วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๙ องคุลิมาล




บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

หากในเวลานี้พุทธศาสนิกชนไปจาริกสังเวชนียสถานเมืื่ิอมาถึงเมืองสาวัตถีในอดีตกาล มาปลงสังเวชที่พระเชตวันมหาวิหารแล้ว คณะทัวร์ย่อมต้องพาไปบ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างวัดพระเชตวัน และใกล้ ๆ กับอนุสรณ์บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จะมีสถูปที่กล่าวกล่าวกันว่า เป็นที่พักอาศัยของปุโรหิตกรุงสาวัตถีซึ่งเป็นท่านบิดาของจอมโจรผู้สร้างประวัติศาสตร์โลกอหิงสกกุมาร หรือที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามองคุลิมาล

ท่านปุโรหิตผู้นี้มีนามว่าภัคควพราหมณ์ มีภรรยาชื่อนางมันตานีพราหมณ์ แห่งนครสาวัตถี (โคตรทางบิดาคือคัคคะ โคตรของมารดา คือมันตานี) สองสามีภรรยาพราหมณ์คู่นี้มีบุตรชาย ชื่ออหิงสกะ หมายถึงกุมารผู้ไม่เบียดเบียน

ภัคควพราหมณ์ ได้ส่งอหิงสกะกุมารไปศึกษาศิลป์ศาสตร์กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา

อหิงสกะ มีความรู่้และความประพฤตดี จนมีศิษย์ร่วมสำนักอิจฉาริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดอหิงสกะ ด้วยการลวงว่าหากอหิงสกะฆ่าคนได้ครบหนึ่งพันคน อาจารย์จะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ อหิงสกะหลงในกลอุบายของอาจารย์

บัณฑิตหนุ่มแห่งนครสาวัตถีจึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ เที่ยวตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้วมาร้อยเป็นพวงมาลัยห้อยคอ (เพื่อให้สามารถนับจำนวนคนที่ถูกฆ่าได้ครบถ้วน)

อหิงสกะจึงได้ชื่อว่าองคุลิมาล แปลว่ามีนิ้วเป็นมาลัย


บ้านภัคควพราหมณ์ ปุโรหิตเมืองสาวัตถี บิดาอสิงสกะ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammahome.com/webboard/topic14902.html

ในองคุลิมาลสูตรกล่าวว่า

องคุลิมาลโจรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล มีความคิดว่า
" น่าอัศจรรย์จริง ๆ ไม่เคยมีเลย พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ก็ยังต้องรวมกันเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษพวกนั้นยังถึงความพินาศเพราะมืือเรา สมณะนี้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ชะรอยจะมาข่ม ถ้ากระไรเราพึงปลงสมณะเสียจากชีวิตเถิด "

ตรั้นแล้วองคุลิมาลโจรถือดาบและโล่ห์ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มีพระภาคไปทางพระปฤษฏางค์ พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร โดยประการที่องคุลิมาลจอมโจรวิ่งจนสุดกำลังก็ไม่อาจทันพระองค์ผู้เสด็จไปตามปกติ

องคุลิมาลคิดว่า
 " น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลยด้วยว่า เมื่อก่อนแม้ช้างกำลังวิ่ง ม้ากำลังวิ่ง รถกำลังแล่น เนื้อกำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่ว่าวันนี้เราวิ่งจนสุดกำลังยังไม่อาจทันสมณะนี้ซึ่งเดินไปตามปกติได้ "

ดังนี้จึงหยุดยืนกล่าวกับพระผู้มีพระภาคว่า
 "จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ"

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
 "เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด "

ครั้งนั้นองคุลิมาลดำริว่า สมณะศากยบุตรเหล่านั้นเป็นคนพูดจริงทำจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่กลับพูดว่า
 "เราหยุดแล้วองคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด"

 ถ้ากระไรเราจะถามสมณะรูปนี้ดู ความว่า
" สมณะท่านกำลังเดินไปยังกล่าวว่าเราหยุดแล้วและท่านยังไม่หยุด ยังกล่าวกับข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่ายังไม่หยุด ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่าน ท่านหยุดแล้วเป็นอย่างไร  ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร "


ขอขอบคุณภาพจาก www.suttas.net

พระพุทธองค์ตรัสว่า
 "องคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ไปแล้วจึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด"

องคุลิมาลกราบทูลว่า
"ท่านผู้เทวดามนุษย์บูชาแล้วแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มาถึงป่าใหญ่เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาลนาน ข้าพเจ้านั้นจักประพฤติละบาป เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของท่าน"

องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้วได้ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึก มีหน้าผาชัน ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระสุคต แล้วได้กราบทูลขอบรรพชากับพระองค์ ณ ที่นั่นเอง
(พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว)

ก็แลพระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาเอกของโลกทั้งเทวโลกได้ตรัสกับองคุลิมาลโจรในเวลานั้นว่า
" ท่านจงมาเป็นภิกษุเถิด"


ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net

วันหนึ่งพระองคุลิมาลออกไปบิณฑบาต ได้พบหญิงคนหนึ่งกำลังเจ็บท้องได้รับความทุกข์ทรมานเจียนใจจะขาด เพราะคลอดยาก องคุลิมาลเกิดความสงสารเป็นที่สุดมิรู้จะช่วยอย่างไร จึงกลับมาที่เชตวันมหาวิหาร และกราบทูลพระบรมศาสดาทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงแนะนำองคุลิมาลให้กลับไปช่วยผู้หญิงนั้น โดยให้ตั้งสัจจกิริยาว่า

 "ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมา ยังไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตให้ล่วงไปเลย ขออำนาจแห่งความสัจจ์นี้ จงบันดาลให้เธอและลูกในท้องจงสวัสดีเถิด"

องคุลิมาลกราบทูลคัดค้านว่า ได้เคยฆ่าคนมามากแล้ว ถ้าไปตั้งสัจจกิริยาเช่นนั้นเกรงว่าจะไม่ได้ผล

พระบรมศาสดาจึงทรงอธิบาย ความหมายของการเกิดขององคุลิมาลว่า หมายถึงเกิดมาในผ้าเหลืองเป็นอริยชาติแล้วต่างหาก องคุลิมาลเห็นจริงจึงกลับไปหาหญิงคนนั้น แล้วตั้งสัจจกิริยาว่า

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา
เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ, โสตถิ คัพพัสสะ.

(คำแปล - ดูก่อนน้องหญิง นับแต่เราเกิดโดยอริยชาตินี้แล้ว เราไม่เคยคิดปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของเธอ)
ทันใดนั้นหญิงที่มีครรภ์ก็คลอดบุตรอย่างง่ายดาย
ขอขอบคุณบทสวดนี้จาก
http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2006/11/N4861028/N4861028.html



วันหนึ่งพระองคุลิมาลหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้ดียว เป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร แล้วอีกไม่นานัก พระองคุลิมาลได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

สมัยนั้นเป็นเวลาเช้าท่านพระองคุลิมาลเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี เวลานั้น ก้อนดิน ท่อนไม้ ก้อนกรวด ที่บุคคลขว้างไปแม้โดยทางอื่น ก็มาตกลงที่กายของพระองคุลิมาล ทำให้ท่านศรีษะแตก โลหิตไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสกับพระองคุลิมาลว่า
"เธอจงอดกลั้นไว้เถิด เธอจงอดกลั้นไว้เถิด เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก ก็แต่นี้ปัจจุบันนี้เท่านั้น"

ต่อมาท่านพระองคุลิมาล เป็นต้นเหตุแห่งพระพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อเสียงโด่งดัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺฺโธ)

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๘ คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์




ขอขอบคุณภาพจากboard.postjung.com

คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

(สมเด็จพระญาณสังวร-เจริญ สุวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหาร)



๑ ธมฺมสงฺคณี

กุสลาธมฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือไม่มีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีสุขเป็นวิบากต่อไป

อกุสลาธฒฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือมีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

อพฺยากตา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายที่เป็น อัพยากฤต คือท่านไม่พยากรณ์ว่า เป็นกุศล หรืออกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ

กตเม ธมฺมา กุสลา
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน

ยสฺมึ สมเย
ในสมัยใด

กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ
จิตที่เป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น

โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ
เป็นไปกับโสมนัส ประกอบด้วยญาณ

รูปารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือรูป หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง

สทฺทารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือเสียง หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง

คนฺธารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง

รสารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือรส หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง

โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ สิ่งทีกายถูกต้อง หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง

ธมฺมารมฺมณํ วา
ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม เรื่องที่เกิดแก่ใจ หรือมี ธรรมเป็นอารมณ์บ้าง

ยํ ยํ วา ปนารพฺภ
ปรารภอารมณ์ใด ใด บ้างก็ดี

ตสฺมึ สมเย
ในสมัยนั้น

ผสฺโส โหติ
ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณ ย่อมมี ฯลฯ

อวิกฺเขโป โหติ

ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี
เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

อิเม ธมฺมา กุสลา
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล



๒. วิภงฺโค

ปยฺจกฺขนฺธา
ขันธ์ คือกองทั้ง ๕

รูปกฺขนฺโธ
รูปขันธ์ กองรูป ๑

เวทนากฺขนฺโธ
เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๑

สญฺญากฺขนฺโธ
สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๑

สงฺขารกฺขนฺโธ
สังขารขันธ์ กองสังขาร ๑

วิญฺญาณกฺขนฺโธ
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ๑

ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ
ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน

ยงฺกิญจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
รูปอันใดอันหนึ่งเป็นอดีต ล่วงไปแล้ว เป็นอนาคตยังมิได้มา เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นอยู่ฉะเพาะหน้า

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
เป็นภายในหรือภายนอก

โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา
หยาบหรือละเอียด

หีนํ วา ปณีตํ วา
เลวหรือประณีต

ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา
อันใด ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา
ประมวลย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน

อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ
นี้พระตถาคตครัสเรียกว่ารูปขันธ์



๓.ธาตุกถา

สงฺคโห
การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน

อสงฺคโห
การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม

สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ
หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้

อสงฺคหิเตน สงคหิตํ
หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้

สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ
หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด

อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ
หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธาตุฝ่ายนามทั้งหมด

มสฺปโยโค
ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น

วิปฺปโยโค
ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์

สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ
หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์

วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ
หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุตประกอบกันกับธรรมอื่นนอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น

อสงฺคหิตํ
หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อมประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์



๔. ปุคฺคลปญฺญตฺติ

ฉ ปญฺญตฺติโย
บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖

ขนฺธติปญฺญตฺ
บัญญัติว่า ขันธ์

อายตนปญฺญตฺติ
บัญญัติว่า อายตนะ

ธาตุปญฺญตฺติ
บัญญัติว่า ธาตุ

สจฺจปญฺญตฺติ
บัญญัติว่า สัจจะ

อินฺทฺริยปญฺญตฺติ
บัญญัติว่า อิทรีย์

ปุคฺคลปญฺญตฺติ
บัญญัติว่า บุคคล

กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ
บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร

