วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๒๕
พระนาลกะ
ขอขอบคุณภาพจาก www.monstudies.com.
เมื่อกล่าวถึงพระยศกุลบุตรสาวกองค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา ควรที่จะนำพระอสีติมหาสาวกที่บวชเป็นรูปที่ ๗ หลังจากกลุ่มปัญจวัคีย์เพียง ๗ วัน แต่น่าเสียดายว่าหลังจากบรรลุพระอรหัตตผลเพียง ๗ เดือน ก็นิพพาน ดังนั้นชื่อของท่านจึงไม่เป็นที่คุ้นเคยชื่อว่าพระะนาลกะ มากล่าวถึง
ยังมีพระนาลกะ เกิดในวรรณะพราหมณ์เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งมารดาของท่านเป็นน้องสาวของพระอสิตดาบส ปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะ มาก่อน นาลกะออกบวชเป็นฤาษีตั้งแต่อายุยังน้อย อสิตดาบสผู้เป็นลุงได้เคยแนะนำไว้ว่า
"วันข้างหน้าหากได้ยินเสียงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ให้เข้าใจเถิดว่าพระราชกุมารเสด็จออกบวช และได้ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เจ้าจงไปเฝ้าและจงบวชเป็นสาวกของพระองค์เถิด "
ฤาษีนาลกะรับคำด้วยความเคารพ คอยฟังเสียงคำว่าพระพุทธเจ้าอยู่ตลอด ๓๕ ปี
เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคีย์ ทั้ง ๕ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ จากนั้น ๗ วัน ฤาษีนาลกะจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่่า อิสิปตนมฤคทายวัน และสดับธรรม โมเนยยปฏิปทา คือข้อปฏบัติของมุนี ความว่า
๑. เธอจงทำใจให้มั่นคง วางตนให้เหมือนกันทั้งแก่คนที่ด่าและไหว้ ไม่มีความเย่อหยิ่ง ต้องละกาม งดเว้นจากเมถุนธรรม รักสัตว์อื่นเหมือนกับรักตนเอง จงละความอยากไม่หยุดในเรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นเหตุให้ประกอบมิจฉาชีพ มุนีต้องไม่เห็นแก่กิน บริโภคอาหารแต่พอประมาณ มักน้อย ทำตนให้หายหิวหมดความอยาก ดับความเร่าร้อนได้ทุกเมื่อ
๒ มุนีต้องเที่ยวภิกขาจาร ได้อาหารแล้วจงไปที่ชายป่า นั่งบริโภคตามโคนไม้บำเพ็ญฌาน ใช้ชีวิตอยู่ในป่า ได้อาหารอย่างไรก็บริโภคอย่างนั้น ไม่ควรหวังอาหารที่ยังไม่ได้ ขณะฉันไม่ควรพูด
๓. มุนีขณะภิกขาจาร แม้ไม่เป็นใบ้ ก็ทำตนเหมือนคนใบ้ ไม่ควรหมิ่นทานว่าเล็กน้อย ไม่ควรดูถูกบุคคลที่ให้ ยืน นั่ง นอน แต่ผู้เดียวในที่สงัด จงรู้ไว้เถิดว่าน้ำในแม่น้ำน้อย ย่อมไหลดัง น้ำในแม่น้ำใหญ่ย่อมไหลเงียบ สิ่งใดพร่องย่อมมีเสียงดัง สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นย่อมไม่มีเสียงดัง
๔.คนโง่ย่อมทำตนเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว ส่วนคนฉลาดย่อมทำตนเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม เพราะเป็นผู้สงบ เมื่อรู้เหตุแห่งความเสื่อมและความทุกข์ ไม่พูดมาก ผู้ปฏิบัติจึงได้ชื่อว่ามุนี
ฤาษีนาลกะได้ฟังข้อปฏิบัติของมุนีจากพระพุทธองค์ เกิดความเลื่อมใสจึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบททันที และขอยึดข้อปฏิบัติของมุนี ๓ ประการ คือข้อ มักน้อยในการเห็น มักน้อยในการฟัง และมักน้อยในการถาม
พระนาลกะไม่ได้ปรารถนาอีกว่า เมื่อเข้าไปอยู่ป่าแล้ว ขอให้ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอีก และขอให้ได้กราบทูลถามข้อปฏิบัติของมุนีอีก จากนั้นกราบทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่เชิงเขาตามลำพัง โดยปฏิบัติอย่างมุนีอย่างเคร่งครัด คือ ไม่อยู่ในป่าแห่งเดียว ๒ วัน ไม่นั่งโคนไม้ต้นเดียว ๒ วัน ไม่บิณฑบาตบ้านเดียว ๒ วัน ท่านเที่ยวจากป่าไปสู่ป่า จากต้นไม้สู่ต้นไม้ จากบ้านสู่บ้าน บำเพ็ญโมเนยยปฏิปทาอย่าง อุกฤษณ์ ไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล (หากนับลำดับกันแล้ว ท่านก็เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปที่ ๖ และเป็นพระอรหันต์รูปที่ ๗ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์รูปแรก ) นับเป็นพระอรหันต์รูปที่ ๗ คราวพระพุทธเจ้าส่งสาวกออกประกาศศาสนา ทรงอนุญาตให้ท่านอยู่อย่างเป็นอิสระ ด้วยว่าท่านจะนิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่น เป็นเหตุให้ชื่อของพระอริยสงฆ์องค์นี้เลือนหายไป
ในบั้นปลายชีวิตของพระนาลกะ ผู้เจริญรอยตามแนวทางปฏิบัติของมุนีใน โมเนยยปฏิปทา แบบอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งนับว่ามีผลต่อสุขภาพไม่น้อย
กล่าวคือ
ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นต้น หลังจากบรรลุอรหัตตผลจะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี
ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดชั้นกลาางหลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดสูงสุดหลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือน
พระนาลกะหลังจากบรรลุอรกัตตผลแล้วจึงมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น เพราะร่างกายบอบช้ำหนักนั่นเอง
เมื่อรู้ว่าตนจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือน พระนาลกะก็ชำระกายแล้วห่มผ้าสังฆาฏิสองชั้น ยืนหันหน้าไปทางที่ประทับของพระพุทธองค์ แล้วก้มลงกราบด้วบเบญจางคประดิษฐ์ แล้วลุกขึ้นยืนประนมมือพิงภูเขาหิงคุละ แล้วนิพพานด้วยอาการสงบ พระพุทธองค์ทรงทราบการนิพพานของพระนาลกะเถระแล้ว พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ก็เสด็จไปทำฌาปนกิจศพท่าน แล้วนำอ้ฐิบรรจุไว้ที่ภูเขานั้น เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น