วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๒ นครสาวัตถี ๒



สาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ปัจจุบันเหลือเพียงบริเวณซากกองอิฐ มูลดิน ก้อนหินบิ่นหักเรียงตั้งเป็นลักษณะเมืองเก่าที่ชาวบ้านเรียกกันว่า สาเหต-มาเหต หรือ สาเหฐ-มาเหฐ (Saheih-Maheih ) ในเขตจังหวัดบาห์ไรจ์ (Bahraich ) ห่างจากสถานี โคณฑา (Gonda) ๕๙ กิโลเมตร

จากการขุดสำรวจซากโบราณสถาน เซอร์ อเล็กซานเดอร์คันิ่งแฮม บริเวณที่เรียกว่า มาเหต ได้แก่ตััวเมืองสาวัตถี ส่วนสาเหตได้แก่บริเวณพระเชตวันมหาวิหาร โดยอาศัยหลักศิลาจารึกที่ว่าพระพุทธรูปองค์ที่ค้นพบ ณ ที่ตั้งของเมืองนี้ อยู่ทางด้านใต้ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ( ๓๒ เอเคอร์)

ชื่อสาเหต-มาเหต เรียกกันน้อยมาก และที่เรียกขานในภาษาสันสกฤตว่า ศราวัสตี (Srawasti ) ซึ่งบาลีที่เราใช้กันคืิอ สาวัตถี นั่นเอง

หลวงจีนถังซำจั๋ง เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เช้-โล-ฟา-ซิ-ตี้ เซอร์ อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮม เป็นผู้มาสำรวจ นครสาวัตถีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ ( ค.ศ. ๑๘๖๒ ) โดยอาศัยหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนกับหลวงจีนถังซำจั๋งเป็นหลัก ได้มีการขุดค้น ๒ ครั้ง ครั้งแรกได้ขุดพบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง สูง ๗ ฟุตเศษ จารึกไว้ขัดเ้จนว่าสร้างที่เมืองสาวัตถี การขุดครั้งที่สอง ไม่พบอะไรที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

นายวินเซนต์ สมิธ มีความเห็นขัดแย้งว่า เมืองสาวัตถีน่าจะตั้งอยู่ในประเทศเนปาล แต่ก็ยุติข้อขัดแย้งได้เมื่อ เซอร์ จอห๋น มาร์แซล ทำการขุดในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ ๑๙๐๙ ) พบเหรียญทองแดงมากมายซึ่งบ่งชัดว่า สาเหต-มาเหต คือเมืองสาวัตถี อย่างไม่ต้องสงสัย

ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิบายความหมายของอาณาจักรโกศลดังที่กล่าวไว้แล้ว อีกนัยหนึ่งที่เรียกว่าสาวัตถีนั้น เรียกชื่อตามฤาษี สาวัตถะ ซึ่งจำศีลอยู่ที่นั่น ท่านพุทธโฆษาจารย์ ยังได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ในคัมภีร์อรรถกถาปัญขสูทนีว่า สาวัตถี มาจากศัพท์ สัพพะ กับ อัตถะ แปลความว่า บรรดาสิ่งของทั้งปวงที่พึงปรารถนามีอยู่พร้อมแล้วที่นี่ ซึ่งมีเรื่องเดิมว่า มีเกวียนหมู่หนึ่งมาจอดพักที่นั่น ชาวบ้านจึงเข้าไปรุมล้อมถามว่า มีอะไรบ้าง ก็ได้รับคำตอบว่า สัพพะอัตถะ ดังกล่าวแล้ว แต่ในวิษณุปุราณะ กล่าวว่า กษัตริย์ผู้สืบสายจากอิกสวากุองค์หนึ่งชื่อ สารวัตถะ เป็นผู้ตั้งเมืองนี้ขึ้น

สาวัตถีมองภาพรวมเหมือนเมืองร้างทั่ว ๆ ไป เหลือเพียงซากกำแพงเมือง ที่ก่ออิฐถือปูนสูงใหญ่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ลักษณะรูปร่างเกือบคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีก เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๒ ไมล์ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือขนานไปกับแม่น้ำ อจิรวดี มีป้อมตั้งอยู่ทั้ง ๔ ทิศ และละป้อมสูงใหญ่ ป้อมทางตะวันตกสูงระหว่าง ๓๕- ๔๐ ฟุต รอบเมืองสาวัตถีมีคูเมืองขุดไปทะลุแม่น้ำอจิรวดี

เมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งมาถึง ยังเห็นกำแพงวังหลวงยาวประมาณ ๒๐ ลี้ หรือเกือบ ๔ ไมลฺ์ ท่านคงเห็นกำแพงเมืองเป็นกำแพงวัง แต่ท่านฟาเหียนจดไวั้สั้น ๆ ว่า เมืองนี้กำลังจะเป็นเมืืองร้าง มีคนอยู่ประมาณ ๒๐๐ ครัวเรือนเท่านั้น เมื่อพระถังซำจั๋งมาถึง บันทึกว่า มีแต่สิ่งปรักหักพัง มีคนเหลืออยู่ไม่มาก ปลูกผักเต็มไปหมด อากาศเย็นสบายดี ชาวบ้านมีนิสัยซื่อและใจดี เคร่งศาสนา มีนักบวชอยู่บ้าง

