วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] วัดเมือง...แดนประหารกบฎ "อั้งยี่"...ในรัชกาลที่ 3.





[บทความ] วัดเมือง...แดนประหารกบฎ "อั้งยี่"...ในรัชกาลที่ 3

ประวัติวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ (วัดเมือง)จังหวัดฉะเชิงเทรา
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์... หรือ วัดเมืองตั้งอยู่เลขที่ 156 บนถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างโดย "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ " ในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดเมืองนี้สร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมืองถือได้ว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองของฉะเชิงเทรา ใน พ.ศ. 2377 เมื่อมีการสร้างกำแพงเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตของแปดริ้ว และให้เมืองแปดริ้วเป็นปราการรักษาพระนคร พร้อมทั้งเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านชาวเมืองให้ปลอดภัยจากข้าศึกศัตรูในสมัยนั้น นอกจากนี้ในสมัยก่อนชาวบ้านต่างมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ทำให้มีการสร้างวัดขึ้นมาด้วย เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นที่พึ่งทางใจในยามสงคราม เนื่องจากวัดนี้ ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดเมือง"

วัดนี้สร้างโดยฝีมือช่างปั้นจากเมืองหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา และทำการบูรณะวัดขึ้นใหม่ พระองค์ได้สถาปนาชื่อใหม่ว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" ซึ่งมีความหมายกับชื่อว่า "วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง" และได้ชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

ภายในวัดมีสถานที่สำคัญคือ "หอระฆัง" เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยนางปุย กับ นางสาวแฝง ที่ได้รับการบริจาค ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นศาลเจ้าเล็กที่มีศิลปะแบบจีน ที่ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ในวัดมีพระอุโบสถหลังเก่า มี้ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร ในพระอุโบสถ พระอุโบสถได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง ส่วนพระวิหาร มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร ฐานอยู่สูงกว่าระดับฐานพระอุโบสถประมาณ 0.90 เมตรอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระวิหารมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด 2 ชั้น ภายในวิหารมีพระประทานและพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษ จำนวน 4 องค์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัยรัชกาลที่ 3





แดนประหารกบฎ "อั้งยี่"...ในรัชกาลที่ 3...
เมืองฉะเชิงเทรามีพระยาวิเศษฤาชัย เป็นเจ้าเมืองปกครองดูแล ต่อมาได้เกิดปัญหากับชาวจีนที่ตั้งก๊กเรียกตัวเองว่า "อั้งยี่" ( เป็นชื่อที่มาเรียกกันภายหลัง ในรัชกาลที่ 5 ซึงในรัชกาลที่ 3 เรียกว่า ตั้วเหี่ย) ซึ่งทำการขยายอำนาจอิทธิพลจากเมืองชลบุรีเข้ามายังฉะเชิงเทรา ในเดือน 5 พ.ศ. 2391 พวกอั้งยี่ ( ตั้วเหี่ย) ก็กำเริบขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทราและทำการเรียกเก็บค่าคุ้มครองหรือภาษีเถื่อนแข่งกับทางการ ภายหลังได้รวมพลคนจีนเข้ายึดเมืองฉะเชิงเทรา ใช้กำแพงเมืองฉะเชิงเทราไว้เป็นที่มั่น และยังได้ประกาศให้เมืองฉะเชิงเทราเป็นอาณาจักรของพวกตนอีกด้วย

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2391 ณ เวลานั้นความได้ทราบไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์" ยกพลจากเมืองสมุทรสาครมาปราบปรามพวกอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) ทั้งทางน้ำและทางบก ครั้งนั้นฝ่ายอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) ได้เข้ายึดวัดเมืองซึ่งเป็นฐานที่ตั้งสุมกำลังเพื่อสู้กับทัพเมืองบางกอกแต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ พวกจีนอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) ถูกฆ่าตายกว่า 3,000 คน พวกที่ตายก็ตายไปฝ่ายที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลย และก็ยังมีบางส่วนที่หนีตายจากฉะเชิงเทราไปอยู่ที่บางปลาสร้อย เมืองชลบุรี อั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) เมืองฉะเชิงเทราจึงสงบ




ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับเมืองฉะเชิงเทราครั้งนั้น รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศว่า "อันการกระทำของอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) คราวนี้เป็นขบถต่อแผ่นดิน และยังกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการฆ่าเจ้าเมือง อันเป็นตัวแทนต่างพระเนตรพระกรรณให้มาปกครองเมือง ให้ลงโทษประหารเชลยทุกคนและผู้ให้ความร่วมมือทั้งหมด และให้ไล่ตามจับกุมอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) ที่หนีตายจากฉะเชิงเทราไปอยู่ที่บางปลาสร้อยกลับมาประหารชีวิตทั้งหมด"
สถานที่ประหารชีวิตพวกอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) ณ เวลานั้น ก็คือ บริเวณโคน "ต้นจันทน์" ใหญ่ของวัดเมือง เล่ากันว่าเหตุการณ์ชวนสยดสยองให้เวทนาน่าสงสารและแม้ว่าเหล่าอั้งยี่ (ตั้วเหี่ย) จะส่งเสียงร้องร่ำไห้ขอชีวิตอย่างไร เหล่าเพชฌฆาตก็ยังคงทำหน้าที่ต่อไปโดยจับนักโทษมามัดติดกับหลักประหารและผลัดเปลี่ยนกันลงดาบนักโทษนับร้อย ๆ คน จนเลือดสาดกระจายเนืองนองไปทั่วหลักประหารในวัดเมืองส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้งน่าสะอิดสะเอียนเป็นยิ่งนัก ต่อมาอีก 2 ปีก็สิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี...

Photo credit : http://earth008.multiply.com/












(เพิ่มเติม) บทความนี้ มีการแก้ไข วันที่ 1 ธ.ค2554

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[นิทานเรื่องเล่า] ...นิทานความรัก...



[นิทานเรื่องเล่า] ...นิทานความรัก...


กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...มีเรื่องเล่าระหว่างสาวสวยและหนุ่มรูปงามผู้ซึ่งรักกันอย่างดูดดื่ม...ทั้งสองได้สาบานว่าแม้ความตายก็มิอาจจะพรากรักอันแสนจะมั่นคงนี้ลงได้ และในครั้งนั้นยังมีแม่มดตนหนึ่งผู้ซึ่งเชื่อมั่นว่าไม่มีสิ่งใดที่จะแน่นอนเท่าความไม่แน่นอน

แม่มดไม่เชื่อว่าความรักของทั้งสองจะมั่นคงจึงคิดหาทางพิสูจน์ขึ้นมา นางกล่าวว่า

"หากพวกเจ้ามั่นใจในรักของอีกฝ่าย ซึ่งยั่งยืนแม้ว่าความตายจะพราก ดังนั้นข้าก็อยากจะลองดูว่ามันจะเป็นอย่างไร...ข้าขอสาปให้นับแต่นี้เป็นต้นไป ไม่ว่าจะเกิดใหม่อีกสักกี่ชาติ บุรุษนี้จะไม่มีทางจำเจ้าได้ เขาจะไม่สามารถจำได้ว่าเคยรักเจ้า และตรงกันข้ามกับเจ้า
เจ้าจะเป็นคนที่จำทุกอย่างได้ เพราะเจ้าจะยังคงอยู่เช่นนี้ตลอดไป...ไม่แก่ไม่เฒ่า ไม่มีวันตาย จะอยู่อย่างนี้นิรันดร์...เจ้าจะจำเวลาที่เคยรักเขาเคยเป็นที่รักและต้องเฝ้ารอการกลับมาของเขาในชาติแล้วชาติเล่าตลอดกาล..."

"วันใดก็ตามที่เจ้าทำให้เขารู้ตัวว่ารักเจ้าทำให้เขาจำเจ้าได้ วันนั้น...คือวันที่ความเป็นนิรันดร์ของเจ้าสิ้นสุดลง...เจ้าจะแก่และตายตามสภาพของอายุขัยที่ควรเป็น...และคราวนี้ก็จะเป็นทีของเจ้าหนุ่มนั่นแทน...เขาจะต้องเป็นคนที่ค้นหาเจ้าบ้าง..."