สมยวิมุตฺโต
บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘

อสมยวิมุตฺโต
บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้

กุปฺปธมฺโม
บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้

อกุปฺปธมฺโม
บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้

ปริหานธมฺโม
บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล

อปริหานธมฺโม
บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล

เจตนาภพฺโพ
บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

อนุรกฺขนาภพฺโพ
บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

ปุถุชฺชโน
บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น

โคตฺรภู
บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน

ภยูปรโต
บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลังภัย ๔ คือทุคคติภัย ภัยคือทุคคติ วัฏฏภัย ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก กิเลสภัย ภัยคือกิเลส อุปวาทภัย ภัยคือความติเตียน จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย

อภยูปรโต
บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็จขาด

ภพฺพาคมโน
บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มัฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้

อภพฺพาคมโน
บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล

นิยโต
บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน
อนิยโต
บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน

ปฏิปนฺนโก
บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น

ผเลฏฺฐิโต
บคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

อรหา
บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ

อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน
บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔มี รูปราคะเป็นต้น



๕. กถาวตฺถุ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ
สกวาที ถามว่า สัตว์ บุคคล ชายหญิงย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์หรือ

อามนฺตา
ปรวาที ตอบว่า ย่อมมีได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึง สัตว์บุคคล ชายหญิงไว้ในพระสูตร โดยสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมุติ

โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ
สกวาที ถามว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุดคือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์นั้นหรือ

น เหวํ วตฺตพฺเพ
ปรวาที ตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย เพราะสัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นไม่มีได้โดยปรมัตถ์สัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์

อาชานิ นิคฺคหํ
สกวาทีกล่าวว่า ท่านจงยอมรับนิคคหะโทษ ควรข่มขี่ เพราะคำต้นกล่าวรับรองแล้ว แต่คำหลังกลับกล่าวปฏิเสธ

หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน
ถ้าสัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ไซร้

เตน วต วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ
ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแล พึงกล่าวว่าอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่ง คือปรมัตถ์นั้น

มิจฺฉา
สัตว์ บุคคล ชาย หญิงซึ่งท่านปรวาทีกล่าวแล้วในข้อนั้น ท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้นว่า สัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถ อย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ แต่ท่านกลับไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลังว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่ง คือ ปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้ โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดย อรรถอย่างยิ่ง คือปริมัตถ์นั้น คำของท่านนี้จึงผิด เพราะขัดแย้งกันเอง ถ้าจะไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาหลัง ก็ไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาต้นเสียก่อน ฉะนั้นสัตว์บุคคลชายหญิงซึ่งท่านกล่าวแล้ว อันท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้น แต่ไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลัง จึงผิดพลาดขัดแย้งกันแย้ง



๖. ยมก

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

สพฺเพ เต กุสลมูลา
ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้งสิ้น

เย วา ปน กุสลมูลา
ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเป็นกุศลมูล

สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น
เย

เกจิ กุสลา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

สพฺเพ เต กุสลมูเลน
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น มีมูลเป็น

เอกมูลา
อันเดียวกันกับกุศลมูล

เย วา ปน กุสลมูเลน
ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีมูลเป็น

เอกมูลา
อันเดียวกันกับกุศลมูล

สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น



๗.ปฏฺฐาน

เหตุปจฺจโย
เหตุเป็นปัจจัย เหตุที่ตั้งอยู่เฉพาะแห่งผล มี ๖ อย่าง ได้แก่ อกุศลเหตุ ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กุศลเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อกุศลเหตุเป็นปัจจัยแดนเกิดแห่งผล คืออุดหนุนให้เกิดนาม รูป หรือ จิต เจตสิก และรูปฝ่ายอกุศล กุศลเหตุเป็นปัจจัยแห่งนามรูปฝ่ายกุศล เหมือนอย่างรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ เป็นที่ตั้งอยู่ได้ของต้นไม้ และช่วยอุหนุนต้นไม้ให้งอกงาม

อารมฺมณปจฺจโย
อารมณ์เป็นปัจจัย อารมณ์เป็นเรื่องเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วง มี ๖ อย่าง ได้แก่
รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป
สัททารมณ์ อารมณ์คือเสียง
คันธารมณ์ อารมณ์คือกลิ่น
รสารมณ์ อารมณ์คือรส
โผฏฐัพารมณ์ อารมณ์คือโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง
ธัมมารมณ์ อารมณ์คือ ธรรม ได้แก่เรื่องของรูปเป็นต้นที่ได้ประสบแล้วในอดีต
อารมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงต้องอาศัยยึดหน่วงอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างคนชราหรือทุพพลต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือกเป็นเครื่องยึดหน่วง จึงทรงตัวลุกขึ้นเดินไปได้

อธิปติปจฺจโย
อธิบดีเป็นปัจจัย อธิบดีคือธรรมที่เป็นใหญ่กว่าสัมปยุตตธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตน แบ่งเป็น ๓ ประเภทก่อนคือ
อารัมมณาธิปติ อธิบดีคืออารมณ์ชนิดที่น่าปรารถนาอย่างแรง ๑
สหชาตาธิปติ อธิบดีคือธรรมที่เกิดร่วมกัน ๑
สหชาตาธิปติ มี ๔ อย่างคือ
ฉันทาธิปติ อธิบดีคือฉันทะเจตสิก ความพอใจที่เกิดขึ้นในใจ
วิริยาธิปติ อธิบดี คือวิริยะเจตสิก ความเพียรที่เกิดขึ้นในใจ
จิตตาธิปติ อธิบดี คือความเอาใจใส่จดจ่อ
วิมังสาธิปติ อธิบดีปัญญาเจตสิก ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาเกิดขึ้นในใจ
อารมณ์อย่างแรงเป็นอธิปติปัจจัย เพราะทำให้นามธรรม คือจิตและเจตสิกน้อมไปยึดอย่างหนักหน่วง ส่วน อธิบดี ๔ มีฉันทะเป็นต้น เป็นอธิปติปัจจัยเพราะสามารถยังธรรม ซึ่งเกิดร่วมกับตน และนามธรรมอื่นซึ่งไม่สามารถจะเป็นอธิบดีได้ ให้น้อมไปตามอำนาจของตน



อนนฺตรปจฺจโย
ธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัย คือสามารถยังจิตตุปบาท (ความเกิดแห่งจิต) อันสมควรกันให้เกิดขึ้นในลำดับของตน ได้แก่ นามธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยอุดหนุนแก่นามธรรม คือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง ได้แก่ช่วยอุปการะให้เกิดขึ้นสืบต่อกันไปโดยไม่ว่างเว้น คือไม่มีระหว่างคั่นเว้นไว้แต่จุติจิตของพระอรหันต์

สมนนฺตรปจฺจโย
ธรรมที่เกิดเป็นลำดับสืบต่อกันเรื่อยไป ไม่มีธรรมอื่นมาคั่นระหว่างเลยทีเดียวเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมที่เกิดก่อนเป็น สมนันตรปัจจัยแก่นามธรรมที่เกิดภายหลัง คล้ายกับอนัตรปัจจัย

สหชาตปจฺจโย
ธรรมที่เกิดร่วมเป็นปัจจัย คือ ธรรมที่เกิดร่วมกันต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนกันเอง ด้วยอำนาจที่ยังธรรมที่เกิดร่วมกันให้เกิดพร้อมกัน เพราะเมื่อตนไม่เกิด แม้ธรรมที่เกิดร่วมกันก็ไม่เกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างดวงไฟเกิดพร้อมกับแสงไฟ เมื่อไม่มีดวงไฟ แสงไฟก็มีขึ้นไม่ได้ เช่น นามขันธ์ ๔ มหาภูตรูป ๔ ปฏิสนธิหทัยวัตถุ เป็นสหชาตปัจจัย

อญฺญมญฺญปจฺจโย
ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย คือธรรมที่เป็นอุปการะโดยอุดหนุนกันและกันให้เกิดขึ้น เหมือนอย่างไม้ ๓ อัน ต่างพิงอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้ ได้แก่นามขันธ์ ๔ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๔ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ และปฏิสนธิหทัยวัตถุ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น

นิสฺสยปจฺจโย
ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย คือเป็นที่อาศัยโดยอธิษฐานการ คืออาการที่ตั้งมั่น ๑ เป็นที่อาศัยโดยนิสสยาการ คืออาการที่อ้างอิงอาศัย ๑ ธรรมเป็นนิสัยปัจจัยที่อาศัยโดยอาการที่ตั้งมั่นนั้นได้แก่ปฐวีธาตุ เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งธาตุอื่น วัตถุ ๖ มีจักขุเป็นต้น เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เหมือนอย่างแผ่นดินที่อาศัยตั้งมั่นของต้นไม้เป็นต้นบนแผ่นดิน ธรรมเป็นนิสัยที่อาศัยโดยอาการที่อิงอาศัยนั้น ได้แก่นามขันธ์ ๔ เป็นที่อิงอาศัยกันและกัน อาโป เตโช วาโยก็เหมือนกัน เหมือนอย่างแผ่นผ้าเป็นที่อาศัยแห่งจิตกรรมภาพวาดเขียน

อุปนิสฺสยปจฺจโย
ธรรม เป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า ได้แก่อารมณ์อย่างแรงกล้า เหมือนอย่างอารมณ์ที่เป็นอธิปติปัจจัยเป็นที่อาศัย อย่างแรงกล้าให้เกิดธรรมที่เกิดจากอารมณ์นั้นเป็นปัจจัย เรียกว่าอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้าคือ อารมณ์ ธรรมที่เกิดเป็นลำดับ ไม่มีระหว่างคั่นอย่างแรงกล้าเหมือนอย่าง อนันตรปัจจัย เป็นอุปนิสสยปัจจัยให้เกิดธรรมที่เกิดจากธรรมนั้นเป็นปัจจัยโดยไม่มีระหว่างคั่น เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่น เหตุที่มาจนเป็นปกตินิสัยแล้ว ไม่เกี่ยวข้องด้วยอารัมณปัจจัย เป็นเหตุที่ตนทำให้เกิดขึ้นเอง เช่นกุศลธรรม อกุศลธรรมต่างๆ ก็ดี เป็นเหตุฝ่ายกุศลและอกุศล ที่เนื่องจากการเสวนาซ่องเสพบุคคลและอาหารเป็นต้นของตนก็ดี เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือเหตุที่ทำมาจนเป็นอุปนิสัยแล้ว

ปุเรชาตปจฺจโย
ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย คือธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังคงมีอยู่ไม่ดับไป ได้แก่รูปธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังไม่ดับไป เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตและเจตสิกให้เกิดขึ้น เปรียบเหมือนพระอาทิตย์และพระจันทร์เกิดขึ้นก่อนยังไม่ดับ สัตว์โลกทั้งหลายจึงได้อาศัยเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในโลก

