วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๓ พระอานนท์ ๘





พระพุทธองค์เสด็จเวสาลีครั้งสุดท้ายก่อนปรินิพพาน ทรงประทับ ณ สวนมะม่วงของนางอัมพปาลีคณิกา หญิงงามเมืองแห่งเวสาลี ซึ่งได้อุทิศถวายเป็นสังฆารามในพระพุทธศาสนา
เช้าวันรุ่งขึ้นเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี หลังเสร็จภัตกิจแล้ว ในเวลาบ่ายพระพุทธองค์ทรงชวนพระอานนท์ไปยังปาวาลเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี ซึ่งแต่เดิมเป็นที่อยู่ของยักษ์ฃื่อปาวาละ ตรัสเรื่องอืทธิบาท ๔ แอันเป็นทางแห่งความสำเร็จ ๔ ประการ คือ

๑.ฉันทะ ความพอใจในสิ่งนั้น
๒.วิริยะ ความพยายามที่จะกีะทำสิ่งนั้น
๓.จิตตะ ความเอาใจฝักใผ่ในสิ้งนั้น
๔.วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น


ธรรม ๔ ประการนี้ หากผู้ใดเจริญให้มาก กระทำให้มาก เมื่อ ปรารถนาก็จะดำรงชีพอยู่่ได้ตลอดกัป



ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ แต่พระอานนท์เถระก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายดังนี้ เพราะถูกมารเข้าดลใจแล้ว
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกับพระอานนท์ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกับพระอานนท์ ฯลฯ


เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นเสขบุคคลอยู่ จึงไม่เฉลียวใจในคำปรารภของพระบรมศาสดา มิได้กราบทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรงอยู่ คล้ายถูกมารดลใจ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับพระอานนท์ว่า บัดนี้เธอจงสำคัญกาลอันควรเถิด
พระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ฯล



ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อเห็นพระอานนท์เถระหลีกไปแล้วไม่นานเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิดบัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค

มารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับมารผู้มีบาปว่า
ตราบใดที่บริษัท ๔ ของเรา ยังมีคุณสมบัติไม่ครบ ๓ ประการ ตราบนั้นเราจักยังไม่ปรินิพพาน สมบัติ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นผู้รู้ ผู้เข้าใจ และปฏิบัติตามคำสอนได้ถูกต้อง
๒.สามารนำธรรมนั้นไปแนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้
๓.หากมีผู้ใดกล่าวเตือน จ้วงจาบ หรือแสดงคำสอนผิดพลาด สามารถกล่าวแก้ไขชี้แจงให้ถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนาได้


มารกรา่บทูลต่อว่า บัดนี้บริษัท ๔ ของพระองค์ มีคุณสมบัติครบทั้ง ๓ ประการแล้ว
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า มาร อย่ากังวลเลย จากนี้ล่วงอีก ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน




“อัปเปหิ ดูกร มาร เจ้าจงหลีกไปก่อน”
เมื่อมารหลีกออกไปแล้ว องค์พระบรมศาสดางได้ทรงเรียกพระอานนท์ เข้ามาเฝ้า ทรงแสดงนิมิตว่าควรจะอยู่หรือว่าควรจะปรินิพพาน
ตามปฐมสมโพธิท่านกล่าวไว้ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า
“อานันทะ ดูกร อานนท์ สมมติว่าเรามีเกวียนเก่าอยู่เล่มหนึ่ง แต่ว่าเกวียนเก่าเล่มนั้นชราภาพมากแล้ว ทั้งดุม ทั้งกง ทั้งคาน ทั้งทุกสิ่งทุกอย่างมันจะผุมันจะพัง เรามีสตางค์ แต่ทว่าเราควรจะซ่อมเกวียนเก่าไว้ หรือว่าจะสร้างเกวียนใหม่ดี” ปรากฏว่าเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ถามอย่างนี้ถึง ๓วาระ แต่อาศัยมารเข้าดลใจพระอานนท์ พระอานนท์ก็ทูลองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“เกวียนเก่ามันผุ ก็ควรจะหาเกวียนใหม่มาใช้ดีกว่า เพราะมีความคงทนแข็งแรง”
เมื่อพระองค์ทรงแสดงนิมิตให้แก่พระอานนท์ ๓ วาระ พระอานนท์ไม่ทูลอาราธนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสว่า
“อานันทะ ดูกร อานนท์ จงไป”
หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงทรงปลงอายุสังขารว่า นับตั้งแต่บัดนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้าเราจะปรินิพพานที่เมือง กุสินารามหานคร
เมื่อสมเด็จพระชินวรทรงปลงอายุสังขารอย่างนั้น ก็ปรากฏว่าแผ่นดินไหว พระอานนท์มีความแปลกใจ เข้าไปเฝ้าองค์พระบรมศาสดา ถามว่าทำไมแผ่นดินจึงไหวแรงเป็นกรณีพิเศษ พระพุทธองค์งได้ทรงแสดงเหตุที่แผ่นดินไหวไว้ ๘ ประการด้วยกัน

อรรถกถากล่าว่า พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓)


ขอขอบคุณช้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.banloktip.com/webboard/index.php?topic=1246.0
http://www.84000.org/tipitaka/picture/f68.html
http://dhammaweekly.wordpress.com/2011/01/24/ความสำเร็จของพญามาร-พระ/

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๒ พระอานนท์ ๗




                                               
ขอขอบคุณภาพจากwww.lacamomille.com



พระอานนท์เถระได้รับการสรรเสริญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ (เลิศ) ๕ ประการคือ

๑ มีสติ รอบคอบ
๒ มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
๓ มีความเพียรดี
๔.เป็นพหูสูต
๕.เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า


ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่านได้รับถึง ๕ ประการ นับว่าหาได้ยากมาก ความเป็นพหูสูตของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระเกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษา



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=117

การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนั้นได้มีพระมหาเถระ ๓ รูปที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนา กล่าวคือ พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ ๘ ทำให้ท่านเป็นผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม
ดังบทสวดคาถาต่าง ๆ มักขึ้นต้นด้วย “เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา.....” อันหมายถึง “ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า”

พระอุบาลี ซึ่งเคยเป็นพนักงานภูษามาลาในราชสำนักกรุงกบิลพัสดุ์ และออกบวชพร้อมศากยราชกุมาร ท่านได้จดจำพระวินัยเป็นพิเศษ มีเรื่องเล่าในพระวินัยปิฏกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวินัยแก่พระภิกษุทั้งหลาย และสรรเสริญพระวินัยและสรรเสริญพระอุบาลีเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลายจึงพากันไปเรียนวินัยจากพระอุบาลี ในการสังคายนาครั้งนี้ท่านจึงได้รับหน้าที่วิสัชชนาเกี่ยวกับพระวินัย

พระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นเลิศทางธุดงวัตรและเป็นผู้ชักชวนให้สังคายนาพระธรรมวินัย เป็นผู้ถามทั้งพระธรรมและพระวินัย


ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/08/Y10951852/Y10951852.html

ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้เล่าไว้ว่า
ท่านพระอานนท์มีปัญญา มีความจำดี ท่านได้ฟังครั้นเดียว ไม่ต้องถามอีกก็สามารถจำได้เป็นจำนวนตั้ง ๖๐,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ คาถา โดยไม่เลอะเลือน ไม่คลาดเคลื่อน เหมือนบุคคลเอาเถาวัลย์มัดดอกไม้ถือไป เหมือนจารึกอักษรลงบนแผ่นศิลา เหมือนน้ำมันใสของราชสีห์ที่บุคคลใส่ไว้ในหม้อทองคำ ฉะนั้น

ด้วยเหตุที่ท่านขยันเรียน และมีความจำดีนี่เอง ท่านจึงได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต เป็นธรรมภัณฑาคาริก ทรงจำพระพุทธพจน์ได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือท่านเรียกจากพระพุทธองค์ ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์และเรียนจากเพื่อนสหธรรมมิกอีก ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แม้ท่านจะเป็นเพียงพระโสดาบันก็ตาม แต่ท่านก็มีปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงสามารถสั่งสอนศิษย์ได้มากมาย ศิษย์ของท่านส่วนมากก็เป็นพหูสูตเช่นเดียวกับท่าน ว่ากันว่า ท่านพูดได้เร็วกว่าคนธรรมดา ๘ เท่า คือคนเราพูด ๑ คำ ท่านพูดได้ ๘ คำ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.lacamomille.com/videopage/on/7C18zuFTFMs.html
สารานุกรมวิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๑ พระอานนท์ ๖




ขอขอบคุณภาพจากwww.lacamomille.com


เกียรติคุณอีกอย่างหนึ่งที่ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ คือ มีฝีมือทางช่าง สาเหตุที่ทรงชมเชย มีว่าครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ไปสู่ทักษิณาคิรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้น ๆ คั่นในระหว่าง แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า จะเย็บจีวรอย่างนั้นได้ไหม? พระอานนท์เถระทูลรับว่า เย็บได้ และต่อมาท่านเย็บจีวรให้พระหลายรูปแล้วนำไปถวายให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วตรัสชมเชยในท่ามกลางสงฆ์ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด เป็นเจ้าปัญญา ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำ ที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารได้ ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าอัฑฒกุสิ ผ้ามณฑล ผ้าอัฑฒมณฑล ผ้าวิวัฏฏะ ผ้าอนุวิวัฏฏะ ผ้าคีเวยยกะ ผ้าชังเฆยยกะ และผ้าพาหันตะก็ได้"




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

นอกจากนี้พระอานนท์เป็นผู้ที่ประหยัดและฉลาดในเรื่องนี้มาก
ดังเหตุการณ์ที่พระนางสามาวดีมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี เสื่อมใสในการแสดงธรรมของพระอานนท์ ทำการบูชาพระธรรมด้วยผ้าอุตราสงค์ ๕๐๐ ผืน แด่พระอานนท์
เมื่อพระเจ้าอุเทนทราบจึงตำหนิพระอานนท์ว่ารับจีวรไปจำนวนมาก เมื่อได้โอกาสจึงนมัสการถามว่าเอาจีวรไปทำอะไร

พระเจ้าอุเทนถามพระอานนท์ว่า "ผ้าอุตราสงค์ที่ถวายไม่มากเกินไปหรือ ท่านจักทำอย่างไรด้วยผ้าจำนวนมากเหล่านี้"
พระอานนท์ตอบว่า "จักถวายผ้าที่เหลือแก่ภิกษุผู้จีวรเก่ากว่า "
พระเจ้าอุเทน ถาามว่า " ภิกษุทำจัวรเก่าของตนให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า " เธอจักทำให้เป็นผ้าปูที่นอน "
พระเจ้าอุเทนถามว่า " เธอจักทำผ้าปูที่นอนเก่าให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า "เธอจักทำเป็นผ้าปูพื้น"
พระเจ้าอุเทนถามว่า "เธอจักทำผ้าปูพื้นเก่าให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า "เธอจักทำเป็นผ้าเช็ดเท้า"
พระเจ้าอุเทนถามว่า "เธอจักทำผ้าเช็ดเท้าเก่าให้เป็นอะไร"
พระอานนท์ตอบว่า "เธอจักโขลกให้ละเอียด ผสมด้วยดินเหนียวแล้วฉาบทาฝา"
พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใส รับสั่งให้นำผ้า ๕๐๐ ผืน ถวายวางไว้แทบบาทมูลของพระอานนท์เถระ




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=30-07-2011&group=54&gblog=23



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

พระอานนท์ผู้เป็นปฐมเหตุให้เกิดพระภิกษูณี
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าสุทโทนะพระพุทธบิดาได้นิพพานแล้ว
พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระเทวี และพระมาตุจฉาของพระพุทธองค์ ได้มีศรัทธาเลื่อมใสที่จะบวชเป็นภิกษุณี จึงเสด็จพร้อมด้วยเหล่าศากยกุมารีหลายพระองค์ ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทูลขอออกบวช แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย แม้พระนางเจ้าจะได้กราบทูลขอถึง ๓ครั้ง แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงประทานพระพุทธานุญาตก็ไม่เป็นผล พระนางรู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมาปลงกระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์ (นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตู ขณะนั้น พระอานนท์ผ่านมาพบจึงทูลถาม เมื่อพระอานนท์เถระทราบแล้ว รูสึกสงสารคิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า:-


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98


ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล ระสกทาคามิผล รอนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ?”
“ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้าข้า”

ถ้าพระนางปชาบดีโคตรมีรับประพฤติครุธรรม ๘ ประการได้ พระพุทธองค์ทรงยินยอมให้บวชได้
พระอานนท์เถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้สดับแล้วมีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=30-07-2011&group=54&gblog=23




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 http://www.84000.org/one/1/12.html
 http://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98
 สารานุกรมวิกิพีเดีย

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๐ พระอานนท์ ๕



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm

ยอมสละชีวิตแทนพระพุทธองค์
พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติหน้าที่อุปัฏฐากพระบรมศาสดาด้วยความอุตสาหะมิได้บกพร่อง อีกทั้งมีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตของตนก็ยอมสละแทนพระพุทธองค์ได้ เช่น 

ในคราวที่พระเทวทัตยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรี ด้วยหวังจะให้ทำอันตรายพระพุทธองค์ ขณะเสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

พระเทวทัตเข้าไปในโรงช้างตามที่พระราชาทรงอนุญาต แล้วสั่งคนเลี้ยงช้างว่า วันพรุ่งนี้ ให้ช้างนาฬาคิรีดื่มเหล้า ๑๖ หม้อ แล้วจงปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ หากทำตามคำสั่งนี้ได้รางวัลค่าตอบแทนอย่างงดงามทีเดียว

