วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บางปะกง สายน้ำแห่งมังกร



บางปะกงสายน้ำแห่งมังกร



สายน้ำแห่งมังกร ของ เมืองแปดริ้ว เป็นชื่อเรียกขานตามการสันนิษฐานที่เกิดขึ้น เนื่องด้วยหลาย ๆ เหตุผล ประการหนึ่งคือด้วยลักษณะทางกายภาพของสายน้ำบางปะกงที่มีความคดโค้งไปมาดุจดั่ง พญามังกร พาดผ่านเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ติดตามอ่านได้จาก http://bangpakongramsar.blogspot.com/2014/08/blog-post.html เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ บางปะกง สายน้ำแห่งมังกรเมืองแปดริ้ว

ทั้งนี้เยาวชนละครอาสาสมัครกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีคูณไพบูลย์ โสภณสุวภาพ หรือ อาจารย์เอ๋ อาจารย์ประจำสาขาดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หัวหน้ากลุ่ม ได้พาเยาวชนทีมนักแสดงอันประกอบด้วย





อาจารย์ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ หรือ อาจารย์เอ๋



นายอรรถพล พรมไธสง (กล้วย)
นายสุวิชาน มีเค้า (เติ้ล)
นายธนวัฒน์ เจี่ยเจริญ (นน)
นายพิชญเณศ นามวิชา (โอ๋)
นางสาวนภัสสร พงษ์พรหม (นิ้ง)
นางสาวบัณฑิตา หลงรัก (เจน)
นางสาวนัทพร ทองประยูร (นัท)
นางสาวปิยวรรณ กันจันวงศ์ (เมย์)
นางสาวแสงมณี ธารีสังข์ (มิ้น)
นางสาวจารุวรรณ ทองคงอ่วม (กิ๊บ)





คุณตั้ม สวมเสื้อสีขาวนั่งพื้นด้านขวามือ

ผู้ดูแล
นายทวีวัฒน์ กำเนิดเพ็ชร์ (ตั้ม)
นางสาวอุษาวดี สุนทรเกตุ (อุ้ย)
นางสาวสุมณฑา สวนผลรัตน์ (จุ๋ม)



อาจารย์เอ๋ ได้พาเยาวชน และผู้ดูแลมาลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลความเป็นมาเป็นไปของลำน้ำบางปะกง ศึกษาวืถึช่ีวิตที่หลากหลายของผู้คนที่ยังชีพตามริมฝั่งน้ำ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อของผู้คน พรรณไม้ชายน้ำ พันธุ๋สัตว์น้ำจากระบบนิเวศ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเคฺ็ม ความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการดำรงพันธุ์ของสัตว์น้ำ สาเหตุของปัญหา

เมื่อได้ข้อมูลรอบด้านแล้ว ทีมงานจึงนำไปสร้างบทละคร การนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสรรคฺและจินตนาการการแสดงออกสื่อด้วยการบอกกล่าวเรื่องราวถ่ายทอดให้ผู้ชมไดเ้ข้าใจ



ดังนีั้นทีมงานจึงยกประเด็นสายน้ำแห่งมังกรมาขึ้นเป็นชื่อของละคร

ละครเรื่องนี้ ใช้จุดเด่นของเพลงบางปะกง ผลงานของคุณนคร มงคลายน เปิดเวที
ภาพของนักแสดงที่เดินออกมาบ่งบอกความสุขแห่งอาทิตย์ยามอัสดง
การพูดกลอนสื่อถึงที่มาของชื่อ บางปะกง จากบ้านบางมังกงในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่
คำว่าบางปะกงนั้นหมายถึง ลำน้ำบางปะกง และ อำเภอบางปะกง




การผูกโยงใยกับการเป็นสายน้ำแห่งมังกร ความสำคัญของแม่น้ำบางปะกงในพระราชพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธ์ หนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ห้าสาย ที่เรียกกันว่า " เบญจสุทธิคงคา " มังกรตัวใหญ่และมังกรตัวเล็กในลำน้ำบางปะกง
สายน้ำแห่งมังกร ของ เมืองแปดริ้ว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดจีนแห่งหนึ่งขึ้นบริเวณเยาวราช คือ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาส ในปัจจุบัน ตามหลักฮวงจุ้ยของคณาจารย์จีนวังส์สมาธิวัตร (สกเห็ง) ผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นโดยถือว่า

วัดเล่งเน่ยยี่เปรียบเป็น ตำแหน่งหัวมังกร
และกำหนด ตำแหน่งท้องมังกร ไว้ที่ วัดเล่งฮกยี่ จังหวัดฉะเชิงเทรา (ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาส แล้วได้พระราชทานนามว่า “วัดจีนประชาสโมสร”)

สำหรับ ตำแหน่งหางมังกร อยู่ที่ วัดเล่งฮัวยี่ หรือ วัดมังกรบุปผาราม จังหวัดจันทบุรี

ตำแหน่งต่างๆ ที่พระอาจารย์สกเห็งได้วางไว้นั้น เป็นตำแหน่งของความอุดมสมบูรณ์ทั้ง ทรัพย์สิน เงินทอง การค้าขาย และความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในบริเวณนั้นอย่างมีความสุข