ปจฺฉาชาตปจฺจโย
ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง เป็นปัจจัยปัจจัยอุดหนุนแก่รูปธรรมที่เกิดก่อนให้ตั้งอยู่ได้จนครบอายุ อายุของรูปธรรมเท่ากับอายุของจิต ๑๗ ดวง รูปธรรมที่เกิดก่อนจะตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๗ ขณะจิตนี้ ก็เพราะจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลังอุปถัมภ์ให้ตั้งอยู่และให้เจริญ มีอุปมาเหมือนอย่างต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้ว จะตั้งอยู่และเจริญขึ้นได้ ก็ด้วยอาศัยน้ำฝนที่ ตกลงมา หรือเอาน้ำรดในภายหลัง หรือมีอุปมาเหมือนอย่างลูกนกแร้งที่ยังเล็ก บินไปหาอาหารมิได้ ก็ได้อาศัยเจตนาที่หวังอาหารนั่นเองบำรุงเลี้ยง จนกว่าจะบินออกไปหาอาหารเองได้

อาเสวนปจฺจโย
ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัย ได้แก่โลกิยชวนจิตที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่าเสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นเชื้อสายชาติเดียวกันให้เกิดขึ้น เช่นเมื่อกุศลชวนจิตดวง ๑ เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกุศลชวนจิตชนิดเดียวกันให้เกิดขึ้นเป็นดวงที่ ๒ เป็นปัจจัยอุดหนุนต่อกันไปดังนี้ จนถึงดวงที่ ๗ ซึ่งเป็นตัวเจตนาลงสันนิษฐานให้สำเร็จกิจอย่างหนึ่ง ๆ เหมือนอย่างบุคคลที่เรียนวิชาใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ย่อมเรียนวิชาอย่างเดียวกันต่อขึ้นไปได้ง่าย และเร็วขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการเรียนวิชาอย่างนั้น

กมฺมปจฺจโย
กรรมเป็นปัจจัย กรรมได้แก่เจตสิกธรรม คือเจตนา ความจงใจ เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงจิต เจตสิกธรรมที่เกิดในจิต กัมมชรูป รูปที่เกิดแต่กรรม และจิตตชรูป รูปที่เกิดแต่จิต ที่เกิดรวมกันเป็นสหชาตธรรม เช่นเมื่อจิตและเจตสิกรับรูปารมณ์เป็นต้น เกิดโลภจิตขึ้น กรรมคือเจตนาที่เป็นสหชาตเกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงโลภจิตนั้นให้เข้ารับรูปารมณ์เต็มที่ เป็นเหตุให้แสดงอาการของโลภะออกมาทางกายวาจา ด้วยอำนาจโลภมูลเจตนา อีกอย่างหนึ่ง กรรมที่เป็น นานาขณิกะเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆกัน เป็นปัจจัยเพาะพืชพันธุ์ไว้ เมื่อกุศลเจตนา และอกุศลเจตนาเกิดขึ้นพร้อมกับจิตนั้นดับไปแล้ว กรรมคือเจตนานี้ยังเพาะพืชพันธุ์ไว้ มีอำนาจส่งผลให้ปรากฏขึ้ในภายหลัง

วิปากปจฺจโย
วิบากเป็นปัจจัย วิบากคือธรรมที่เป็นผลของกุศล และอกุศล ได้แก่วิบากนามขันธ์ ๔ หรือวิบากจิตเจตสิก เป็นปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน และเป็นปัจจัยอุดหนุนปฏิสนธิกัมมชรูปและจิตตชรูป วิบากเป็นปัจจัยอุดหนุนวิบากนี้ มีอุปมาเหมือนอย่างชราซึ่งเป็นวิบาก เกิดสืบมาจากชาติชรา ในตอนแรก ๆ ที่ติดมาตั้งแต่เป็นทารก เป็นปัจจัยอุดหนุนชราในตอนหลัง ๆ โดยลำดับ

อาหารปจฺจโย
อาหารเป็นปัจจัย สภาพที่นำผลมา คือประมวรมาซึ่งผลของตน ๆ ชื่อว่าอาหาร เป็นปัจจัยอุปถัมภ์รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย อาการปัจจัยนี้มี ๔ อย่างคือ
กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่โอชาภายนอกที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ เป็นรูปอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนรูปกาย
ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือเจตนาจงใจ
วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ
สามข้อ(หลัง)นี้เป็นนามอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตเจตสิกที่ประกอบด้วยตน และอุดหนุนจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ซึ่งมีนามอาหารและจิตเจตสิกนั้นเป็นสมุฏฐาน อาหารเหล่านี้ เป็นปัจจัยอุดหนุนรูปธรรมและนามธรรมของสัตว์ทั่วทั้ง ๓๑ ภูมิ เพราะสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร

อินฺทฺริยปจฺจโย
อินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมที่เป็นใหญ่ คือกระทำซึ่งความเป็นใหญ่ยิ่งชื่อว่าอิทรีย์ มี ๒๒คือ



จักขุนทรีย์ อิทรีย์คือ ตา
โสตินทรีย์ อินทรีย์คือ หู
ฆานินทรีย์ อินทรีย์ คือจมูก
ชิวหินทรีย์ อินทรีย์ลิ้น
กายินทรีย์ อินทรีย์คือกาย
มนินทรีย์ อินทรีย์คือใจ
อิตถินทรีย์ อินทรีย์คือหญิง
ปุริสินทรีย์ อินทรีย์คือชาย
ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต
สุขินทรีย์ อิทรีย์คือสุข
ทุกขินทรีย์ อินทรีย์คือทุกข์
โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโสมนัส
โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโทมนัส
อุเปกขินทรีย์ อินทรีย์คืออุเบกขา
สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือศัทธา
วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือเพียร
สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ
สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ
ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อินทรีย์คือโสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ อินทรีย์คือโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์คืออรหัตผล
อินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๆ เช่นตา ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการเห็นรูป และยกเว้นอิตถีภาวะเสีย เหลือ ๒๐ เป็นปัจจัยและเป็นผลแห่งปัจจัยของกันและกัน

ฌานปจฺจโย
ฌานเป็นปัจจัย ฌานคือการเพ่งอารมณ์อย่างแน่วแน่ประกอบด้วยองค์เป็นปฐม คือ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา เป็นปัจจัยอุดหนุนนามขันธ์ ๔ และจิตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับตน อีกอย่างหนึ่ง ฌานมี ๒ คือ
อารมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์ทางสมถภาวนา
ลักขณูปนิชฌาน เพ่งลักษณะทางวิปัสสนาภาวนา คือไตรลักษณ์
ต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนตามอำนาจของตน



มคฺคปจฺจโย
มรรคเป็นปัจจัย มรรคคือธรรมที่เป็นประดุจหนทาง เพราะเป็นธรรมนำให้มุ่งหน้าไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน องค์มรรค ๙ได้แก่
ปัญญา
วิตก
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
วิริยะ
สติ
เอกัคคตา
ทิฏฐิ
องค์มรรคเหล่านี้ เว้น ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)ข้อที่ ๙ เหลือ ๘ เป็นฝ่ายกุศล องค์มรรค ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา ทิฏฐิ เป็นฝ่ายอกุศล และองค์มรรค ๘ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นปัจจัยอุดหนุนให้ไปสู่ สุคติ ทุคติ และนิพพานตามประเภท และอุดหนุนสหชาตธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนให้ ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันตน และ ให้ทำกิจ ตามหน้าที่ของตนๆ

สมฺปยุตฺตปจฺจโย
ธรรมที่สัมปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ประกอบพร้อมกัน ๔ ประการ คือธรรม ๒ อย่าง
เมื่อเวลาเกิด ก็เกิดพร้อมกัน
เมื่อเวลาดับ ก็ดับพร้อมกัน
มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
มีที่อาศัยอันเดียวกัน

เรียกสัมปยุต ได้แก่ จิต และ เจตสิก ที่เป็นนามธรรมด้วยกัน เป็นปัจจัย และผลของปัจจัยของกันและกัน แม้จะมีหน้าที่ ต่างกันแต่ก็สัมปยุตประกอบกันได้สนิท ดังจะยกตัวอย่างนามขันธ์ ๔ เวทนาขันธ์ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ สัญญาขันธ์ ทำหน้าที่จำอารมณ์ สังขารขันธ์ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่รู้อารมณ์ แม้จะต่างหน้าที่กันแต่ก็สัมปยุตกันสนิท เหมือนอย่างเภสัชจตุมธุรส ประกอบด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย ๑ น้ำมันงา ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำตาล ๑ มีรสเข้ากันสนิทจนไม่อาจจะแยกรสออกจากกันได้

วิปฺปยุตฺตปจฺจโย ธรรมที่วิปปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่สัมปยุตกันดังกล่าวในข้อก่อน เรียกวิปปยุตธรรม ได่แก่นามและรูป นามเป็นวิปปยุตธรรมของรูป รูปก็เป็นวิปปยุตตธรรมของนาม เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะของสัมปยุตธรรมครบทุกอย่าง ดังเช่น เมื่อจิตเกิด แม้จิตตชรูปจะเกิดด้วย แต่ก็ขาดลักษณะข้ออื่น ทั้งรูปและนามแม้จะเป็นวิปปยุตธรรมของกัน แต่ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกันและกัน เพราะต่างอาศัยกันเป็นไป เหมือนอย่างคน ๒ คน มิใช่ญาติกัน แต่ก็อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน อีกอย่างหนึ่ง วิปปยุตปัจจัยนี้ เปรียบเหมือนรส ๖ อย่างคือ หวาน๑ เปรี้ยว ๑ ฝาด ๑ เค็ม ๑ ขม ๑ เผ็ด ๑ รวมเป็นรสเดียวกันไม่ได้ แต่ก็อาศัยปรุงเป็นแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นปัจจัยอุดหนุนกันได้

อตฺถิปจฺจโย
ธรรมที่มีอยู่เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอยู่คือธรรมที่ปรากฏมีอยู่ในระหว่างอุปปาทะ (ความเกิด) ฐิติ (ความตั้งอยู่) ภังคะ (ความดับ) คือยังมีอยู่ในระหว่างนั้นยังไม่ดับไป ธรรมที่ชื่อว่ามีอยู่อย่างมีกำลังกล้า คือยังมีอยู่ในฐิติ ความตั้งอยู่ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นผลของตนให้เกิดขึ้น ข้อสำคัญเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ธรรมที่เป็นผลของตนให้ดำรงอยู่ เหมือนอย่างพื้นดินที่มีอยู่ อุปถัมภ์ต้นไม้ที่มีอยู่เหมือนกันให้งอกงามและตั้งอยู่ เช่นนามขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน มหาภูตรูป ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน นามรูปในขณะปฏิสนธิเป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน

นตฺถิปจฺจโย
ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีคือธรรมที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย อุดหนุนธรรมเช่นเดียวกันให้เกิดขึ้น สืบต่อไปในลำดับ ดังที่กล่าวแล้วในอนันตรปัจจัย เช่นจิต เจตสิกดวงที่ ๑ ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ดวงที่ ๒ เกิดสืบต่อไปในลำดับ ถ้าดวงที่ ๑ ไม่ดับ ดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้นมิได้ เหมือนอย่างแสงสว่างกับความมืด เมื่อแสงสว่างดับไป ความมืดจึงปรากฎขึ้นได้

วิคตปจฺจโย
ธรรมที่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ปราศจากไป คือธรรมที่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมเช่นเดียงกันให้เกิดขึ้นในลำดับเช่นเดียวกับนัตถิปัจจัย

อวิคตปจฺจโย
ธรรมที่ไม่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่ปราศจากไป คือธรรมที่ยังไม่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุปการะที่ยังมีอยู่ด้วยกัน เช่นเดียวกับ อัตถิปัจจัย


ขอขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watsacramento.org/w-article-074B-t.htm

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๗ สังกัสสนคร




ซาก “เทโวโรหนสถูป” เมืองสังกัสสะ
ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net

สังกัสสนคร เป็นที่ที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์สวรรค์ หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์เป็นเวลา ๓ เดือน ต่อเมื่อวันมหาปวารณาจึงเสด็จสู่มนุสสโลกในที่ใกล้กับประตูเมืองสังกัสสะท่ามกลาง เทพพรหมแวดล้อมเป็นบริวาร และได้ตรัสเทศนาในปโรสหัสสชาดกอีกด้วย

สังกัสสะเคยเป็นเมืองใหญ่เป็นฐานแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในอินเดียเมื่อถึงคราวเสื่อมสูญเมืองจึงกลายเป็นป่าไปในที่สุดเช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ นคร ยิ่งเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๖ (ค.ศ. ๑๑๙๓) พวกพราหมณ์พากันยุยงราชาไชยจันทร์ แห่งเมือง กาเนาซ์ ว่าพระพุทธศาสนาเป็นภัยต่อฮินดูขืนปล่อยไว้บ้านเมืองจะต้องวิบัติ ราชาไชยจันทร์จึงกรีฑาทัพมาทำลายล้างเสียราบเรียบ สังกัสสะจึงกลายเป็นทุ่งโล่ง

หลวงจีนถ้งซำจั๋งเดินทางมาที่นี่ ได้พบเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช สูงประมาณ ๗๐ ฟุต อยู่ข้างพระวิหาร มีกำแพงยาว ๕๐ ฟุต เป็นที่พระบรมศาสดาเสด็จเดินจงกรมมีรูปเครื่องหมายดอกบัวอยู่บนกำแพงอย่างเดียวกับที่เมืองพุทธคยา

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ให้ศึกษาจากบันทึกของหลวงจีนทั้งสองท่านที่เดินทางมาสืบพระศาสนาในอินเดีย จึงได้สำรวจโบราณสถานสังกัสสะ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๘๕ (ค.ศ.๑๘๔๒) ได้พบซากวิหาร กำแพง พระพุทธปฏิมากร และเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งส่วนบนเป็นรูปช้างได้ถูกทำลายลงเหลือแค่คอเท่านั้น

ปัจจุบันสังกัสสนครยังเหลือเป็นโบราณสถานที่รัฐบาลดูแลรักษาอยู่ในเขตปกครองของอำเภอฟาร์รุกขบาด รัฐอุตตรประเทศ อยู่ระหว่างเมืองลักเนาว์กับเมืองอัคระห่างจากเมืองกานปุร์ไป ๙๗ ไมล์ มีเนินดินเหมือนสถูปเก่ากับเสาศิลาจารึกของจักรพรรดิอโศกอยู่ที่นั้น



ซาก “เทโวโรหนสถูป” เมืองสังกัสสะ ขอขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net

พระบรมศาสดาทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ๗ คัมภีร์ โดยการทรงเนรมิตพุทธนิรมิต แสดงธรรมในดาวดึงส์ภิภพ ในช่วงที่เสด็จป่าหิมพานต์ บิณฑบาต กระทำภัตกิจ และโปรดให้พระสารีบุตรซึ่งเป็นผู้กระทำวัตรปฏิบัติพระพุทธองค์แสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์แก่ภิกษุนิสิต ๕๐๐ ส่วนพระพุทธองค์เมื่อเสด็จกลับไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมต่อจากพระพุทธนิรมิตแสดง ตลอดทั้งไตรมาส

ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดามากมาย พระพุทธมารดาได้ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล

ครั้นใกล้เวลาออกพรรษา บริษัททั้งหลายที่คอยเฝ้ารับเสด็จอยู่ตลอดเป็นเวลา ๓ เดือน ได้ขอให้พระโมคคัลลานะขึ้นไปกราบทูลถามวันเสด็จกลับลงมา กล่าวว่าพวกข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นพระบรมศาสดาแล้วจักไม่ไปจากที่นี้ พระโมคคัลลานะขึ้นไปกราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า
 "พระพุทธองค์จักเสด็จลงมาเมื่อใด พระเจ้าข้า "
พระพุทธองค์รับสั่งถามถึงพระสารีบุตร ทรงทราบว่าอยู่ที่สังกัสสนคร จึงตรัสกับพระโมคคัลลานะว่า

 "ในวันที่ ๗ จากนี้ เราจักลงไปที่ประตูเมืองสังกัสสะในวันมหาปวารณา ผู้ใดใคร่จะพบเราก็จงไป ณ ที่นั้นเถิด"


ขอขอบคุณภาพจาก www.watnakkharin.com


พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ ซึ่งอยุ่ห่างจากกรุงสาวัตถี ๓๐ โยชน์ ในวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ อันเป็นพุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ สถานที่เหยียบพระบาท ณ ประตูเมืองสังกัสสะ ชื่อว่า "อจลเจติยสถาน"

วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากเทวโลก ท้าวสักกะเทวราชรับสั่งให้วิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตบันไดแก้วมณีตรงกลาง สำหรับพระบรมศาสดา บันไดทองอยู่ด้านขวาสำหรับเหล่าเทวดา และบันไดเงินอยู่ด้านซ้ายสำหรับเหล่ามหาพรหม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลง ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกเทวราชทรงรับบาตร ท้าวสุยามเทวราชพัดด้วยวาลวิชนีอันเป็นทิพย์ ปัญจสิขเทพบุตรบรรเลงพิณ มาตลีเทพบุตรถือของหอมและดอกไม้ทิพย์นมัสการอยู่ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทวดาและพรหม เสด็จลงที่เมืองสังกัสสะ




ขอขอบคุณภาพจากthanon-itsaraphap.blogspot.com

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เป็นผู้ถวายบังคมรับเสด็จก่อนผู้ใด พระอุบลวรรณาเถรี เข้ามาถวายบังคมต่อจากพระสารีบุตร จากนั้นบรรดามหาชนที่ตามมาคอยเฝ้ารับเสด็จ ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงดำริว่าชนเหล่านี้รู้กิติศัพท์ของพระโมคคัลลานะในฐานะผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์ รู้ว่าพระอนุรุทธะเป็นเลิศทางทิพจักขุ รู้ว่าพระปุณณะเป็นผู้เลิศทางธรรมถึก แต่บริษัทนี้มิได้รู้จักพระสารีบุตรว่าเลิศด้วยคุณอะไร จึงตรัสถามปัญหากับพระเถระ พระสารีบุตรแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ทั้งปัญหาของปุถุชน พระเสชะ และพระอเสขะ

ในครั้งนั้นมหาชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตรว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
" สารีบุตรมิได้เป็นผู้มีปัญญาแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตก็เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา "
แล้วตรัส ปโรสหัสสชาดก แก่มหาชน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺฺโธ)

พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา ยังไม่ใช่อริยบุคคลชั้นอรหันต์)
พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษาได้บรรลุมรรคผลแล้ว)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.84000.org/true/139.html

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๖ เสด็จโปรดพระพุทธมารดา




สถูปยมกปาฏิหารย์
ขอขอบคุณภาพจากdhammaweekly.wordpress.com


พลอยโพยมต้องขออภัยผู้ที่สนใจเข้ามาติดตามเรื่องราวในครั้งพุทธกาล ที่บทความไม่เรียงลำดับตามวันเวลาตามพุทธประวัติ รู้สึกกับตัวเองว่า เรื่องราวออกจะกระโดดไปกระโดดมา แต่ได้พยายามคัดสรรเรื่องราวให้มีความต่อเนื่องในระดับหนึ่งแล้ว ( ก็ได้เพียงแค่นี้เอง) บางครั้งก็เกิดเพราะพลอยโพยมเกิดสะดุดใจกับบางเรื่องที่กำลังคัดลอกบทความจากต้นฉบับหนังสือมา ก็พยายามไปหารายละเอียดมาเพิ่มเติมในภายหลัง เรืิ่องราวเลยดูเหมือนกระโดดไปกระโดดมาเช่นนี้ และที่สำคัญเมื่อตั้งต้นคัดลอกบทความแรก ๆ มา พลอยโพยม ใช้เส้นทางการไปจาริกบุญที่บริษัททัวร์จัดเส้นทางไว้ เรื่องจึงตั้งต้นที่พุทธคยา มิใช่การเริ่มต้นบทความที่ลุมพินีอันเป็นสถานที่ประสูติ รวมถึงบทความต่อ ๆ มา จึงเป็นลำดับจาก การตรัสรู้ การเผยแผ่พระพระพุทธศาสนาดังนี้

และจากบทความเรื่อง "สถูปยมกปาฏิหารย์" เรื่องราวกล่าวถึงการจำพรรษาที่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดา และเสด็จกลับสู่มนุสสโลก ณ ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะหากไม่ลงรายละเอียดในส่วนนี้ก็ทำให้ผู้สนใจเข้ามาอ่านขาดสาระเรื่องราวอันควรทราบไปส่วนหนึ่ง

ดังนั้นพลอยโพยมต้องขอย้อนเรื่องราวกลับมาสานต่อบทความเรื่อง"สถูปยมกปาฏิหารย์"


สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ขอขอบคุณภาพจากthammawairun.blogspot.com

ในขณะที่พระบรมศาสดาทรงแสดงยมกปาฏิหารย์อยู่ที่กรุงสาวัตถีนั้น ทรงดำริว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตหลังจากแสดง ยมกปาฏิหารย์แล้ว จักจำพรรษาอยู่ ณ ที่ใด ทรงทราบว่าอยู่จำพรรษาในดาวดึงส์ภิภพเพื่อตรัสแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