พวกควาญช้างได้ฟังเช่นนั้น ก็หลงเชื่อในคำของพระเทวทัต วันรุ่งขึ้น จึงให้ช้างนาฬาคิรีดื่มเหล้า ๑๖ หม้อ ทำให้ช้างเกิดอาการเมามายอย่างหนัก เป็นช้างตกมัน ดุร้ายเกรี้ยวกราด ไม่มีใครสามารถจะห้ามอยู่ได้ เมื่อถูกปล่อยออกจากโรงช้าง ก็วิ่งไปตามถนน

 เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์พร้อมกับภิกษุมากรูปด้วยกัน ทรงพระดำเนินมาถึงตรอกนั้น ช้างเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินมาแต่ไกล ได้ชูงวง หูชัน หางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระพุทธองค์์

ภิกษุสงฆ์ที่ตามเสด็จมาด้วย เห็นดังนั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรีตัวนี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์วิ่งเข้ามาในตรอกนี้แล้ว ขอพระสุคตเจ้าจงเสด็จกลับเถิด” พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เสด็จกลับ แต่ตรัสบอกว่า มาเถิดภิกษุ เธออย่ากลัวเลย ไม่ใช่โอกาส ไม่ใช่ฐานะ ที่บุคคลอื่นจะปลงชีวิตของตถาคต เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น

ภิกษุสงฆ์แม้จะเชื่อในพระดำรัสของพระบรมศาสดา แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ จึงทูลขอร้องให้เสด็จกลับถึงสามครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสคำเดิม



ขอขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=27-07-2009&group=53&gblog=42


ในขณะนั้น มหาชนต่างก็รีบหนีขึ้นไปอยู่บนปราสาทบ้าง บนเรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง พวกทีไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไร้ปัญญา ก็พากันกล่าวว่า พระมหาสมณโคดมจะถูกช้างทำร้ายเอา ส่วนผู้มีศรัทธาก็พากันวิจารณ์ว่า วันนี้อานุภาพของพระพุทธเจ้าจะปรากฏเลื่องลือ พวกเราจะได้ดูการต่อยุทธ์ของนาคคือช้างกับนาคคือพระพุทธเจ้า

บังเอิญว่า ช่วงนั้นมีหญิงแม่ลูกอ่อนคนหนึ่ง เห็นช้างวิ่งมาก็ตกใจกลัววางลูกไว้แล้ววิ่งหนีไป ช้างไล่หญิงนั้นไม่ทัน ก็กลับมาวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ทารกน้อยผู้น่าสงสาร ทารกนั้นร้องไห้ด้วยความตกใจกลัวยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระมหากรุณาแก่ทารกนั้น จึงตรัสเรียกช้างนาฬาคีรีให้กลับมาหาพระองค์ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ช้างได้ฟังแล้วก็วิ่งตรงรี่เข้ามาหาพระพุทธเจ้าซึ่งกำลังประทับยืนอยู่กลางถนนพอดี

ฝ่ายบรรดาพระมหาสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น ต่างก็รับอาสาที่จะทรมานช้างนาฬาคีรี แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทรมานช้างนาฬาคีรีไม่ใช่วิสัยของพระสาวก เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าแล้วทรงห้ามเสีย ขณะนั้นเองท่านพระอานนท์ซึ่งจงรักและภักดีในพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่ง ได้ก้าวออกไปยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า ขอช้างจงฆ่าเราเถิด เราจะสละชีวิตฉลองพระคุณของพระองค์ด้วยการตายแทนพระองค์


ขอขอบคุณภาพจากpranaivai.blogspot.com

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระพุทธดำรัสให้พระอานนท์หลีกไป อย่าป้องกันพระองค์เลย 
แต่พระอานนท์ได้กราบทูลว่า 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีวิตของพระองค์มีค่ายิ่งนัก พระองค์อยู่เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก เป็นดวงประทีปของโลก เป็นที่พึ่งของโลก ของพระองค์อย่าเสี่ยงกับอันตรายครั้งนี้เลย ชีวิตของข้าพระองค์มีค่าน้อย ขอให้ข้าพระองค์ได้สละสิ่งซึ่งมีค่าน้อยเพื่อรักษาสิ่งที่มีค่ามาก เหมือนสละกระเบื้อง เพื่อรักษาซึ่งแก้วมณีเถิดพระเจ้าข้าฯ” 








ขอขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=27-07-2009&group=53&gblog=42

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า

 “อย่าเลยอานนท์ บารมีเราได้สร้างมาดีแล้ว ไม่มีใครสามารถปลงชีวิตของตถาคตได้ ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉานหรือมนุษย์หรือเทวดามารพรหมใดๆ”

ในขณะนั้นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาจนจะถึงพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงได้แผ่พระเมตตาจากพระหฤทัย ซึ่งไปกระทบกับใจอันคลุกอยู่ด้วยความมึนเมาของช้างนาฬาคิรีได้ ช้างใหญ่หยุดชะงัก ใจสงบลงและหมอบลงแทบพระบาท พระพุทธองค์ทรงใช้พระหัตถ์ลูบที่ศีรษะพญาช้าง พร้อมกับตรัสว่า

ในขณะนั้นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาจนจะถึงพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงได้แผ่พระเมตตาจากพระหฤทัย ซึ่งไปกระทบกับใจอันคลุกอยู่ด้วยความมึนเมาของช้างนาฬาคิรีได้ ช้างใหญ่หยุดชะงัก ใจสงบลงและหมอบลงแทบพระบาท พระพุทธองค์ทรงใช้พระหัตถ์ลูบที่ศีรษะพญาช้าง พร้อมกับตรัสว่า



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98

“นาฬาคิรีเอ๋ย เธอกำเนิดเป็นดิรัจฉานในชาตินี้ เพราะกรรมอันไม่ดีของเธอในชาติก่อนแต่งให้ เธออย่าประกอบกรรมหนัก คือทำร้ายพระพุทธเจ้าเช่นเราอีกเลย เพราะจะมีผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน”

 ช้างนาฬาคิรีน้ำตาไหลพราก น้อมรับฟังพระพุทธดำรัสด้วยอาการดุษฎี

 (ในคัมภีร์อนาคตวงศ์กล่าวว่า ในอนาคตกาลนับจากพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าไป จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกหลายพระองค์ และช้างนาฬาคิรี จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระติสสพุทธเจ้า)

นาฬาคิรึ คชวรํ อติมตฺตภูตํ
ทาวคฺคิจกฺกมสนีว สุทารุณนฺตํ
เมตฺตมฺพุเสกวิธินา ชิตวา มุนินฺโท
ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจอมมุนีได้ชัยชนะต่อช้างตัวประเสริฐชื่อนาฬาคิรี ซึ่งเป็นช้างตกมันหนัก สุดแสนที่จะทารุณร้ายกาจ ด้วยนํ้าคือพระเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้านั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงบังเกิดมีแก่ท่าน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://papatsro.wordpress.com/2013/02/07/พาหุง_3_ช้างนาฬาคีรี/

สารานุกรมวิกิพีเดีย

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๙ พระอานนท์ ๔





ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้พรรณนาคุณของท่านพระอานนท์ไว้อีกอย่างหนึ่งว่า

