วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
หลงทิวทุ่งตระการ 1
ครอบครัวใหญ่ ใกล้ฝั่ง ตั้งหน้าวัด
ต้องพรากพลัด ลัดลา พาหวั่นไหว
อยากจะถอย รอยวัน กลับหันไป
ย้อนไม่ได้ ไป่คืน กลืนอาดูร
บริเวณที่ตั้งของบ้านสวนริมน้ำซุกซ่อนตัวในแนวป่าจากถ่ายจากหน้าวัดบางกรูด
เมื่อห้าสิบปีก่อนบริเวณนี้คือสวนที่คนในครอบครัวกว่ายี่สิบชีวิตเคยสนุกสนานกับบ้านสวน
ยายขาเป็น ประธาน ที่บ้านสวน
อบอุ่นอวล อิ่มเอื้อ เมื่อมีศูนย์
เราสอดสาน งานไว้ ไม่อากูล
แสนพร้อมมูล พูนสุข ทุกข์ห่างไกล
โรงเรียนวัดเบางกรูด
เฝ้าฝนฝึก ศึกษา หาความรู้
รุ่นแรกอยู่ ย่านนี้ ที่ขานไข
วัดบางกรูด เก่าก่อน สอนใครใคร
เติบโตใหญ่ ใฝ่ดี ศรีบ้านเมือง
โรงเรียนวัดผาณิตาราม
รุ่นหลังถัด วัดผา น่าสนุก
เคยเดินรุก บุกนา ฝ่าฟางเหลือง
ควายขวิดเขา เข้าสู้ อยู่เนืองเนือง
เมื่อขุ่นเคือง เรื่องนี้ มีอาจินต์
ฝนตกซ่า เวหาห้อง คะนองเสียง
ผ้าใบเพียง ผืนเดียว เสียวหวิววิ่น
ฟ้าแลบร้อง รีบยอบ หมอบพื้นดิน
ครายลยิน ยิ่งหวั่น สั่นกายา
บางวันลม ไล่เอา เราล้มลุก
แล้วกลิ้งคลุก ขี้ฝุ่น วุ่นจริงหนา
ความแรงจัด พลัดหก ตกคันนา
เซถลา พาหลง ลงปลักควาย
พลอยโพยมขอย้อนกลับมาที่วันวานของบางกรูดเมื่อห้าสิบปีที่แล้วอีกครั้งหนึ่ง จากกรอบเรื่องเล่าของพลอยโพยมมี 6 เรื่อง ซึ่งเรื่องที่หนึ่ง คือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับลำน้ำบางปะกง คือเรื่องราวชาวน้ำ เป็นวิถีชีวิตผู้คนบนริมฝั่งน้ำโดยทั่ว ๆ ไป การดำรงชีวิตประจำวัน ที่หมุนเวียนไปตามฤดูกาล การสัญจรด้วยเรือ พันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ พันธุ์ไม้ชายน้ำต่าง ๆ
กรอบของเรื่องเล่าที่สองเป็นเรื่องราวในท้องทุ่งนาที่ในสมัยเด็ก พลอยโพยมต้องเดินเท้าเปล่าผ่านเป็นเส้นทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดผาณิตามราม
วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556
บางกรูด....
คำว่าบางกรูด เป็นนามเรียกของ
ตำบลบางกรูด
ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอบ้านโพธิ์
บ้านบางกรูด
ซึ่งเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลท่าพลับ ( คือบริเวณที่ตั้งวัดบางกรูดและพื้นที่โดยรอบวัด)
วัดบางกรูด
ซึ่งเดิมมีชื่อว่า วัดบางกรูดวิสุทธาราม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดประศาสน์โสภณ แต่ผู้คนยังคงนอยมเรียกหาวัดนี้ว่าวัดบางกรูดตามนามเดิม
คลองบางกรูด
ซึ่งเป็นคลองที่อ้อมด้านหลังโรงเรียนวัดบางกรูด ฯ ซึ่งเรียกตามนามเดิมของวัดบางกรูด คลองนี้จะผ่านโบสถ์วัดบางกรูดและไหลสู่แม่น้ำบางปะกง เป็นที่สันนิษฐานนามของวัดบางกรูดว่านั้นน่าจะเรียกตามชื่อของคลองบางกรูดนี้เอง ในอดีตเคยเป็นที่หลบภัยพายุของเรือสำเภาที่ผ่านมาบริเวณชุมชนนี้
โรงเรียนวัดบางกรูด
ปัจจุบันเรียกว่าโรงเรียนวัดประศาสน์โสภณ (ท่าพลับสุนทร)
คลองบางกรูด
ตำบลบางกรูด ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพทำสวน เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงไก่ เลี้ยงสุกร และค้าขาย มีวัด ๒ วัด ได้แก่ วัดผาณิตราม และวัดมงคลโสภิต ปัจจุบันมี ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านอู่ตะเภา หมู่บ้านบางชายสอ และหมู่บ้านท่าถั่ว
ตำบลบางกรูด มีหลักฐานว่า สภาพเดิมเป็นป่า มีต้นมะกรูดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ในอดีตอาณาเขตของตำบลครอบคลุมไปถึงหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของวัดบางกรูด(ปัจจุบันอยู่ตำบลท่าพลับ) หมู่บ้านบางเสา(ปัจจุบันอยู่ตำบลบางพระ) การ ตั้งชื่อตำบล สันนิษฐานว่าตั้งตามชื่อต้นไม้ที่มีอยู่มากตามธรรมชาติ
ต้นมะกรูด
ในอดีต ตำบลบางกรูด โดยเฉพาะบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ มีโรงสีเครื่องจักรไอน้ำ โรงเลื่อย แปรรูปไม้ และโรงงานประกอบบ้านทรงไทยขายเป็นหลัง ปัจจุบันได้เลิกกิจการไปหมดแล้ว
ตำบลบางกรูดมีความเกี่ยวข้องกับตำบลท่าพลับเนื่องจากมีชื่อบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นถาวรวัตถุคงใช้ชื่อบางกรูดปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของตำบลท่าพลับเช่น วัดบางกรูด (เดิมมีชื่อว่าวัดบางกรูดวิสุทธาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดประศาสน์โสภณ ) คลองบางกรูด โรงเรียนวัดบางกรูด(ปัจจุบันเรียกว่าโรงเรียนวัดประศาสน์โสภณ (ท่าพลับสุนทร)
การตั้งชุมชนของคนในสมัยโบราณมักเลือกทำเลอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้นก็เกิดเป็นหมู่บ้าน แล้วจึงสร้างวัด หรือ ศาสนสถานเอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากจะคะเนว่าชุมชนใดมีอายุเท่าใด หลักฐานที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ก็คืออายุของวัดนั่นเอง
วัดบางกรูดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๔ ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อนับอายุถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖ ) อายุ ๒๕๒ ปี นับได้ว่า เป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นเป็นวัดที่สองของอำเภอ ส่วนวัดแรกคือ วัดประชาบำรุงกิจ อยู่ที่ตำบลสิบเอ็ดศอก ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๐๐