เมื่อพระพุทธองค์แสดงยมกปาฏฏิหารย์เสร็จแล้ว ได้เสด็จขึ้นไปยังดาวดึงส์ภิภพ ท้าวสักกะเทวราชทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จมาต้อนรับพร้อมด้วยหมู่เทวดาทั้งหลาย พวกมหาชนที่ติดตามมา ได้ทราบจากพระอนุรุทธะว่า พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปยังภพดาวดึงส์ และจักประทับอยู่ตลอดพรรษา มหาชนจึงพากันตั้งที่พำนักคอยอยู่ ณ ที่นั้น พระบรมศาสดาได้ตรัสสั่งพระโมคคัลลานะไว้ก่อนว่า เธอพึงแสดงธรรมแก่บริษัทเหล่านั้น จุลอนาถบิณฑิกะจักให้เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ชนเหล่านั้นทุกวันเวลาทั้งเช้าเย็นตลอดไตรมาส


ดอกปาริชาติหรือทองหลางลายในโลกมนุษย์
ขอขอบคุณภาพจากwww.stou.ac.th

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ ปาริฉัตตกะ ท่ามกลางเทวบริษัท พระพุทธมารดาซึ่งได้เป็นสันดุสิตเทพบุตร ได้เสด็จลงมาจากวิมานชั้นดุสิต เพื่อฟังธรรม




ขอขอบคุณภาพจากwww.stou.ac.th

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ได้แก่

ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และ ปัฏฐาน





ขอขอบคุณภาพจากwww.buchasangkapan.com



ทรงเริ่มพระอภิธรรมจาก

๑  ธัมมสังคณี (ธมฺมสงฺคณี ) มีความดังนี้
กุสลาธมฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือไม่มีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีสุขเป็นวิบากต่อไป
อกุสลาธฒฺมา
ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือมีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

อพฺยากตา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายที่เป็น อัพยากฤต คือท่านไม่พยากรณ์ว่า เป็นกุศล หรืออกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ
กตเม ธมฺมา กุสลา
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน
ยสฺมึ สมเย
ในสมัยใด
กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ
จิตที่เป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น.... .
...


สวรรค์ชั้นดุสิต
ขอขอบคุณภาพจากwww.thaimtb.com

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดา โดยนัยนี้เรื่อยไปตลอดพรรษา ในเวลาบิณฑบาต พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพุทธนิรมิต ทรงอธิษฐานว่า พระพุทธนิรมิต จงแสดงธรรมชื่อนี้ ๆ จนกว่าเราจะกลับมา แล้วเสด็จไปป่่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลดา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีป ประทับนั่งกระทำภัตตกิจในโรงทานกว้างใหญ่ พระสารีบุตรกระทำวัตรปฏิบัติแก่พระบรมศาสดาในที่นั้น

ครั้นเสร็จภัตตกิจ รับสั่งกับพระสารีบุตรว่า
 " วันนี้เราภาษิตธรรมคัมภีร์นี้แก่พระพุทธมารดา เธอจงบอกธรรมนั้นแก่นิสิต ๕๐๐ ของเธอ "

แล้วเสด็จกลับไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมต่อจากพระพุทธนิรมิตแสดง

ส่วนพระสารีบุตรนั้นกลับไปแสดงธรรมนั้นแก่ศิษย์ของท่านเช่นนี้ทุกวันตลอดไตรมาส
ภิกษุนิสิต ๕๐๐ เหล่านั้น เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลก ได้เป็นผู้ชำนาญในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ในพรรษานั้นกว่าภิกษุทั้งปวง



ป่่าหิมพานต์
ขอขอบคุณภาพจากboard.postjung.com

ได้ยินว่า

ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวอาศัยอยู่ในเงื้อมผาแห่งหนึ่ง ได้ฟังพระเถระ ๒ รูป เดินจงกรมแล้วท่องพระอภิธรรมอยู่ ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่าเหล่านี้ชื่อว่าขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ เพียงแต่ถือเอานิมิตในเสียงนั้นเป็นสำคัญ จุติ (ตาย) จากอัตตภาพนั้นเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนตระกูลของชาวกรุงสาวัตถี ได้เห็นพระพุทธองค์ทรงแสดง ยมกปาฏิหารย์ มีความเลื่อมใส ขอบวชในสำนักพระสารีบุตร ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ดังนี้

พระบรมศาสดาทรงแสดงพระอภิธรรมโดยทำนองนั้นตลอดไตรมาส ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดามากมาย พระพุทธมารดาได้ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺฺโธ)

หมายเหตุ
เรื่องพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ มีความเห็นแตกต่างและขัดแย้งกันหลายที่หลายแห่ง แต่พลอยโพยมขออนุญาต ตามความเชื่อส่วนบุคคลของตนเองลงบทความตามข้อมูลที่มีข้างต้นนี้  สำหรับพลอยโพยมเองมิได้มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องพระธรรมของพระพุทธองค์ มีความรู้เพียงเบื้องต้น ทั่ว ๆ ไปที่พุทธศาสนิกชนพึงรู้ เท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๕ อานันท์โพธิ




ต้นโพธิ์พระอานนท์ที่เชตวันมหาวิหาร

สังฆเภท ในกรุงโกสัมพีซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประทับ ณ โฆสิตาราม นครโกสัมพี ในพรรษาที่ ๙ และพระพุทธองค์เสด็จไปยังรักขิตไพรสณฑ์อันเป็นที่อยู่ของช้าง ชื่อ ปาริเลยยกะ ประทับอยู่ ณ โคนไม้สาละใหญ่ต้นหนึ่ง ชื่อ ภัททสาละ ในรักขิตไพรสณฑ์นั้น

ทรงประทับอยู่สำราญพระอิริยาบถในพรรษาที่ ๑๐ อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา พากันส่งข่าวจากกรุงสาวัตถี ขอให้พระอานนท์ซึ่งอยู่ ณ โฆสิตาราม กราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์ขอให้เสด็จกลับกรุงสาวัตถี


ขอขอบคุณภาพจากpantip.com

ขณะเดียวกันภิกษุจากทิศต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้นออกพรรษาแล้วพากันมาหาและวิงวอนขอให้พระอานนท์พาไปเฝ้าพระบรมศาสดา ด้วยประสงค์จะฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ พระอานนท์จึงพาภิกษุเหล่านั้นไปยังรักขิตไพรสณฑ์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์แต่ผู้เดียวก่อน

ฃ้างปาริเลยยกะเห็นพระอานนท์ก็จะเข้าทำร้าย พระพุทธองค์ทรงห้ามว่า

" นั่นเป็นพุทธอุปัฏฐากของเรา"

ปาริเลยยกะจึงเข้ามาจะขอรับบาตร แต่พระอานนท์วางบาตรของท่านลงพื้น ถวายบังคมกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ รับสั่งให้พาภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป เข้ามา
ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมแล้วกราบทูลถามถึงผู้กระทำวัตรถวายในระหว่างพรรษา พระพุทธองค์ทรงทำปฏิสันถารกับเหล่าภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสชมเชยช้างปาริเลยยกะว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ช้างปาริเลยยกะกระทำกิจทุกอย่างแก่เราตลอดพรรษา การมีสหายเช่นนี้เป็นสิ่งประเสริฐนัก ถ้าไม่ได้สหายเช่นนี้ ควรเที่ยวไปผู้เดียวตามลำพังเหมือนช้างมาตังคะ ละโขลงแล้วเที่ยวไปในป่าแต่เชือกเดียว"

ช้างปาริเลยยกะประสงค์จะถวายภิกษาแก่เหล่าภิกษุ จึงเข้าป่ารวบรวมผลไม้นานาชนิดมากองไว้เพื่อถวายภิกษุในวันรุ่งขึ้น

เช้าวันต่อมาหลังจากเสร็จภัตกิจแล้ว พระพุทธองค์พร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์ก็เริ่มเดินทางกลับ ช้างปาริเลยยกะเดินไปยืนขวางเฉพาะพระพักตรพระศาสดา เหล่าภิกษุเห็นดังนั้นจึงทูลถามพระศาสดาว่าช้างกระทำอาการเช่นนี้เพราะเหตุใด พระบรมศาสดาตรัสว่่า ช้างไม่ปรารถนาให้เราไปจากที่นี่

พระบรมศาสดาตรัสว่า
 "นี้เป็นการไปไม่กลับของเรา ฌาน วิปัสสนา หรือแม้แต่มรรคผลจะยังไม่มีแก่เธอในอัตตภาพนี้ เธอจงหยุดอยู่ก่อนเถิดปาริเลยยกะ"

ช้างปาริเลยยกะเมื่อไม่สามารถเหนี่ยวรั้งพระพุทธองค์ได้จึงเดินตามไปส่ง จนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

 " ต่อแต่นี้ไปเป็นถิ่นมนุษย์มีอันตรายรอบด้าน ขอเธอจงหยุดอยู่ตรงนี้เถิด"

ช้างปาริเลยยกะยืนน้ำตาไหลอยู่ ณ ที่นั้น เมื่อพระพุทธองค์กับภิกษุสงฆ์ลับสายตาไป ก็ถึงแก่กาละล้มลงด้วยความอาลัยยิ่งในพระบรมศาสดา ไปบังเกิดในวิมานทองบนดาวดึงส์ในเทวโลก ท่ามกลางนางอัปสร ได้นามว่า ปาริเลยยกเทพบุตร



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm

ซึ่งในระหว่างพรรษาที่ ๑๐ นั้น ภิกษุชาวกรุงโกสัมพีที่ได้สำนึกตนแล้ว แต่มิอาจติดตามมาเฝ้าพระพุทธองค์ยังป่าปาริเลยยกะได้ เนื่องจากอยู่ในพรรษากาล ต้องพากันทนทุกข์ทรมานอยู่ที่วัด ณ วัดโฆสิตารามนั่นเองทั้งพรรษา เพราะถูกชาวเมืองโกสัมพีลงโทษจนซูบผอมลงเพราะขาดอาหาร ครั้นออกพรรษาได้ทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับกรุงสาวัตถี จึงพากันเดินทางตามไปเพื่อขอขมาพระพุทธองค์

ครั้นถึงอารามเชตวันมหาวิหาร ภิกษุโกสัมพีหมอบกราบลงแทบบาทมูล กล่าวคำยอมรับว่าพวกตนล่วงละเมิดสิกขาบท แล้วกราบทูลขอขมาต่อพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่า

"เธอทั้งหลายเป็นบุตรของเรา ชื่ือว่าบุตรไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาให้ไว้"

แล้วตรัส ทีฆีติโกศลชาดก ความย่อว่า
"ฑีฆาวุกุมารนั้นจับพระเมาลีพระเจ้าพาราณสี ผู้บรรทมหลับอยู่บนตักของตนในป่า เงื้อดาบขึ้นหมายใจว่าเราจักทำลายชีวิตโจรผู้ฆ่าบิดามารดาของเรา ขณะนั้นระลึกถึงโอวาทที่บิดามารดาให้ไว้ว่า

"ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร"

ฑีฆาวุกุมารจึงคิดว่า เราแม้จะสละชีวิต ก็จักไม่ทำลายโอวาทของท่าน
ในกาลจบพระคาถา ภิกษุทั้งหลายดำรงอยู่ในอริยผล มีพระโสดาบันเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว ปลงอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น