ท่านมีรูปงาม น่าเลื่อมใส น่าทัศนายิ่งนัก ยิ่งเป็นพหูสูตด้วย ก็ยิ่งทำให้สังฆมณฑลนี้งดงามยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีบริษัททั้ง  ๔ นิยมไปหาท่านกันมาก ข้อนี้สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสยกย่องท่านว่า ท่านมีอัพภูตธรรม คือคุณอันน่าอัศจรรย์  ๔ ประการ คือ
ถ้าภิกษุบริษัทภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท และอุบาสิกาบริษัทเข้าไปหาท่าน พอได้เห็นรูปเท่านั้นก็มีความยินดี พอได้ฟังธรรมเทศนาของท่านก็ยิ่งมีความยินดี แม้เมื่อท่านแสดงธรรมจบลงแล้ว ก็ยังฟังไม่อิ่ม

แล้วทรงเปรียบเทียบท่านซึ่งมีคุณอันน่าอัศจรรย์นี้กับพระเจ้าจักรพรรดิ
คือว่าพระเจ้าจักรพรรดินั้นเมื่อขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท และสมณบริษัทเข้าเฝ้า พอได้เห็นก็มีความยินดี ครั้นได้ฟังพระราชดำรัส ก็ยิ่งมีความยินดี แม้ตรัสจบแล้วก็ยังไม่อิ่ม




นอกจากหน้าที่อุปัฏฐากประจำองค์อย่างใกล้ชิดแล้ว ท่านพระอานนท์ ยังปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า งานรับสั่ง เช่น

ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์รับสั่งให้ท่านไปประกาศคว่ำบาตรแก่วัฑฒลิจฉวี เพราะเหตุที่วัฑฒลิจฉวีได้สมรู้ร่วมคิดกับพระเมตติยะ และพระภุมมชกะ กล่าวใส่ร้ายท่านพระทัพพมัลลบุตร ว่า เสพเมถุนธรรมกับชายาเดิมของท่าน ครั้งหนึ่งรับสั่งให้ท่านนำนางยักษิณีเข้าเฝ้า เพื่อระงับการจองเวรจองผลาญกันและกัน ครั้งหนึ่งรับสั่งให้ท่านเรียกพระภิกษุสงฆ์ที่นครเวสาลีเข้าประชุมเพื่อฟังอานาปานสติ ครั้งหนึ่งรับสั่งให้ท่านแจ้งข่าวแก่พวกมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินาราว่า พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ป่าไม้สาละ ณ ราตรีนั้น เป็นต้น



งานมอบหมาย เช่น
ครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเลื่อมใสศรัทธา ทรงพระประสงค์จะถวายนิตยภัตรแก่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์เป็นประจำทุกวัน พระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่รับนิตยภัตรประจำในที่แห่งเดียว เพราะมีคนจำนวนมากต้องการจะทำบุญกับพระพุทธเจ้า จึงหวังจะให้เสด็จไปหาตนกันทั้งนั้น เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบดังนั้น จึงทูลขอพระภิกษุ 1 รูปให้ไปรับนิตยภัตรของพระองค์ พระผู้มีพระภาค จึงทรงมอบภาระนี้ให้แก่ท่านพระอานนท์ เมื่อได้รับมอบหมายแล้ว ท่านก็ไปรับเป็นประจำ แม้ว่าในตอนหลัง ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะทรงลืมสั่งให้คนจัดนิตยภัตรถวายไปบ้าง แต่ท่านก็ยังไปอยู่เป็นประจำ




อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระประสงค์จะให้พระนางมัลลิกาเทวี และพระนางวาสภขัตติยา พระมเหสีของพระองค์ได้ศึกษาธรรม จึงทูลนิมนต์ให้พระพุทธองค์กับภิกษุสงฆ์ 500 รูป ไปสอนธรรมแก่พระมเหสีทั้งสองพระพุทธองค์ตรัสบอกข้อขัดข้องดังกล่าวแล้วข้างต้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้ภิกษุรูปอื่นไปแทน พระพุทธองค์ก็มอบหมายให้ท่านพระอานนท์รับภาระหนี้ และท่านก็ทำได้ดีเช่นเดียวกัน และในตอนที่จะเสด็จปรินิพพาน ได้ทรงมอบหมายให้ท่านลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้วในฐานหัวดื้อไม่ยอมเชื่อฟังคำตักเตือนของพระอัครสาวก และเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วท่านก็ได้ไปลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ สำเร็จตามที่ทรงมอบหมายไว้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรุมวิกิพัเดีย

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๘ พระอานนท์ ๓





พระอานนท์ได้เป็นพุทธอุปัฏฐากพระพุทธองค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เป็นเวลา ๒๕ พรรษา

พระอานนท์ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี กิจที่พระอานนท์ทำเป็นประจำแก่พระพุทธองค์คือ

๑. ถวายน้ำ 2 อย่าง คือน้ำเย็นและน้ำร้อน
๒. ถวายไม้สีฟัน 3 ขนาด
๓. นวดพระหัตถ์และพระบาท
๔. นวดพระปฤษฏางค์
๕. ปัดกวาดพระคันธกุฏี และบริเวณพระคันธกุฏี

ในตอนกลางคืนพนระอานนท์กำหนดเวลาได้ว่า เวลานี้พระพุทธองค์ทรงต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วเข้าเฝ้า เมื่อเฝ้าเสร็จก็ออกมาอยู่ยาม ณ ภายนอกพระคันธกุฏี

ในคืนหนึ่ง ๆ พระอานนท์ถือประทีปด้ามใหญ่เวียนรอบบริเวณพระคันธกุฏีถึง ๘ ครั้ง พระอานนท์คิดว่าหากง่วงนอน เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเรียกจะไม่สามารถขานรับได้ ฉะนั้นจึงไม่ยอมวางประทีปตลอดทั้งคืน




ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ไว้ว่าท่านขยันในการอุปัฏฐากมาก
ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มีใครทำได้เหมือนพระอานนท์ เพราะพระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี แต่พระอานนท์ท่านรู้พระทัยชองพระบรมศาสดาดี จึงอุปัฏฐากได้นาน

ด้วยเหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

"อานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายธรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หากประมาณมิได้มาช้านานแล้ว เธอได้ทำบุญไว้มากแล้วอานนท์ เธอจงประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน"

แล้วตรัสประกาศเกียรติคุณของพระอานนท์ให้ปรากฏแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ที่มีมาแล้วในอดีตกาลภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอย่างยิ่งก็เหมือนกับอานนท์ของเราเท่านั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จักมีอนาคตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอย่างยิ่งก็เพียงอานนท์ของเราเท่านั้น อานนท์เป็นบัณฑิตย่อมรู้ว่า นี่เป็นกาลเพื่อจะเข้าเฝ้าพระตถาคตนี่เป็นกาลของพวกภิกษุ นี่เป็นกาลของพวกภิกษุณี นี่เป็นกาลของพวกอุบาสก นี่เป็นกาลของพวกอุบาสิกา นี่เป็นกาลของพระราชา นี่เป็นกาลของพวกอำมาตย์ราชเสวก นี่เป็นกาลของพวกเดียรถีย์ นี่เป็นกาลของพวกสาวกของพวกเดียรถีย์”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมวิกิพีเดีย

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๗ พระอานนท์ ๒





ช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติเป็นพุทธอุปัฎฐากพระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น
พระนาคสมาละ พระนาคิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น

บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพังขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่น

ครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล พอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระทราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรีสว่า
“อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า”

พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

“นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด”

พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามที่ตนต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตกแล้วแย่งชิงเอาบาตรและจีวรไป ทั้งที่เลือดอาบหน้ารีบกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

“อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้”




อีกครั้งหนึ่ง พรเมฆิยะเป็นอุปัฏฐาก

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปยังชันตุคาม เขตปาจีนวังสะกับพระเมฆิยะ
ครั้นพระองค์เสด็จไปถึงที่นั้นแล้ว ท่านพระเมฆิยะ ได้เข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม ได้เห็นสวนมะม่วงอันร่มรื่นน่ารื่นรมย์แห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำ

พรเมฆิยะต้องการจะไปพักผ่อนในสวนนั้น จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงรับบาตรและจีวรของพระองค์ไปและทูลว่าท่านจะไปทำสมณธรรมที่สวนมะม่วงนั้น

พระพุทธองค์ตรัสห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง เพราะมีมีพระภิกษุอื่นเลยในที่นั้น ทรงขอให้ท่านรอไปก่อนจนกว่าจะมีพระภิกษุรูปอื่นมาแทน แต่ท่านก็ไม่ยอม ได้ละทิ้งพระองค์ไว้แต่ลำพังพระองค์เดียว

พระพุทธองค์ ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพังหลายครั้ง จึงมีพระดำรัสรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เลือกสรรภิกษุทำหน้าที่ปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ




ในครั้งนั้นพระสงฆ์ทั้งหลายนำโดยพระสารีบุตรมหาเถระ ได้กราบทูลขอเป็นพุทธอุปัฎฐาก แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย
แม้พระเถระรูปอื่นๆ จะกราบทูลเสนอตัวเป็นพุทธอุปัฏฐาก แต่พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามเสียทุกรูป
คงเว้นแต่พระอานนท์ที่มิได้กราบทูลด้วยถ้อยคำใด

ภิกษุทั้งหลายมีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระรับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเห็นว่าท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ขยัน อดทน รอบคอบ และเป็นพระญาติใกล้ชิด ย่อมจะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดี แต่ก่อนที่พระอานนท์เถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร ๘ ประการ ดังนี้




๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง





พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณและโทษของพร ๘ ประการว่า “ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขออย่างนั้น ?”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉินนินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่างนี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย

และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕-๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์

อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่า พระอานนท์ ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพรทั้ง ๘ ประการนั้น พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และพระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการ ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุงอุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.84000.org/one/1/12.html
http://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=98
สารานุกรมวิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๖ พระอานนท์ ๑



พระ "อสีติมหาสาวก" องค์สำคัญหนึ่งในแปดสิบ และเป็นศากยวงศ์อีกองค๋หนึ่งซึ่งมีความสำคัญในพระพุทธศาสนามาก คือพระอานนท์

หากไม่มีเรื่องราวของพระอสีติมหาสาวกองค์นี้ก็ไม่สมกับการได้ไปจาริกบุญดินแดนพุทธภูมิมา
เมื่อนึกถึงเรื่องราวของพระพุทธองค์ ก็ต้องระลึกถึงพระอานนท์พุทธอนุชาทุกครั้ง

 อสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ ของพระพุทธเจ้า (“มหาสาวก” และ ‘อสีติมหาสาวก’ ปรากฏอยู่ล้วนเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในลังกา หรือในยุคที่การศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกากำลังรุ่งเรือง )



ประติมากรรมรูปพระอานนท์ ศิลปะจีนสมัยราชวงศ์สุย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/พระอานนท์

พระอานนท์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ กับ พระนางกีสาโคตมี หากย้อนไปถึงพระอัยกาและพระอัยยิกาเป็นดังนี้ พระเจ้าสีหนุ และพระนางกัญจนา เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ มีพระโอรส และพระธิดา ๗ พระองค์ คือ



ซากอาคารพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์
ขอขอบคุณภาพจากwww.palungdham.com

พระราขโอรสพระราชธิดา ๗ พระองค์ได้แก่
 ๑.พระเจ้าสุทโธทนะทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางสิริมหามายาเทวี (โกลิยวงศ์) มีพระราชโอรส คือ เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อพระนางสิริมหามายาเทวีสิ้นพระชนม์ทรงอภิเษกสมรสและกับพระมาตุจฉาของเจ้าชายสิทธัตถะคือ พระนางเจ้าปชาบดี(โคตมี)มีพระราชโอรสและพระราชธิดา คือเจ้าชายนันทะ (พระนันทะ) เจ้าหญิงรูปนันทา (พระรูปนันทาเถรี)


 ๒.พระเจ้าสุกโกทนะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางกีสาโคตมี มีพระราชโอรส คือเจ้าชายอานนท์ (พระอานนท์เถระพุทธอุปัฏฐาก)

๓.พระเจ้าอมิโตทนะ พระบิดา เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ (พระอนุรุทธะเถระ) เจ้าหญิงโรหิณี ในมหาวัสตุปรากฏพระนามพระเทวีว่ามฤคี

 ๔.พระเจ้าโธโตทนะ

๕.พระเจ้าฆนิโตทนะ

๖.พระนางปมิตาเทวี

๗.พระนางอมิตาเทวี ทรงอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าสุปปพุทธะ (โกลิยวงศ์) มีพระราชโอรสและพระราชธิดา คือเจ้าชายเทวทัต และ พระนางพิมพาหรือยโสธรา



กุฎิพระอานนท์ ใกล้กับพระมูลคันธกุฎี บนยอดเขาคิชฌกูฏิ เมืองราชคฤห์
ขอขอบคุณภาพจากขอขอบคุณภาพจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/พระอานนท์ 


เจ้าชายอานนท์เป็นสหชาติประสูติวันเดียวเวลาเดียวกับ เจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อศากยราชกุมารทั้ง ๖ และอุบาลีได้ผนวชแล้ว
ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง
ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ ภายหลังบรรลุพระอรหัตผล
พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต
พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน
สำหรับท่านพระอานนท์ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน





ในกาลต่อมาท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่านและพวกภิกษุผู้นวกะมาก

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวสอนท่านว่า

 "ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิว่า เป็นเรา เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาวมีนิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดจึงไม่เห็น ฉันใด เพราะถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่า เป็นเราเพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกัน” 