เนื่องจากความยาวนานของจำนวนปีที่มีการสร้างวัดขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาของการสร้างวัดได้ ดังนั้นชุมชนบางกรูดจึงน่าจะมีมาก่อน ปี พ.ศ. ๒๓๐๔ เมื่อเกิดชุมชนแล้วจึงมีการสร้างวัดขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ กำหนดให้ปักหมายเขตตำบลให้ขัดเจน โดยยึดเอา ลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง หรือสิ่งใดเป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุให้มีการปรับปรุงเขตตำบลขึ้น สำหรับชื่อบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นถาวรวัตถุคงใช้ชื่อเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง หมู่บ้านบ้านบางกรูดซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดบางกรูด รวมทั้งคลองบางกรูด โรงเรียนวัดบางกรูดจึงแยกไปอยู่ตำบลท่าพลับ หมู่บ้านบางเสาไปอยู่ตำบลบางพระ ด้วยเหตุผลเดียวกันวัดสนามจันทร์ และ หมู่ ๑ บ้านสนามจันทร์ เดิมนั้นอยู่ในตำบลสนามจันทร์ แต่ปัจจุบันอยู่ในตำบลบ้านโพธิ์
วัดบางกรูด เดิมมีชื่อว่า วัดบางกรูดวิสุทธาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดประศาสน์โสภณ แต่ผู้คนยังคงนิยมเรียกวัดนี้ว่าวัดบางกรูดตามนามเดิม วัดนี้เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระอุปัชฌาย์แย้มเป็นเจ้าอาวาส พระภิกษุสามเณรในยุคนี้มีไม่น้อยกว่า ๘๐ รูป ในบางปีมีถึง ๑๐๐ รูป .เคยเปิดโรงเรียนสอนนักธรรม มีนักเรียนสอบไล่ได้รวมถึง ๘๐ รูป เป็นนักธรรมตรี ๖๑ รูป นักธรรมโท ๑๔ รูป นักธรรมเอก ๕ รูป
วัดยังมีการเปิดสอนการเรียนธรรมศึกษามีการสอบผ่านธรรมศึกษาตรี ๑๓ คนและธรรมศึกษาโท ๔ คน ความก้าวหน้าในการศึกษาธรรมทำให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม วน นามฉายา ฐิติญาโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๑ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ โปรดที่จะมาพักค้างคืนที่วัดบางกรูดอยู่เนือง ๆ ในการออกเยี่ยมเยือนวัดต่างๆ ในมณฑล(ภายหลังท่านเคยปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช)
วัดบางกรูดอยู่กึ่งกลางระหว่างโค้งคุ้งน้ำ สองโค้งคุ้ง คุ้งน้ำหนึ่งขึ้นไปทางตัวเมือง บริเวณที่ปัจจุบันคือ ซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์โฮเต็ล ฉะเชิงเทรา (ในสมัยแรกก่อสร้าง คือโรงแรม วังธารา ปริ๊นเซส จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาเป็น โรงแรมวังธารา รีสอร์ท และเป็น ซันธารา ฯ ในปัจจุบัน) และอีกคุ้งน้ำที่ลงไปทางปากอ่าว คือบริเวณที่เรียกว่าโรงสีล่าง
กุลบุตรกุลธิดาของชุมชนบางกรูดได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวัดบางกรูด
โรงเรียนวัดบางกรูด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ (ปัจจุบันมีอายุ ๑๐๕ ปี) ก่อตั้งโดยพระอาจารย์ภู่ แห่งวัดสนามจันทร์ โดยมีเจ้าอาวาสวัดบางกรูดวิสุทธาราม เป็นผู้อุปการะโรงเรียนและเป็นผู้จัดการโรงเรียน มีครูใช้และครูช้วนเป็นผู้สอน โรงเรียนมีฐานะเป็นโรงเรียนเชลยศักดิ์ (โรงเรียนราษฎร์) รายได้ของครู เก็บเงินจากนักเรียนคนละ ๕๐ สตางค์ต่อเดือน เอาไปเฉลี่ยเป็นค่าจ้างสอนแก่ครู ใน ๑ เดือน ครูจะมีรายได้คนละไม่ต่ำกว่า ๔-๕ บาท และไม่เกิน ๑๐ บาท แล้วแต่จำนวนนักเรียนที่เข้ามาเรียน จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงได้เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประชาบาล ปัจจุบันเรียกว่าโรงเรียนวัดประศาสน์โสภณ (ท่าพลับสุนทร)
เคยเปิดสอนถึงชั้นประถมหก จนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงลดชั้นเรียนถึงแค่ฃั้น ป.สี่ เพราะมีครูไม่พอ มีครูเพียง สองคนในขณะที่มีนักเรียนเป็นร้อยคน
ความรุ่งเรืองของย่านบางกรูดในอดีตปรากฏอยู่ในข้อมูลในส่วนของตำบลท่าพลับดังนี้
ตำบลท่าพลับ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทางการเกษตร มีโรงหีบอ้อย โรงสีไฟเครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า โรงสีกลาง แห่งหนึ่ง และโรงสีล่าง หรือโรงสีพระยาสมุทรอีกแห่งหนึ่ง ทั้งสองแห่งแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารส่งไปยังกรุงเทพฯ และต่างประเทศ โดยใช้เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่จำนวนมาก
สัญลักษณ์ของโรงสีที่เคยมีปล่องสูงตระหง่านริมฝั่งแม่น้ำเหนือทิวจาก และพรรณไม้ชายเลนอื่น ๆ ทั้งสองฝั่งคงเหลือเพียงฝั่งตำบลบางกรูด ส่วนฝั่งของตำบลท่าพลับ ปล่องโรงสีที่มีขนาดทั้งความสูงและความใหญ่โตที่เป็นร่องรอยประกาศความความเจริญของชุมชน ได้ถูกรื้อทิ้งไปหมดสิ้นแล้ว
ต้นพลับและผลพลับ(ไทย)
ชื่อตำบลท่าพลับ สันนิษฐานว่า ตั้งตามชื่อของต้นพลับซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นตะโก ผลรับประทานได้ บางคนเรียกว่า ต้นมะพลับ ผลดิบ เอายางมาย้อมสวิง แห อวน ได้ ประกอบกับผืนดินของตำบลนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง มีท่าเรือใช้ในการสัญจรไปมามาก จึงเรียกชื่อตำบลว่า “ตำบลท่าพลับ” ชื่อตำบลนี้มีปรากฏในหน้าโฉนดที่ดินของวัดบางกรูด ซึ่งออกให้เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๙
ในครั้งนั้น อำเภอบ้านโพธิ์ มีชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตำบลท่าพลับปัจจุบันมี ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านบางกรูด บ้านตลาดโรงสีล่าง บ้านวัดเกาะชัน และบ้านก้นกรอก
ตำบลบางกรูด
ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอบ้านโพธิ์
บ้านบางกรูด
ซึ่งเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลท่าพลับ ( คือบริเวณที่ตั้งวัดบางกรูดและพื้นที่โดยรอบวัด)
