ปลาพรหมหัวเหม็น
ชื่อไทย ปลาพรหมหัวเหม็น
ชื่อสามัญ Greater Bony – lipped Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ Osteochilus melanopleura (Bleeker,1852)
ปลาพรหมหัวเหม็น
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวค่อนข้างยาวกว้างและแบนข้าง หัวทู่ ปากอยู่ต่ำและมีขนาดเล็ก ริมฝีปากล่างมีติ่งเนื้อเล็กอ อยู่รวมเป็นกระจุก บริเวณข้างลำตัวเหนือครีบอกมีแถบสีดำพาดตามขวาง 1 แถบ ตัวสีเทาปนเงิน หลังโค้ง ท่อนหางสั้น เกล็ดเล็ก เพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
ปลาชนิดนี้ดูเหมือนจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลเดียวกัน กล่าวกันว่าเป็นปลาที่มีกลิ่นคาวจัดโดยเฉพาะที่หัวมีกลิ่นเหม็นเขียว จัด ชาวบ้านบางท้องถิ่นจึงเรียกว่า
ปลาพรหมหัวเหม็น
ถิ่นอาศัย พบตามแหล่งทั่วไปทั้งน้ำนิ่งและน้ำไหล พบทั่วไปในแม่น้ำลำคลองหนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วไป ทุกภาคทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้
นิสัย เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
อาหาร พืชน้ำเช่นสาหร่าย และตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหินและตอไม้
ขนาด 13-50 ซม.
ที่มาของข้อมูล
ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์
ปลาพรหมหัวเหม็นเป็นปลาที่พลอยโพยมไม่เคยเห็นเองในสมัยเด็ก
ปลาพรหมหัวเหม็นนี้ มีในลำน้ำบางปะกง แต่ ไม่พบบ่อยนักที่ตำบลบางกรูดซึ่งอยู่ในอำเภอบ้านโพธิ์จะได้พบมากขึ้นอยู่หนือขึ้นไปที่อำเภอบางคล้า และเลยไปทางจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี
พลอยโพยมยังมีเรื่องราวของ ในธารา(บางปะกง) ปลาพล่านตระการตา อีกไม่กี่ชนิด ก็จะได้ขึ่้นฝั่งลำน้ำบางปะกงกันแล้ว ท่านที่เบื่อหน่ายเรื่อง หมู่มัจฉาคราได้ยล ในอดีต ก็ ทน ๆ อ่านไป อีกสักระยะหนึ่งก็แล้วกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น