วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๒๗



บริเวณมฤคทายวัน

หมู่เจดีย์ แสดงถึงยุคทองของพุทธศาสนาในอดีต ปัจจุบันเหลือแต่เพียงซากสังฆาราม เจดีย์ วิหาร สถูป ธรรมศาลา ปฏิมากรรม และสถาปัตยกรรม ซึ่งเคบรุ่งเรืองในอดีตไว้ให้อนุชนได้ค้นคว้าสืบหาต่อไป



อนุสาวรีย์ธรรมปาละ
อนุสาวรีย์ธรรมปาละ เป็นอาณาบริเวณที่สร้างขึ้นในยุคหลัง แต่ก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย วิหารที่บรรจงสร้างอย่างงดงามและเจเีย์สูงเด่นเป็นพุทธวิหารเรียกชื่อว่ามูลคันธกุฎีวืหาร อนาคาริกธรรมปาละ รวบรวมศรัทธาชาวพุทธสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ( ค.ศ. ๑๙๓๑ ) ใต้ฐานพระพุทธรูปปางสารนาถ มีพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียมอบให้และเก็บรักษาไว้ที่นี่ จะได้นำออกมาให้ประชาชนนมัสการเป็นประจำทุกปี ฝาผนังรอบในเป็นภาพเขียนที่นำแบบมาจากจิตรกรรมอันดับหนึ่งของโลก คือ ถ้ำ อชันตา เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติสวยงามมาก ศิลปินชาวญีปุ่นชื่อ โกเสต สุโนสุ บรรจงวาดอย่างสุดฝีใือ ผู้ออกเงินต่าเขียนเป็นชาวพุทธอังกฤษ ชื้อ บีแอล

นอกจากนี้ท่านอนาคาริกธรรมปาละได้นำหน่อจากศรีลังกาเมืองอนุราธปุระ มาปลูกไว้ที่สารนาถ เมื่อ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งเป็นหน่อจากต้นโพธิ์ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตอนกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์มอบให้พระนางสังฆมิตตา (พระธิดา) นำไปปลูกที่เมืองอนุราธปุระศรีลังกา และกลายเป็นสิ่งที่ชาวศรีลังกาเคารพสักการะมากที่สุดในประเทศ



พิพิธภัณฑ์สารนาถ



พิพิธภัณฑ์สารนาถ





สถานที่แห่งนี้ มีลักษณะป็นอาคารหินทรายตั้งอยู่ด้านหน้าวสถูปไม่ไกลจากวัดไทยมฤคทายวัน เป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้ในบริเวณสารนาถ มีพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เครื่องใช่สอยในยุคนั้น โดยเฉพาะปฏิมากรรมที่งดงามเป็นเลิศปางปฐมเทศนา



พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยหินสลัก ประทับนั่งขัดสมาธิ
มีพระพัตร์งามละมุนละไม
พระเนตรหลุบต่ำ
พระหัตถ์ขวาผาย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำ อยู่ในท่าแสดงธรรม ทรงกระทำวงที่นิ้วพระหัตถ์
พระโอษฐ์แย้มยิ้มเพียงเล็กน้อย
ที่ใต้ฐานสลักเป็นรูปปัญจวัคคีย์กับอุปฐาก กำลังนั่งประนมมือ ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าพระพุทธองค์ประทับอยูเหนือธรรมจักร
เบื้องหลังที่เห็นเป็นวงกลมนั้นเรียกว่า ประภามณฑล มีเทพเจ้า ๒ องค์แสดงความเคารพทั้งสองข้าง
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้ เป็นแบบฉบับทางศิลปกรรมในแวดวงพุทธศิลป์ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดในโลกที่งามที่สุดในโลก
เป็นศิลปะยุคคุปตะ สร้างโดยพระนางกุมารเทวี พระชายาของพระเจ้าโควินจันทา กษัตริย์ผู้ครองนครกาโนช (เมืองลักเนาว์ในปัจจุบัน) ประมาณปี พ.ศ. 850-1150 สมัยราชวงศ์คุปตะ ซึ่งเป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุดของพุทธศิลป์




พระพุทธรูปองค์นี้ถูกค้นพบที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันถือกันว่าเป็นพุทธปฏิมาที่งดงามมาก ซึ่งเมื่อก่อนนี้ประเทศอินเดียมีการประกวดพุทธปฏิมากัน หากส่งพระพุทธรูปองค์นี้เข้าประกวด จะได้รับการคัดเลือกว่าเป็นพุทธรูปที่งดงามที่สุดทุกครั้งไป จึงต้องขอให้งดการส่งเข้าประกวด เปิดโอกาสให้องค์อื่นบ้าง










ขอขอบคุณภาพจากwww.indiaindream.com
สิงห์ที่ยอดเสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช


สิงห์นี้อันเป็นตราราชการแผ่นดินของประเทศอินเดียซึ่งจอมจักรพรรดิอโศก สร้างและประดิษฐานไว้คราวเมื่อเสด็จมาทำการบูชาสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา

ศิลาจารึกส่วนที่เป็นหัวเสาชิ้นนี้ประดิษฐ์ด้วยหินทรายอย่างดี มีรูปสิงโต ๔ ตัวหันหลังชนกัน หันหน้าออกทั้ง ๔ ทิศ ที่ขอบแท่นสลักเป็นรูปกงล้อธรรมจักรและรูปสัตว์ ๔ ชนิดสลับกัน คือ ราชสีห์ ช้าง ม้า และโค สัตว์ทั้งสี่คือความหมายแห่งอำนาจ ความกล้าหาญ ความมั่นใจ โดยพลัง หมายถึงผู้พิทักษ์ทิศทั้งสี่

ส่วนดอกบัวหมายถึง ต้นกำเนิดชีวิต ฒีผู่ให้ความเห็นว่า ี่ชสีห์หมายถึงพลังอำนาจ ม้า หมายถึงฝีเท้าอันรวดเร็ว ช้างหมายถึงปัญญาชาญฉลาด สุขุมเยือกเย็น และโคหมายถึง ความแข็งปรงความอดทน
สัตว์ผู้ทรงความยิ่งใหญ่ทั้งสี่นี้จะคอยเฝ้าพิทักษ์พระธรรมจักร

ที่ด้านล่างของสิงห์ มีอักษารเทวนาคี ถอดความได้ว่า "ความจริงเท่านั้นมีชัยชนะเหนือทุกสิ่ง "

ด้วยความหมายนี้ รัฐบาลอินเดียจึงใช้รูปสิงห์จตุรทิศอันสง่างามที่าสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ เป็นตราแผ่นดิน



หลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช
ศิลานี้นี้ถูกทำลายจนหักเป็น ๔ ท่อน มีคำจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นอักษรพราหมีและภาษาบาลีที่หลักศิลา มีคำแปลเป็นคำเตือนภิกษุ ให้ยึดมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด




อักษรพราหมี บนเสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช




กวางที่รัฐบาลอินเดียเลี้ยงไว้ เพื่อรำลึกถึงสารนาถที่เคยเป็นสวนกวางในอดีต

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
วิกิพีเดีย
http://www.thaipost.net/tabloid/040813/77324
http://www.guarboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539188389

สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษ๊ ( ว.ป.วีรยุทฺโธ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น