หลังจากนั้นมาปีแล้วปีเล่าเวลาผ่านไปศตวรรษทบศตวรรษที่หญิงสาวเฝ้าตามหาชายหนุ่มคนรัก และทุกครั้งที่เธอได้พบเขาในสภาพของใครคนหนึ่ง ที่ไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับเธอเลยแม้แต่น้อย...เธอพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เขาจำเธอได้

แต่มันไม่เคยสำเร็จชาติแล้วชาติเล่า...หลังจากการเกิดและดับของเขาผ่านไปนับสิบครั้ง เขาก็ยังไม่อาจระลึกได้ถึงความรักของเธอ...ความทุกข์ทรมานของหญิงสาวถูกเฝ้าดูอย่างเย้ยเยาะโดยนางแม่มดผู้รอคอยเวลาที่หญิงสาวจะยอมรับว่า...รักแท้ที่แม้ความตายก็ไม่อาจพรากไม่มีจริง แล้วนางแม่มดก็ต้องประหลาดใจ เมื่อพบว่า ในช่วงหลังๆ มาหญิงสาวไม่ได้พยายามที่จะทำให้ชายหนุ่มระลึกถึงตนไม่พยายามให้ชายหนุ่มรักตนแต่กลับทำทุกอย่างที่คิดว่าจะทำให้เขามีความสุข และทำให้เขาเกิดรอยยิ้มแทน...แล้ววันหนึ่งนางแม่มดก็เก็บความสงสัยไว้ไม่ไหว จึงปรากฏตัวเพื่อเอ่ยถามกับตัวหญิงสาวเอง...

"...เจ้าได้ละทิ้งความพยายามของเจ้าเสียแล้วล่ะหรือ...ความพยายามที่จะพิสูจน์
ให้ข้าเห็นอำนาจและพลังของรักแท้ที่เหนือกว่าอำนาจใดๆ แม้กระทั่งคำสาปของข้า..."

"จริงๆ แล้ว ข้าก็มีเหตุผลของข้า"

หญิงสาวตอบนางแม่มดกลับไป

"...ข้าไม่ได้ละทิ้งความพยายาม...เพียงแต่...
ข้ากลัวว่าความพยายามของข้าจะสัมฤทธิ์ผล...แล้ว"

"แล้วเจ้าก็ต้องแก่และตาย" นางแม่มดต่อให้ด้วยเสียงเย้ยหยัน

" ที่แท้เจ้าก็กลัวที่จะตาย เจ้ากลัวจะสูญเสียความเป็นอมตะของเจ้า...เฮอะ นี่หรือรักแท้ของเจ้า" หญิงสาวไม่ปฏิเสธ นางเผชิญหน้ากับนางแม่มดและรับคำกล่าวหานั้น

"อาจใช่...มันเป็นความจริงที่ข้ากลัวว่าหากข้าทำให้เขาจำข้าและรักข้าได้ข้าจะต้องตายจากเขาไป"

"และเจ้าก็ไม่เชื่อใจว่าเขาจะทำให้เจ้าจำได้เช่นนั้นหรือ?"

หญิงสาวจ้องหน้าแม่มดนิ่งอยู่ ก่อนตอบ

"สิ่งที่ข้าเกรงไม่ใช่เรื่องนั้น...ท่านรู้อะไรไหม...ตลอดเวลาอันยาวนานที่ข้าเฝ้าเดินทางตามหาเขาเฝ้ารอคอยวันแล้ววันเล่ารอวันที่เขาจะกลับมาหาข้าอีกครั้ง...ตลอดเวลาที่ข้าเฝ้ามองการเกิดและการตายของเขามันคือความทรมานอันยาวนานที่ดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด...และสำหรับข้าความทุกข์อันแสนสาหัสคือ การได้เห็นความทรมานของผู้เป็นที่รัก โดยที่เราไม่อาจเอื้อมมือเข้าไปช่วยเหลือได้...หลายครั้งที่ข้าอยากให้ตัวข้าเห็นแก่ตัวพอที่จะพยายามทำให้เขารักทำให้เขาระลึกถึงข้าได้อีกครั้งเพื่อที่ข้าจะได้เป็นอิสระต่อการพันธนาการนี้...แต่ทุกครั้งที่ข้าคิดถึงมันความทุกข์ทรมานที่ข้าได้รับเนื่องจากการรอคอยที่ไม่มีวันจบสิ้นก็ทำให้ข้าคิดได้