ในสมัยนั้นชาวเมืองสาวัตถีเมื่อเวลาเข้าไปยังเชตวันมหาวิหาร นำดอกไม้ ของหอมเป็นต้น ไปเพื่อบูชาพระบรมศาสดา แต่บางคราวเมื่ื่อพระพุทธองค์เสด็จจาริกไปตามชนบทเพื่อสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวเมืองก็นำเครื่องสักการะบูชาไปวางไว้ที่ประตูพระคันธกุฎี


ท่านอนาถบิณฑกเศรษฐีเห็นเหตุนั้นจึงขอร้องพระอานนท์ให้หาสถานที่ที่ควรสักแห่งหนึ่ง เพื่อให้ชนทั้งหลายได้วางเครื่องสักการะบูชาพระพุทธองค์ในเวลาที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร

พระอานนท์จึงเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไปข้าพระองค์อาจทำเจดีย์ไว้เพื่อให้ชนทั้งหลายสักการะได้หรือไม่ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เจดีย์มี ๔ ประเภท



Thussa Jedi | ทุสสเจดีย์ Artist : Ittiphon Phattarachon | อิทธิพล พัฒรชนม์

ขอขอบคุณภาพจาก www.rama9art.org

เจดีย์ ๔ ประเภท โดยพระดำรัสของพระพุทธองค์ในกาลนั้น คือ
๑.ธาตุเจดีย์ สำหรับบรรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
๒ บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยใช้สอย
๓.อุทเทสิกเจดีย์ ได้แก่พระพุทธรูป คือรูปเหมือนพระพุทธเจ้า
๔.ธรรมเจดีย์ ถึงที่บรรจุพระธรรมคำสอน

"อานนท์ ธาตุเจดีย์เธอมิอาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตถาคตอาศัยเป็นที่ตรัสรู้ แม้ตถาคตยังมีชีวิตอยู่หรือปรินิพพานแล้ว ก็ถือเป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ ไม่มีวัตถุปรากฎ "(เพราะสมัยนั้นไม่มี)

พระอานนท์จึงกราบทูลขอนำต้นโพธิ์มาปลูกไว้ข้างทางเข้าพระวิหารเชตวัน พระพุทธองค์ทรงเห็นด้วยตรัสว่า
"ดีแล้วอานนท์ เธอทำดังนั้น พระเชตวันก็จักเป็นเสมือนตถาคตประทับอยู่เป็นนิตย์"

พระอานนท์จึงนำความมาแจ้งแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขา กราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศลราชาแห่งสาวัตถีให้ทรงทราบด้วย

พร้อมกันนั้นพระอานนท์จึงขอให้พระโมคคัลลานะช่วยนำเมล็ดโพธิ์สุกจากต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้มาให้
พระโมคคัลลานะได้ไปยังโพธิมงคล ด้วยฤทธิ์ และเอาจีวรรับลูกโพธิ์สุกที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน นำกลับมามอบให้พระอานนท์

เมื่อได้เมล็ดโพธิ์มาแล้วพระอานนท์ก็ได้ถวายพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ทรงปลูก พระราชาดำริว่า ความเป็นราชามิได้ดำรงอยู่ตลอดไป ความเป็นราชาไม่เป็นของเที่ยง หาควรได้รับเกียรตินี้ไม่ และทรงแนะนำว่าบุคคลที่คู่ควรแก่เกียรติยศที่จะเป็นผู้เพาะเมล็ดโพธิ์ครั้งแรกนี้ คืออนาถบิณฑิกเศรษฐี ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงจัดพิธีเพาะเมล็ดโพธิ์ลงที่หน้าประตูเชตวันมหาวิหาร พระพุทธองค์เสด็จมาในงานนี้

พระอานนท์จึงวางผลโพธิ์ไว้ในมือของเศรษฐี
เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีวางเมล็ดโพธิ์ลงในหลุม ก็งอกเติบโตเป็นต้นใหญ่ทันที มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปโดยรอบ พระราชาทรงรดโพธิ์นั้นด้วยน้ำสุคนธรส
หลังจากนั้นพระอานนท์กราบทูลขอให้พระบรมศาสดาประทับเข้าสมาบัติ ณ โคนโพธิ์นั้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อมหาชน พระพุทธองค์ทรงประทับที่โคนโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแต่สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง



ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้างกุฎีเพิ่มเติม เรียกว่า โกสัมภกุฏิ เป็นหมู่กุฎีใหญ่ บางท่านว่า เหตุที่เรียกว่าโกสัมภกุฏิ ก็เพราะมีต้นโกสัมภะคือไม้สนชนิดหนึ่งอยู่ข้างหน้า บางท่านว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี เห็นภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่สร้างความเดือดร้อนให้พระบรมศาสดา จนตัดสินพระทัยไปจำพรรษาที่ป่าปาริไลยกะ อยู่กับลิงและช้าง ยังดีกว่าอยู่กับพวกภิกษุสงฆ์ที่แตกความสามัคคี เมื่อภิกษุเหล่านี้ถูกสังคมลงโทษ จึงสำนึกผิด เดินทางมาขอเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเห็นว่าผู้สำนึกผิดยังรู้จักขอโทษจึงสร้างกุฏินี้ขึ้น เพื่อรอให้โอกาสการปฏิบัติธรรมแก่กล้า ก็จะสำเร็จมรรคผลในวันข้างหน้าได้

หมู่กุฎีภิกษุโกสัมพีและวัชชีบุตร กุฎีพระราหุล กุฎีพระอุบาลีเถระ อีกทั้งโบราณสถานอื่น ๆ อีกมากมายที่ปรากฎในเขตวิหารพระเชตวัน รัฐบาลได้เข้ามาดูแลรักษาร่มไม้ให้ร่มรื่นเย็นใจแก่ผู้มาเยือน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)



ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net

พิธีการปลูกต้นโพธิ์พระอานนท์ หรือในบางที่เรียกว่า อานันทโพธิ มีความละเอียดดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ ๒๖๗
อรรถกถากาลิงคชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการบูชามหาโพธิ์ ที่พระอานนท์เถระการทำแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ราชา กาลิงฺโค จกฺกวตฺติ ดังนี้.

พระราชารับสั่งให้เอาหม้อทองคำและหม้อเงิน ๘๐๐ หม้อ ใส่น้ำหอมเต็ม ประดับด้วยดอกบัวเขียว สูงขึ้นมาหนึ่งศอกเป็นต้น ตั้งเป็นแถวแวดล้อมต้นมหาโพธิ แล้วรับสั่งให้ทำแท่นสำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด โปรยปรายผสมทอง สร้างกำแพงล้อมรอบ ทำซุ้มประตูสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เครื่องสักการะได้มีเป็นอันมาก.

พระอานนท์เถระเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระองค์จงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ที่ข้าพระองค์ปลูก เข้าสมาบัติที่ข้าพระองค์เข้า ณ โคนต้นมหาโพธิ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน.

พระศาสดาตรัสว่า พูดอะไร อานนท์ เมื่อเรานั่งเข้าสมาบัติที่ได้เข้าแล้ว ณ มหาโพธิมณฑล ประเทศอื่นก็ไม่อาจที่จะทรงอยู่ได้.

พระอานนท์เถระกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน ขอพระองค์จง ใช้สอยโคนต้นโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแก่สมาบัติ โดยกำหนดว่าใกล้ภูมิประเทศนี้เถิด.

พระศาสดาทรงใช้สอยโคนต้นโพธินั้น ด้วยความสุขเกิดแต่สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง.

พระอานนท์เถระถวายพระพรแด่พระเจ้าโกศลเป็นต้น ให้ทำการฉลอง
ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น
ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น
ต้นไม้ที่พระอานนท์ปลูกไว้....

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=15765




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm

ยังมีต้นโพธิ์ที่สำคัญอีกหนึ่งต้นที่ศรีลังกา



ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net

ณ วัดพระศรีมหาโพธิ์ เมือง อนุราธปุระ มีต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือมีอายุถึง   ๒,๓๑๗ ปี   ( ณวั นลงบทความต้นฉบับ) เป็นที่สักการะของชาวศรีลังกา ต้นโพธิ์ต้นนี้ได้รับการบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊คด้วย

ประวัติต้นโพธิ์ต้นนี้ เริ่มต้นเมื่อ ปีพ.ศ.  ๒๑๕   พระนางสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาในพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ พุทธคยา ไปถวายแด่ พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ศรีลังกาสมัยนั้น ตามพระราชบัญชา ของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้ทรงปลูกไว้ที่กรุงอนุราธปุระ จวบจนกระทั่งบัดนี้



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=434797


ภาพพระสังฆมิตตาเถรี ราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชนำต้นศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยามายังเกาะศรีลังกามีพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ...

ขอขอบคุณภาพจาก taraarryatravel.com

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๔ วัดบุพพาราม




บริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของวัดบุพพารามเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีที่แล้ว
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bangsaensook.com 


"วัดบุพพาราม" เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี รองจากวัดพระเชตวันมหาวิหาร โดยพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ ๓ พรรษา

บุพพารามเป็นมหาวิหารแห่งที่สองของนครสาวัตถี เคยมีผู้ชี้ให้ดูบอกว่านี่คือวัดบุพพาราม ซึ่งต้องเดินลัดเลาะตามทุ่งนาเลียบฝั่งแม่น้ำอจิรวดีไปประมาณ ๓ กิโลเมตร บางท่านบอกว่าน่าจะเป็นเมืองอโยธยาในปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนกว่านี้ก่อน จึงขอกล่าวเนื้อหาตามที่อรรถกถาธรรมบทเล่าไว้ว่านางวิสาขาผู้เป็นธิดาธนัญชัยเศรษฐี และเป็นภรรยาของปุณณวัฒนะเศรษฐี แห่งเมืองสาวัตถี นางวิสาขานับถือพระพุทธศาสนา แต่สกุลสามีนับถือศาสนาเชน ภายหลังได้ชักชวนสกุลของสามีเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา
หลังจากที่ได้ซื้อเครื่องประดับอันมีค่ายิ่งชื่อ มหาลดา หรือเมรปสันทนา ของตนเองทีี่ลืมไว้ในศาลาโรงธรรม และใช้เงินนั้นสร้างพระอารามขึ้นทางทิศตะวันออกของนครสาวัตถี ให้ชื่อว่า บุพพาราม แปลว่า อารามด้านทิศตะวันออกตามชื่อของป่านั้น

การที่นางวิสาขาเลือกสร้างพระอารามขึ้นที่บุพพาราม ก็เพราะเป็นที่ที่พระบรมศาดาโปรดปราน เสด็จไปประทับภายหลังจากได้มาเสวยที่เรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐี หลังจากสร้างเสร็จแล้วพระพุทธองค์เสด็จประทับจำพรรษาที่วัดบุพพาราม ๓ พรรษา

