วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๐ อาณาจักรโกศลในปัจจุบัน
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=09-2012&date=12&group=4&gblog=172
จากลุมพินีวันแดนประสูติมุ่งสู่อาณาจักรโกศลในฝั่งของประเทศอินดีย ถ้าผ่านด่านประเทศเนปาลแล้วจะไปเมืองส่าวัตถึเพียง ๑๗๒ ไมล์ ( ๒๕๐ กิโลเมตร) ใช้เวลารถวิ่งประมาณ ๖-๗ ชั่วโมง (ด้วยอัตราความเร็วพื้นฐานของการชับรถทั่วไปของประเทศอินเดีย)
โดยไปตั้งหลักที่โครักชปุร์หรือที่นิยมก็วิ่งเลียบชายแดนประเทศเนปาลออกไปทางเมืองกบิลพัสดุ์ใหม่ก็ได้ ในระหว่างทางรถจะตัดเข้าเขตคามนิคม หมู่บ้าน ชุมชน ผู้สัญจรจะได้ศึกษาภารตวิทยา บ้านที่ฉาบด้วยโคมัยสด ชีวิตเท้าติดดินหัวภวิลถึงฟ้า ฝูงแพะ แร้ง กา วัว ควายมีให้ชมเป็นสวนสัตว์เปิด ตัดผ่านท้องทุ่ง ข่้าวสาลีเขียวชอุ่มทอดรวงยาว ยามต้องสายลมโยกโยนไปมา ดอกผักกาดระดาษเหลืองอร่าม ระบายสีแผ่นดินให้งดงาม กองมูลโคแห้งทั้งแท่งทั้งแผ่นวางไว้ข้างทาง ตลาดร้านรวงยึดถนนหลวงเป็นที่ค้าขาย หมู่ผู้ชายนุ่งโคธี เหล่าสตรีห่มส่าหรี ออกจ่ายตลาดตอนเย็น เป็นภาพชีวิตที่มีให้เห็นตลอดเส้นทางนี้
แคว้นโกศลมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าอูธ (Oudh) ชื่อนี้เลือนมาจากคำว่าอโยธยา ( Ayodhya ) อันเป็นชื่อเมืองสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของอินเดีย ในฐานะเป็นเมืองหลวงดั้งเดิมของแคว้น และเป็นเมืองของพระรามตามคัมภัร์ รามายณะหรือเรื่องรามเกียรตื์ อโยธยาจึงมีความสำคัญ กล่าวต่อมาชื่อเมืืองอโยธยาเลยเรียกกันเป็นชื่อแคว้นด้วย เมืองอโยธยายังมีอยู่ในปัจจุบัน เรียกกันว่า อูธ บ้าง และอวัธ บ้าง
นครสาวัตถีเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโกศล เป็น ๑ ใน ๖ ของเมืองมหาอำนาจ มีความรุ่งเรืองมากในมหาชนบท ๑๖ แคว้นของชมพูทวีป ซึ่งมีกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองบัลลังก์แห่งอาณาจักรโกศล มีความยิ่งใหญ่ไม้ปพ้พระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ หรือกษัตริย์วงศ์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี
ในสมัยพุทธกาล แคว้นโกศลเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมาก แคว้นกาสี แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ ก็อยู่ภายใต้อำนาจความคุ้มครองของแคว้นโกศล
เพราะเมืองสาวัตถีเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร ที่มีความพร้อมด้วยแสนยานุภาพ ทั้งในแผ่นดินก็อุดมด้วยธัญพืช พระพุทธองค์จึงทรงปักหลักประกาศพระพุทธศาสนาอยู่ ณ เมืองสาวัตถึ รวม ๒๕ พรรษา
โดยเสด็จประทับที่พระอารามเชตวันมหาวิหาร ๑๙ พรรษา และที่พระวิหารบุพพาราม ๖ พรรษา
จะเห็นได้ในธรรมนิทานทางพระพุทฑศาสนา จะเป็นชาดก อรรถกถา วรรณคดีสายบาลี ที่จะไม่เอ่ยถึงเมืองสาวัตถีเลย เห็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
ตามตำนานกล่าวว่า อาณาจักรโกศลมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน แต่ไม่มีวัดในพระพุทธศาสนามากเท่าอาณาจักรมคธ พระบรมศาสดาเสด็จมาประทับในแคว้นโกศลตอนปลายพระชนม์ชีพถึง ๒๕ พรรษา จนกระทั่งเห็นความล่มจมของกรุงกบิลพัสดุ์และศากยวงศ์แล้ว จึงเส็จออกจากเมืองสาวัตถึไปปรินิพพานที่นครกุสินารา
ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายความหมายของอาณาจักรโกศลไว้ในสุมังคลวิลาสินีอรรถกถาว่า
โกศลเป็นคำเดียวกับกุศล แปลว่าสุขสมบูรณ์ หรือสบายดี และได้เล่าเรื่องเจ้าชายมหาปนาทไม่ยิ้ม พระบิดาทรงเป็นทุกข์ ป่าวร้องว่าใครทำให้เจ้าชายยิ้มได้จะให้รางวัล พระอินทร์ส่งคนมาช่วยทำให้เจ้าชายยิ้มได้ ใคร ๆ ก็แสดงความยินดีต่อคนเก่งคนนั้น ด้วยการทักทายว่าสบายดีหรือ เขาก็ต้องตอบว่า กุศล กุศล จนคำนี้กลายเป็นชื่อเมืองโกศล ในที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น