...ข้าไม่อาจให้เขาต้องแบกรับความรู้สึกทรมานเช่นที่ข้าได้รู้สึก...ความรักของข้าอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะตัดสินใจพยายามให้เขาจำข้าได้ต่อไป และจากนี้ต่อไป แม้ว่าข้าจะต้องรอคอยไปชั่วนิรันดร์ สิ่งเดียวที่ข้าจะทำคือข้าจะทำให้เวลาของเขามีแต่ความสุขเท่าที่พลังของข้าจะทำได้...ข้าอาจไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขาก็จริงแต่ข้าก็ยังอยากเห็นรอยยิ้มของเขา...ข้าอาจเป็นคนอ่อนแอในสายตาของท่านอย่างไรก็ตาม นี่ก็คือความรักของข้าคือสิ่งที่ข้าเป็น...แม้ชีวิตของข้าจะต้องเดียวดายตลอดกาลแต่ข้าก็มั่นใจอยู่อย่างหนึ่งว่าคนที่ข้ารักจะไม่มีวันเดียวดายเช่นตัวข้า...เพราะเขาจะมีข้าข้างกายเขาชั่วนิรันดร์ "



........................


นิทานเรื่องนี้ไม่มีตอนจบเพราะอยากให้คนที่อ่านจินตนาการถึงตอนจบเอาเอง

ในชีวิตของเรามีหลายช่วงต่อหลายช่วงที่เราคิดว่าเรารักใครสักคนมากมายเหลือเกิน
และหลายต่อหลายครั้งที่ความรักของเราก็ต้องการความรักตอบกลับมา
หลายคนฟูมฟายกับโชคชะตาว่ารักที่ไม่ได้รักตอบคือการสูญเวลาเปล่า...

แต่มีหลายต่อหลายคน...ที่ดีใจกับโชคชะตาที่เกิดมาสักครั้ง
แต่ยังได้รักใครสักคนอย่างเต็มหัวใจ...

ทุกอย่างในชีวิตมีทางเลือก...ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกทางไหน...หรือ
คุณจะเลือกหรือไม่?คุณจะเลือกทางไหน

...เปิดประตูรับความรักเข้ามาเพื่อเติมความอบอุ่นให้กับหัวใจแม้เพียงช่วงหนึ่งของชีวิต...
หรือจะมัวแต่ฟูมฟายโทษตัวเองกับความรักที่ให้ไปแต่ไม่ได้รักตอบ...??
...ทางเลือกเป็นของคุณ...

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[Article] Chachoengsao: Train Trip Allows For Plenty of Sightseeing Options.


[Article] Chachoengsao: Train Trip Allows For Plenty of Sightseeing Options. Written by Nida Tunsuttiwong
The province of Chachoengsao is probably best known for its famous Bangpakong River and the temple of Wat Luang Por Sothorn, which is home to one of the kingdom’s most revered Buddha images.

While it’s conveniently located just 100 kilometers to the east of Bangkok, until recently the province has seldom been thought of as a potential tourism destination. Recognizing the potential Chachoengsao offers domestic and international tourists, the State Railway of Thailand (SRT) recently organized a familiarization trip to the province by train, calling at several tourist attractions located within a short distance of Chachoengsao Junction.


A Relaxing Pace Our eastbound train departed Bangkok’s main Hualamphong station right on schedule (10.10 am). We gradually left behind the capital's high-rise buildings, passing through the Bangkok suburbs before eventually reaching open countryside, where you can see locals enjoying a rather more relaxed, rural way of life.

On arrival at Chachoengsao Junction, you’ll find several forms of local transport, including songthaew (a pick up with bench seats) and motorcycle taxis, which you can use to get around the municipality to visit its various attractions.

We were fortunate to learn that 'Chitra Konuntakiet', a renowned author, who writes about Chinese culture, was leading our group, so she was able to impart a good deal of knowledge on matters relating to Chinese and Thai culture.

Wat Sothorn Wat Sothorn is best known for its principal Buddha statue, known as Phra Phuthasothon (or Luang Por Sothorn [read more).