ตำแหน่งท้องมังกรนี้ได้ผสมผสานความเชื่อ ตำนาน เรื่องเล่า และประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง ทำให้เกิดการเรียกขานแม่น้ำบางปะกงว่า สายน้ำแห่งมังกร โดยมี มังกรตัวเล็ก พาดอยู่ตามลำน้ำบางปะกง

ตำแหน่งหัวมังกร อยู่บริเวณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อพุทธโสธร อันศักดิ์สิทธิ์ ที่เคารพ นับถือของชาวไทย ทั่วประเทศ

ตำแหน่งท้องมังกร อยู่ตำแหน่งเดิมที่ วัดเล่งฮกยี่ (วัดจีนประชาสโมสร) ซึ่งภายในวัดนั้นมีสิ่งน่าสนใจมากมาย ประกอบด้วย องค์พระประธาน และ ๑๘ อรหันต์ ที่เป็นประติมากรรมโบราณ ทำจากกระดาษ อายุกว่า ๑๐๐ปี (ลักษณะเปเปอร์ - มาเช่) ภูมิปัญญาชาวจีนจากเมืองเซี่ยงไฮ้ เทพเจ้าไฉ้เซ่งเอี้ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) , ระฆังศักดิ์สิทธิ์ใบใหญ่ หนึ่งในสามใบในโลก และ พระสำเร็จ ร่างสังขารเจ้าอาวาสที่มรณภาพแล้วไม่เน่าเปื่อย

ตำแหน่งหางมังกร คือตำแหน่งที่พระเจ้าตากสินได้เดินทัพผ่านสู่เมืองจันทบุรี เพื่อระดมไพร่พลในการกู้กรุงศรีอยุธยา และเมื่อเดินทัพถึงบริเวณปากน้ำโจ้โล้ จึงได้เจอทัพพม่าซุ่มโจมตี และสู้รบกันจนได้รับชัยชนะ จึงได้สั่งให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นบริเวณแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ และพักทัพ ณ บริเวณวัดโพธิ์ อำเภอบางคล้า (สถานที่ชมค้างคาวแม่ไก่)

บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ประกอบ “พระราชพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย

ซึ่งแม่น้ำบางปะกงเป็นหนึ่งใน “เบญจสุทธิคงคา” (คือแม่น้ำสายสำคัญ ๕ สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.bpkcruise.com

การบอกเล่าความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ด้วย ปู ปลา กุ้ง และยังสื่อถึงอุปนิสัยของสัตว์น้ำด้วย



มีตัวละครแสดงเป็น ปูแสม ปูก้ามดาบ
กุ้งตะเข็บ ( ซึ่งในละครจะเรียกเป็นกุ้งกระโดด ) กุ้งเคยหรืิอกุ้งกะปิ
ปลาแขยงอีกงอันเป็นความเชื่อหนึ่งว่าเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำบางปะกง และคำภาษาจีนว่า "มังก๋ากง" ปลากระพงน้ำจืดพระเอกแห่งลำน้ำ ซึ่งมีชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "ปลาโจ้โล้" เล่าถึงวิถึชิวิตที่ต้องปรับตัวจากปลาในกระชังของเกษตรกร
ปลาโลมาอิรวดีที่ปากอ่าวแม่น้ำ
โดยมีตัวเดินที่สำคัญคือปลากระเบนราหูน้ำจืด



พรรณไม้ชายน้ำ ต้นจาก แสม ลำพู โกงกาง หิ่งห้อย ตำนานรักหิ่งห้อย ปูจาก

พรรณไม้เหล่านี้นอกจากเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์น้ำมีประโยชน์จากรากของพรรณไม้เหล่านี้การยึดเกาะพื้นดินชายฝั่ง เป็นเการะกำบังคลื่นลม

การสูญเสียสมดุลย์ในธรรมชาติจากหลาย ๆ สาเหตุ น้ำเค็มที่เค็มไปถึงจังหวัดปราจีนบุรี เรือเจ็ทสกี การปล่่อยน้ำเสียจากมนุษย์เอง ทำให้เกิดความสูญเสียพรรณสัตว์น้ำ สุดท้ายด้วยการสื่อการผลักดันแม่น้ำบางปะกงขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร๋ไซต์



นอกจากละครจากเยาวชนละครอาสาสมัครกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ จังหวัดชลบุรี จะสื่อถึงแม่น้ำบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิต แหล่งกำเนิดอารยธรรมตามลุ่มน้ำแล้ว คณะละครเยาวชนอื่น ๆ คือ



ละครเรื่องอดีตสู่ปัจจุบัน โดยเยาวชนละครโรงเรียนศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี

บทเพลงจากชุมชนเขาไม้แก้ว โดยเกษตรชัย บ้านเขาไม้แก้ว

ละครเรื่องเขาไม้แก้วที่รัก โดยเยาวชนละครรักษ์เขาไม้แก้วโรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว จังหวัดปราจีนบุรี

ละครเรื่องสืบสาน โดยเยาวชนละครกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จังหวัดระยอง

เยาวชนเหล่านี้ล้วนมีจินตนาการในการสร้างสรรค์ละครที่มีความสัมพันธ์และสำคัญกับชุมชนของตนเองได้ดีทุกชุมชน











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น