หลวงจีนฟาเหียนยังบันทึกว่า ในนครสาวัตถีนี้ มีสถูปที่สร้างขึ้น ณ ซากวิหารพระนางมหาปชาบดีองค์หนึ่ง ที่ซากบ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีอีกองค์หนึ่งกับที่ซึ่งองคุลิมาลสำเร็จพระอรหัตตผล อันเป็นที่เผาศพองคุลิมาลด้วยอีกองค์หนึ่ง พวกพราหมณ์ในเมืองนี้ริษยาอนุสรณ์ของพระพุทธศาสนาเหล่านี้และคิดจะทำลายส๔ูปเหล่านี้ให้หมด แต่ฟ้าลั่นและผ่าลงมาเสียก่อน พวกพราหมณ์จึงทำการไม่สำเร็จ สถูปที่กล่าวเหล่านี้ เมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งมาถึงที่นี้ยังเหลืออยู่ให้ทันเห็น



องคุลิมาลสถูป (ซากบ้านบิดาของพระองคุลีมาลซึ่งเป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล )

ขอขอบคุณภาพจากhttp://baanboontour.circlecamp.com

พระราชวังพระเจ้าปเสนทิโกศล บ้านท่่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี บ้านปุโรหิตาจารย์ (บิดาขององคุลิมาล ) พระเชตวันมหาวิหาร และเจดีย์สถานที่อสดงยมกปาฏิหารย์ของพระพุทธองค์ ยังคงเหลือซากไว้ให้เราได้ไปปลงธรรมสังเวชเท่านั้น โดยเฉพาะวัด บุพพารามและโลหะปราสาทนั้น ไม่เหลือซากไว้ให้เห็น นัยว่าถูกแม่น้ำอจิรวดีพัดพังลงไปหมดแล้ว



บริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของวัดบุพพารามเมื่อกว่า 2,500 ปีที่แล้ว

ชอขอบคุณภาพจาก http://www.bangsaensook.com



แม่น้ำอจิรวดี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bodhigaya980.org



แม่น้ำอจิรวดี

ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bodhigaya980.org


แม่น้ำสายนี้เองที่เคยกลืนเอาชีวิตของพระเจ้าวิฑูฑภะและไพร่พลให้จมน้ำตาย หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพไปฆ่าฟันล้างโคตรพระเจ้าศากยะเสียสิ้น ด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น

และนางปฏาจารา ธิดาเศรษฐีแห่งนครสาวัตถี รักใคร่ลักลอบหนีไปกับคนใช้หนุ่มไปอยู่ในป่าใหญ่ ต้องพบความทุกข์ยากลำบากเลือแสนเพราะความยากแค้น จนคิดย้อนกลับมาหาบิดามารดา แต่ต้องพบกับความวิปโยคยิ่งกว่าเมื่อ ในระหว่างทางสามีถูกอสรพิษกัดถึงตาย ในขณะนางเพิ่งคลอดบุตรคนที่สอง นางพาลูกทั้งสองข้ามสายธารเชี่ยวกรากจากการที่ฝนตกหนักทั้งคืน ข้ามแม่น้ำอจิรวดีทีละคน วางลูกผูู้น้องแรกเกิดไว้ริมฝั่งแล้วย้อนกลับมารับลูกผู้พี่ แล้วลูกผู้น้องถูกกเหยี่ยวใหญ่คาบไปเป็นอาหาร ลูกผู้พี่ถูกสายน้ำอจิรวดีสายนี้กลืนกิน เมื่อเซซังถึงยังปราสาทตนแต่พบว่า ทั้งบิดามารดาและพี่ตายสิ้นเพราะฝนตกหนักจนปราสาทพังทลายกลืนกินชีวิตคนในปราสาทไปหมดสิ้น นางเสียใจกับจนเสียสติเดินละเมอเพ้อพกเข้าเขตวันพระเชตวันมหาวิหารด้วยร่างที่ไม่มีเสื้อผ้าห่มปิดร่างกาย ชนที่นั่งฟังธรรมต่างร้องกันเซ็งแช่ว่าคนบ้า คนบ้า

พระพุทธองค์ทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาจนนางได้สติกลับคืน เกิดหิริโอตปปะ ว่าตนเองมิได้นุ่งห่มเสื้อผ้า จนมีผู้นำมามาให้นางห่ม นางเข้าไปกราบทูลพระพุทธองค์ กราบทูลว่่า

ขอพระองค์จงทรางเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันด้วยเถิด " เพราะว่าบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันเหยี่ยวได้เฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนถูกน้ำพัดพาไป สามีตายในระหว่างทาง มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนพังทับตายและถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า"

พระพุทธอค์ เมื่อสดับความในใจของนางปฏาจาราแล้วพระองค์จึงได้ตักเตือนให้เลิกคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย แล้วทรงแสดง อนมตัคคปริยายสูตร คือเรื่องสงสารไม่มีที่สิ้นสุด โดยนัยว่า "น้ำในมหาสมุทรทัั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้ำตาของคนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้วเศร้าโศกมิใช่น้อย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไรเธอจึงประมาทอยู่เล่า ? "

