วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลากุเรา

วงศ์ปลากุเรา

วงศ์: Polynemidae;

อังกฤษ: Threadfin)

เป็นวงศ์ปลาในอันดับ Perciformes

ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemidae

มีรูปร่างทั่วเป็นทรงกระบอก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวและจะงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ตาเล็กอยู่ตอนปลายของหัวและมีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนอยู่ห่างกัน ตอนแรกเป็นก้านแข็งสั้น ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบอกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลม ส่วนล่างเป็นเส้นยาวแยกออกเป็นเส้นตั้งแต่ 4 - 14 เส้น มีความยาวแล้วแต่ชนิด เกล็ดเป็นแบบสากมีขนาดเล็กละเอียด

เป็นปลากินเนื้อ โดยกินกุ้ง, ปลา หาเหยื่อและสัมผัสได้ด้วยครีบอกที่เป็นเส้น มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พบในเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำกร่อยและน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีทั้งหมด 8 สกุล 38 ชนิด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร คือ ปลากุเราแอฟริกา (Polydactylus quadrifilis) พบในประเทศไทยประมาณ 10 ชนิด เช่น ปลากุเรา 4 หนวด (Eleutheronema tetradactylum) เป็นต้น แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่พบในน้ำจืด คือ ปลาหนวดพราหมณ์ (Polynemus paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย สำหรับปลาที่พบในน้ำจืด



ปลากุเรา 4 หนวด ได้จากการยกยอที่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง

 

ปลาหนวดพรามณ์ 14 เส้นที่ได้จากเรือผีหลอกในตอนเช้า (ปลาตายแล้วตั้งแต่อยู่ในเรือผีหลอก)

 

ปลาที่ได้จากการยกยอ มีปลากระพงข้างลาย (ตัวบนสุด) ปลากุเรา 2 ตัว และปลาหางกิ่ว

ปลากุเรา 4 หนวด ชื่ออังกฤษ: Fourfinger threadfin, Indian salmon;

ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleutheronema tetradactylum

เป็นปลาทะเลและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae)

มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวค่อนข้างหนา แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น ตามีเยื่อไขมันปกคลุมและอยู่ใกล้ปลายจะงอย ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย และมีฟันแหลมคม ลักษณะเด่นคือ ก้านครีบส่วนล่างของครีบหูแยกออกเป็นเส้นรยางค์ 4 เส้น ซึ่งชาวบานเรียกกันว่าหนวด มีครีบหลังแยกห่างกัน 2 อัน ครีบหางเป็นแฉกลึก ส่วนของลำตัวที่อยู่แนวสันหลังสีเทาปนเขียว ส่วนที่อยู่ถัดลงมาสีเนื้อและสีขาวเงิน ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทาที่ปลาย ครีบอื่น ๆ สีเหลือง มีขนาดโดยเฉลี่ย 40-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ 2 เมตร

เป็นปลาที่หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดินโคลน บางครั้งเข้ามาหากินอยู่ในบริเวณน้ำกร่อย พบทั่วไปในอ่าวเปอร์เซีย, อินเดีย, อ่าวไทย, ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ รับประทานได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็นปลาเค็ม

ที่มาของข้อมูล สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

ปลากุเราเป็นปลาที่กรมประมงจัดประเภทเป็นปลาทะเลสำหรับที่บางกรูดจะพบได้เนื่องจากที่ระบบนิเวศเป็นเขตสองน้ำคือน้ำจืดและน้ำกร่อย และเป็นปลาที่หาได้ ตามริมฝั่ง แม้แต่การยกยอ แต่จะไม่ได้ปลาตัวที่ใหญ่นัก

ในภาพมองไม่เห็นหนวด 4 เส้น และเป็นภาพปลาที่ตายแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น