วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๔๓ พระเจ้าอุเทน แห่งกรุงโกสัมพี





กรุงโกสัมพี

ขอบอบคุณภาพจากwww.oknation.net

กษัตริย์ ๒ สหาย

ในกาลล่วงมาแล้ว พระราชา ๒ องค์ เหล่านี้ คือในแคว้นอัลลกัปปะ พระราชาทรงพระนามว่าอัลลกัปปะ,
ในแคว้นเวฏฐทีปกะ พระราชาทรงพระนามว่าเวฏฐทีปกะ

ทั้งสองพระองค์เป็นพระสหายกัน ตั้งแต่เวลายังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน โดยล่วงไปแห่งพระราชบิดาของทั้ง ๒ พระองค์ และทรงเป็นพระราชาในแคว้นของพระองค์

พระราชา ๒ พระองค์นั้น เสด็จมาประชุมกันตลอดตามกาลอันสมควร ทรงยืน, นั่ง, บรรทมร่วมกัน ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนตายมากมาย จึงทรงปรึกษากันว่า “ชื่อว่า ผู้ตามคนผู้ไปสู่ปรโลก ไม่มี, โดยที่สุดถึงสรีระของตน ก็ตามไปไม่ได้; ต้องละสิ่งทั้งปวงไป, ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา, เราจักบวช”

ดังนี้แล้ว ทรงมอบรัชสมบัติให้แก่พระโอรสและพระมเหสี ออกผนวชเป็นพระฤษี อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้ทรงปรึกษากันว่า “พวกเราไม่อาจเพื่อเป็นอยู่ จึงละราชสมบัติออกบวชก็หาไม่, เราเหล่านั้น เมื่ออยู่ในที่แห่งเดียวกัน ก็จักเหมือนกับผู้ไม่บวชนั้นเอง, เพราะฉะนั้น เราจักแยกกันอยู่: ท่านจงอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น, เราจักอยู่ที่ภูเขาลูกนี้; แต่จักรวมกัน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน.”

ครั้งนั้น พระดาบสทั้งสองนั้นเกิดมีความดำริขึ้นอย่างนี้ว่า “แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคลุกคลีด้วยคณะเทียว จักมีแก่เราทั้งหลาย, ท่านพึงจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของท่าน, เราก็จักจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของเรา; ด้วยเครื่องสัญญานั้น เราทั้งหลายก็จักรู้ว่าเรายังมีชีวิตอยู่.”



วังพระเจ้าอุเทน

ขอขอบคุณภาพจาก
www.panoramio.com

ในกาลต่อมาเวฏฐทีปกดาบสตายไปบังเกิดเป็นเทวดา
หลังจากนั้นพอถึงกึ่งเดือน อัลลกัปปดาบสพอแลไม่เห็นไฟ ก็ทราบได้ว่า “สหายของเรา ทำกาละเสียแล้ว”

แม้เวฏฐทีปกดาบสตรวจดูทิพพสิริของตนในขณะที่เกิด ใคร่ครวญถึงกรรม เห็นกิริยาที่ตนกระทำ จำเดิมแต่ออกบวชแล้ว คิดว่า “บัดนี้ เราจักไปเยี่ยมสหายของเรา”

จึงแปลงเป็นเหมือนคนหลงทางไปยังสำนักของอัลลกัปปดาบส ได้สนทนากับอัลลกัปปดาบส ซึ่งอัลลกัปปดาบสเล่าถึงความลำบากที่ประสบอยู่ด้วยเรื่องของช้าง

อัลลกัปปดาบส เล่าว่า " มันถ่ายคูถลงในที่กวาด, เอาเท้าประหารคุ้ยฝุ่นขึ้น; ข้าพเจ้านั้นคอยขนคูถช้างทิ้ง คอยเกลี่ยฝุ่นให้เสมอ ก็ย่อมลำบาก."
คูถ หมายถึง อุจจาระ ,ขี้
(ช้างชอบมาขี้ที่อาศรม ทำให้ต้องคอยขนขี้ช้างและปัดกวาดลานบ่อยๆ)


บุรุษผู้มาเยือนได้ถวายพิณ และสอนมนต์สำหรับให้ช้างให้แก่พระดาบสแล้ว โดยได้ชี้แจงสายพิณ ๓ สาย ให้เรียนมนต์ ๓ บท โดยบอกว่า

“เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว, ช้างไม่อาจแม้เพื่อจะหันกลับแลดู ย่อมหนีไป;
เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างจะกลับเหลียวดูเบื้องหลังพลางหนีไป:
เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างนายฝูงย่อมน้อมหลังเข้ามาหา”,

แล้วกล่าวว่า “สิ่งใด อันท่านชอบใจ, ท่านพึงทำสิ่งนั้นเถิด”. บุรุษผู้มาเยือนไหว้พระดาบสแล้ว ก็จากไป
พระดาบสร่ายมนต์บทสำหรับไล่ช้าง ดีดสายพิณสำหรับไล่ช้าง แล้วช้างก็หนีไปจริงๆ.



