วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทศน์มหาฃาติ คาถาพัน วันเดียวจบ

วันที่  ๑๒   สิงหาคม   ๒๕๕๘  ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเทศน์มหาชาติ จบในวันเดียว

นอกจากนี้ยุวพุทธได้จัดพิมพ์หนังสือของคุณแม่ สุรีย์  มีผลกิจ แต่เปลี่ยนรูปเป็นงานของครูเหม เวชกร




พิธีชาดกเทศนามาชาติ มีปรากฎอยู่ในพระราชนิพนธ์ มหาชาติคำหลวงในสมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังสวดอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเวลาเข้าพรรษา และปรากฎอยู่ในเรื่องขุนช้างขุนแผนว่าด้วยสามเณรแก้วขึ้นเทศน์กัณฑ์มัทรี

ประเพณีมีเทศน์มหาชาติ
เป็นทานมัยกุศลที่นิยมในเมืองไทย ผู้นับถือพระพุทธศาสนาที่ชอบบำเพ็ญกุศลบริจาคทานในขบวนเทศน์มหาชาติ มีเครื่องส่อ ๓ ประการ ๑. เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธวจนะ ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทาน เทศนาแก่พระภิกษุสงฆ์ พุทธบริษัทนิโครธาราม ในกรุงกบิลพัสดุ์ก็แลบรรดาพระพุทธวจนะ ทั้งหลาย เมื่อผู้ใดสดับย่อมเกิดสิริสวัสดิมงคล เป็นกุศลราศี

๒. เชื่อกันว่าผู้ใดปรารถนาจะใคร่ประสบพระศาสนาของพระศรีอริยะเมตไตรย ซึ่งนิยมกันว่าจะเป็นการที่มนุษย์มีความเจริญเกษมสุขยิ่งยวด บุคคลผู้นั้นสดับตรับฟังเวสสันดรชาดกอันประดับด้วยคาถาถึงพัน ในวันและราตรีเดียวให้จบและบูชาด้วย ประทีปธูปเทียนธงฉัตรสารพัดดอกไม้ ดอกบัว ดอกอุบลจงกลนี ราชพฤกษ์ ดอกผักตบ ให้ครบจำนวนถ้วนสิ่งละพัน ผลอานิสงส์นั้น จะชักนำให้สมมโนรถจำนง ฉะนี้

๓. มหาชาตินี้ ท่านผู้เทศนาก็สำแดงกระแสเสียงเป็นทำนองอันไพเราะต่าง ๆ ทั้งที่สมาคมก็ครึกครื้น เกิดปิติโสมนัสรื่นเริงบันเทิงใจ ได้ทันใจบริเวณที่มีเทศน์

มหาชาติจะต้องมีพิณพาทย์จบกัณฑ์หนึ่งก็มีเพลงประจำกัณฑ์ ตามเค้าเรื่องในกัณฑ์นั้นๆ เช่น จบกัณฑ์ทศพร ซึ่งพระอินทร์ให้พรพระผุสตี พิณพาทย์ก็ตีเพลง สาธุการ เหมือนธรรมเทียบ ตีฆ้องชัยระหว่างสวดมนต์เย็นก็มี ทางที่ก็ประดับประดาครึกครื้นรุ่งโรจน์ด้วย แสงเทียน ธูปหอมรื่นชื่นชูใจ ทำนองพระเทศน์ ไพเราะจับใจ เสียงพิณพาทย์ประโคมสนั่น บางแห่งมีเทศน์เป็น ๒ – ๓ วัน หรือแบ่งมีแต่บางกัณฑ์ บางวัน ก็มี แต่อย่างที่ตั้งพิธี ที่จะให้ได้รับผลอานิสงส์สมบูรณ์ตามที่เชื่อดังกล่าวย่อมมีในวันเดียวครบ ๑๓ กัณฑ์

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๗





พระราชาทรงให้พระโอรสและพระธิดาคือพระมหินท์และพระนางสังฆมิตตา ผนวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ครั้งนั้น ได้ยินว่า พระมหินท์มีพระชนมายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์  พระนางสังฆมิตตามีพระชนม์ ๑๘ ปี