วัดบางกรูด
ซึ่งเดิมมีชื่อว่า วัดบางกรูดวิสุทธาราม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดประศาสน์โสภณ แต่ผู้คนยังคงนอยมเรียกหาวัดนี้ว่าวัดบางกรูดตามนามเดิม
คลองบางกรูด
ซึ่งเป็นคลองที่อ้อมด้านหลังโรงเรียนวัดบางกรูด ฯ ซึ่งเรียกตามนามเดิมของวัดบางกรูด คลองนี้จะผ่านโบสถ์วัดบางกรูดและไหลสู่แม่น้ำบางปะกง เป็นที่สันนิษฐานนามของวัดบางกรูดว่านั้นน่าจะเรียกตามชื่อของคลองบางกรูดนี้เอง ในอดีตเคยเป็นที่หลบภัยพายุของเรือสำเภาที่ผ่านมาบริเวณชุมชนนี้
โรงเรียนวัดบางกรูด
ปัจจุบันเรียกว่าโรงเรียนวัดประศาสน์โสภณ (ท่าพลับสุนทร)
คลองบางกรูด
ตำบลบางกรูด ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพทำสวน เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงไก่ เลี้ยงสุกร และค้าขาย มีวัด ๒ วัด ได้แก่ วัดผาณิตราม และวัดมงคลโสภิต ปัจจุบันมี ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านอู่ตะเภา หมู่บ้านบางชายสอ และหมู่บ้านท่าถั่ว
ตำบลบางกรูด มีหลักฐานว่า สภาพเดิมเป็นป่า มีต้นมะกรูดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ในอดีตอาณาเขตของตำบลครอบคลุมไปถึงหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของวัดบางกรูด(ปัจจุบันอยู่ตำบลท่าพลับ) หมู่บ้านบางเสา(ปัจจุบันอยู่ตำบลบางพระ) การ ตั้งชื่อตำบล สันนิษฐานว่าตั้งตามชื่อต้นไม้ที่มีอยู่มากตามธรรมชาติ
ต้นมะกรูด
ในอดีต ตำบลบางกรูด โดยเฉพาะบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ มีโรงสีเครื่องจักรไอน้ำ โรงเลื่อย แปรรูปไม้ และโรงงานประกอบบ้านทรงไทยขายเป็นหลัง ปัจจุบันได้เลิกกิจการไปหมดแล้ว
ตำบลบางกรูดมีความเกี่ยวข้องกับตำบลท่าพลับเนื่องจากมีชื่อบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นถาวรวัตถุคงใช้ชื่อบางกรูดปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของตำบลท่าพลับเช่น วัดบางกรูด (เดิมมีชื่อว่าวัดบางกรูดวิสุทธาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดประศาสน์โสภณ ) คลองบางกรูด โรงเรียนวัดบางกรูด(ปัจจุบันเรียกว่าโรงเรียนวัดประศาสน์โสภณ (ท่าพลับสุนทร)
การตั้งชุมชนของคนในสมัยโบราณมักเลือกทำเลอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้นก็เกิดเป็นหมู่บ้าน แล้วจึงสร้างวัด หรือ ศาสนสถานเอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากจะคะเนว่าชุมชนใดมีอายุเท่าใด หลักฐานที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ก็คืออายุของวัดนั่นเอง
วัดบางกรูดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๔ ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อนับอายุถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖ ) อายุ ๒๕๒ ปี นับได้ว่า เป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นเป็นวัดที่สองของอำเภอ ส่วนวัดแรกคือ วัดประชาบำรุงกิจ อยู่ที่ตำบลสิบเอ็ดศอก ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๐๐
เนื่องจากความยาวนานของจำนวนปีที่มีการสร้างวัดขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาของการสร้างวัดได้ ดังนั้นชุมชนบางกรูดจึงน่าจะมีมาก่อน ปี พ.ศ. ๒๓๐๔ เมื่อเกิดชุมชนแล้วจึงมีการสร้างวัดขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ กำหนดให้ปักหมายเขตตำบลให้ขัดเจน โดยยึดเอา ลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง หรือสิ่งใดเป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุให้มีการปรับปรุงเขตตำบลขึ้น สำหรับชื่อบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นถาวรวัตถุคงใช้ชื่อเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง หมู่บ้านบ้านบางกรูดซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดบางกรูด รวมทั้งคลองบางกรูด โรงเรียนวัดบางกรูดจึงแยกไปอยู่ตำบลท่าพลับ หมู่บ้านบางเสาไปอยู่ตำบลบางพระ ด้วยเหตุผลเดียวกันวัดสนามจันทร์ และ หมู่ ๑ บ้านสนามจันทร์ เดิมนั้นอยู่ในตำบลสนามจันทร์ แต่ปัจจุบันอยู่ในตำบลบ้านโพธิ์
วัดบางกรูด เดิมมีชื่อว่า วัดบางกรูดวิสุทธาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดประศาสน์โสภณ แต่ผู้คนยังคงนิยมเรียกวัดนี้ว่าวัดบางกรูดตามนามเดิม วัดนี้เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระอุปัชฌาย์แย้มเป็นเจ้าอาวาส พระภิกษุสามเณรในยุคนี้มีไม่น้อยกว่า ๘๐ รูป ในบางปีมีถึง ๑๐๐ รูป .เคยเปิดโรงเรียนสอนนักธรรม มีนักเรียนสอบไล่ได้รวมถึง ๘๐ รูป เป็นนักธรรมตรี ๖๑ รูป นักธรรมโท ๑๔ รูป นักธรรมเอก ๕ รูป
วัดยังมีการเปิดสอนการเรียนธรรมศึกษามีการสอบผ่านธรรมศึกษาตรี ๑๓ คนและธรรมศึกษาโท ๔ คน ความก้าวหน้าในการศึกษาธรรมทำให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม วน นามฉายา ฐิติญาโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๑ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ โปรดที่จะมาพักค้างคืนที่วัดบางกรูดอยู่เนือง ๆ ในการออกเยี่ยมเยือนวัดต่างๆ ในมณฑล(ภายหลังท่านเคยปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช)
