วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๕ อานันท์โพธิ
ต้นโพธิ์พระอานนท์ที่เชตวันมหาวิหาร
สังฆเภท ในกรุงโกสัมพีซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประทับ ณ โฆสิตาราม นครโกสัมพี ในพรรษาที่ ๙ และพระพุทธองค์เสด็จไปยังรักขิตไพรสณฑ์อันเป็นที่อยู่ของช้าง ชื่อ ปาริเลยยกะ ประทับอยู่ ณ โคนไม้สาละใหญ่ต้นหนึ่ง ชื่อ ภัททสาละ ในรักขิตไพรสณฑ์นั้น
ทรงประทับอยู่สำราญพระอิริยาบถในพรรษาที่ ๑๐ อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา พากันส่งข่าวจากกรุงสาวัตถี ขอให้พระอานนท์ซึ่งอยู่ ณ โฆสิตาราม กราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์ขอให้เสด็จกลับกรุงสาวัตถี
ขอขอบคุณภาพจากpantip.com
ขณะเดียวกันภิกษุจากทิศต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้นออกพรรษาแล้วพากันมาหาและวิงวอนขอให้พระอานนท์พาไปเฝ้าพระบรมศาสดา ด้วยประสงค์จะฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ พระอานนท์จึงพาภิกษุเหล่านั้นไปยังรักขิตไพรสณฑ์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์แต่ผู้เดียวก่อน
ฃ้างปาริเลยยกะเห็นพระอานนท์ก็จะเข้าทำร้าย พระพุทธองค์ทรงห้ามว่า
" นั่นเป็นพุทธอุปัฏฐากของเรา"
ปาริเลยยกะจึงเข้ามาจะขอรับบาตร แต่พระอานนท์วางบาตรของท่านลงพื้น ถวายบังคมกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ รับสั่งให้พาภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป เข้ามา
ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมแล้วกราบทูลถามถึงผู้กระทำวัตรถวายในระหว่างพรรษา พระพุทธองค์ทรงทำปฏิสันถารกับเหล่าภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสชมเชยช้างปาริเลยยกะว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ช้างปาริเลยยกะกระทำกิจทุกอย่างแก่เราตลอดพรรษา การมีสหายเช่นนี้เป็นสิ่งประเสริฐนัก ถ้าไม่ได้สหายเช่นนี้ ควรเที่ยวไปผู้เดียวตามลำพังเหมือนช้างมาตังคะ ละโขลงแล้วเที่ยวไปในป่าแต่เชือกเดียว"
ช้างปาริเลยยกะประสงค์จะถวายภิกษาแก่เหล่าภิกษุ จึงเข้าป่ารวบรวมผลไม้นานาชนิดมากองไว้เพื่อถวายภิกษุในวันรุ่งขึ้น
เช้าวันต่อมาหลังจากเสร็จภัตกิจแล้ว พระพุทธองค์พร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์ก็เริ่มเดินทางกลับ ช้างปาริเลยยกะเดินไปยืนขวางเฉพาะพระพักตรพระศาสดา เหล่าภิกษุเห็นดังนั้นจึงทูลถามพระศาสดาว่าช้างกระทำอาการเช่นนี้เพราะเหตุใด พระบรมศาสดาตรัสว่่า ช้างไม่ปรารถนาให้เราไปจากที่นี่
พระบรมศาสดาตรัสว่า
"นี้เป็นการไปไม่กลับของเรา ฌาน วิปัสสนา หรือแม้แต่มรรคผลจะยังไม่มีแก่เธอในอัตตภาพนี้ เธอจงหยุดอยู่ก่อนเถิดปาริเลยยกะ"
ช้างปาริเลยยกะเมื่อไม่สามารถเหนี่ยวรั้งพระพุทธองค์ได้จึงเดินตามไปส่ง จนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
" ต่อแต่นี้ไปเป็นถิ่นมนุษย์มีอันตรายรอบด้าน ขอเธอจงหยุดอยู่ตรงนี้เถิด"
ช้างปาริเลยยกะยืนน้ำตาไหลอยู่ ณ ที่นั้น เมื่อพระพุทธองค์กับภิกษุสงฆ์ลับสายตาไป ก็ถึงแก่กาละล้มลงด้วยความอาลัยยิ่งในพระบรมศาสดา ไปบังเกิดในวิมานทองบนดาวดึงส์ในเทวโลก ท่ามกลางนางอัปสร ได้นามว่า ปาริเลยยกเทพบุตร
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
ซึ่งในระหว่างพรรษาที่ ๑๐ นั้น ภิกษุชาวกรุงโกสัมพีที่ได้สำนึกตนแล้ว แต่มิอาจติดตามมาเฝ้าพระพุทธองค์ยังป่าปาริเลยยกะได้ เนื่องจากอยู่ในพรรษากาล ต้องพากันทนทุกข์ทรมานอยู่ที่วัด ณ วัดโฆสิตารามนั่นเองทั้งพรรษา เพราะถูกชาวเมืองโกสัมพีลงโทษจนซูบผอมลงเพราะขาดอาหาร ครั้นออกพรรษาได้ทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับกรุงสาวัตถี จึงพากันเดินทางตามไปเพื่อขอขมาพระพุทธองค์
ครั้นถึงอารามเชตวันมหาวิหาร ภิกษุโกสัมพีหมอบกราบลงแทบบาทมูล กล่าวคำยอมรับว่าพวกตนล่วงละเมิดสิกขาบท แล้วกราบทูลขอขมาต่อพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่า
"เธอทั้งหลายเป็นบุตรของเรา ชื่ือว่าบุตรไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาให้ไว้"
แล้วตรัส ทีฆีติโกศลชาดก ความย่อว่า