พระสงฆ์รับพระราชดำรัสแล้ว ให้พระมหินท์บรรพชาอุปสมบท โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระมหาเทวะ้ถระ เป็นอนุสาวนาจารย์ พระมัชฌันติกเถระ เป็นกรรมวาจาจารย์  พระมหินท์บรรลุอรหัตตจผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในมณฑลที่อุปนมบทนั่นเอง




ส่วนพระนางสังฆมิตตา บรรพชาเป็นสามเณรี โดยมีพระธัมมปาลิตเถรี เป็นอุปัชฌาย์ พระอายุปาลิตเถรี เป็นกรรมวาจาจารย์ (เนื่องจากพระนางสังฆมิตตาอายุยังไม่ครบบวช จึงมิได้อุปสมบท)

พระนางสังฆมิตตาได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระขีณาสพเถรีในคราวที่บรรพชานั่นเอง

หลังจากผนวชแล้ว พระมหินท์เถระได้ศึกษาพระธรรมและพระวินัยอยู่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์ ได้เรียนอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ขบภายใน ๓ พรรษา ได้เป็นปาโมกข์ (ห้วหน้า) ของภิกษุประมาณ ๑๐๐๐ รูป  ผู้เป็นศิษย์ของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๖





พระราชาทรงประทับยืนที่อโศการาม  ทอดพระเนตรดูการฉลองพระวิหาร ที่รุ่งโรจน์อยู่ด้วยการบูชาสักการะของมหาชน ด้วยความปิติปราโมทย์  แล้วตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในศาสนาของพระทศพลโลกนาถเจ้าของเราทั้งหลาย มีผู้ใดบ้างที่ได้สละปัจจัยมากมาย ทำการก่อสร้างวิหารและเจดีย์เป็นต้น เพื่อถวายไว้เป็นสมบัติของพระศาสนา เช่นที่โยมกระทำอยู่ บัดนี้จะถือได้ว่า โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนาได้หรือไม่

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ  ทูลตอบว่า
ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัยในพระศาสนาของพระศาสดาเช่นกับพระองค์ แม้เมื่อพระตถาคตเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มีผู้ใดเลย พระองค์เท่านั้นทรงมีการบริจาคที่ยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงเป็นผู้ยกย่องเชิดชูพระศาสนาที่แท้ แม้กระนั้นพระองค์ยังได้ชื่อว่าเป็นเพียงปัจจยทายก คือผู้อุปัฏฐากพระศาสนาเท่านั้น  ต่อเมื่อใดพระองค์ยินยอมให้ทายาทของพระองค์ได้บวช เมื่อนั้นพระองค์จึงจะได้ขึ้นชื่อว่า ทายาท ของพระศาสนาอย่างแท้จริง


พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระโอรส ซึ่งประทับอยู่ในที่ไม่ไกล   ดำริว่า เราประสงค์จะสถาปนาพระกุมารองค์นี้ไว้ในตำแหน่งอุปราช จำเดิมแต่เวลาที่ติสสกุมารผนวชแล้ว  ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น การบรรพชาเป็นคุณชาติอุดมกว่ากว่าตำแหน่งอุปราชเสียอีก

 พระราชาจึงตรัสถามพระโอรสและพระธิดาว่า เธอบวชได้ไหม ทั้งสองพระองค์ประสงค์จะผนวชอยู่แล้ว  ทูลตอบว่า ได้พระเจ้าข้า พระราชาทรงขอบใจพระโอรส และพระธิดา มีพระราชหฤทัยเบิกบาน ตรัสกับภิกษุสงฆ์

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้กุมาร กุมารีเหล่านี้บวช เพื่อกระทำให้โยมเป็นทายาทพระศาสนาเถิด

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๕





พระราชาทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่าผู้ใดทราบเรื่องสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุบ้าง ที่ประชุมนั้นมีพระเถระรูปหนึ่งอายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่า

เมื่ออาตมภาพอายุ ๗ ขวบ พระมหาเถระผู้บิดาของอาตมภาพ ได้ใช้ให้อาตมภาพถือหีบมาลัย สั่งว่า
มานี่สามเณรในระหว่างกอไม้ทางทิศอาคเนย์มีสถูปหินอยู่ เป็นที่ควรสักการบูชา เราจักไปบูชาในที่นั้น  อาตมภาพรู้เพียงแค่นี้