วัดบางกรูดอยู่กึ่งกลางระหว่างโค้งคุ้งน้ำ สองโค้งคุ้ง คุ้งน้ำหนึ่งขึ้นไปทางตัวเมือง บริเวณที่ปัจจุบันคือ ซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์โฮเต็ล ฉะเชิงเทรา (ในสมัยแรกก่อสร้าง คือโรงแรม วังธารา ปริ๊นเซส จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาเป็น โรงแรมวังธารา รีสอร์ท และเป็น ซันธารา ฯ ในปัจจุบัน) และอีกคุ้งน้ำที่ลงไปทางปากอ่าว คือบริเวณที่เรียกว่าโรงสีล่าง
กุลบุตรกุลธิดาของชุมชนบางกรูดได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวัดบางกรูด
โรงเรียนวัดบางกรูด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ (ปัจจุบันมีอายุ ๑๐๕ ปี) ก่อตั้งโดยพระอาจารย์ภู่ แห่งวัดสนามจันทร์ โดยมีเจ้าอาวาสวัดบางกรูดวิสุทธาราม เป็นผู้อุปการะโรงเรียนและเป็นผู้จัดการโรงเรียน มีครูใช้และครูช้วนเป็นผู้สอน โรงเรียนมีฐานะเป็นโรงเรียนเชลยศักดิ์ (โรงเรียนราษฎร์) รายได้ของครู เก็บเงินจากนักเรียนคนละ ๕๐ สตางค์ต่อเดือน เอาไปเฉลี่ยเป็นค่าจ้างสอนแก่ครู ใน ๑ เดือน ครูจะมีรายได้คนละไม่ต่ำกว่า ๔-๕ บาท และไม่เกิน ๑๐ บาท แล้วแต่จำนวนนักเรียนที่เข้ามาเรียน จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงได้เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประชาบาล ปัจจุบันเรียกว่าโรงเรียนวัดประศาสน์โสภณ (ท่าพลับสุนทร)
เคยเปิดสอนถึงชั้นประถมหก จนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงลดชั้นเรียนถึงแค่ฃั้น ป.สี่ เพราะมีครูไม่พอ มีครูเพียง สองคนในขณะที่มีนักเรียนเป็นร้อยคน
ความรุ่งเรืองของย่านบางกรูดในอดีตปรากฏอยู่ในข้อมูลในส่วนของตำบลท่าพลับดังนี้
ตำบลท่าพลับ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทางการเกษตร มีโรงหีบอ้อย โรงสีไฟเครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า โรงสีกลาง แห่งหนึ่ง และโรงสีล่าง หรือโรงสีพระยาสมุทรอีกแห่งหนึ่ง ทั้งสองแห่งแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารส่งไปยังกรุงเทพฯ และต่างประเทศ โดยใช้เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่จำนวนมาก
สัญลักษณ์ของโรงสีที่เคยมีปล่องสูงตระหง่านริมฝั่งแม่น้ำเหนือทิวจาก และพรรณไม้ชายเลนอื่น ๆ ทั้งสองฝั่งคงเหลือเพียงฝั่งตำบลบางกรูด ส่วนฝั่งของตำบลท่าพลับ ปล่องโรงสีที่มีขนาดทั้งความสูงและความใหญ่โตที่เป็นร่องรอยประกาศความความเจริญของชุมชน ได้ถูกรื้อทิ้งไปหมดสิ้นแล้ว
ต้นพลับและผลพลับ(ไทย)
ชื่อตำบลท่าพลับ สันนิษฐานว่า ตั้งตามชื่อของต้นพลับซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นตะโก ผลรับประทานได้ บางคนเรียกว่า ต้นมะพลับ ผลดิบ เอายางมาย้อมสวิง แห อวน ได้ ประกอบกับผืนดินของตำบลนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง มีท่าเรือใช้ในการสัญจรไปมามาก จึงเรียกชื่อตำบลว่า “ตำบลท่าพลับ” ชื่อตำบลนี้มีปรากฏในหน้าโฉนดที่ดินของวัดบางกรูด ซึ่งออกให้เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๙
ในครั้งนั้น อำเภอบ้านโพธิ์ มีชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตำบลท่าพลับปัจจุบันมี ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านบางกรูด บ้านตลาดโรงสีล่าง บ้านวัดเกาะชัน และบ้านก้นกรอก
วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
พระรถเมรี...ตำนานตระกูลลาว
ตำนานลาวทั้งล้านช้าง-ล้านนา ยกย่องพระรถ -เมรีเป็นบรรพชน
ต่อมานักปราชญ์ล้านนาได้ยกตำนานพื้นเมืองเรื่องนี้แต่งเป็นชาดกเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ มีรวมอยู่ในปัญญาสชาดก แต่เป็นชาเดกเฉพาะถิ่น เพราะเป็นตำนานพื้นเมืองของชาวลาวทั้งล้านช้าง-ล้านนา เท่านั้น
ตำนานลาวเรียกพระรถว่าพุทธเสน เรียกเมรีว่านางกังรี( กางรี)
นางกังรี เป็นบุตรสาวพระยายักษ์และนางยักษ์ ส่วนพุทธเสนเป็นบุตรของพระยาอินทปัต เจ้าเมืองอินทปัต
ต่อมาพระยายักษ์พ่อนางกังรีตาย นางยักษ์ไปเป็นภรรยาพระยาอินทปัต เมื่อพระยาอินทปัตตาย พุทธเสนก็แต่งงานนางเมรีแล้วปกครองบ้านเมืองสืบต่อ ๆ กันมาเป็นลาว
นานเข้าเรื่องพุทธเสนกับนางกังรีก็ถูกแต่งแต้มเพิ่มเติมขยายความเป็นพระรถเมรี ดังที่รับรู้ทั่วกันในอีกชื่อหนึ่งว่านางสิบสอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.sujitwongthes.com/2012/12/siam17122555
มีบทความเรื่องพระรถ เมรี จากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันพุธที่ 23 กันยายน 2552 มีความว่า
พระรถ เมรี เป็นนิทานบรรพชนของผู้คนสองฝั่งโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์ อยู่ในพงศาวดารล้านช้าง บริเฉทที่ 1 หน้าแรก มีชื่อ นางกางรี คือนางเมรี กับเจ้าพุทธเสน คือ พระรถ หรือรถเสน
มีคำอธิบายของกรมศิลปากรว่าพระเถระชาวเชียงใหม่ยกเรื่องพระรถ เมรี ไปแต่งไว้ในปัญญาสชาดกเรียก รถเสนชาดก “แต่เค้าโครงเรื่องของพระรถ เมรีนี้มีคล้ายคลึงกับนิทานพื้นบ้านชาติต่าง ๆ อาทิ อินเดีย ลังกา ไทยใหญ่ เขมร พม่า ลาว และอาหรับ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงบอกไว้ด้วยว่าพระรถ เมรี น่าจะมีต้นเค้าจากชาติอื่นที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับไทยในอดีต
วรรณคดีเก่าสุดที่อ้างถึงพระรถ เมรี คือนิราศหริภุญไชย (แต่งราว พ.ศ. 2060) ฉบับเชียงใหม่ดังนี้
กังรีนิราศร้าง รถเสน
หวานหว่านในดินเดน ด่านน้ำ
นางยักษ์ผูกพันเวร มรโมด วันนา
อันพี่พลัดน้องช้ำ เร่งร้ายระเหระหน
แต่ในกรุงศรีอยุธยาแต่งเป็นละคร, กาพย์ขับไม้, ฯลฯ จนถึงยุคต้นกรุงเทพฯ มีแต่งเป็นบทร้องมโหรี, นิราศ เรียกพระรถนิราศ, นิทานกลอน, จนถึงมีภาพเขียนแบบตะวันตกด้วย
