วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[บทความ] ของดีฉะเชิงเทรา ตอนที่ 1 : "พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข" องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา




[บทความ] ของดีฉะเชิงเทรา ตอนที่ 1 : "พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข" องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

"พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข" องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีขนาดความสูง 16 เมตร และความกว้าง 14 เมตร เนื้อองค์มีสีชมพู ลักษณะนั่งกึ่งนอนตะแคงบนฐาน พระหัตถ์ซ้ายถืองาที่หัก พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว โดยรอบฐานจะมีพระพิฆเนศทั้ง 32 ปาง ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ภายใต้ฐานพระพิฆเนศ ได้เปิดให้ประชาชนสักการะกราบไหว้ และ ริมแม่น้ำมีศาลาที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศ ปางนอนและ มีพระพุทธรูป ให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะขอพร

ความหมายของ "พระพิฆเนศปางนอน" หมายถึง "ทรงประทานความมีกินมีใช้ เงินทองไม่ขาดมือ อยู่อย่างสุขสบาย อิ่มหนำสำราญ ขจัดปัญหา ไม่มีเรื่องให้วุ่นวายใจ" ถ้านักท่องเที่ยวสังเกตุหน้าฐานพระพิฆเนศ จะเห็นปูนปั้นรูปหนู อยู่สองตัว ที่ยืนทำมือป้องหูไว้ ตามประวัติเล่าว่า พระพิฆเนศมีหนูเป็นบริวาร และในความเชื่อของผู้ที่เคารพและสักการะขอพรเป็นประจำ เชื่อว่า ถ้าอยากได้สิ่งใด ขอพรสิ่งใดให้สมหวัง ให้ไปกระซิบที่หูหนู แล้วหนูจำนำความไปบอกท่านพระพิฆเนศให้ประทานสิ่งที่ต้องการกลับมา และที่สำคัญอย่าลืมติดสินบนหนูด้วย โดยการทำบุญใส่ตู้ที่วางไว้ด้านหน้า.




ประวัติ "วัดสมานรัตนาราม"

"วัดสมานรัตนาราม" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง บ้านหมู่ที่ ๑๑ ตำบลบางแก้ว(ตำบลไผ่เสวกเดิม) อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้กับโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง มีเนื้อที่ ตามหน้าโฉนดที่ตั้งวัด ๒๖ ไร่ ๓งาน ๕๐ ตารางวา (ที่ดินนอกวัดไม่มี) ตามคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยนั้นเล่าสืบกันต่อกันมา ว่ามีครอบ ครัวหนึ่งอยู่ในฐานะมั่นคง เป็นคหบดีมีคนเคารพนับถือ คือครอบครัวท่านขุนสมานจีนประชา (เดิมชื่อจ๋าย) เมื่อท่านขุนสมานจีนประชาถึงแก่กรรมแล้วภรรยาทั้ง ๒ ของท่านขุนสมานจีนประชา นางทิม สืบสมาน และ นางผ่อง สืบสมาน(เพิ่มนคร ) พร้อมด้วย นางยี่สุ่น (ผู้เป็นน้องสาว ต่อมาภายหลังได้สร้างพระปรางค์ขึ้นหน้าโบสถ์ ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่) มีความศรัทธาคิดจะสร้างวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สามีผู้ล่วงลับ จึงได้ดำเนินการสร้างวัด ปรากฏตามหลักฐาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒

เมื่อสร้าง วัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร เป็นวัดราษฎ์ คณะสงฆ์ปกครองวัดสมัยนั้นเป็นฝ่ายมหานิกาย แต่ปกครองไม่ นานนัก ผู้สร้างวัดได้ถวายพระในคณะธรรมยุตมี พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโพ) เป็นประธานสงฆ์ในการรับถวายนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไปมักเรียก วัดนี้ว่าวัดใหม่ขุนสมานมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเวลาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จออกตรวจสังฆมณฑลทาง เรือตามลำแม่น้ำบางปะกงพระองค์ได้เยี่ยมวัด ทรงเห็นป้ายชื่อวัดว่าไม่ สอดคล้องกับตำบลไผ่แสวก พระองค์จึงทรงตั้งชื่อเสียใหม่ว่าวัดไผ่แสวก เพื่อให้สอดคล้องกับตำบลดังกล่าวแล้ว

ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมานานหลาย สิบปี ทางราชการได้ยุบตำบลไผ่แสวกไปรวมกับตำบลบางแก้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ มีพระเถระผู้ใหญ่พร้อมด้วยภิกษุสามเณรชาวบ้านอุบาสกอุบาสิกาต่างก็มีความเห็น พร้องกันว่าสมควรที่จะเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ คือให้มีชื่อคำว่าสมาน เพราะเป็นตระกูลที่สร้างวัดและคำว่าแก้ว เพื่อให้สอดคล้องกับตำบล จึงขออนุญาตทางราชการตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่าวัดสมานรัตนารามมาจนทุกวันนี้...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น