พระราชาตรัสว่า ที่นั้นแหละ แล้วมีรับสั่งให้ตัดกอไม้ นำสถูปหินและดินที่กลบไว้ออกเห็นเป็นพื้นดบกปูน จึงตรัสสั่งให้ทำลายปูนโบกและแผ่นอิฐตามลำดับ ก็ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ ๗ ประการ และรูปหุ่นยนต์ถือดาบ  กำลังเดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้ทำการเซ่นสรวงก็ยังมิได้เห็น จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลาย ตรัสว่า
 เมื่อข้าพเจ้ารับพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ไปแล้ว จะนำไปบรรจุในวิหาร ๘๔๐๐๐ เพื่อกระทำสักการะ ขอเทวดาอย่าทำอันตรายแก่ข้าพเจ้าเลย

 ขณะนั้นท้าวสักกะเทวราชเสด็จจาริกไป ทรงเห็นพระเจ้าอโศกนั้นแล้ว เรียก วิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า
พ่อเอย พระธรรมราชาอโศกจักนำพระบรมสารีริกธาตุไป  เพื่อเผยแผ่แก่ชาวโลก เธอจงลงไปสู่บริเวณนั้น แล้วทำลายหุ่นยนต์เสีย

วิสสุกรรมเทพบุตร แปลงเพศเป็นเด็กชายชาวบ้านไว้จุก ยืนถือธนูตรงพระพักตร์ของพระราชา ทูลว่า
ข้าจะนำทางมหาราชเจ้า

พระราชาตรัสว่า
นำไปสิพ่อ






วิสสุกรรมเทพบุตรจับศรยิงสลักบังคับหุ่นยนต์  ทำให้ทุกอย่างกระจัดกระจายไป

ครั้งนั้นพระราชาทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณี มีอักษรจารึกไว้ว่า
ในอนาคตกาลให้เจ้าแผ่นดินถือเอาแก้วมณีัแท่งนี้ทำลายดวงตรา

พอพระราชากระทำตาม ทรงเปิดประตูแล้วเสด็จเข้าไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุภายในสถานที่นั้น
ประทีปที่ตามไว้เมื่อเริ่มสร้างสถูปก็ยังลุกโพลงอยู่เช่นเดิม
ดอกบัวขาบก็เหมือนนำมาวางไว้ในขณะนั้น
เครื่องหอมก็เหมือนมีผู้นำมาวางไว้เมื่อครู่นี้เอง

พระราชาทรงถือแผ่นทองที่จารึกไว้ว่า
ในอนาคตกาล ครั้งพระกุมารพระนามว่าอโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระธรรมราชา ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ ให้แพร่หลายออกไป

พระราชากระพุ่มพระหัตถ์ ทรงกระทำอัญชลี ด้วยความปิติโสนนัส จากนั้นได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดออกมา แล้วปิดเรือนพระบรมธาตุไว้ ทรงทำที่ทุกแห่งให้ปกติดังเดิม โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ (สถูปหิน) ไว้ข้างบน

พระเจ้าอโศกมหาราช อัญเชิญพระบรมธาตุทั้งหมดบรรจุในเจดีย์ทั้งสิ้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทั่วชมพูทวีป เสร็จแล้วเตรียมการฉลองอย่างโอฬาร ทรงให้ปีะชาชนทั้งหมดสมาทานศีล ๘ มีพระประสงค์จะทำการฉลองพระอารามและเจดีย์ให้ครบ ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน



ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ


วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๔





พระเจ้าอโศกมหาราช มีความเลื่อมใสในพระพุุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง วันหนึ่งพระราชาทรงถวายมหาทานที่อโศการาม ตรัสถามปัญหาท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว มีประมาณเท่าใด

พระสงฆ์ถวายพระพรว่า
มหาบพิตร ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วมี  ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระราชาเมื่อทราบว่า พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้ามี ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ทรงรับสั่งว่า เราจักบูชาพระธรรมขันธ์แต่ละขันธ์ ด้วยวิหารแต่ละหลัง