จากนั้น ท่านพระอานนท์เล่าต่อไปว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ถามท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยงท่านตอบว่าไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่านบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ท่านได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

ขอขอบคุณข้อมูลจ่ากhttp://www.phutthathum.com/พระพุทธเจ้า/ปฐมบทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า



หมายเหตุ 
๑. พระภัททิยะ เป็นพระโอรสของพระนางศากยกัญญา พระนามว่า กาฬีโคธาราชเทวี ในกรุงกบิลพัสดุ์ พระนามว่า ภัททิยราชกุมาร เมื่อเจริญเติบโตแล้วได้เสวยราชสมบัติสืบศากยวงศ์ ไม่ปรากฏว่าพระราชบิดาของพระองค์ทรงพระนามใด ในบางแห่งเรียกท่านว่าพระภัททิยกาฬิโคธาบุตร ในบางแห่งเรียกท่านว่าพระภัททิยเถรศากยราชา เนื่องจากยังมีพระสาวกนามว่าพระภัททิยเถระ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ 

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.dhammathai.org/monk/monk14.php


 หมายเหตุ

 ๒. ประวัติพระอานนท์เถระ ฉบับ คัดลอกจาก ประวัติพระอานนท์ ในสารานุกรม พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

ประวัติในสมัยพระมหาสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระผู้เป็นพุทธปัฏฐากของพระมหาสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้า อมิโตทนศากยราช พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดา

ในเรื่องพระบิดาของท่าน มีหลักฐานหลายแห่งคัดค้านกันอยู่ เช่น อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อรรถกถาธรรมบท และอรรถกถาพุทธวงศ์
กล่าวว่า พระเจ้าอมิโตทนะ เป็นพระบิดาของพระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธะ 

ในมหาวัสตุ และพุทธประวัติของพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ

ส่วนพระเจ้าอมิโตทนะเป็นพระบิดาของพระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธะ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย กล่าวว่า พระเจ้าสุกโกทนะเป็นพระบิดาของพระเจ้ามหามามะ และพระอนุรุทธะ 
จากหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ไม่ได้กล่าวว่า พระมารดาของท่านเป็นใคร มหาวัสตุแห่งเดียวเท่านั้นที่กล่าวถึงพระมารดาของท่านว่าทรงพระนามว่า มฤคี 
ท่านอรรถกถาจารย์ให้เหตุผลว่า ที่ท่านมีชื่อว่าอานนท์ก็เพราะว่าเมื่อท่านประสูติพระญาติทั้งหลายพากันสดชื่นรื่นเริงบันเทิงใจยิ่ง 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/sawokbuddha/phra-xannth-thera

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๕ พระนางพิมพายโสธรา นางแก้วคู่บารมี ๒




ขอขอบคุณภาพจากwww.lifeskills-panya.com



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm

ต่อจากนั้น พระนางพิมพาได้ทรงเกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์หลายภพชาตินับไม่ถ้วน
แต่ที่ปรากฏในชาดกมี ๓๒ ชาติ รวมชาติสุดท้ายที่เกิดเป็นพระนางพิมพาเป็น ๓๓ ชาติ
พระนางพิมพา ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือในการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์สร้างบารมีได้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้าขาดพระนางแล้วการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์คงจะไม่ถึงที่สุด




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=angelina-jerrry&month=09-02-2011&group=23&gblog=16



โดยเฉพาะในข้อที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ต้องบำเพ็ญปัญจมหาบริจาคให้ครบถ้วน

ปัญจมหาบริจาคคือ บริจาคทรัพย์ บริจาคบุตรธิดา บริจาคภรรยา บริจาคอวัยวะและบริจาคชีวิต
คำว่า ปัญจมหาบริจาคมิได้ปรากฎในพระไตรปิฎก แต่ได้กล่าวถึงพระชาติต่าง ๆ ที่พระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติทรงบำเพ็ญบารมีอันนับเนื่องในปัญจมหาบริจาค ส่วนคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาท่านได้กล่าวถึงปัญจมหาบริจาคว่ามีความสำคัญยิ่งกับพระโพธิสัตว์ ถึงกับแยกกันไม่ได้ทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาได้กล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติต่าง ๆ เพื่อบริจาคทรัพย์มากกว่าการบริจาคข้ออื่น ๆ ส่วนคัมภีร์ฎีกามิได้กล่าวแยกประเภทไว้เช่นนั้น แต่ได้กล่าวโดยรวมไว้ว่า ปัญจมหาบริจาคเป็นคุณธรรมสำคัญที่พระโพธิสัตว์จะขาดเสียมิได้

ทานเป็นก้าวแรกแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=12-03-2008&group=4&gblog=13


บารมีที่เด่นชัดของพระนางพิมพา ได้แก่ ความเสียสละและความอดทน ซึ่งเป็นปัจจัยโดยอ้อมต่อการบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์

ในชาติสุดท้าย พระนางพิมพา แม้จะทรงลืมความตั้งใจในอดีตชาติโดยรู้สึกเสียพระทัยที่พระโพธิสัตว์เสด็จหนีออกผนวช

แต่ภายหลังพระนางก็ทรงเข้าพระทัยแล้วได้ออกบวชบำเพ็ญบารมีจนบรรลุอรหัตตผลสิ้นภพสิ้นชาติ
ถือว่าแรงอธิษฐานของพระนางที่ได้ตั้งไว้ในอดีตชาติสมประสงค์

การตั้งความปรารถนาร่วมกันของพระโพธิสัตว์กับของพระนางพิมพาแล้วอุทิศทั้งกายและจิตใจบำเพ็ญคุณความดีอย่างไม่ย่อท้อ ถือเป็นแบบอย่างที่อนุชนทั้งหลายพึงศึกษาแล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามเหมาะสมแก่เพศ ภาวะ ของแต่ละคน ได้เป็นอย่างดี



Prince Siddhattha and Princess Yasodhara's marriage 
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.hinduwebsite.com/buddhism/buddhaslife.asp

ในชาดก ๓๒ ชาติของพระนางพิมพา ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ นางแก้วคู่บารมี เรียบเรียงโดยคุณอังคาร หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงอดีตชาติของพระนางยโสธราพิมพาจำนวน ๒๐ ชาติ และพระนางยโสธราพิมพา

