วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๖๑ เชตวันมหาวิหาร แดนพระอรหันต์
ขอขอบคุณภาพจากwww.tripdeedee.com
บริเวณวัดเชตวันมหาวิหาร จากถนนหลวงจะมีรั้วเหล็กเชื่อมกับประตูทางเข้า เมื่อจ่ายค่าธรรมเนียมเข้าชม เดินเข้าสู่ภายใน ก็จะถึงพระเจดีย์อรหันต์ ๘ ทิศ
กุฎีพระมหากัสสปะ กุฎีพระสีวลี กุฎีพระโมคคัลลานะ กุฎีพระองคุลีมาล กุฎีพระอานนท์ กุฎีพระสารีบุตรตามลำดับ
สถูปที่เชื่อกันว่าพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเคยพำนัก เหลืออยู่เพียงฐานอิฐ ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างอื่นไปกว่า ความสังเวชสลดใจ เห็นซากแห่งความพินาศดับสูญเข่นนี้แล้ว ทำให้เราเห็นธรรมแห่งความไม่จีรังยั่งยืนมากขึ้น ตัวเราเหมือนหยดน้ำหยดหนึ่งปรากฎขึ้นในโลก แล้วก็สูญสลายหายไปไร้ร่องรอย เราควรวางฐานในชีวิตให้เหมือนฐานสถูปพระโมคคัลลสนะ พระสารีบุตร แม้ส่วนอื่น ๆจะพังทลายหายไปแล้ว ฐานยังคงเหลืออยู่เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้แลเห็น ในบริเวณที่เป็นเชตวันมหาวิหาร นอกจากมีร่มไม้ใบบังให้แก่มนุษย์ที่มาเยี่ยมเยือน นั่งจัดระเบียบลมหายใจเข้าออกของตนเองแล้ว ยังมีสัตว์หลายชนิด เช่นลิงกระโดดไปมา นั่งอยู่ตามซากโบราณ นั่งมองผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา
สังฆสภา
ที่ประชุมสงฆ์สายการบริหารคราวเมื่อมีพระบรมพุทธานุญาตให้สงฆ์ช่วยงานปกครอง และแบ่งสายธรรมทูตออกประกาศพระพุทธศาสนา เมื่อมีวาระอันเกี่ยวด้วยศาสนกิจจึงนัดหมายหมู่สงฆ์มาประชุมตามสายงาน
จากที่ประชุมสงฆ์ที่เรียกกันว่า สังฆสภา จะต้องผ่านเจดีย์ทั้ง ๘ กระทั้งถึง กุฎีพระมหากัสสปะ กุฎีพระสีวลี ผู้อุดมด้วยโชคลาภวาสนา ในที่ไม่ไกลนักก็ถึงสถูปอันเป็นที่เคยพำนักของพระองคุลิมาลกับพระอานนท์ และสถูปทรงกลมเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะเคยจำพรรษาอยู่ ไม่ห่างกันนักก็เป็นสถูปของพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระสารีบุตร
มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมกุฎีพระสีวลี พระสารีบุตร และพระบรมศาสดาจึงมีขนาดพอ ๆ กัน มีผู้ให้ความคิดเห็ว่า การบริหารงานจะสำเร็จได้ต้องอาศัย ๓ ส่วน เป็นกำลัง คือกำลังทรัพย์ ได้แก่พระสีวลี กำลังสติปัญญา ได้แก่พระสารีบุตร กำลังบริหารได้แก่พระบรมศาสดา
ตำนานกล่าวถึงพระสีวลีว่า เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นพระโอรสของของพระนางสุปปวาสา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ ตั้งแต่พระสีวลีปฏิสนธิในพระครรภ์ เกิดลาภสักการะแก่พระมารดาเป็นอันมาก พระสีวลีอยู่ในพระครรภฺพระมาดานานถึง ๗ ปี พระมารดาเจ็บพระครรภ์อีก ๗ วัน ครั้นประสูติแล้วก็ทำกิจการต่าง ๆ ได้ทันที ต่อมาเมื่อบวชในสำนักพระสารีบุตร ในวันที่บวช พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล และทำให้เกิดลาภแก่ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัตคะในทางมีลาภ
สังฆสภา เป็นที่ตั้งของหอประชุมสงฆ์ เรียกว่า กเรริมณฑลมาฬ มีลักษณะเป็นหอกลม ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้สร้างหอประชุมนี้ ในฑีฆนิกายกล่าวว่าพระบรมศาสดาเคยเสด็จมาประทับที่นี่ด้วย
มหามูลคันธกุฎี
มหามูลคันธกุฎี
พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อาณาจักรโกศล ถึงปลายพระชนม์ชีพ นับได้ ๒๕ พรรษา โดยประทับอยูที่พระเชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา ประทับที่วัดบุพพาราม ที่นางวิสาขาอุบาสิกาสร้างถวายและที่อื่น ๆ อีก ๖ พรรษา
ใกล้ ๆ กันนั้น เป็นกุฎีพระอานนท์ หมู่กุฎีพระอสีติมหาสาวกที่เสด็จเดินจงกรม
สถานที่แห่งนี้เป็นที่ชาวพุทธให้ความสำคัญเป็นอย่างมาห คือซากมหาคันธกุฎีที่พระพุทธองค์ประทับ ซึ่งได้รับการบูรณะให้พอเห็นภาพของเดิมที่ประทับของพระบรมศาสดา ที่กว่างขวางกว่ามูลคันธกุฎีที่ยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ ประมาณ ๒ เท่า ที่นี่จึงเรียกว่ามหาคันธกุฎี
การสร้างพระพุทธรูปของขาวพุทธเพื่อให้มีความหมายถึงพระบรมศาสดา คือ
สร้างรูปช้าง หมายถึงการปฏิสนธิในครรภ์ของพระพุทธมารดา
รูปวัว หมายถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเดือนประสูติ
รูปม้าหมายถึงการเสด็จออกบวช
รูปสิงห์โต หมายถึงความยิ่งใหญ่ในหมู่ศากยวงศ์
รูปต้นโพธิ์ หมายถึงการตรัสรู้
รูปล้อธรรมจักรหมายถึงการแสดงปฐมเทศนา
สมัยก่อนไม่มีใครคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้น เกรงว่าจะเป็นการไม่เคารพ และไม่ครบบุรุษ ๓๒ ประการ
จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. ๔๐๐ พวกกรีกเข้ามารุกรานอินเดีย จึงนำเอาคติสร้างรูปเคารพมาสอนคนอินเดีย จึงเริ่มมีพระพุทธรูปขึ้นกราบไหว้กัน
หลวงจีนฟาเหียนบันทึกไว้ว่า เมื่อมาถึงที่นี่ ชาวบ้านมีการเคารพในลัทธิต่าง ๆ อยู่ ๙๖ ลัทธิ แล่ละลัทธิมีลูกศิษย์บริบูรณ์ บุคคลในลัทธิต่าง ๆ เหล่านี้เที่ยวขอทานอาการมากิน แต่ไม่ใช้บาตร เขาได้สร้างโรงทานไว้ริมถนนเพื่อเป็นที่พักคนเดินทาง มีอาหาร น้ำ และที่นอน ใครไปใครมาก็จะได้พัก
ธรรมสภา เป็นที่แสดงธรรมโปรดบริษัททั้ง ๔
ซากศาลาโรงธรรม
ซากศาลาโรงธรรมใหญ่ หน้ามหามูลคันธกุฎียังเหลือซากแท่นอิฐใหญ่ เป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาในเวลาแสดงธรรม ท่านอูอาสยะ เรียกว่าอสุรเทวดา หมายถึงที่ประชุมทุกเหล่าที่มาฟังพระธรรมเทศนา พระบรมศาสดาแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท
ณ พระเชตวันมหาวิหารนี้ รวมทั้งสิ้น ๘๔๔ พระสูตร
ทรงแสดงที่วัดบุพพาราม ๒๓ พระสูตร
ตรัสสอนที่อื่นในบริเวณเมืองสาวัตถี ๔ พระสูตร
รวมทั้งสิ้น ๘๗๑ พระสูตร คือ
อยู่ในสังยุตตนิกาย ๗๓๖ พระสูตร
ในมัชฌิมนิกาย ๗๕ พระสูตร
อยู่ในอังคุตตรนิกาย ๕๔ พระสูตร
อยู่ในฑีฆนิกาย ๖ พระสูตร
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น