ปลาหนามหลัง
ปลาหนามหลัง
ชื่อสามัญอังกฤษINDIAN RIVER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chylocheilichthys apogon
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
วงศ์ย่อย Cyprininae
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียนขาว ลำตัวค่อนข้างแบน เกล็ดขนาดใหญ่ หัวใหญ่ จะงอยปากยาวและแหลม ไม่มีหนวด นัยน์ตาโตและอยู่ใกล้จมูก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด กระโดงหลังสูงมีก้านเดี่ยวเป็นหนามแข็ง และขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ครีบหางแยกเป็นแฉกลึก ลำตัวส่วนบนสีเขียวอมเหลือง ด้านท้องสีเหลืองนวล โคนหางมีจุดดำขนาดใหญ่ข้างละจุด ครีบต่าง ๆ สีส้ม นัยน์ตาแดง
เมื่อติดอวนหรือตาข่ายจะปลดออกได้ยาก เพราะหนามแหลมที่ครีบหลัง
ที่มาของภาพ
http://www.siamfishing.com
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายทั่วไปในแม่น้ำสายใหญ่และแหล่งน้ำนิ่ง คลอง หนองและบึงตามภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
นิสัย
จากสารนิพนธ์ของ
ศศิมล สกุลไทยเทียนชัย ในการสำรวจและเก็บตัวอย่างของปลาในแม่น้ำว้าและแม่น้ำมางเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน.พบว่ามีปลาหนามหลังและมีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง
มีข้อมูลจากhttp://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofanimal&view=showanimal&id=852 ว่าพบปลาหนามหลังขาวในลุ่มแม่น้ำโขง ชอบอยู่ในที่บริเวณน้ำขุ่นมีพื้นเป็นโคลนปนทราย
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ย้ายถิ่นเข้ามาตามแม่น้ำสาขาในบางฤดูกาล
อาหาร
กินหอยน้ำจืดขนาดเล็ก ลูกปลาและพืชน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 7-15 ซ.ม.
ประโยชน์
จัดเป็นปลาที่มีราคาถูก นำมาทำปลาร้าหรือปรุงสด และถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ทางภาคกลางเรียกว่า ปลาหนามหลัง ไส้ตัน ตะเพียนทราย ในภาคอีสานบางจังหวัดเรียกว่า แม่กระแด้ง ไส้ตัน พบทางภาคใต้มีชื่อว่า หญ้า ตาแดง
จากสารนิพนธ์ของ ศศิมล สกุลไทยเทียนชัย ในการสำรวจและเก็บตัวอย่างของปลาในแม่น้ำว้าและแม่น้ำมางเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านระบุชื่ออืนของปลาหนามหลังในท้องถิ่นเรียกกันว่า ปีก ,หนาม , หนามแต็บ
ที่มาของภาพ
http://www.siamfishing.com
ที่มาของข้อมูล
ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย โดยสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์
ที่มาของภาพ
http://www.ninekaow.com/wbs/?action=view&sub=05&id=0008147
ปลาหนามหลังนี้ที่บางกรูดเรียกกันว่าปลาตะเพียนทราย ไม่พบบ่อยนัก
หมายเหตุ
มีหลายข้อมูล รวมทั้งวิกิพีเดีย ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาหนามหลังว่า Mystacoleucus marginatus
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น