๑. สุมิตตาพราหมณี - ปฐมจิตอธิษฐาน
๒. พระนางประภาวดี -ด้วยจิตคิดเกลียดชัง
๓. นางสุชาดา - รูปสมบัติเป็นทุกข์ภัย
๔. วิสัยหเศรษฐีภริยา - เกี่ยวหญ้าทำทานยามตกยาก
๕. ภริยาช่างหม้อ - หนีสามีออกบวช
๖. สัมมิลลหาสินีกุมารี - ทิ้งทรัพย์บวชเป็นดาบสินี
๗. จอมนางแห่งพาราณสี - ราชินีผมหงอก
๘. ราชธิดาพระเจ้าโกศล - จากนางทาสีเป็นพระมเหสีพระราชา
๙. พระสมุททวิชยาเทวี - อัญเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้า
๑๐. นางสีดา - ชายาพระราม
๑๑. โพธิปริพพาชิกา - ผู้ไม่ข้องในเมถุนธรรม
๑๒. พระนางอุทัยภัทรา - หาหนทางสู่สวรรค์
๑๓. จันทกินนรี - ผู้ไม่มีใจออกห่าง
๑๔. สุภัททาเทวี - นางแก้ว
๑๕. นางจันทาเทวี - มเหสีพระเจ้าสุตโสม
๑๖. พระนางสุมนาเทวี - นางพญานาคกัญญา
๑๗. พระนางสีวลี - คู่บารมีพระมหาชนก
๑๘. นางอมรา - ภริยามโหสถ
๑๙. พระนางจันทาเทวี - ให้สัจจะช่วยพระสวามี ๒๐. พระนางมัทรี - มเหสีผู้เป็นมหาทาน
๒๑. พระนางยโสธราพิมพา- นางแก้วคู่บารมี



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.224book.com/product.detail_441395_th_2119437

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm
http://audio.palungjit.org/f22/นางแก้วคู่บารมี-เรียบเรียง-โดย-อังคาร-7650.html
http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=398
http://www.mcu.ac.th/En/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=108

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๔ พระนางพิมพายโสธรา นางแก้วคู่บารมี ๑




ขอขอบคุณภาพวาดอาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก จากwww.qsbg.org


การเกิดร่วมชาติเพื่อสร้างบารมี ๑๐ ประการ ของพระนางพิมพากับพระโพธิสัตว์ คือ
(๑) ทานบารมี
(๒) ศีลบารมี
(๓) เนกขัมมบารมี
(๔) ปัญญาบารมี
(๕) วิริยบารมี
(๖) ขันติบารมี
(๗) สัจจบารมี
(๘) อธิฐานบารมี
(๙) เมตตาบารมี
(๑๐) อุเบกขาบารมี




เนื่องจากพระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้จนบริบูรณ์เต็มเปี่ยมแล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาเอกในโลก ซึ้งต้องใช้เวลานานแสนนานนับอสงไขย และต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ยาวนาน จะต้องมีบุคคลผู้มีส่วนร่วมคอยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง สำหรับพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีแล้วมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมนี้

ผู้มีส่วนสนับสนุนช่วยเหลือในการบำเพ็ญบารมีที่สำคัญ คือ พระนางพิมพา พระนางได้ตั้งความปรารถนาขอร่วมสร้างบารมีตั้งแต่พบพระพุทธเจ้าทีปังกร เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ทรงเกิดเป็นสุเมธดาบส

พระนางพิมพา ได้ทรงพบพระโพธิสัตว์ ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นสุเมธดาบส ส่วนพระนางพิมพาเกิดเป็นนางสุมิตตา ทั้งสองได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกรพร้อมกัน นางทราบว่า สุเมธดาบสปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเกิดความเลื่อมใส จึงมอบดอกบัวให้พระโพธิสัตว์เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกัน โดยนางอธิฐานขอเกิดร่วมสร้างบารมีคอยรับใช้สุเมธดาบส จนกว่าจะสิ้นภพสิ้นชาติ



ขอขอบคุณภาพจากlifestyle.hunsa.com

ย้อนหลังไปในอดีตกาลล่วงมาได้ ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
ครั้งนั้น พระนางพิมพาเกิดมาเป็นนางสุมิตตาพราหมณี อาศัยอยู่ในอมรวดีนครอันรุ่งเรือง
ในครั้งนั้น เป็นพุทธกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระทีปังกร อันเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ในมหากัปนั้น และเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ใน ๒๘ พระองค์เมื่อนับถึงองค์ปัจจุบัน

เมื่อพระทีปังกรตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาอยู่ที่รัมมกนคร

ครั้งหนึ่ง ชาวนครอมรวดีได้อัญเชิญเสด็จพระทีปังกรพร้อมพระสาวกขีณาสพ ๔ แสนรูปให้มารับมหาทานในนคร ในวันที่พระทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จพุทธดำเนินมานั้น มหาชนผู้มีศรัทธาจำนวนมากก็พากันมารอรับเสด็จ ได้ช่วยกันถากถางทางและปรับพื้นที่ขรุขระมีน้ำขังให้ราบเรียบ เพื่อให้พระทีปังกรเสด็จดำเนินได้โดยสะดวก

นางสุมิตตาพราหมณีผู้มีศรัทธา ก็ได้มารอรับเสด็จพระทีปังกรร่วมกับมหาชน ในมือนางถือดอกบัวมา ๘ กำ เตรียมมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

ขณะนั้นเอง นางสุมิตตาพราหมณีก็ได้เห็นดาบสผู้ทรงอภิญญารูปหนึ่ง คือ สุเมธดาบส เหาะมาในนภากาศ สุเมธดาบสมองลงมาเห็นมหาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก จึงได้ลงมาสอบถาม เมื่อรู้ว่าพระทีปังกรพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดำเนินมาก็มีศรัทธา ขอร่วมในการปรับถนนด้วย ชาวเมืองเห็นว่าท่านสุเมธดาบสเป็นผู้มีฤทธิ์ จึงได้แบ่งงานบริเวณที่เป็นหลุมเป็นแอ่ง และมีน้ำท่วมขังมาก ให้ท่านดาบส สุเมธดาบสมีปิติยินดีเป็นอันมากที่จะได้เฝ้าพระพุทธองค์ จึงดำริว่าหากตนใช้ฤทธิ์ปรับถนน แม้งานจะสำเร็จรวดเร็ว แต่ก็ไม่ชื่นใจ ไม่สมกับศรัทธาที่ตนมี จึงได้อดทนขนดินทรายมาถมหลุมบ่อด้วยแรงกายเช่นสามัญชนทั่วไป





ขอขอบคุณภาพจากwww.palapanyo.com

สุเมธดาบสทอดตัวลงนอนปิดทับแอ่งน้ำนั้น ตั้งใจถวายชีวิตให้พระทีปังกร
การกระทำของสุเมธดาบสนี้ สร้างความศรัทธาและความชื่นชมแก่นางสุมิตตาพราหมณีที่เฝ้ามองอยู่ยิ่งนัก
เมื่อสุเมธดาบสยังปรับพื้นที่ไม่เสร็จดี พระทีปังกรพุทธเจ้า พร้อมพระสาวก ๔ แสนรูปก็เสด็จดำเนินมา สุเมธดาบสเห็นไม่ทันการณ์ เพราะยังมีบ่อที่น้ำท่วมขังอยู่ช่วงตัวหนึ่ง จึงตัดสินใจทอดตัวลงนอนปิดทับแอ่งน้ำนั้น ตั้งใจถวายชีวิตให้พระทีปังกรและพระสาวกเดินไปบนแผ่นหลังของตน