จึงโปรดให้สร้างวิหารและเจดีย์ไว้ในนครต่าง ๆ จนครบ ๘๔๐๐๐ แห่งทั่วชมภูทวีป
ส่วนพระองค์เองทรงสร้างมหาวิหารในเมืองปาฏาลีบุตรชื่อ อโศการาม โดยมีพระอินทคุตตเถระ  ผู้มีฤิทธิ์มากมีอานุภาพมากสิ้นอาสวะแล้วเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง พระเถระได้ดูแลการก่อสร้างให้สำเร็จภายใน ๓ ปี




เมื่อวิหารสร้างเสร็จแล้ว พระราชาตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า โยมให้สร้างวิหาร ๘๔๐๐๐  วิหารแล้ว จักได้บรมธาตุจากไหนเล่า

ภิกษุสงฆ์ทูลว่า
ถวายพระพร พวกอาตมภาพได้ฟังมาว่า สถานที่เก็บพระบรมธาตุมีอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้  แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน

พระราชาจึงรับสั่งให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ ก็ไม่พบ ทรงให้ทำเจดีย์คืนดีอย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา   ไปยังกรุงเวสาลี แม้ในที่นั้นก็หามิได้ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ไปยังเมืองปาวา  เมืองกุสินารา เมืองอัลงกัปปะ เวฏฐทีปะ

ในที่ทุกแห่งที่เสด็จไป รื้อเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย

จากนั้นเสด็จไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคามไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์ของตน ครั้นทำเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดีดังเดิมแล้วก็เสด็จกลับไปยังกรุงราชคฤห์


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๓




ติสสอุปราช ผู้เป็นพระภาดาร่วมพระมารดากับพระราชาอโศก วันหนึ่งเสด็จไปล่าเนื้อ ทอดพระเนตรเห็น พระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้นั่งให้พญาช้างจับกิ่งสาละโบกพัดอยู่  เกิดความปราโมทย์ ดำริว่า เมื่อไรหนอเราจักพึงได้บวชเหมือนพระมหาเถระนี้

พระเถระรู้อัธยาศัยของติสสอุปราช ได้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วยืนอยู่บนพื้นน้ำสระโบกขรณี ห้อยจีวรและผ้าอุตราสงส์ไว้ในอากาศแล้วเรื่มทรงน้ำ

ติสสอุปราชเห็นอานุภาพพระเถระ ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
ดำริว่าเราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว
แล้วเสด็จกลับไปทูลพระราชาว่า หม่อมฉันจักบวช

พระราชาทรงยับยั้งเป็นเอนกประการ




พระเจ้าอโศกไม่ทรงสามารถให้ติสสอุปราชกลับพระทัยได้ จึงทรงนำไปวิหาร ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังข่าวว่าติสสอุปราชจักบวช จึงพากันตระเตรียมบาตรและจีวรไว้ พระอุปราชเสด็จไปย้งเรือนที่บำเพ็ญเพียร  ได้ทรงผนวชในสำนักของพระมหาธรรมรักขิตเถระ  พร้อมอัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา

ในคัมภีร์มหาวงศ๋กล่าวว่า สุมนราชกุมาร โอรสพระเจ้าอัคคิพรหมและพระนางสังฆมิตตา ทูลขอบรรพชาเป็นสามเณรในวันนั้นด้วย  มีกุลบุตรผนวชตามพระอุปราชเป็นจำนวนมากในครั้งนั้น

เหตุผลอีกประการหนึ่งที่พระเจ้าอโศกกลับมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้นคือ
ประมาณปีที่ ๑๓ หลังจากขึ้นครองราชย์พระองค์ยกทัพไปทำสงครามกับแคว้นกาลิงคะ ได้ประสบชัยชนะ
แต่ในการสงครามครั้งนั้นต้องสูญเสียทั้งชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก

พระองค์ทรงสลดพระทัย จึงเปลี่ยนพระดำริจาก สังคามวิชัย (การชนะด้วยสงคราม) เป็นธรรมวิชีย (ชนะด้วยธรรม)  คือชนะใจกันด้วยความดี สร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้แก่ปวงชนโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