นิทานเรื่องพระรถ เมรี แพร่หลายในหมู่ลาวสองฝั่งโขง แม้ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยไปอยู่ อ. พนัสนิคม (จ. ชลบุรี) กับ อ. พนมสารคาม, และ อ. ราชสาส์น (จ. ฉะเชิงเทรา) ยังบอกเล่าเรื่องพระรถ เมรี ผูกกับสถานที่ต่างๆที่นั่นด้วยจนทุกวันนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.sujitwongthes.com
ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนท
ชาวลาวเวียง
ชาวลาวเวียง คือ ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ ในช่วงสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ของกองทัพสยาม ตั้งแต่สมัยธนบุรี - ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ฝ่ายไทยยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน
การตีเมืองเวียงจันทน์มีทั้งหมด 3 ครั้งคือ
1. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 (ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี) หลังจากพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงขุ่นข้องหมองใจกับ "เจ้าสิริบุญสาร" ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ เนื่องจากเจ้าสิริบุญสารช่วยเหลือพม่าในการตีกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งเจ้าสิริบุญสารได้ผิดใจกับคนลาวด้วยกันคือ พระวอและพระตา ที่อยู่ในความคุ้มครองของธนบุรี
หลังจากที่ตีและเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้แล้วก็จึงกวาดต้อนครอบครัวเชลยศึกชาวเมืองเวียงจันทน์หลายหมื่นครัวเรือน ประมาณ 100,000 คน ข้ามแม่น้ำโขง มาอยู่ในเขตจังหวัดสระบุรี จันทบุรี และบางยี่ขัน ในบรรดาชาวเมืองเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนมาก็มีโอรสของเจ้าสิริบุญสารรวมอยู่ด้วย 3 พระองค์ คือ เจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์
2. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้ง 2 ปี พ.ศ. 2335 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ) เจ้านันทเสนผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ได้ยกทัพไปตีเมืองพวนและเมืองแดง พร้อมกวาดต้อนครอบครัวลาวพวนและลาวทรงดำ มาถวายเพื่อแลกเปลี่ยนกับครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อยู่ในไทย แต่รัชกาลที่ 1 ทรงไม่ประทานให้และทรงปลดเจ้านันทเสนออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พร้อมกับทรงยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์กวาดต้อนครอบครัวชาวเวียงจันทน์เข้ามาในหัวเมืองชั้นในอีก
3. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3) เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงเทพ ได้ยกกองทัพเมืองเวียงจันทน์และกองทัพเมืองจำปาศักดิ์เข้ามายึดเมืองโคราช(นครราชสีมา) พร้อมกับยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ในสระบุรีกลับคืนไปยังเวียงจันทน์ รัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้ยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ แล้วกองทัพสยามก็ได้กวาดต้อนครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง การกวาดต้อนชาวลาวเวียงครั้งนี้เป็นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ชาวลาวเวียงถูกกวาดต้อนมา ซึ่งอาจมีครอบครัวเชลยศึกชาวลาวเวียงหลายแสนคนถูกกวาดต้อนมา และถูกจับแยกกันให้ไปอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของไทย เพื่อง่ายแก่การปกครองและเพื่อไม่ให้ชาวลาวเวียงรวมกลุ่มกันได้
กองทัพสยามได้นำพาครอบครัวเชลยลาวเวียง ชาวเมืองเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงและแบ่งแยกให้ไปอาศัยอยู่ตามที่สถานที่ต่างๆ ดังนี้
(1) จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดสุรินทร์(หัวเมืองเขมรป่าดง) การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ ต.ห้วยจันทน์ อ.ขุนหาญ ต.หมากเขียบ อ.เมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ส่วนในจังหวัดสุรินทร์มีชาวลาวเวียงในเขตเมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ
(2) จังหวัดสระบุรี ซึ่งน่าจะมีชาวลาวเวียงจันทน์เยอะที่สุด เพราะถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งแต่สงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งแรกในสมัยธนบุรี ชาวลาวเวียง คือชาวลาวจากเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีอยู่มากที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ ลาวแง้ว คือชาวลาวที่มาจากชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ ปัจจุบันอยู่ที่บ้านตาลเสี้ยน บ้านหนองระกำ อำเภอพระพุทธบาท และบางหมู่บ้านในอำเภอหนองโดน
(3) จังหวัดลพบุรี มีชุมชนชาวลาวเวียงในลพบุรี แต่ถูกเรียกว่า "ลาวแง้ว" เพราะชาวลาวแง้วมาจากเขตชานเมืองเวียงจันทน์
(4) จังหวัดราชบุรี ไทยลาวตี้ หรือไทยลาวเวียง เป็นคนเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทน์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเมืองราชบุรี(จริงๆแล้วถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึก) ตั้งแต่สมัยธนบุรีตลอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่เขาแร้ง อำเภอเมือง ฯ บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านดอนทราย บ้านหนองรี บ้านบางลาน อำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย อำเภอบ้านโป่ง บ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ อำเภอจอมบึง