"ฑีฆาวุกุมารนั้นจับพระเมาลีพระเจ้าพาราณสี ผู้บรรทมหลับอยู่บนตักของตนในป่า เงื้อดาบขึ้นหมายใจว่าเราจักทำลายชีวิตโจรผู้ฆ่าบิดามารดาของเรา ขณะนั้นระลึกถึงโอวาทที่บิดามารดาให้ไว้ว่า
"ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร"
ฑีฆาวุกุมารจึงคิดว่า เราแม้จะสละชีวิต ก็จักไม่ทำลายโอวาทของท่าน
ในกาลจบพระคาถา ภิกษุทั้งหลายดำรงอยู่ในอริยผล มีพระโสดาบันเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นต้องอาบัติแล้ว ถูกยกแล้ว ปลงอาบัติแล้ว และสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น
ในสมัยนั้นชาวเมืองสาวัตถีเมื่อเวลาเข้าไปยังเชตวันมหาวิหาร นำดอกไม้ ของหอมเป็นต้น ไปเพื่อบูชาพระบรมศาสดา แต่บางคราวเมื่ื่อพระพุทธองค์เสด็จจาริกไปตามชนบทเพื่อสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวเมืองก็นำเครื่องสักการะบูชาไปวางไว้ที่ประตูพระคันธกุฎี
ท่านอนาถบิณฑกเศรษฐีเห็นเหตุนั้นจึงขอร้องพระอานนท์ให้หาสถานที่ที่ควรสักแห่งหนึ่ง เพื่อให้ชนทั้งหลายได้วางเครื่องสักการะบูชาพระพุทธองค์ในเวลาที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร
พระอานนท์จึงเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไปข้าพระองค์อาจทำเจดีย์ไว้เพื่อให้ชนทั้งหลายสักการะได้หรือไม่ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เจดีย์มี ๔ ประเภท
Thussa Jedi | ทุสสเจดีย์ Artist : Ittiphon Phattarachon | อิทธิพล พัฒรชนม์
ขอขอบคุณภาพจาก www.rama9art.org
เจดีย์ ๔ ประเภท โดยพระดำรัสของพระพุทธองค์ในกาลนั้น คือ
๑.ธาตุเจดีย์ สำหรับบรรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
๒ บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยใช้สอย
๓.อุทเทสิกเจดีย์ ได้แก่พระพุทธรูป คือรูปเหมือนพระพุทธเจ้า
๔.ธรรมเจดีย์ ถึงที่บรรจุพระธรรมคำสอน
"อานนท์ ธาตุเจดีย์เธอมิอาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตถาคตอาศัยเป็นที่ตรัสรู้ แม้ตถาคตยังมีชีวิตอยู่หรือปรินิพพานแล้ว ก็ถือเป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ ไม่มีวัตถุปรากฎ "(เพราะสมัยนั้นไม่มี)
พระอานนท์จึงกราบทูลขอนำต้นโพธิ์มาปลูกไว้ข้างทางเข้าพระวิหารเชตวัน พระพุทธองค์ทรงเห็นด้วยตรัสว่า
"ดีแล้วอานนท์ เธอทำดังนั้น พระเชตวันก็จักเป็นเสมือนตถาคตประทับอยู่เป็นนิตย์"
พระอานนท์จึงนำความมาแจ้งแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขา กราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศลราชาแห่งสาวัตถีให้ทรงทราบด้วย
พร้อมกันนั้นพระอานนท์จึงขอให้พระโมคคัลลานะช่วยนำเมล็ดโพธิ์สุกจากต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้มาให้
พระโมคคัลลานะได้ไปยังโพธิมงคล ด้วยฤทธิ์ และเอาจีวรรับลูกโพธิ์สุกที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน นำกลับมามอบให้พระอานนท์
เมื่อได้เมล็ดโพธิ์มาแล้วพระอานนท์ก็ได้ถวายพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ทรงปลูก พระราชาดำริว่า ความเป็นราชามิได้ดำรงอยู่ตลอดไป ความเป็นราชาไม่เป็นของเที่ยง หาควรได้รับเกียรตินี้ไม่ และทรงแนะนำว่าบุคคลที่คู่ควรแก่เกียรติยศที่จะเป็นผู้เพาะเมล็ดโพธิ์ครั้งแรกนี้ คืออนาถบิณฑิกเศรษฐี ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงจัดพิธีเพาะเมล็ดโพธิ์ลงที่หน้าประตูเชตวันมหาวิหาร พระพุทธองค์เสด็จมาในงานนี้
พระอานนท์จึงวางผลโพธิ์ไว้ในมือของเศรษฐี
เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีวางเมล็ดโพธิ์ลงในหลุม ก็งอกเติบโตเป็นต้นใหญ่ทันที มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปโดยรอบ พระราชาทรงรดโพธิ์นั้นด้วยน้ำสุคนธรส
หลังจากนั้นพระอานนท์กราบทูลขอให้พระบรมศาสดาประทับเข้าสมาบัติ ณ โคนโพธิ์นั้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อมหาชน พระพุทธองค์ทรงประทับที่โคนโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแต่สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้างกุฎีเพิ่มเติม เรียกว่า โกสัมภกุฏิ เป็นหมู่กุฎีใหญ่ บางท่านว่า เหตุที่เรียกว่าโกสัมภกุฏิ ก็เพราะมีต้นโกสัมภะคือไม้สนชนิดหนึ่งอยู่ข้างหน้า บางท่านว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี เห็นภิกษุชาวเมืองโกสัมพีที่สร้างความเดือดร้อนให้พระบรมศาสดา จนตัดสินพระทัยไปจำพรรษาที่ป่าปาริไลยกะ อยู่กับลิงและช้าง ยังดีกว่าอยู่กับพวกภิกษุสงฆ์ที่แตกความสามัคคี เมื่อภิกษุเหล่านี้ถูกสังคมลงโทษ จึงสำนึกผิด เดินทางมาขอเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเห็นว่าผู้สำนึกผิดยังรู้จักขอโทษจึงสร้างกุฏินี้ขึ้น เพื่อรอให้โอกาสการปฏิบัติธรรมแก่กล้า ก็จะสำเร็จมรรคผลในวันข้างหน้าได้