After paying our respects to the statue, we headed for a pier located just behind the temple’s new ubosot (Ordination Hall) and hopped aboard a converted, antique rice barge that then made its way up river towards Ban Mai market.

Since there are lots of nipa palm and cork trees growing alongside one side of the river, you'll notice lots of foliage, whereas there is more human-based activity taking place on the other side of the river since it's lined with residences and government buildings.




Before long, we arrived to the Ban Pa Nu restaurant 'Ban Mai market for some lunch.

Meaning ‘new house’ or ‘new village’ in Thai, Ban Mai market was established during King Rama V’s reign (1868-1910). The market, which features numerous vendors selling all kinds of different savory Thai dishes and desserts, is located between rows of one- and two-story wooden homes, which remain in excellent condition.

On Reflection Once we had finished our enjoyable meal, we walked a short distance from the market to an old Chinese temple run by the Mahayana Sect called Wat Chin Pracha Samosorn (or Wat Leng Hok Yi). With about 75 joss sticks clasped between my palms, I paid homage to statues of the Lord Buddha, as well as statues of Chinese gods, which can be found at 31 different locations within the temple compound.

Talented Individuals Next stop was the World Sand Sculpture, which showcases large sculptures produced by a significant number of local and international artists.

Some of the exhibits resemble characters from Thai literature, while others mark historic events or well known sites in other countries, such as the Great Wall of China and the Sydney Opera House, among others. It was enjoyable to watch some incredibly talented local artists at work as they produced ornate sculptures made from sand.

Our next call was a Thai dessert shop called 'Rin', which has been producing mouthwatering desserts for over 30 years. Two of the most popular dishes sold here are Foi Thong (a Thai dessert made with egg yolk, sugar and flour) and Khanom Chan (a layered, sugar-based Thai dessert).

As the afternoon turned into evening, we ventured a short distance away from the town to visit an interesting pottery called Koomwimarndin, where you can either check out its huge range of products, or even try your hand at crafting some items from clay (read more).

Near the pottery's workshop area is a small coffee shop if you're in need of refreshment, or you can venture slightly further afield by visiting the mango orchards nearby.




Before setting off on our return journey to Bangkok, we dropped in at the temple of 'Wat Samanratanaram', which is home to Thailand's largest reclining Ganesha, which measures 16 meters in height and 22 m in length.

The base includes images of Ganesha in 32 different poses, each thought to respond to a different kind of wish.

On arrival at Lad Krabang station, we switched over to the Airport Link service that runs between Suvarnabhumi International Airport and Bangkok's downtown area since it provides a faster service than the regular train service.

The express train, which can reach speeds of up to 160 kilometers per hour, costs 100 baht (US$3.19) for a return ticket, but it should be noted that this service currently operates solely between the airport and Phaya Thai station.

The local city link service that operates at somewhat slower speeds on the same track, however, stops at Ban Tap Chang, Hua Mark, Ramkhamhaeng, Makkasan and Phaya Thai, and the current promotional fare for this service is just 15 baht.

For further information, call the SRT hotline on Tel: 1690, or visit the official SRT website at http://www.railway.co.th/


Photo Credit 'Wat Sothon' by Khon Kung Rom Bin (คนกรุงร่มบิน)









วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] ของดีฉะเชิงเทรา ตอนที่ 3 : ประติมากรรมปั้นทรายโลก อำเภอเมือง






[บทความ] ของดีฉะเชิงเทรา ตอนที่ 3 : ประติมากรรมปั้นทรายโลก อำเภอเมือง
ประติมากรรมปั้นทรายโลก สถานที่จัดแสดงบนพื้นที่กว่า 12 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากวัดโสธรวรารามวรวิหาร ประมาณ 800 เมตร ติดด้านหลังห้างคาร์ฟู จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมจัดเป็นมหกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อร่วมฉลองปี มหามงคล เฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยระดมนักปั้นระดับโลกกว่า 70 คน จากฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม เช็คโกสโลวาเกีย ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและไทย ร่วมโชว์ประติมากรรมทรายสุดยอด ความ มหัศจรรย์กว่า 30 ผลงาน บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ ทำให้มหกรรมปั้นทรายนานาชาติครั้งนี้ เป็นงานแสดงประติมากรรม ทรายในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก

หลังจากงานดังกล่าวสิ้นสุดก็ได้เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวที่สนใจ ได้มาชมความสวยงามและ อลังการของปะติมากรรมทรายในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเหมือนจริงกว่า 80 ชิ้น โดยทรายที่นำมาใช้ในการก่อสร้างประติมากรรมเป็นทรายน้ำจืดที่มีความแข็งแรง มีสีน้ำตาล อ่อน โดยอาศัยเทคนิคการก่อสร้างที่เริ่มต้นด้วยการนำไม้มาตีเป็นบล็อกสี่เหลี่ยม รัดด้วยเหล็กเพื่อ ความแข็งแรง ก่อนนำทรายที่ร่อนแยกวัสดุ แล้วนำมาใส่ลงบล็อกผสมน้ำให้เข้ากันอัดด้วยเครื่อง อัดทรายจากนั้นศิลปินทำการ ตกแต่งเป็น รูปอะไรและมีขนาดเท่าใดก็ได้ เช่น รูปคน รูปสัตว์ หรือ รูปพืช ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความคิดและ จินตนาการของนักปั้น



โซนทางเข้า : มีประติมากรรมทรายที่น่าสนใจต่างๆ เริ่มตั้งแต่ ประติมากรรมช้างซึ่งเป็นการร่วมรณรงค์ในการนำช้างคืนสู่ป่า ปะติมากรรมพระนารายณ์ รายล้อมด้วยเทพบุตรเทพธิดา ตามความเชื่อของพราหมณ์หรือ ศาสนาฮินดูว่าวรรณะ กษัตริย์เป็นพระนารายณ์อวตารลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ลายไทยรูปปั้นสัตว์ ลายไทยต่างๆ จากนั้นก็จะเป็นรูปปั้น กำแพงวัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)รวมทั้งยักษ์ด้วย ถัดมาจะเป็นรูปปั้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่โดดเด่นของ เมืองแปดริ้ว เริมตั้งแต่ เจ้าแม่กวนอิม วัดโสธรวรารามวรวิหาร พระพิฆเนศ นอกจานี้ยังมีประติมากรรม ทรายรูป ปั้นพระเกจิอารย์ ชื่อดัง เช่น หลวงปู่ทวด หลวงปู่มั่น




โซนที่ 1 : เป็นการจำลองกำเนิกนักษัตร 12 ราศี และตัวแทนของเทพในด้านต่างๆ เช่น เทพในการพูด วรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ พระนอนวัดโพธิ์ และเรือพระราชพิธี เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรือพระนารายณ์ทรงสุบรรณ


โซนที่ 2 : จัดการแสดงประติมากรรมทรายในด้านวัฒนธรรมและประติมากรรมวัดวาอารามที่สำคัญของไทย รวมถึงสิ่ง ก่อสร้างของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งตัวละครต่าง ๆ ในวรรณคดีของไทย โดยเป็นลักษณะการแสดงแบบมืด ซึ่งจะ มีแสง สี และเสียง ประกอบในการแสดง ประกอบด้วยประติมากรรมทราย ได้แก่ จตุคามรามเทพ สมเด็จพระ นเรศวรฯ กระทำยุทธหัตถี นางเงือก กินรี หนุมาน สุดสาคร พระอภัยมณีและสุนทรภู่ ชีเปลือย และผีเสื้อสมุทร


โซนที่ 3 : เป็นส่วนของการจัดการแสดงประติมากรรมทรายนานาชาติ ซึ่งจัดแสดงประติมากรรมที่เป็นจุดเด่น ในแต่ละ ประเทศประกอบด้วย ประตูแบรนแดนเบิร์ก หอไอเฟล ทหารองครักษ์ และหอนาฬิกาบิ๊กเบน รูปปั้นเทพีเสรีภาพ ภาพวาดแวนโก๊ะและกังหันลม โคลีเซียมและนักสู้เสือ นักเต้นฟลามิงโกและนักสู้วัวกระทิง ภูเขาไฟฟูจิ เกอิชา จิงโจ้ หมีโคอาล่า โรงละครโอเปร่า โบสถ์เซนต์นิโคลัส พีระมิดกับสฟิงซ์ สุสานตุตันคาเมน กำแพงเมืองจีน มังกร และรูปปั้นหินกองทัพราชวงศ์










วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] ของดีฉะเชิงเทรา ตอนที่ 2 : "พระอุโบสถสีทอง" วัดปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา


[บทความ] ของดีฉะเชิงเทรา ตอนที่ 2 : "พระอุโบสถสีทอง" วัดปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
Photo Cr. - http://anopongex.multiply.com/  (ภาพเดิมก่อนแก้ไข)








"พระอุโบสถสีทอง" วัดปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พระอุโบสถสีทองหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ทาสี ทองทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็น ภาพในหรือหรือนอกตัวอุโบสถ์ ที่งดงามตระการตาเป็น อย่างมาก และภายนอกวัด ก็มี เรือโบราณ ในสมัยก่อนที่อยู่ในยุค สมเด็จพระจ้าตากสิน โชว์ไว้อีกด้วย นอกจากนี้ภายในอุโบสถ ยังสามารถลอด ใต้ฐานพระประธานได้เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกด้วย แต่เดิม วัดปากน้ำ เป็นสำนักสงฆ์ ในอดีตบริเวณนี้เป็น ที่ ตั้งของ ทัพพม่า ซึ่งยกทัพบกทัพเรือไปปะทะกับกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน ต่อมาสมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราชทรงมีชัย จึงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ปัจจุบันได้มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นสีทองทั้งหลัง 







ประวัติ "วัดปากน้ำ" อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ในปีพุทธศักราช ๒๓๐๙ หลังจากถูกพม่าข้าศึกเข้าปิดล้อมพระนคร (กรุงศรีอยุธยา) พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) และเหล่าทหารไทย ได้เข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยว่างเว้นจากการศึกสงครามมานาน ทำให้ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ ประกอบกับภาวะปัญหาทางการเมืองเรื้อรัง อันสืบเนื่องมาจากการแย่งชิงอำนาจ และที่สำคัญพม่าได้ปรับเปลี่ยนยุทธวิธี โดยการเข้าตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้ทัพไทยเกิดความระส่ำ แก้ไขสถานการณ์ และวางแผนการรบผิดพลาดบ่อยครั้ง แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่า ก็เพราะคนไทยขาดความสามัคคี ทรยศต่อชาติแผ่นดิน เป็นไส้ศึกให้ศัตรูเหยียบย่ำ 






ครั้นพระยาวชิรปราการมองไม่เห็นหนทางรอด จึงตัดสินใจพานักรบไทยจีน ลาว มอญ และ ญวน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจาก กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการหนีไปตั้งหลัก เพื่อรักษาชีวิต และรวบรวมไพร่พลกลับมากอบกู้ชาติแผ่นดินอีกครั้ง 





ในวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๓๐๙ (๑๐) ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๑๒๘ เวลาพลบค่ำ พระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมไพร่พลราว ๕๐๐ คน พร้อมด้วย หลวงพิชัยอาสา และนายทหารผู้ใหญ่ ได้แก่ พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี และ หมื่นราชเสน่หา กับขุนหมื่นผู้น้อยอีกจำนวนหนึ่ง ทิ้ง ค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า ในขณะที่ กรุงศรีอยุธยา กำลังประสบชะตากรรมใกล้ถึงกาลล่มจม กองเพลิงไหม้เผาผลาญตั้งแต่ ท่าทราย ริมกำแพงข้างด้านเหนือ ลามมาจนถึง สะพานช้างวงคลองข้าวเปลือก แล้วข้ามมาติด ป่ามะพร้าว ป่าถ่าน ป่าโทน ป่าทอง ป่ายา วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ ตลอดถนนหลวงไปจนถึง วัดฉัททันต์ ติดกุฎีวิหาร และบ้านเรือนราษฎรมากกว่าหมื่นหลัง ไฟยังไม่ทันมอดพระยาวชิรปราการ ได้พาไพร่พล ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าข้าศึกออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก ยกกำลังพลผ่าน บ้านหันตรา บ้านข้าวเม่า คลองอุทัย บ้านสัมบัณฑิต บ้านหนองไม้ซุง บ้านพรานนก บ้านหนองปลิง บ้านบางกง (แขวงเมืองนครนายก) บ้านนาเริ่ง (แขวงเมืองนครนายก) บ้านบางคาง บ้านคู้ลำพัน 