(5) จังหวัดในแถบภาคตะวันออกมีชุมชนชาวลาวเวียงกระจายกันอยู่ทั่วไป เช่น นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา อ. พนัสนิคม จ.ชลบุรี
(6) จังหวัดอ่างทองและอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ก็มีชุมชนลาวเวียงเช่นกัน
(7) จังหวัดเพชรบุรี มีชุนชนลาวเวียงบ้านสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
(8) จังหวัดสุพรรณบุรี มีชุมชนลาวเวียงในเขต อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
(9) บางกอก หรือ กรุงเทพมหานคร ชาวลาวเวียงที่ได้ถูกนำเข้าไปอยู่ในเขตพระนคร ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนางที่มีการศึกษาหรือไม่ก็เชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์ทั้งหลาย ในสมัยรัชกาลที่4 ชาวบางกอกนิยม "แอ่วลาว" หรือ "เล่นแคน" กันมากจนต้องสั่งห้ามไม่ให้ชาวบางกอกเล่นแคนในเขตพระนคร ชาวลาวเวียงในเขตพระนครก็ได้เข้ารับราชการและเป็นใหญ่เป็นโตมากมาย เช่น พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
นอกจากมีชาวลาวที่เข้ามาอยู่เมืองไทยโดยการกวาดต้อนแล้ว ก็ยังมีชาวลาวที่สมัครใจอพยพมาอยู่เมืองไทยอีกส่วนหนึ่งด้วยคือ
ในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอินทอาษา ชาวเมืองเวียงจันทน์ ได้พาชาวเมืองเวียงจันทน์ที่ไม่เข้าด้วยเจ้าอนุวงศ์มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทรงโปรดเกล้าฯให้ชาวลาวไปตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างเมืองชลบุรีและฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่า"บ้านแดนป่าพระรถ" ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้พระราชทานนามว่า "พนัสนิคม" และให้พระอินทอาษาเป็นผู้สำเร็จราชการ คนพนัสนิคมปัจจุบันจึงเป็นเชื้อสายของคนลาวที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ครั้งนั้น
คนลาวชอบเล่านิทานพระรถเมรี
นิทานเรื่องพระรถ-เมรี เป็นเรื่องราวที่มาจากปัญญาสชาดกที่คนลาวในภาคอีสาน เขมร และทางเหนือของไทยชอบเล่ากัน เมื่อคนลาวมาอยู่ที่พนัสนิคมแล้ว เรื่องพระรถจึงตามมาด้วย ชื่อสถานที่ต่าง ๆ ใน อ.พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และที่ อำเภอราฃสาสน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงมักตั้งตามชื่อเรียกในนิทาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dooasia.com/chonburi/059k014.shtml
ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนท
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556
นิทานเรื่องพระรถเมรีหรือนางสิบสอง
นิทานเรื่องพระรถเมรีนี้ เป็นนิทานพื้นบ้าน บางครั้งเรียกว่าเป็นนิทานเรื่องนางสิบสอง
มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า “นนทเศรษฐี” มีบ้านเรือนใหญ่โตและทรัพย์สมบัติมากมายแต่ไม่มีบุตรธิดาไว้สืบสกุล วันหนึ่งจึงเข้าไปในป่าเพื่อทำบุญและขอพรจากพระฤาษี หลังจากนั้นไม่นานภรรยาของนนทเศรษฐีก็ตั้งครรภ์และคลอดลูกสาวจำนวน สิบสองคน คนโดยสุดท้องชื่อเภา
หลังจากคลอดลูกสาวทั้งสิบสองคนแล้ว ฐานะเศรษฐีและภรรยาก็เปลี่ยนไป จากที่เคยร่ำรวยก็กลับกลายเป็นยากจน นนทเสรษฐิพาครอบครัวไปอยู่ที่กระท่อมในทุ่งนาและก็ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการทำนา
ต่อมา นนทเศรษฐีและภรรยาสก็นำลูกสาวทั้งสิบสองคนไปปล่อยในป่าสองครั้ง ในครั้งแรกนางสิบสองกลับมาบ้านได้ ในครั้งที่สองนางสิบสองหลงทางและเดินพลัดหลงเข้าไปในเขตของ “นางยักษ์สันทมาร”หรือ “สันธมาลา” เมื่อนางยักษ์สันทมารได้เห็นก็นึกเอ็นดูจึงแปลงกายเป็นหญิงสาวงามใจดี เอ่ยปากชักชวนให้ไปอยู่ด้วยเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งนางยักษ์สั่งให้บริวารยักษ์ทั้งหลายแปลงเป็นมนุษย์อย่าให้นางสิบสองคนตกใจกลัวและไม่ให้เห็นการกินสัตว์และมนุษย์ของบรรดาพวกยักษ์
วันหนึ่งพี่สาวคนโตได้เห็นนางยักษ์สันทมารกำลังกินเนื้อมนุษย์อยู่โดยบังเอิญและยังได้เห็นมนุษย์ถูกจับมาขังไว้เป็นจำนวนมาก จึงรู้ว่าผู้ที่อุปถัมภ์เลี้ยงดูพวกตนนั้นเป็นยักษ์ในร่างแปลงของมนุษย์ นางสิบสองกลัวว่าอาจจะถูกยักษ์จับกินในวันข้างหน้าจึงชวนกันหนีออกจากเมืองยักษ์
นางยักษ์ติดตามค้นหาพี่น้องทั้งสิบสองคนไม่พบ เพราะมีพระฤาษีกำลังเข้าฌานอยู่ได้เห็นเหตุการณ์จึงดลใจให้นางยักษ์ไปค้นหาทางอื่นและยกเลิกการค้นหาไปในที่สุด พระฤาษีบอกนางสิบสองว่าเหตุที่พวกนางต้องเผชิญกับความทุกข์ยากเช่นนี้ ก็เพราะว่าเมื่อชาติที่แล้วพวกนางได้นำลูกสุนัขไปปล่อยทิ้งไว้ในป่า ดังนั้นบาปจึงตามพวกเขามาในชาตินี้และชาติหน้าอีกจนกว่าจะครบ ๕๐๐ ชาติจึงจะหมดกรรม
นางทั้งสิบสองอำลาพระฤาษีออกเดินทางจนไปถุึง “เมืองกุตารนคร” ซึ่งปกครองโดย “พระเจ้ารณสิทธิราช”หรือ “พระเจ้ารถสิทธิ์” และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้ารถสิทธิ์ทั้งสิบสองคน
ขอขอบคุณภาพจากwww.thaigoodview.com
ในขณะเดียวกันนางยักษ์สันทมารก็ได้ธิดาบุญธรรมชื่อว่า “เมรี” ผู้ซึ่งเป็นธิดาของเพื่อนสามีของนางที่ตายไปแล้วมีนามว่า “ท้าวปทุมราช” ซึ่งก็เป็นเจ้าเมืองอสูรอีกเมืองหนึ่ง ท้าวปทุมราชมีธิดาแฝดสองคน ชื่อว่า “เมรี”และ “ศรีทัศนา” โดยมีมารดาผู้เป็นมนุษย์มีนามว่า “พระนางศรีสมุทร” โหรหลวงของท้าวปทุมราชทำนายว่า ถ้าให้ธิดาทั้งสองคนอยู่ร่วมกันแล้วจะเกิดความหายนะกับทุกชีวิตในเมือง ท้าวปทุมราชจึงมอบบุตรสาวของตนคนหนึ่งให้นางยักษ์สันทมารเลี้ยงดูนับแต่บัดนั้นมา