ตามตำนานกล่าวว่า พระโมคคัลลานะเป็นผู้กำกับการก่อสร้างพระอารามแห่งนี้ ได้ทำเป็นโลหะปราสาท ๒ ชั้น ชั้นบนมี ๕๐๐ ห้อง ชั้นล่างมี ๕๐๐ ห้อง ใช้เวลาสร้าง ๙ เดือนก็แล้วเสร็จ โลหะปราสาทของนางวิสาขานี้ เป็นแบบอย่างที่มีการสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาในกาลต่อมา อีก ๒ แห่ง คือ ที่เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา และที่วัดราชนัดดา ประเทศไทย


ภาพวาดนางวิสาขา และเครื่องประดับ มหาลดาปสาธน์ ผลงาน อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง จากวัดไทย ในอินเดีย

 ขอขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com

พระพุทธองค์โปรดประทับที่วัดบุพพารามในบางโอกาส คือ ถ้าประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเวลากลางวัน พระองค์จะเสด็จไปประทับที่บุพพารามในเวลากลางคืน ในบุพพารามนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสแสดงพระสูตรต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เช่น อัคคัญญสูตร ในทีฆนิกาย อุฎฐนสูตร ในสุตตนิบาต อริยปริเยสณสูตร คณกโมคคัลลานสูตร ในมัชฌิมนิกาย ปราสาทกัมปนสูตร ในสังยุตนิกาย เป็นต้น

หลวงจีนฟาเหียนมาถึงที่นี่ ยังทันได้เห็นซากบุพพารามของนางวิสาขา สำหรับที่เชตวันมหาวิหาร หลวงจีนฟาเหียนบอกว่า ได้เห็นสถูปมากมายสร้างขึ้นไว้ ณ ที่ซึ่งพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาบ้าง ที่ซึ่งพระบรมศาสดาประทับบ้าง ที่ซึ่งพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมบ้าง แม้ที่ซึ่งนางสุนทริกาถูกฆ่าก็ยังมีสถูปสร้างเป็นอนุสรณ์ด้วย

บุพพารามเป็นอุทยานนอกกรุงสาวัตถีทางด้านตะวันออก มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฎรายละเอียด หลักฐานมีเพียงว่า บุพพารามเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงใช้พักผ่อนพระอิริยาบท หลังจากเสวยภัตตาหารในเรือนอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้วเป็นประจำ ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์รับสั่งให้สามเณรรูปหนึ่งคือสุมนะ ไปตักน้ำจากสระอโนดาต มาใช้รักษาโรคของพระอนุรุทธะซึ่งอาพาธอยู่ ต่อมาหลังจากนางวิสาขาลืมเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ไว้ในพระเชตวันมหาวิหาร และสร้างวัดบุพพารามนั้นได้นำเงินส่วนหนึ่งซื้ออุทยานบุพพารามเพื่อสร้างปราสาทตามคำแนะนำของพระพุทธองค์

มิคารมาตุปราสาท เป็นปราสาทที่นางวิส่าขาสร้างถวาย ด้วยเงิน ๙ โกฏิ ขณะอยู่ในระหว่างก่อสร้าง พระพุทธองค์ตรัสให้พระโมคคัลลานะและพระภิกษุอีก ๑๐๐ รูป เป็นผู้ให้คำแนะนำ ลักษณะเป็นปราสาทสองชั้น มีห้องพำนักชั้นละ ๕๐๐ ห้อง บนหลังคาปราสาทสร้างที่เก็บน้ำด้วยทองคำเก็บน้ำได้ ๖๐ ถัง เมื่อแล้วเสร็จนางทำการฉลองสิ้นเงินอีก ๙ โกฏิ



เรื่องนางวิสาขาสร้างมิคารมาตุปราสาท ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสร้างประมาณพรรษาใด จากการเทียบเคียงระยะเวลาในพรรษาที่ ๕ ที่พระพุทธองค์เสด็จไปภัททิยนคร แคว้นอังคะ เพื่อโปรดตระกูลของนางวิสาขาได้บรรลุโสดาบัน และโปรดภัททชิหลานชายของเมณฑกเศรษฐีให้บรรลุพระอรหัตตผลนั้น นางวิสาขาเพิ่งมีอายุ ๗ ขวบ หลังจากนั้นครอบครัวของธนัญชัยเศรษฐีผู้บิดา นางสุมนาเทวีมารดา และตัวนางวิสาขาพร้อมทั้งเหล่าบริวาร ได้ย้ายมาพำนัก ณ เมืองสาเกต ตามพระประสงค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นโกศล ต่อมาเมื่อมีอายุ ๑๖ ปี จึงแต่งงานกับปุณณวัฒนะเศรษฐี หลังจากมีบุตร และไปฟังพระธรรมเทศนา และลืมเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ไว้ในมหาวิหาร นางวิสาขาน่าจะมีอายุประมาณ ๒๑ ปีแล้ว ๑๔ ปีให้หลังจากวันที่นางวิสาขาบรรลุโสดาบัน นางวิสาขาจึงเริ่มสร้างปราสาท คาดว่าคงอยู่ในระหว่างพรรษาที่ ๑๙ -๒๐ (พระราชรัตนรังษี )


โลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาประเทศไทย
ขอขอบคุณภาพจากzack43095.wordpress.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)


เมื่อครั้งพุทธกาล วัดบุพพารามตั้งอยู่นอกเมืองสาวัตถีไปทางทิศตะวันออก เป็นวัดที่สมบูรณ์เพียบพร้อมและกว้างขวางมาก มีถาวรวัตถุชื่อ มิคารมาตุประสาท ประกอบด้วยห้องพักอาศัยถึง ๑,๐๐๐ ห้อง แต่ละห้องมีสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกทั้งสิ้น แต่ปัจจุบัน วัดบุพพารามไม่มีซากปรักหักพังให้เห็นเด่นชัดเหมือนวัดพระเชตวันมหาวิหาร เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำอจิรวดี จึงถูกพัดพังจมน้ำไปเกือบหมด


นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้สร้างวิหารให้เป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งตอนที่กำลังก่อสร้าง นางได้อาราธนาพระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ด้วยฤทธานุภาพของพระเถระ ผู้ที่ไปหาวัสดุก่อสร้างแม้ในระยะทางไกลถึง ๕๐-๖๐ โยชน์ ก็สามารถขนเอามาได้ภายในวันเดียว หรือแม้การยกท่อนไม้หรือก้อนหินใส่เกวียนก็ไม่ลำบาก เพลาเกวียนก็ไม่หัก

ครั้งนั้นพระบรมศาสดาเสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์ที่เมืองอื่น ครั้นครบ ๙ เดือน พระองค์ทรงเสด็จกลับกรุงสาวัตถี นางวิสาขาจึงไปอาราธนาให้พระบรมศาสดาเสด็จไปประทับบนปราสาทในวิหารชื่อ บุพพาราม เพื่อจะได้ฉลองมหาวิหาร นางได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๔ เดือน วันสุดท้ายได้ถวายผ้าไตรจีวรชั้นเลิศแด่ภิกษุสงฆ์ พร้อมถวายจตุปัจจัยไทยธรรมอีกมากมาย การฉลองมหาวิหารคราวนั้น นางได้บริจาคทรัพย์รวมทั้งหมด ๒๗ โกฏิ คือ ในการซื้อที่ดิน ๙ โกฏิ สร้างวิหาร ๙ โกฏิ และในการฉลองวิหารอีก ๙ โกฏิ



ขอขอบคุณภาพจากboard.palungjit.org

หลังจากฉลองมหาวิหาร นางวิสาขาแวดล้อมด้วยลูกหลานได้เดินชมมหาวิหารภายในบริเวณวัด เห็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่สำเร็จอย่างสวยงาม เกิดความปีติปราโมทย์ใจ คิดว่าความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ในภพชาติก่อน ๆ ได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วในชาตินี้ เวลาเดินรอบมหาวิหาร นางได้เปล่งอุทานคล้ายกับร้องเพลงด้วยสำเนียงอันไพเราะว่า

“ความดำริที่เราตั้งใจว่า เราจักสร้างวัดสร้างมหาวิหาร จักถวายเตียงตั่งฟูกและหมอนเป็นเสนาสนภัณฑ์ จักถวายสลากภัตด้วยโภชนะอันประณีต เราจักถวายผ้ากาสิกพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้ายเนื้อดีเป็นจีวรทาน เราจักถวายเนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำมัน และน้ำอ้อยเป็นเภสัชทาน ความปรารถนาทั้งหมดนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์ทุกประการแล้ว”

เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงรำพึงของนาง ต่างรู้สึกแปลกใจที่เสียงนั้นเปล่งเป็นทำนอง จึงกราบทูลพระบรมศาสดาว่า

 “พวกข้าพระองค์ไม่เคยเห็นนางวิสาขาร้องเพลงเลย วันนี้นางมีบุตรและหลานห้อมล้อม แล้วขับเพลงเดินรอบมหาวิหาร นางคงเสียจริตไปแล้วกระมัง”

พระบรมศาสดาตรัสว่า
 “ธิดาของเราไม่ได้ร้องเพลง แต่ว่าความปรารถนาในการสั่งสมบุญของเธอเต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้ว จึงเดินเปล่งอุทานอย่างนั้น”

จากนั้นพระองค์ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาตรัสเล่าให้ฟังว่า
นับย้อนหลังไป ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นในโลก พระองค์มีพระชนมายุถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี มีภิกษุขีณาสพ ๑๐๐,๐๐๐ เป็นบริวาร ครั้งนั้น นางวิสาขาเป็นเพื่อนของมหาอุบาสิกาผู้เป็นเลิศในทางอุปัฏฐากพระพุทธองค์ นางเห็นมหาอุบาสิกาท่านนั้นพูดคุยกับพระบรมศาสดาด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย จึงคิดว่า
 “เพื่อนเราทำบุญอะไรไว้หนอ จึงเป็นผู้สนิทสนมคุ้นเคยกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนี้”
นางจึงตั้งความปรารถนาจะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง

พระบรมศาสดาตรัสแนะวิธีการที่นางสามารถทำความปรารถนานั้นให้สำเร็จได้ นางจึงกราบทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์ให้ไปฉันภัตตาหารที่บ้านตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายนางได้ถวายผ้าสาฎกเพื่อทำจีวร แล้วตั้งความปรารถนาว่า

“ด้วยผลแห่งทานนี้ หม่อมฉันไม่ปรารถนาความเป็นใหญ่ในเทวโลก แต่หม่อมฉันปรารถนาที่จะตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา เป็นยอดของมหาอุบาสิกาผู้สามารถอุปัฏฐากบำรุงด้วยปัจจัย ๔ แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ”

พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า
 “จากนี้ไป ๑๐๐,๐๐๐ กัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม จักอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้นเธอจักเป็นอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา และเธอจะได้ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา จักเป็นเลิศของอุบาสิกาผู้เป็นอุปัฏฐายิกา ผู้บำรุงด้วยปัจจัย ๔”

