วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๒๖



ธรรมราชิกสถูป





ฐานสถูปทรงกลมอยู่ไม่ห่างจากมูลคันธกุฎีเดิม กล่าวกันว่าเป็นที่ีที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในฤดูฝนแรก และเสาศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงประดิษฐานไว้ ถ้าเดินเข้าไปทางประตูใหญ่ ตามถนนที่ปูลาดด้วยหินลูกรังไว้ ก็จะเห็นอิฐก่อตั้งในลักษณะทรงกลม มีลานพอนั่งได้ ๓๐ คน ณ ที่นี้พระพุทธองค์ทรงเทศน์โปรดพระปัญจวัคคีย์ ๔ องค์ ที่เหลือจากการฟังพระธรรมจีกร คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ด้วยทุติยเทศนา คือ อนัตตลักขณสูตร ในความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ตามกฏแห่งสามัญญลักษณะ

ธรรมราชิกสถูป เป็นสถูปรุ่นแรกที่สร้างด้วยอืฐ ภายหลังใช้ศิลาหุ้มเป็นแบบสถูปสาญจี ที่สถาปนาโดยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อ พ. ศ. ๒๙๕ และมีสถูปใหญ่อีกองค์หนึ่งชื่อ ธรรมราชิกะ ที่สารนาถ ขนาดย่อมลงกว่าสถูปสาญจีเล็กน้อยเท่านั้น

เดิมทีนั้นมีลักษณะที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลปฺ ออกแบบให้คู่ควรต่อการรองรับพระบรมสารีริกธาตุ เพราะสถูปนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมาก่อน
ตามประวัติกล่าวว่า ใน พ.ศ. ๑๗๐๐ ปี (ค.ศ. ๑๑๕๗) เมื่อกองทัพมุสลิมเข้าสู่อินเดียรุกผ่านแม่น้ำคงคาและเมืองพาราณสี ได้เข้าทำลายวัตถุที่เคารพของศาสนาพราหมณ์เสียเป็นอันมาก แล้วข้ามเลยไปถึงอุทยานมฤคทายวัน ทำลายที่บูชาของพระพุทธศาสนาไปด้วย




สารนาถ ได้รับการขุดค้นหลายสมัย ใน พ ศ. ๒๓๗๗ (ค.ศ. ๑๘๓๔ ) เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ทำการขุดค้น รัฐบาลอังกฤษได้นำซากอิฐและดินไปสร้างตึก สะพานข้ามแม่น้ำ สถานีรถไฟ เหมือนผีซ้ำด้ามพลอย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๓๗ (ค.ศ. ๑๗๙๔ ) ราชาเชตสิงห์ (Chait Singh ) แห่งเมืองพาราณสี สั่งให้ชคัตสิงห์ผู้เป็นอำมาตย์ ไปรื้อถอนขนเอาอิฐจากอาคารวิหารไปสร้างตึกในตลาดเมืองพาราณสี เด๊่ยวนี้เรียกว่า ชคัตคุนซ์ ได้ทำลายสถูปใหญ่ที่ก่ออิฐสถูปหนึ่งที่สารนาถ ฐานผ่าศูนย์กลางยาวถึง ๑๑๐ ฟุต ให้พังทลายลง ชคัตสิงห์ได้พบผอบศิลาแดง บรรจุผอบหินอ่อนข้างใน ในผอบหินอ่อนนั้นพบกระดูกมนุษย์กับไข่มุกทอง ฯลฯ และอักษรจารึก จึงทำให้เชื่อว่าคือบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงนำไปลอยทิ้งเสียที่แม่น้ำคงคา ตามความเชื่อที่เป็นมิจฉาทิฏฐินั้นเอง ข่าวก็กระพือไปทั่ว ชาวบ้านก็ชอบไปที่ป่าสารนาถ เพื่อขุดค้นโบราณสถาน รัฐบาลจึงตั้งให้พีนเอกแมคแคนซี่ ดูแลการขุดค้น พ.ศ.๒๓๕๘ (ค.ศ.๑๘๑๕ ) จนกระทั้งถึง เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม พ. ศ. ๒๔๖๕ ( ค.ศ. ๑๙๒๒ ) จึงสำเร็จเรียบร้อยเป็นรูปเป็นร่าง

มูลคันธกุฎี





มูลคันธกุฎี

มูลคันธกุฎี เช่ื่อกันว่าเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาแรก และพรรษา ที่ ๑๒ ลักษณะเป็นอาคารปลูกสร้างแบบอินเดียโบราณ มีรูปร่างทางสถาปัตยกรรมให้เห็นเป็นที่สะดุดตา ตามลักษณะเป็นศิลาทรายสลับด้วยอิฐก่อปูน บางแห่งสลักเสลาลวดลาย ด้านตะวันออก คือที่ตั้งของเสาหิน ด้านทิศใต้มีเจดีย์หินทราย บรรจุสิ่งของสำคัญ ด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นห้องโถง เคยมีพระท่านมาลงปาฏิโมกข์กันที่นี่ด้วย



ในที่ใกล้ๆ ยังปรากฏให้เห็นเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช สูง ๕๐ ฟุต แม้จะหักออกเป็น ๔ ท่อน ก็ยังเก็บไว้เป็นอย่างดี บนเสาหินมีสิงห์อโศกที่แผ่สีหนาทไปทั่ว ๔ ทิศ ขณะนี้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์



พระพุทธองค์นอกจากจะทรงแสดงธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรที่นี้แล้ว ยังได้ตรัสพระสูตรอื่น ๆ ในต่างวาระอีกหลายพระสูตร เช่น ปัญจสูตร รถกาลสูตร ปาลสูตร ๒ สูตร สมัยสูตร กฏวิยสูตร อันเป็นพระสูตรว่าด้วย เมตเตยยปัญหา และธรรมทินนาสูตร ที่ทรงแสดงโปรดมหาอุบาสิกาธรรมทินนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น