ต่อมานางยักษ์สันทมารได้ข่าวว่านางสิบสองยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นมเหสีของพระเจ้ารถสิทธิ์ ก็เกิดความอิจฉาริษยาและเคียดแค้นมาก นางจึงตามนางสิบสองมายังเมืองกุตารนคร นางสันทมารแปลงร่างเป็นหญิงสาวมีหน้าตาสวยงามกว่านางสิบสองและได้เป็นพระมเหสีองค์ใหม่ และเป็นมเหสีที่โปรดปรานของพระเจ้ารถสิทธิ์ โดยนางยักษ์ใช้มนต์สะกดให้พระเจ้ารถสิทธิ์หลงรักนางจนกระทั่งอยู่ภายใต้อำนาจของนางจนหมดสิ้น
นางยักษ์สันทมารแกล้งป่วยและต้องการนัยน์ตาของหญิงสิบสองคนที่มีพ่อแม่คนเดียวกัน นั่นก็คือนางทั้งสิบสองนั่นเองเพื่อนำมาทำยา พระเจ้ารถสิทธิ์จึงให้ทหารควักดวงตาของนางสิบสองออกมา แต่นางเภาคนสุดท้องโชคดีกว่าพี่สาวคนอื่น ๆ เพราะทรงอนุญาตให้นางเหลือดวงตาไว้ข้างหนึ่ง หลังจากควักดวงตาของนางทั้งสิบสองออกแล้ว พระเจ้ารถสิทธิ์ก็ให้นำอดีตพระมเหสีคือนางสิบสองไปขังไว้ในอุโมงค์มืด นางสิบสองต้องประสบความทุกข์ทรมานอย่างมาก
นางยักษ์สันทมารได้ส่งดวงตาทั้งหมดไปให้ธิดาบุญธรรม(เมรี)ของนางเก็บไว้ที่เมืองยักษ์
ในเวลาต่อมานางสิบสองก็ตั้งครรภ์ โดยเภาน้องคนสุดท้องคั้งครรภ์ทีหลังสุด พระอินทร์ทราบว่านางสิบสองได้รับความทุกข์ทรมานมาก และไม่มีใครดูแลจึงอัญเชิญโพธิสัตว์เทพบุตรให้ไปปฏิสนธิในครรภ์ของน้องคนสุดท้อง สวนนางยักษ์แปลงก็สั่งทหารของตนเฝ้าอุโมงค์ไว้ เพื่อไม่ให้ใครแอบช่วยเหลือนางทั้งสิบสองคนได้ หากใครฝ่าฝืนก็จะโดนลงโทษถึงประหาร
กล่าวกันว่าสาเหตุที่นางสิบสองต้องได้รับความทุกข์เช่นนี้ ก็เพราะเมื่อชาติที่แล้วในขณะเล่นอยู่ริมแม่น้ำ พวกนางจับปลามาสิบสองตัว แล้วใช้เหล็กแหลมทิ่มนัยน์ตาทั้งสองข้างของปลาเหล่านั้นแล้วก็ปล่อยลงในแม่น้ำ แต่น้องคนสุดท้องนั้นทิ่มแทงเพียงตาข้างเดียวของปลาที่ตนจับ ดังนั้นนางจึงถูกควักดวงตาเพียงข้างเดียว
ต่อมาพี่น้องทั้งสิบเอ็ดคนก็คลอดลูกออกมา ด้วยความหิวโหยเพราะอดอยากทำให้นางสิบเอ็ดต้องกินลูกของพวกตนโดยฉีกเนื้อทารกกแบ่งกันกินแต่ละคน ๆ ที่ทะยอยคลอดออกมา แต่นางเภาไม่ยอมกินเนื้อทารกที่ได้รับแบ่งมา ทุกครั้งที่นางได้ส่วนแบ่งนางก็จะนำไปซ่อนไว้ ดังนั้นเมื่อถึงคราวที่นางคลอดลูกบ้างนางเภาจึงนำเนื้อทารกที่ซ่อนไว้มาแบ่งให้พวกพี่ ๆ แทน เภาตั้งชื่อลูกให้คล้ายกับพระบิดาว่า “รถเสน” พวกทหารที่เฝ้าอุโมงค์รู้เรื่องการถือกำเนิดของรถเสน แต่ก็ไม่มีใครรายงานให้นางยักษ์ทราบ พวกเทหารรักและเมตตากุมารน้อยนี้ แถมยังช่วยเลี้ยงดูอีกด้วย และเมื่อใครถามก็ตอบว่าเป็นลูกของทหารที่เฝ้ายามนั่นเอง รถเสนจึงปลอดภัยและมีเพื่อนเล่นนอกอุโมงค์และสามารถเข้าออกเพื่อดูแลและรับใช้นางสิบสองได้ รถเสนเป็นเด็กดีมีความกตัญญู ดูแล ทำงาน และหาอาหารตลอดจนหาผลไม้ มาให้แม่และป้าอยู่เสมอ
เมื่อรถเสนโตขึ้นก็ถามมารดาถึงสาเหตุที่ต้องมาอยู่ในอุโมงค์นี้ นางเภาจึงเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้รถเสนฟัง รถเสนรู้สึกเสียใจมากที่เห็นนางสิบสองต้องทนทุกข์ทรมานเช่นนี้
พระอินทร์ได้เสด็จลงมาสอนการเล่นการพนันให้กับรถเสน และให้ไก่ชนวิเศษพร้อมทั้งเครื่องแต่งกายแก่รถเสนไว้ ซึ่งรถเสนเองก็เลี้ยงไก่ชนและมีไก่่เป็นเพื่อนเล่น รถเสนขออนุญาตมารดาเพื่อออกจากอุโมงค์เพราะโตแล้ว รถเสนเล่นพนันชนไก่มีชัยชนะได้รางวัลมาซื้ออาหารให้นางสิบสอง รถเสนออกไปเล่นพนันทุกวัน และก็มีชัยชนะทุกครั้งไป นางสิบสองได้กินอิ่มไม่อดอยากอีกต่อไป การพนันชนไก่มีชัยชนะทุกครั้งของรถเสนแพร่ไปถึงพระเจ้ารณสิทธิราชจึงโปรดให้รถเสนเข้าเฝ้า เพื่อเล่นสกาแข่งกับพระองค์พระเจ้ารถสิทธิ์ทรงแพ้รถเสนถึงสองครั้ง รถเสนขอเพียงข้าวสิบสองห่อมาให้นางสิบสอง รถเสนไม่ได้แสดงตัวว่าเป็นใครตามที่แม่สั่งไว้เพื่อไม่ให้ยักษ์แปลงรู้
ต่อมา “ท้าววัตตา”ซึ่งเป็น “เจ้าเมืองจินดา” ได้มาท้าพระเจ้ารณสิทธิราชพนันชนไก่เอาบ้านเอาเมืองกันเป็นเดิมพัน พระเจ้ารถสิทธิ์ทรงวิตกกังวลมาก เนื่องจากไก่ชนของท้าววัตตาเมืองจินดานั้นเก่งมากไม่เคยแพ้ไก่ของผู้ใด พระเจ้ารถสิทธิ์จึงปรึกษาขุนนาง ซึ่งทุกคนลงความเห็นว่าให้รถเสนนำไก่มาสู้พนัน พระเจ้ารถสิทธิ์ก็เห็นดีด้วย จึงได้ให้ทหารนำตัวรถเสนมาเข้าเฝ้าพระเจ้ารถสิทธิ์รับปากว่าหากไก่ของรถเสนชนะอยากจะได้อะไรก็จะให้ รถเสนก็รับอาสา และให้สัตย์ไว้ว่าหากไก่ของตัวเองแพ้ก็ยอมให้ประหารชีวิต ซึ่งผลการแข่งขันนั้นไก่ของรถเสนชนะไก่ของท้าววัตตา เมืองจินดาของท้าววัตตาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกุตารนครของพระเจ้ารถสิทธิ์นับตั้งแต่บัดนั้น
ส่วนรถเสนเมื่อชนะพนันชนไก่ ก็ขอเพียงแต่อาหารอร่อย ๆจากในวังให้มารดากับป้าเพียงสิบสองห่อเท่านั้น พระเจ้ารณสิทธิและชาวกุตารนครเมื่อได้ฟังดังนั้น ต่างก็ตกตะลึงและแปลกใจเป็นอันมาก พระเจ้ารถสิทธิ์จึงสอบถาม รถเสนจึงจำต้องกราบทูลความจริงว่ารถเสนก็คือพระโอรสของพระเจ้ารถสิทธิ์ที่เกิดกับนางเภาน้องสาวคนเล็กของนางทั้งสิบสองอดีตมเหสีของพระเจ้ารถสิทธิ์นั่นเอง
พระเจ้ารถสิทธิ์ดีพระทัยและรักรถเสนมาก ประกาศรับรถเสนเป็นพระราชโอรสทรงเลี้ยงดูอย่างดี แต่นางสิบสองยังต้องโทษอยู่ในอุโมงค์มืดอยู่ เพราะพระเจ้ารถสิทธิ์ยังถูกมนต์สะกดให้เชื่อฟังและหลงใหลนางยักษ์แปลงอยู่