ในวันที่ ๑๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๓๐๙ (๑๐) ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๑๒๘ ครั้นกองทัพของ พระยาวชิรปราการ มาถึง บ้านคู้ลำพัน ชายทุ่งเมืองปราจีนบุรี (ตำบลคู้ลำพัน อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) เวลาประมาณบ่ายสี่โมง (ประมาณ ๑๖.๐๐ น.) ทหารพม่าไล่ฟันชาวบ้าน มาตามทางตั้งทัพ พระยาวชิรปราการ เห็น จึงสั่งให้ นายบุญมี หรือ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม (หลาน) ไปตระเวนตรวจดูข้าศึก เมื่อ นายบุญมี กลับมารายงานว่ากองทัพพม่าที่ ค่ายปากน้ำเจ้าโล้ ยกตามมาติด ๆ พระยาวชิรปราการ จึงสั่งให้ช่วยกันขุดสนามเพลาะบังตัวต่างค่าย ให้กองเสบียงลำเลียงหาบคอนล่วงหน้าไปก่อน ครั้นกองทัพพม่าเข้ามาใกล้ เดินเรียงรายมาตามดงแขม ห่างประมาณ ๖ – ๗ เส้น ให้ยิงปืนตับใหญ่น้อยระดมไปยังกองทหารพม่า แม้ว่ากองทหารพม่าจะดาหน้าหนุนเนื่องกันมา ก็สั่งให้ยิงปืนตับสมทบไป ทหารพม่าล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป นับแต่นั้นมาพม่าก็ไม่ได้ติดตามกองทัพ พระยาวชิรปราการ อีกต่อไป เหล่าทหารหาญในกองทัพ พระยาวชิรปราการ ต่างพากันโห่ร้อง ตีฆ้อง ตีกลองไล่หลังทหารพม่าอย่างสาสมแก่ใจ 







ครั้นรบชนะพม่าข้าศึกแล้ว พระยาวชิรปราการ ได้สั่งให้ไพร่พลพักทัพ และสั่งให้ทหารสร้างพระเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการสู้รบกับพม่าจนมีชัยชนะตรงบริเวณ ปากน้ำโจ้โล้ (คลองท่าลาด) แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแหลมที่มีกระแสน้ำจากคลองท่าลาดไหลบรรจบกับแม่น้ำบางปะกง ทำให้กระแสน้ำกัดเซาะจนบริเวณแหลมปากน้ำอันที่ตั้งของ พระเจดีย์พระเจ้าตากสิน (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) พังทลายลงเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ และได้ดำเนินการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ ณ บริเวณตรงที่เดิม ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๒ 





ปัจจุบัน ภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ พระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) มีความสวยสดงดงามมาก มีต้นไม้ใหญ่น้อยปกคุ้มร่มรื่นเย็นสบาย โดยเฉพาะริมแม่น้ำ ช่วงเวลากระแสลมพัดผ่านมาในแต่ละครั้ง พาให้ชื่นอุราเสียยิ่งกระไร เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างมาก และที่สำคัญสถานที่แห่งนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นผืนดินประวัติศาสตร์โดยตรง ด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช และเหล่าบรรพชน ได้ทำการสู้รบกับอริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง เพื่อกอบกู้ และปกป้องชาติแผ่นดิน ให้ลูกหลานเหลนไทยได้อยู่อาศัยสืบต่อกันมา ณ บริเวณที่แห่งนี้ ถ้าท่านมีโอกาสใคร่ขอเรียนเชิญ อำเภอบางคล้า อยู่ใกล้ กรุงเทพมหานคร แค่นี้เอง ขับรถไม่เกินชั่วโมงก็ถึงแล้ว มาหวนรำลึกถึงนึกถึงอดีต นึกถึงพระคุณของบรรพชน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที อีกวิธีหนึ่งที่คุณหรือใครก็สามารถทำได้


หมายเหตุ
ภาพข้างต้นถ่ายจากวัดปากน้ำ มิได้ถ่ายจากพระสถูปเจดีย์ ( เพราะแดดร้อนมาก )