นางได้ฟังดังนั้น รู้สึกดีอกดีใจราวกับจะได้สมปรารถนาในวันพรุ่งนี้

ตั้งแต่นั้นมานางตั้งใจทำบุญจนตลอดชีวิต เมื่อละโลกก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลกเท่านั้น จนมาถึงภพชาตินี้ นางได้เกิดเป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นมหาอุบาสิกาผู้ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเลิศแห่งอุปัฏฐายิกาในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา สมดังที่นางได้ตั้งความปรารถนาไว้ทุกประการ


โลหะปราสาทแห่งที่สาม ที่วัดราชนัดดาประเทศไทย
ขอขอบคุณภาพจากwww.flickr.com




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://buddha.dmc.tv
http://taraarryatravel.com/info_page.php?id=609&category=34



ส่วนโลหะปราสาทหลังที่สองสร้างขึ้นที่อนุราธปุระ หรือเมืองหลวงเก่าของศรีลังกา สร้างขึ้นในสมัยของ พระเจ้าทุฏคามนี ราวพุทธศักราช ๓๘๒ มีขนาดใหญ่โตไม่แพ้หลังแรก มีความสูงถึง ๙ ชั้น มีห้องจำนวน ๑,๐๐๐ ห้องเท่ากัน ประดับด้วยงาช้างและอัญมณีงดงามยิ่งนัก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ปัจจุบันเหลือเพียงซากเสานับพันต้นเป็นอนุสรณ์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=706013

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๓ วิสาขามหาอุบาสิกา





ขอขอบคุณภาพจาก www.kunkroo.com


หากนึกถึงนครสาวัตถี นอกจากจะรำลึกถึง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี แล้วไม่รำลึกถึงนางวิสาขามหาอุบาสิกา ก็คงเป็นไปไม่ได้

วิสาขาเป็นชื่อของมหาอุบาสิกาคนสำคัญในครั้งพุทธกาล

นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะะ เป็นบุตรของ ธนญชัยเศรษฐี มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี มีปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี
เมืองหลวงของแคว้นอังคะชื่อจัมปา ภัททิยะเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของแคว้นอังคะ

เมื่อนางวิสาขา มีอายุได้ ๗ ขวบ ท่านเมณฑกเศรษฐี (ปู่) ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมาก กำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ก็เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด

ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพุทธองค์เสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน และยังกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนเป็นระยะเวลา ๑๕ วัน

สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสาร แห่งเมืองราชคฤห์ ซึ่งต่างฝ่ายต่างอภิเษกสมรสน้องสาวของแต่ละฝ่ายนั้น เนื่องจากในเมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย ได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติขนาดนับไม่ถ้วนอยู่ถึง ๕ คน คือโชติยเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี ปุณณกเศรษฐี กากวัลลิยเศรษฐี และเมณฑกเศรษฐี (เศรษฐีผู้มีอยู่แคว้นอังคะซึ่งขณะนั้นแคว้นอังคะเป็นเมืองขึ้นของแคว้นมคธ)



ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net

ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้งความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมืองสาวัตถีหนึ่งตระกูล เพื่อไปตั้งถิ่นฐานประกอบธุรกิจอยู่ประจำแคว้นของพระองค์
พระเจ้าพิมพิสารทรงตัดสินพระทัยลำบากมาก เพราะถ้าทรงตัดสินพระทัยให้ตระกูลเศรษฐีผู้ใดไป ก็จะได้รับความกระทบกระเทือนทั่วแคว้นมคธ ในที่สุดตัดสินพระทัย ยกตระกูลธนัญชัยเศรษฐี บุตรชายของเมณฑกเศรษฐี ให้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานประกอบธุรกิจอยู่ที่แคว้นโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศล นำธนัญชัยเศรษฐี พร้อมด้วยภรรยา ธิดา ตลอดจนบริวารและทรัพย์สินเงินทองออกเดินทางสู่แคว้นโกศล ขณะเดินทางถึงเขตแดนต่อกันระหว่างแคว้นมคธและแคว้นโกศลนั้น
ธนัญชัยเศรษฐีทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ระยะทางจากนี้ถึงนครสาวัตถีไกลเพียงไร พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า ๗ โยชน์ (๑๑๒ กิโลเมตร) ธนัญชัยเศรษฐีจึงทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยตรงเขตแดนต่อกันระหว่างแคว้นโกศลและแคว้นมคธ เพราะเกรงว่าการพาครอบครัวและบริวารเข้าไปอยู่เมืองสาวัตถีจะทำให้เมืองคับแคบไป

พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้สร้างเมืองณ ชายแดนติดต่อกันระหว่างสองแคว้น และพระราชทานนามมืองใหม่นี้ว่า “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์

ในขณะเจริญวัย ๑๕-๑๖ ปี วิสาขาเป็นหญิงที่งามพร้อมด้วยความงาม ด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี ๕ คือ

ผมงาม หมายถึง ผมซึ่งยาวสลวยลงมาแล้วมีปลายช้อนขึ้นเองโดยธรรมชาติ

ฟันงาม หมายถึง ฟันขาวสะอาดเป็นระเบียบเรียงรายประดุจไข่มุกที่นายช่างจัดเข้าระเบียบแล้ว

ผิวงามลักษณะนี้มี ๒ อย่าง คือ ถ้าผิวขาวก็ขาวละเอียดอ่อนเหมือนสีดอกกรรณิการ์ ถ้าผิวดำก็ดำอย่างดอกอุบลเขียว อมเลือดอมฝาด เปล่งปลั่งคล้ายสำน้ำผึ้งซึ่งนำมาจากรังผึ้งใหม่ ๆ

ริมฝีปากงาม หมายถึง ริมฝีปากบางโค้งเป็นรูปกระจับสีชมพูเรื่อคล้ายผลตำลึงสุก เป็นเองโดยธรรมชาติ มิใช่เพราะตกแต่งแต้มทา


วัยงามหมายถึง เป็นคนงามตามวัย งามทุกวัย เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็งามอย่างเด็ก เมื่ออยู่ในวัยสาวก็งามอย่างหญิงสาว เมื่ออยู่ในวัยชราก็งามอย่างคนชรา





ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net


วันหนึ่ง นางวิสาขา พร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ และขณะนั้นเองฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พราหมณ์กลุ่มหนึ่งของเมืองสาวัตถีที่ผ่านมาพบรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึงถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ”
นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่

๑. พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
๒.บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์
๓. สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย
๔. ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง

(มิคารเศรษฐีเป็นผู้ส่งพราหมณ์กลุ่มหนึ่งไปแสวงหาหญิงเบญจกัลยาณีมาเป็นคู่ครองของปุณณวัตนกุมารเพราะปุณณวัฒนกุมารซึ่งถูกบิดามารดารบเร้าให้แต่งงานได้แจ้งความประสงค์ว่าจะยอมแต่งงานกับหญิงเบญจกัลยาณีเท่านั้น)

ต่อมา มิคารเศรษฐี บิดาแห่งปุณณวัฒนกุมารในกรุงสาวัตถี ส่งทูตไปขอนางเพื่อบุตรของตน

การแต่งงานของนางวิสาขาเป็นเรื่องมโหฬารยิ่ง ธนัญชัยเศรษฐีให้นายช่างทำเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ เครื่องประดับนี้เป็นชุดยาวติดต่อตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า แพรวพราวไปด้วยเพชรนิลจินดามากหลาย ไม่มีผ้าด้าย ผ้าไหม หรือผ้าใด ๆ เจือปนเลย ที่ ๆ ควรจะใช้ผ้า เขาก็ใช้แผ่นเงินแทน ในเครื่องประดับนี้ต้องใช้เพชร ๔ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน.

ลูกดุมทำด้วยทอง ห่วงทำด้วยเงิน เครื่องประดับนี้คลุมตั้งแต่ศีรษะจรดหลังเท้า บนศีรษะทำเป็นรูปนกยูงรำแพน ขนปีกทั้งสองข้างทำด้วยทองข้างละ ๕๐๐ ขน จะงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ นัยน์ตาทำด้วยแก้วมณี ก้านขนและขาทำด้วยเงิน นกยูงประดิษฐ์อยู่เหนือเศียร เครื่องประดับนี้มีราคา ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าจ้างทำหนึ่งแสนกหาปณะและทำอยู่ถึง ๔ เดือน โดยนายช่างจำนวนร้อย จึงสำเร็จลง

เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก

นอกจากนี้ ธนัญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหาศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย


ขอขอบคุณภาพจากtrang82.wordpress.com

คืนสุดท้ายที่นางวิสาขาจะจากไปสู่ตระกูลสามีนั่นเอง ธนัญชัยเศรษฐีผู้บิดาได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อดังนี้
๑. ไฟในอย่านำออก
๒. ไฟนอกอย่านำเข้ามา
๓. พึงให้ทานแก่บุคคล ที่ให้
๔. ไม่พึงให้แก่บุคคลที่ไม่ให้
๕. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ทั้งให้และไม่ให้
๖. พึงนั่งให้เป็นสุข
๗. พึงนอนให้เป็นสุข
๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข
๙. พึงบำเรอไฟ
๑๐. พึงนอบน้อมเทวดา

นางวิสาขาเข้าสู่พิธีอาวาหมงคลด้วยเกียรติอันยิ่งใหญ่ การต้อนรับทางกรุงสาวัตถีนั้นมโหฬารเหลือคณนา แต่บังเอิญตระกูลของปุณณวัฒนกุมารนั้นมิได้นับถือพระพุทธศาสนาแต่นับถือศาสนาของนิครนถ์นาฎบุตรหรือศาสนาเชน

ต่อมานางวิสาขาสามารถทำให้มิคารเศรษฐีบิดาแห่งสามีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอีกทั้ง รักและนับถือนางวิสาขาในสองฐานะ คือฐานะสะใภ้และฐานะ ”แม่” จึงเรียกนางวิสาขาว่า “แม่ "ทุกคำไป เพราะถือว่านางวิสาขาเป็นผู้จูงให้ท่านเดินเข้าทางถูก จูงออกจากทางรก เมื่อคนทั้งหลายพูดถึงนางวิสาขาก็มักจะเติมสร้อยคำตามมาข้างหลังว่า ”มิคารมารดา”


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm


โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และมีของไปถวายเสมอ ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา  ๙ โกฏิกหาปณะ กับ ๑  แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดารับสั่งให้พระโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า วัดบุพพาราม




ขอขอบคุณภาพจากttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm

ปกตินางวิสาขาจะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง เพื่อรับภัตตาหารอยู่เสมอ

วันหนึ่ง สาวใช้ได้ไปที่วัดตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า

“ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”

นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์


ขอขอบคุณภาพจากboard.postjung.com

ลักษณะของผู้มีวัยงามเช่นนางวิสาขา คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน


ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://goldfish.wimutti.net/leelakum/wisa.html
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
วิกิพีเดีย