นางยักษ์สันทมาร แกล้งทำเป็นป่วยหนักและต้องการผลไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีรสเปรี้ยว เรียกว่า “มะงั่วหาวและมะนาวโห่” เพื่อใช้ทำยา ซึ่งผลไม้นี้มีอยู่แต่เฉพาะในเมืองของนางเท่านั้น เจ้าชายรถเสนอาสาไปนำผลไม้ดังกล่าวมาให้ เจ้าชายรถเสนขอให้ส่งอาหารไปให้นางสิบสองทุก ๆ วันอย่าได้ขาดตกบกพร่อง ซึ่งพระเจ้านถสิทธิ์ทรงรับจัดการให้และทรงอนุญาตให้รถเสนใช้ม้าของพระองค์ชื่อ “ม้าพาชี” ซึ่งสามารถบินไปในอากาศได้เหมือนนก นางยักษ์สันทมารได้ฝากจดหมายของตนไปให้บุตรสาวของนางด้วย
ระหว่างทาง รถเสนหยุดพักที่ศาลาของพระะฤาษีในป่า และนอนหลับพักผ่อนเอาแรงเพื่อเดินทางต่อ พระฤาษีรู้สึกร้อนรนทำสมาธิก้ไม่สงบ จนพบว่ามีจดหมายแขวนอยู่ที่คอม้าเมื่อเปิดจดหมายอ่านก็พบข้อความว่า “ถึงกลางวันให้กินกลางวัน ถึงกลางคืนให้กินกลางคืน”เนื่องจากจ้าชายรถเสน และพระธิดาเมรี เป็นคู่บุญบารมีและมีบุพเพสันนิวาสต่อกัน พระฤาษีจึงเปลี่ยนข้อความใหม่เป็น "ถึงกลางคืนให้รับกลางคืน ถึงกลางวันให้รับกลางวัน ผัวแก้วผัวขวัญของเมรี" รถเสนตื่นขึ้นมา ก็กราบลาพระฤาษีออกเดินทางต่อ
เมื่อมาถึงเมืองของนางสันทมาร รถเสนจึงได้อภิเษกสมรสกับนางเมรีมีความสุข รถเสนแอบเด็ดผลไม้ที่นางสันทมารต้องการและมอมสุรานางเมรี เมื่อเมาสุราเมรีก็บอกที่ซ่อนดวงตาและยารักษาตาแก่่รถเสน บอกเรื่องยาวิเศษอื่น ๆ ซึ่งแต่ละห่อก่อให้เกิดภูเขา ป่าไม้ ลม ไฟ ฝน เมฆ และมหาสมุทรน้ำกรด กับห่อยารักษาดวงตารวมแล้วมีทั้งหมดแปดห่อด้วยกัน
หลังจากที่เมรีหลับสนิทแล้ว รถเสนก็เก็บดวงตาและยาทั้งหมดแอบหนีออกจากเมืองโดยขี่ม้าพาชีหนีไป เมื่อเมรีตื่นขึ้นมาไม่พบรถเสนเมรีก็รีบตามไป เมรีเข้าไปไม่ถึงตัวรถเสนเพราะรถเสนโรยผงยาซึ่งก่อให้เกิดป่า และต้นไม้ใหญ่ขวางทางไว้ แต่ด้วยความมั่นคงต่อความรักในรถเสนอย่างบริสุทธิ์ใจและแรงกล้า เมรีก็สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงที่อุบัติขึ้นโดยยาวิเศษเหล่านั้นได้ ทั้งหมดจนรถเสนใช้ยาห่อสุดท้ายซึ่งก่อให้เกิดมหาสมุทรน้ำกรดขวางหน้า เมรีไม่สามารถติดตามรถเสนได้อีก
เมรีร้องไห้อยู่ตรงนั้นและตั้งจิตอธิษฐานขอให้เกิดเป็นชายาของรถเสนอีก แล้วเมรีก็หัวใจแตกสลายสิ้นชีวิต ณ ตรงนั้นเอง โดยที่รถเสนไม่มีโอกาสรู้
รถเสนตั้งใจว่าเมื่อช่วยนางสิบสองและมอบผลไม้แก่นางยักษ์แล้ว จะกลับมาอยู่กับเมรีอีกแต่ไม่ได้บอกความในใจนี้ให้เมรีรู้ เมื่อกลับมาถึงเมืองกุตารนครแล้วรถเสนก็รีบตรงไปหานางสิบสองใส่ดวงตาและยารักษาให้นางสิบสองมองเห็นสิ่งต่างๆได้เหมือนเดิมแล้วก็เข้าวัง
เมื่อนางสันทมารเห็นรถเสนกลับมาอย่างปลอดภัย ได้รู้ว่ารถเสนแต่งงานกับเมรี ได้นำดวงตามารักษานางสิบสองจนหายดีเป็นปกติ ก็โกรธมากจึงคืนร่างเป็นยักษ์หมายที่จะฆ่ารถเสน แต่รถเสนมีกล่องดวงใจของนางยักษ์อยู่ในมือ เมื่อจะถูกทำร้ายก็ขยี้ดวงใจของนางยักษ์ทำให้นางยักษ์สิ้นชีพ
พระเจ้ารถสิทธิ์จึงพ้นจากเวทย์มนต์ของนางสันทมาร ให้ปล่อยนางสิบสองและรับมาเป็นมเหสีเหมือนเดิม ตั้งใจยกราชสมบัติให้รถเสน แต่รถเสนปฏิเสธและขออนุญาตกลับไปหาเมรี จึงรู้ว่าเมรีหัวใจสลายสิ้นชีวิตตรงจุดที่รถเสนข้ามมหาสมุทรน้ำกรดนั่นเอง รถเสนนั้นรักและซาบซึ้งในความรักของเมรี ได้ตั้งจิตอธิษฐานให้ได้เกิดเป็นคู่ครองกับเมรีอีกในชาติต่อ ๆไปและตรอมใจตายตรงจุดที่เมรีสิ้นใจเช่นเดียวกัน
ซึ่งเมรีนั้นเมื่อก่อนตายนั้น เมรีได้ตัั้งคำอธิษฐานไว้ว่า
...ชาตินี้มีกรรมน้องตามมา ชาติหน้าพี่ยาตามน้องไป
ชาตินี้น้องตามพี่มา ชาติหน้าให้พี่ยาตามน้องไป…
ชาติต่อมาเมรีไปเกิดเป็น “มโนราห์” เจ้าชายรถเสนไปเกิดเป็น “พระสุธน” และเกิดตำนานหรือนิทานอีกเรื่องหนึ่งชื่อว่า "พระสุธน-มโนราห์"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.sujipuli.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539241850
“นิทาน” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 อธิบายความหมายไว้ว่า “นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีท่านผู้รู้อธิบายความหมายไว้คล้าย ๆ กัน เช่น
กิ่งแก้ว อัตถากร (2519, หน้า 12) อธิบายว่า นิทาน หมายถึง เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ แต่ก็มีอยู่ส่วนมากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ และนอกจากนี้ยังอธิบายว่านิทานเป็นเรื่องเล่าทั่วไป มิได้จงใจแสดงประวัติความเป็นมา จุดใหญ่เล่าเพื่อความสนุกสนาน บางครั้งก็จะแทรกคติเพื่อสอนใจไปด้วย นิทานมิใช่เรื่องเฉพาะเด็ก นิทานสำหรับผู้ใหญ่ก็มีจำนวนมาก และเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
สุมามาลย์ พงษ์ไพบูลย์ (2542, หน้า 7) กล่าวว่า นิทานเป็นคำศัพท์ภาษาบาลี หมายถึง คำเล่าเรื่อง ไม่ว่าเป็นเรื่องประเภทใด แต่อยู่ที่ลักษณะการเล่าที่เป็นกันเอง แม้จะเป็นข้อเขียนก็มีลักษณะคล้ายกับการเล่าที่เป็นวาจา โดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาปากในการเล่า กล่าวโดยสรุป นิทาน คือ เรื่องเล่าที่มนุษย์ผูกเรื่องขึ้นด้วยภูมิปัญญา โดยส่วนใหญ่จะถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ เนื้อเรื่องมีหลากหลายและใช้เล่าเพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน ตามโอกาสและสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น คำที่ใช้เรียกนิทานมีต่างๆกันไป เช่น นิทานชาวบ้าน นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง วรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นต้น ในที่นี้จะใช้ว่านิทานพื้นบ้าน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.baanmaha.com
ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)