ด้วยอมตวาจานี้จึงทำให้นางมีความเศร้าโศกอันเบาบางลง แล้วทรงแดงพระธรรมเทศนาอันส่งผลให้นางได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วขอบวชเป็นพระภิกษุณี ในไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ เพราะพิจารณาสายน้ำที่ตักล้างเท้า ๓ สาย เปรียบได้กับการดับชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่ ปฐมวัย มัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย นางได้เป็นมหาสาวิกาองค์หนึ่ง ที่ได้รับยกย่องว่าเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย และได้ทำหน้าที่เป็นพระอุปีชฌาย์บวชให้ภิกษุณีอีกหลายรูป



แม่น้ำอจิรวดี ซึ่งบีดนี้ก็ยังไหลเรื่อยเอี่อยเป็นทางยาว แม้จะผ่านกาลเวลานั้นล่วงเลยมาแล้วกว่า ๒,๕๐๐ ปี
ขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=491332


เนื่องด้วยพระพุทธองค์ประทับที่เมืองสาวัตถีนานที่สุด จึงทำให้เป็นเมืองที่เกิดพระสูตรมากมาย เช่น มงคลสูตร ธรรมนิยามสูตร รวมไปถึงกาลามสูตร ที่ตรัสแสดง ณ เกสปุตตนิคม ก็อยู่ในอาณาเขตของแคว้นโกศลด้วย

ในช่วงปลายพุทธกาล ได้เกิดเหตุการณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้พระนางเวเทหิ อัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารเสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ตามกันไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกริ้วพระเจ้าอชาตศัตรูมาก จึงสั่งยึดเมืองในแคว้นกาสีที่พระเจ้ามหาโกศลยกให้พระเจ้าพิมพิสารคืน โดยทรงถือว่า ผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้รับสมบัติพ่อ และได้ทำสงครามกัน ผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้ายพระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ไม่ประหารชีวิตเพราะเห็นแก่เป็นพระนัดดา แต่สั่งให้สละราชสมบัติแทน และต่อมาก็ทรงให้พระเจ้าอชาตศัตรูกลับไปครองราชสมบัติอีกด้วยคงเห็นพระทัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ให้ไปอภิเษกด้วย ทั้งสองแคว้นจึงกลัยมามีสัมพันธไมตรีกันอีกครั้ง ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์กลับเป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระปเสนทิโกศล

ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าปเสนทิโกศล ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะพระราชโอรสของพระองค์เองยึดอำนาจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงม้าหนีไปเมืองราชคฤห์ โดยหวังให้พระเจ้าอชาตศัตรูช่วยเหลือเพื่อนำราชสมบัติคืน แต่พระองค์เสด็จมาถึงเมืองราชคฤห์ในเวลากลางคืน ช่วงนั้นเป็นเวลาปิดประตูเมืองไม่สามารถเข้าประตูเมืองได้ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตหน้าประตูเมืองในคืนนั้นเองเพราะทรงชราภาพมีพระชนม์มากถึง ๘๐ พรรษา และเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลแถมยังต้องประทับค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว นางสนมที่ได้ติดตามพระองค์ก็ร้องไห้ร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพไว้ถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่ยังไม่ทันที่จะยกทัพไปรบกับพระเจ้าวิฑูฑภะ พระเจ้าอชาตศัตรูก็ได้ข่าวว่าพระเจ้าวิฑูฑภะกับกองทัพได้ถูกน้ำหลากพัดหายไป หลังจากบุกโจมตีกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะและทำการกวาดล้างศากยะวงศ์จนหมดสิ้น(โดยเฉพาะในกรุงกบิลพัสดุ์และเป็นต้นตระกูลของพระพุทธองค์)เนื่องจากแค้นที่ถูกพวกศากยะวงศ์ดูหมิ่นว่าตนเป็นลูกจัณฑาล

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าวิฑูฑภะ สาวัตถีก็ขาดพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นประสูติมาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระภคินีและเป็นพระภาคิไนยของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีเชื้อสายราชวงศ์โกศลจึงมีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น จึงยกทัพไปบุกเข้ายึดเมืองสาวัตถีพร้อมกับแคว้นโกศลมาไว้ในอำนาจและผนวกแคว้นโกศลและแคว้นสักกะที่อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศลมาเข้ากับแคว้นมคธมาด้วยกัน ทำให้เมืองสาวัตถีจึงสิ้นสุดความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล หลังจากนั้นการค้า ฯลฯ อำนาจต่าง ๆ ได้ไปรวมศูนย์ที่เมืองราชคฤห์และสุดท้ายที่เมืองปาฏลีบุตรในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น แต่วัดเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนาอยู่ แต่ทว่าจนในที่สุดหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองสาวัตถีได้เสื่อมความสำคัญและถูกทิ้งร้างไปโดยสิ้นเชิงจนเหลือแต่ซากโบราณสถานในปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น