วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

สาระเรื่องราว..กล่าวด้วยภาพ

ขอแทรกภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เล่าในครั้งก่อนๆ ที่ไม่มีภาพประกอบ
หากย้อนนำภาพไปใส่ในเรื่องราวแต่ละเรื่องก็คงไม่มีคนที่เคยอ่านแล้วย้อนไปอ่าน
ขออภัยที่ภาพที่ลงนี้อาจไม่ต่อเรียงลำดับกับเนื้อเรื่องเล่า



อรุณรุ่งด้วยแสงแห่งธรรม กันก่อนนะคะ




เรือบด นิยมนำมาเป็นเรือพระบิณฑบาต
(เล่าเรื่องเรือล่องท่องวารี)


เรือพระบิณฑบาต ของวัดบางกรูด ที่พายยากมาก
(เล่าเรื่องเรือล่อง ท่องวารี)


เรือเอี้ยมจุ๊น
ภาพนี้อยู่นสวนแทนในลำน้ำ
(เล่าเรื่องเรือล่องท่องวารี)


บางปะกงขณะน้ำขึ้นเต็มฝั่งที่บางกรูด


บางปะกงขณะน้ำลงที่อำเภอบางคล้า
บางปะกง เล็กและแคบกว่าที่อำเภอบ้านโพธิ์ และกว้างที่สุดที่ อำเภอบางปะกง


ลักษณะชายฝั่งแม่น้ำขณะที่น้ำลง
ในภาพนี้มีขบวนเรือพ่วงบรรทุกสินค้า เรือจูงลำนิดเดียวแต่เรือพ่วงเป็นเรือเหล็กใหญ่4 ลำ


ต้นยอ ใบยอใช้ทำห่อหมก ดอกยอ และลูกยอ
สำหรับลูกยอ มีคำประพันธ์ในเรื่อง ระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์)
กล่าวชมความงามของนางเอกชื่อนางประแดะว่า

สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา
ทั้งสองแก้มกัลยาดั่งลูกยอ

คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย
จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ
ลำคอโตตันสั้นกลม

สองเต้าห้อยตุงถุงตะเครียว
โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม
มันน่าเชยน่าชมนางเทวี



ยอ อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ ที่ ตั้งใจจ้ดทำเป็นพิเศษเพื่ออธิบายคุณลักษณะของอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ
ใช้เวลาทำหลายวันฝีมือชาวมีนกรที่บ้าน
(ชลวิถี...ที่บางกรูด อุปกรณ์การจับสัตว์น้ำ)


ปูจาก หรือปูแป้นดองเค็ม
(เล่าเรื่อง ปูแสมแลป่าจาก เป็นที่ฝากฝังกายา)


อัมโบของหอยกาบ

ขอลอกข้อความเดิมเสริมความเข้าใจดังนี้
หอยกาบหรือหอยสองฝาอยู่ใน ชั้นไบวาลเวีย (Class Bivalvia)
เป็นสัตว์ที่มีฝาสองฝา มีประมาณ 30,000 ชนิด เปลือกหอยทั้ง สองฝาจะมีรูปร่างเหมือนกัน ขนาดใกล้เคียงกัน แต่กลับซ้าย-ขวา ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อยึดฝา และ เอ็นยึดฝาหรือบานพับ ซึ่งบานพับจะยึดเปลือกทาง ด้านหลัง มักมีสีดำ บริเวณใต้บานพับประกอบด้วยฟันเรียกว่าhinge teeth ซึ่งช่วยยึดเปลือกไว้ ด้วยกัน ประกอบด้วยฟันซูโดคาร์ดินัล และฟันแลเทอรัล (พบในวงศ์ Amblemidae) หรือฟัน คาร์ดินัล (พบในวงศ์ Corbiculidae)
สำหรับการปิดและเปิดของฝา เมื่อกล้ามเนื้อยึดเปลือกคลาย ตัว เอ็นจะเป็นตัวดึงให้ฝาเปิด และการหดตัวของกล้ามเนื้อยึดเปลือกทำให้ฝาถูกปิด เปลือก ส่วนที่ถูกสร้างขึ้นก่อนและแก่ที่สุดเรียกว่า อัมโบ

การเพิ่มขนาดของเปลือกทำโดยการสร้าง เปลือกใหม่รอบอัมโบเป็นวงๆ ซ้อนขยายออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดเส้นลายบนเปลือกรอบอัมโบ ออกเป็นชั้นๆ เรียกว่าเส้นการเจริญเติบโต (growth line) ในการดูว่าเป็นเปลือกซ้ายหรือขวา ทำได้โดยถือเปลือกหอยให้ด้านอัมโบตั้งขึ้นและให้ด้านบานพับของเปลือกหันเข้าหาผู้สังเกต เปลือกที่อยู่ซีกขวามือคือเปลือกขวา ส่วนเปลือกที่อยู่ทางซ้ายมือคือเปลือกซ้าย
(เล่าเรื่อง ห้วงวารี ย่อมมีเรา)


แกงคั่วหอยขม
มีขายตามตลาดนัดพื้นบ้าน
( เล่าเรื่องห้วงวารี ย่อมมีเรา )


ตำแหน่งแห่งที่ของบางกรูด และตำบลใกล้เคียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น