วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รุ่งรางสร่างแสง....อโณทัย

รุ่งรางสร่างแสงอโณทัย

ออกไปข้างหลังบ้านตัวเองเห็นท้องฟ้าครารุ่งราง ก็คิดว่า น่าจะไปที่ริมแม่น้ำบางปะกง คงจะได้บรรยากาศดีๆ
คิดแล้วพลอยโพยมก็รีบขับรถไปที่ริมฝั่งชายน้ำบางปะกง ยามรุ่งอรุณ

เวหาห้องท้องฟ้านภากาศ สวยจริงๆ เสียดายกับฝีมือถ่ายภาพของตัวเอง แต่ถึงฝีมือไม่เข้าขั้น ภาพก็คงพอสื่อได้นะคะว่า บางปะกง งามจริงๆ





ไม่อยากทำลายคุณค่าของบทละครเงาะป่าเลย
แต่เนื่องจากเป็นบทละคร ที่เคยท่องเป็นอาขยานในสมัยเรียน เลยจำแม่น
และชอบ บาทที่ว่า ครั้นรุ่งรางสร่างแสงอโณทัย มากๆ
ขอน้อมรับคำตำหนิ ที่ มาแปลงบทพระราชนิพนธ์นี้

ลำหับ ชมป่า แปลง

เมื่อนั้น นวลนางลำหับพิศมัย
ครั้นรุ่งรางสร่างแสงอโณทัย ทรามวัยแต่งตัวไม่มัวมอม
สวมมะกล่ำกำไลสายสร้อย ตุ้มหูพวงห้อยดอกไม้หอม
หวีไม้ไผ่บรรจงเป็นวงค้อม ล้วนลายย้อมเหน็บประดับรับมวย

ขอแปลงบทต่อไปเป็น

แล้วจับ(กล้อง)คล้องไหล่ไว้เบื้องหลัง ไม่รุงรังเข้าทีดูดีสวย
(หยิบกุญแจ )ลีลาศนาดนวย รื่นรวย(ไปยังฝั่งนที )

ครั้นถึงซึ่งที่(หมายสายวหา ) ดวงสุดาปรีเปรมเกษมศรี
กรีดเล็บ (เก็บภาพแสงรวี ) นารีขับเพลงวังเวงใจ













ประกายวาว วิบไหว วิไลดัง
เทพไท้ฝัง เพชรพลอย ลอยวารี


สอดซับสีสุรีย์สายพรายวับแวว

บางปะกงแต่กาลก่อน ย้อนมาจนวันนี้ ยังคงคอยรองรับแสงตะวันดวงเดิม
สายวารีที่รี่ไหลยังเป็นสายวารีเดิม...บางปะกง


ภาพพระบิณฑบาตโดยใช้เรือ นับวันจะหายาก เพราะคนรุ่นใหม่มักพายเรือกันไม่เป็น
พระที่ใช้เรือพายส่วนใหญ่จะเป็นพระอาวุโส ในบางวัด
วัดตามริมน้ำปัจจุบันหลายๆวัด ไม่มีการพายเรือบิณฑบาตกันแล้ว
ภาพชุดนี้เป็นพระวัดเทพราช บางองค์ก็สึกไปแล้ว









หลังจากไปยืนคอยถ่ายภาพ สุริยารุ่งแจ้งแสงไข อยู่หลายวัน จึง ทราบว่า เรือน้อย ที่เห็นวิ่งไปวิ่งมาวิ่งลัดตัดแสงตะวันนั้น แท้จริง เป็นเรือรับจ้างนั่นเอง

การสัญจรทางน้ำในการข้ามฝั่งแม่น้ำในสมัยนี้ ไม่มีเรือพายรับจ้าง แต่เป็นเรือติดเครื่องยนต์













มีนัดหมายไปรับผู้โดยสารอีกบ้านครับ


รีบไปทำธุระกันแต่เช้ามืดเลย


ยังไม่จอดเทียบท่าผู้นั่งใจร้อนลุกขึ้นยืนก่อน
เอ๊ะ ใครมายืนที่ท่าขึ้นเรือกันละนี่ แถมในมือถือกล้องส่องมาทางนี้เสียด้วย


พี่ครับ นั่งลงก่อนดีไหมครับ


นั่งเรือข้ามฟากเพื่อทำงาน


นั่งเรือข้ามฝั่งเพื่อไปทำงาน


ข้ามฝั่งแม่น้ำยามเช้าตรู่
ท่านนี้มาสภากาแฟ


เรือวิ่งรับจ้างรับส่งคนข้ามแม่น้ำ


เรือเป็ดบรรทุกทั้งของและผู้โดยสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น