วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลาหลด










ปลาหลดที่ถูกนำมาขายในตลาดที่แปดริ้ว




ภาพปลาหลดจากเจ้าน้อยฟิชชิ่ง



ภาพปลาหลดจากเจ้าน้อยฟิชชิ่ง





ปลาหลด (อังกฤษ: Spotfinned spinyeel)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis

อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae)

ปลาหลดปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลากระทิง

ลักษณะทั่วไป

ปลาหลดเป็นปลาที่คล้ายปลากระทิงแต่ปลาหลดมีขนาดเล็กกว่า คือรูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็ก จะงอยปากยื่นแหลมยาว มีหนวดสั้น 1 คู่ ปากเล็กและอยู่ใต้ ตาเล็ก ครีบเล็กและปลายมน ครีบหลังและครีบก้นยาว มีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกเล็กกลม ครีบหางมีขนาดเล็กเล็กปลายกมมน ไม่มีครีบท้อง ตัวมีสีเทาอ่อน ด้านบนมีสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง ครีบหลังคล้ำมีจุดเล็กสีจางประและมีดวงสีดำขอบขาวแบบดวงตา 4 - 5 จุด ตลอดความยาวลำตัว บางตัวโคนครีบหางมีอีก 1 จุด

ถิ่นอาศัย

อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป ทั้งลำคลอง หนอง บึง และแม่น้ำลำคลองของทุกภาค

นิสัย

ชอบฝังตัวในดินโคลน หรือบริเวณที่มีใบไม้เน่าเปื่อย

ขนาด

มีความยาวประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบ 30 เซนติเมตร

ประโยชน์

บริโภคโดยปรุงสด เช่นแกงเผ็ดหรือต้มยำ ทำปลาแห้ง และรมควัน นอกจากนี้ยังเป็นปลาสวยงามด้วย


ปลาหลดงวงช้าง ภาพจากวิกิพีเดีย

ปลาหลดงวงช้าง

ปลาหลดงวงช้าง หรือ ปลาหลดจมูกยาว เป็นปลาที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อกลางปี ค.ศ. 2011 นี้เป็นปลาที่ถูกค้นพบและศึกษาโดย วอลเตอร์ เรนโบธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1996 ที่ออกสำรวจปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่ประเทศกัมพูชา สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปลาหลดชนิดใหม่เพราะมีความแตกต่างในเชิงอนุกรมวิธานจากปลาหลดอยู่พอสมควร จากนั้น ไอ.จี.เบียร์ด ได้ทำการสำรวจพบปลาชนิดนี้จากบริเวณน้ำตกคอนพะเพ็ง ทางตอนใต้ของแขวงจำปาสักในประเทศลาว ในปี ค.ศ. 1999 ได้บรรยายลักษณะตรงกับของเรนโบธ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2001 มัวรีซ คอทเทเลต ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Fishes of Laos ได้อ้างถึงปลาชนิดนี้ตามรายงานของเรนโบธ และลงตีพิมพ์ภาพ และสรุปว่าปลาชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์บริเวณตอนใต้ของน้ำตกคอนพะเพ็ง ในพื้นที่ของประเทศลาวและกัมพูชา

ในทัศนะของ ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ นักมีนวิทยาแห่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งได้ทำการวิจัยโดยการลงพื้นที่สำรวจและรายงานสถานะความหลากหลายของปลาในลุ่มแม่น้ำโขง และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมกับคณะทำงานต่างชาติอีก 4 ประเทศ เห็นว่าเป็นปลาที่เป็นปลาพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโขงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากปลาหลด ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ง่ายและแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวาง ซึ่งอาจถือเป็นลักษณะเฉพาะทางนิเวศวิทยาประการหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามยังมีปลาในสกุลปลาหลดอีกหลายชนิดที่มีลักษณะของจมูกหรือส่วนหน้าที่ยื่นยาวออกมาเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบัน ปลาหลดงวงช้าง หรือ ปลาหลดจมูกงวงยังมิได้ทำการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด จึงอาจใช้ชื่อว่า Macrognathus aff. siamensis ไปก่อน

ที่มาของข้อมูลวิกิพีเดีย

หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์

ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

พบ"ปลาหลดงวงช้าง"แม่น้ำโขงชนิดใหม่ของโลก จากกรุงเทพธุรกิจ

ที่บ้านพลอยโพยมไม่เคยมีเมนูปลาหลด จะได้ปลาหลดจากการจับซั้ง และให้น้านุ้ยที่มาช่วยจับซั้งเอากลับไปบ้าน ในสมัยเด็ก ๆ ทั้งปลาหลด ปลาไหล ปลากระทิง ล้วนเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ของ เด็ก ๆ ในบ้านมีความรู้สึกว่าทั้งน่าเกลียดและน่ากลัว นั่นเอง แค่จะเอามือไปสัมผัสก็ยังไม่กล้า มีแต่เด็กผู้ชายที่กล้าจับปลาเหล่านี้



ปลาหลดหิน

ปลาหลดหินมีรูปร่างคล้ายกับงูหรือปลาไหล แต่จะมีรูปร่างอ้วน และสั้นกว่า ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.5 เมตร และน้ำหนักมาก บางครั้งอาจพบว่าหนักมากเกิน 20 กิโลกรัม ปลาหลดมีหลายชนิดและลักษณะแตกต่างกันไป เช่น มีสีเหลืองลายดำ สีขาว เป็นต้น ปลาหลดมักชอบอาศัยอยู่ตามซอก หรือรูตามโพรงหิน โพรงปะการัง ตามเกาะกลางทะเล บางชนิดมักชอบอาศัยอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นโคลน ปลาหลดจะทำร้ายศัตรูด้วยการขบกัด ด้วยฟันที่แหลมคม หากเราไปเล่นน้ำหรือดำน้ำชมปะการังและเข้าไปใกล้ ก็อาจถูกทำร้ายได้ง่าย เพราะปลาหลดมีนิสัยดุร้าย และจะพุ่งตัวเข้ากัดศัตรูในระยะใกล้ ๆ เสมอ ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในขณะเล่นน้ำหรือดำน้ำชมปะการัง

การปฐมพยาบาลและการป้องกัน

เมื่อเกิดบาดแผลจากการถูกขบกัดควรรีบขึ้นจากน้ำโดยเร็วแล้วปฐมพยาบาล โดยการห้ามเลือดและใส่ยาสำหรับแผลสดจากนั้นจึงรีบนำส่งแพทย์เพื่อรักษาต่อไป สำหรับการป้องกันนั้น ในการดำน้ำชมปะการังเมื่อพบซอก รู หรือ โพรงไม่ควรยื่นมือเข้าไปล้วงหรือเอาเท้าไปเหยียบเพราะอาจมีปลาหลดหินนอนอยู่ในรูหรือโพรงของหินปะการัง และพุ่งเข้ามากัดโดยเราไม่ทันรู้ตัวได้ และเพื่อความปลอดภัยควรอยู่ห่างจากซอก รู หรือโพรงในรัศมีไม่ต่ำกว่า 1 เมตร

http://www.thaigoodview.com/node/45609 โดย: Rattanaporn & Supitchaya

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น