร้าวตัดได้เรียบสนิทแสดงถึงจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่กับงานในมือของผู้ทำ
เป็นอย่างดีจากนั้นเลื่อยหัวท้ายกะลามะพร้าวออกเป็นหลังคาเรือ
ต้องขัดกะลามะพร้าวให้เรียบ ซึ่งต้องใช้เวลาขัดผิวกะลานี้นานพอสมควร ในการขัดผิวกะลาแต่ละลูก ต่อจากนั้นก็จัดเตรียมวัสดุยึดกลีบใบไม้ที่นำมาประดับรอบกระทงแล้วจึงประดับดอกไม้ธูปเทียน
มองเผิน ๆ กระทงลูกมะพร้้าวนี้ไม่มีมีความงดงามอะไรเลย จึงเหลือกองอยู่ จนเช้าวันรุ่งขึ้น หากแต่ในความเป้นจริง งานเหล่านี้คนทำต้องตั้งอกตั้งใจระมัดระวังในการทำไม่น้อย การขัดกะลามะพร้าวก็ใช้เวลาพอสมควร หากมีเด็กผู้หญิงในบ้านช่วยจัดดอกไม้สวย ๆ ก็คงจะขายได้มากกว่านี้ แต่ก็ขอชื่นชมความคิดสร้างสรรค์ของน้องเจ้าของผลงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น