หมู่กุฎีภิกษุโกสัมพีและวัชชีบุตร กุฎีพระราหุล กุฎีพระอุบาลีเถระ อีกทั้งโบราณสถานอื่น ๆ อีกมากมายที่ปรากฎในเขตวิหารพระเชตวัน รัฐบาลได้เข้ามาดูแลรักษาร่มไม้ให้ร่มรื่นเย็นใจแก่ผู้มาเยือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
ขอขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net
พิธีการปลูกต้นโพธิ์พระอานนท์ หรือในบางที่เรียกว่า อานันทโพธิ มีความละเอียดดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ ๒๖๗
อรรถกถากาลิงคชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการบูชามหาโพธิ์ ที่พระอานนท์เถระการทำแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ราชา กาลิงฺโค จกฺกวตฺติ ดังนี้.
พระราชารับสั่งให้เอาหม้อทองคำและหม้อเงิน ๘๐๐ หม้อ ใส่น้ำหอมเต็ม ประดับด้วยดอกบัวเขียว สูงขึ้นมาหนึ่งศอกเป็นต้น ตั้งเป็นแถวแวดล้อมต้นมหาโพธิ แล้วรับสั่งให้ทำแท่นสำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด โปรยปรายผสมทอง สร้างกำแพงล้อมรอบ ทำซุ้มประตูสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เครื่องสักการะได้มีเป็นอันมาก.
พระอานนท์เถระเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระองค์จงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ที่ข้าพระองค์ปลูก เข้าสมาบัติที่ข้าพระองค์เข้า ณ โคนต้นมหาโพธิ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน.
พระศาสดาตรัสว่า พูดอะไร อานนท์ เมื่อเรานั่งเข้าสมาบัติที่ได้เข้าแล้ว ณ มหาโพธิมณฑล ประเทศอื่นก็ไม่อาจที่จะทรงอยู่ได้.
พระอานนท์เถระกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน ขอพระองค์จง ใช้สอยโคนต้นโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแก่สมาบัติ โดยกำหนดว่าใกล้ภูมิประเทศนี้เถิด.
พระศาสดาทรงใช้สอยโคนต้นโพธินั้น ด้วยความสุขเกิดแต่สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง.
พระอานนท์เถระถวายพระพรแด่พระเจ้าโกศลเป็นต้น ให้ทำการฉลอง
ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น
ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น
ต้นไม้ที่พระอานนท์ปลูกไว้....
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=15765
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
ยังมีต้นโพธิ์ที่สำคัญอีกหนึ่งต้นที่ศรีลังกา
ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net
ณ วัดพระศรีมหาโพธิ์ เมือง อนุราธปุระ มีต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือมีอายุถึง ๒,๓๑๗ ปี ( ณวั นลงบทความต้นฉบับ) เป็นที่สักการะของชาวศรีลังกา ต้นโพธิ์ต้นนี้ได้รับการบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊คด้วย
ประวัติต้นโพธิ์ต้นนี้ เริ่มต้นเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๑๕ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาในพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ พุทธคยา ไปถวายแด่ พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ศรีลังกาสมัยนั้น ตามพระราชบัญชา ของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้ทรงปลูกไว้ที่กรุงอนุราธปุระ จวบจนกระทั่งบัดนี้
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=434797
ภาพพระสังฆมิตตาเถรี ราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชนำต้นศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยามายังเกาะศรีลังกามีพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ...
ขอขอบคุณภาพจาก taraarryatravel.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น