วังพระเจ้าอุเทน

ขอขอบคุณภาพจากwww.panoramio.com

กำเนิดพระเจ้าอุเทน
พระเจ้าอุเทน

พระ เจ้าอุเทน(Udena) ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตเรียกว่า พระเจ้าอุทยัน (Udayan) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์วัตสะ (Vatsa Dunasty) ทรงปกครองแคว้นวังสะโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโกสัมพี (Kosambi) หรือเกศัมพี (Kaushambi) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใกล้เมืองอัลลาหบาดหรือประยาคในปัจจุบัน พระบิดานามว่าปรันตปะ

ในฤดูหนาวของวันหนึ่ง พระราชา ปรันตปะ และพระมเหสีซึ่งทรงพระครรภ์แก่ทรงห่มผ้ากัมพลสีแดงประทับนั่งตากแดดอยู่ตรงระเบียงปราสาทชั้นบน

บังเอิญนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่ง (นกยักษ์มีกำลังเท่าช้างสาร)บินผ่านมาเจอเห็นผ้าสีแดงนึกว่าชิ้นเนื้อเลยลงโฉบจับพระมเหสี โฉบไปสู่ป่า นกหัสดีลิงค์ก็ลงจับที่ค่าคบไม้ของต้นไทรใหญ่ ที่เคยจับเอาสัตว์มากินเป็นประจำมีกองกระดูกทิ้งอยู่เกลื่อนกลาด

พระเทวีซึ่งอยู่ในกรงนกระหว่างถูกพามาไม่ทรงร้องมาตลอดทางเพราะทรงเกรงว่านกจะตื่นตกใจและปล่อยพระนางจากกรงเล็บทิ้งพระนางให่้ตกลงมานั้น เมื่อถึงค่าคบไม้ไทรใหญ่ ก็ทรงร้องขึ้นและปรบพระหัตถ์ นกได้ยินเสียงดังนั้นก็ตกใจบินหนีไป

ในค่ำวันนั้นพระเทวีซึ่งอยู่บนค่าคบไม้ก็ประชวรพระครรภ์ ฝนก็ตกหนักตลอดคืน ครั้นเวลารุ่งอรุณและพอดีฝนหยุดตก พระเทวีก็ประสูติพระโอรส จึงได้ประทานพระนามว่า อุเทน หมายถึงเวลาอรุณขึ้น

ณ ที่นั้นมีอาศรมของดาบสอัลลกัปปะ ซึ่งพระดาบสจะมาเก็บกระดูกที่โคนไม้ไปต้มฉัน ในวันนั้นเมื่อพระดาบสมาเก็บกระดูกเหมือนเช่นเคยก็ได้ยินเสียงเด็กร้อง เมื่อมองตามเสียงขึ้นไปก็เห็นพระเทวีและพระกุมาร เมื่อได้สอบถามความแล้วก็รับพระเทวีและพระกุมารมาอยู่ด้วย

พระกุมารอุเทนได้รับการดูแลจากดาบสผู้เป็นพระบิดาเลี้ยงและพระมารดาเป็นอย่างดี


กาลต่อมาในวันหนึ่งพระดาบสได้ดูดาวนักษัตรได้ตรัสขึ้นว่า พระเจ้าปรันตปะแห่งกรุงโกสัมพีสิ้นพระชนม์แล้ว พระเทวีก็ทรงพระกันแสง พระดาบสจึงถามพระเทวีและ รับทราบความ โดยพระเทวีประสงค์จะให้เจ้าชายอุเทนได้พระราชสมบัติ พระดาบสก็รับที่จะจัดการให้ จึงได้สอนมนต์กำหัวใจช้าง และมอบพิณให้ เมื่อเจ้าชายอุเทนเรียนมนต์จบแล้ว ก็ทรงทดลองมนต์ทั้งสามบทจนชำชอง และสามารถควบคุมช้างเป็นจำนวนมากได้ด้วยมนต์ที่ศึกษามาทั้งสามบทและดีดพิณทั้งสามสาย

เมื่อดีดพิณและร่ายมนต์บทหนึ่ง ช้างที่พากันมาก็จะวิ่งหนีไปไม่เหลียวหลัง
เมื่อดีดพิณอีกสายหนึ่งและร่ายมนต์อีกบทหนึ้ง ช้างก็จะเหลียวหลังมาดู
เมื่อดีดพิณอีกสายหนึ่งและร่ายมนต์อีกบทหนึ่งช้างที่เป็นจ่าฝูงก็จะเข้ามาหาและยอมให้ขึ้นนั่งบนหลังช้างได้ พร้อมทั้งจะเรียกช้างที่เป็นบริวารให้มาและฟังคำสั่งทุกอย่างว่าจะให้ไปทางไหน

พระเทวีทรงมอบผ้ากัมพลแดงและพระธำมรงค์ พร้อมทรงบอกชื่อเสนาบดีให้กับเจ้าชายอุเทนเพื่อนำหลักฐานว่าเป็นพระราชโอรสของพระเข้าปรันปะจริง

เจ้าชายอุเทนใช้มนต์เรียกกองทัพช้างย่ำเข้ามาในพระนครโกสัมพีจำนวนมาก คนในแคว้นวังสะล้วนชื่นชมในพลังอำนาจวิเศษและเข้าร่วมทัพจนประชิดพระราชวังกรุงโกสัมพี

เจ้าชายส่งสาสน์ทวงราชสมบัติ พวกเสนาบดีตอบว่า รับแต่เชื้อสายพระเจ้ากรุงโกสัมพี ซึ่งหายสาปสูญไปนานแล้วเท่านั้น

เจ้าชายจึงแสดงแหวนราชวงศ์ ผ้ากัมพลแดงและประกาศสิทธิ์เหนือเศวตฉัตร เมื่อเห็นดังนั้นทั่วทัั้งพระนครจึงยอมรับเจ้าชายอุเทนเป็นพระราชาแห่งแคว้นวังสะ



วังพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี

ขอบอบคุณภาพจาก http://planetofphotos.net/photo/3139116.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://arsramsiyaraya.blogspot.com/2013/03/2.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น