พระทีปังกรพุทธเจ้า เสด็จมายืนอยู่ที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงตรวจสอบดูด้วยพระสัพพัญญุตาญาน ก็รู้ว่าสุเมธดาบสผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีเต็ม เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เป็นผู้สร้างสมพุทธการกธรรมมาแล้วถึง ๑๖ อสงไขย สมควรแก่การได้รับลัทธยาเทศได้แล้ว พระองค์จึงได้ทรงประกาศพุทธพยากรณ์ว่า

"ท่านทั้งหลายจงดูดาบสผู้มีตบะอัน รุ่งเรืองนี้ ดาบสผู้นี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จในที่สุดแห่งสี่อสงไขยกับเศษแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคตม ในอัตภาพนั้นของเขา จักมีนครนามว่า กบิลพัสดุ์ เป็นที่อยู่อาศัย พระมารดาทรงพระนามว่ามายา พระบิดาทรงพระนามว่าสุทโธทนะ พระอุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พระอานนท์เป็นพุทธอุปฐาก พระเขมาเถรีเป็นอัครสาวิกา พระอุบลวรรณาเถรีเป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑล และจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์"



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm


ชาวเมืองและเทพเทวดาทั้งหลายในที่นั้น เมื่อได้ฟังพุทธพยากรณ์แล้ว ต่างก็กล่าวสาธุการ สนั่นดังไปทั่วทั้งไตรภูมิ
ขณะนั้นเอง นางสุมิตตา ผู้เห็นเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้น ก็เกิดปิติศรัทธาไปกับสุเมธดาบส นางจึงได้แบ่งดอกบัว ๕ กำ ให้สุเมธดาบสใช้บูชาพระพุทธเจ้า ส่วนดอกบัวอีก ๓ กำ นางนำไปถวายพระพุทธเจ้าแทบพระบาทของพุทธองค์ แล้วกล่าววาจาว่า
"ข้าพระบาทได้แลเห็นท่านดาบสเหาะลงมา จากนภากาศ ช่วยขนดินทรายมาปรับผิวทาง ข้าพระบาทมีความศรัทธาในท่านดาบส เมื่อเห็นท่านดาบสทอดกายเป็นสะพาน ข้าพระบาทยิ่งมีปีติและศรัทธา บัดนี้ พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ท่านดาบสว่า จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ข้าพระบาทนี้ยิ่งมีปิติและศรัทธาไปกับท่านดาบสยิ่งนัก ข้าพระบาทขอตั้งความปรารถนา จะเป็นคู่สุข คู่ทุกข์ คู่ยาก ช่วยท่านดาบสสร้างสมบารมีให้สมบูรณ์"

พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงทรงตรวจสอบ นางสุมิตตาพราหมณี ด้วยพระสัพพัญญุตาญาณ แล้วจึงตรัสวาจาพยากรณ์ว่า
"ดูกรฤาษีผู้ใหญ่ อุบาสิกาผู้นี้ จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน มีกุศลกรรมเสมอกัน ทำกุศลร่วมกัน เป็นที่รักของบุญกรรม เพื่อประโยชน์แก่ท่าน น่าดู น่าชม น่ารัก น่าชอบใจยิ่ง มีวาจาอ่อนหวาน จักเป็นธรรมทายาทผู้มีฤทธิ์ของท่าน ความปรารถนาของอุบาสิกานี้จะสำเร็จตามปรารถนา"


เหล่ามนุษย์และเทพยดาต่างสาธุการดังก้องขึ้นอีกครั้ง แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำดอกไม้ ๘ กำโปรยบูชาสุเมธดาบส ทรงกระทำประทักษินแล้วดำเนินหลีกไป เหล่าพระขีณาสพทั้งสี่แสนก็บูชาพระดาบสด้วยของหอมและพวงดอกไม้ แล้วดำเนินหลีกไป

เมื่อพระภิกษุสงฆ์เดินไปหมดแล้ว สุเมธดาบสซึ่งบัดนี้ได้เป็นพระนิยตโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอนตามลัทยาเทศนั้นแล้ว ก็ลุกขึ้นนั่งบนกองดอกไม้ พิจารณาตนเองด้วยอภิญญาญาณ ทบทวนพุทธการกธรรมคือบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ที่ได้บำเพ็ญเพียรมา เมื่อพิจารณาครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็บังเกิดแผ่นดินสั่นหวั่นไหว แล้วเหล่าเทพเทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุก็ประชุมกัน สักการะด้วยสุคนธมาลัยทิพย์ แล้วกล่าวอำนวยพร

แล้วสุเมธดาบสก็เหาะกลับไปป่าหิมพานต์ เจริญอภิญญาสมาบัติมิให้เสื่อม เมื่อสิ้นอายุขัยก็ไปอุบัติในพรหมโลก
ในชาตินี้จึงเป็นชาติสำคัญของพระโพธิสัตว์ และพระนางพิมพาผู้ซึ่งเป็นคู่บารมี เนื่องจากเป็นชาติที่พระโพธิสัตว์ได้รับลัทยาเทศจากพระพุทธเจ้า และพระนางพิมพาก็ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน นับจากชาตินี้เป็นต้นไป ทั้งสองจึงได้เกิดมาสร้างสมบุญบารมีต่างๆ ร่วมกันตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้ นับเป็นบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ที่บุคคลทั่วไปทำได้อย่างยากยิ่งนัก



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-02.htm
http://www.mcu.ac.th/En/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=108

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๐๓ พระนางยโสธราพิมพา พระภัททากัจจานาเถรีเสด็จสู่นิพพาน




พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลเล่าความฝัน
ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล อ้างอิง อรรถกถามหาสุบินชาดก เอกนิบาต ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕๖ หน้า ๒๑๖-๒๔๑ ขอขอบคุณภาพจากkmnha.nha.co.th

พระเจ้าปเสนทิโกศ ได้ทรงเสาวนาการว่า พระนางพิมพาภิกษุณีจักดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ก็เสด็จออกจากพระบรมมหาราชวังมาเฝ้าคอยอยู่ที่บริเวณพระมหาวิหารเป็นเวลานาน ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระเถรีออกมาจากที่เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุณีสงฆ์บริวาร จึงทรงกรากเข้าไปถวายนมัสการแล้วอาราธนาว่า

"ข้าแต่สมเด็จพระแม่เจ้า! ปราสาทยอดของโยมนี้สร้างไว้ที่ริมพระเชตวันมหาวิหาร อันมีชื่อว่ากูฏาคาร ที่นั่นเป็นสถานที่สบายนัก ขออาราธนาสมเด็จพระแม่เจ้าจงไปเข้าสู่นิพพาน ณ ที่นั่นเถิด"

" พระนางพิมพาภิกษุณีทูลตอบพระเจ้าปเสนทิโกศล"
"ดูกรมหาบพิตรพระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ! กูฏาคารนั้น มิใช่สถานที่อันควรแก่การที่ภิกษุณีสงฆ์จักเข้าสู่นิพพาน ด้วยว่ากูฏาคารนั้นเป็นพุทธสถานที่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เคยประทับไม่ควรแก่อาตมภาพซึ่งเป็นสตรี ขอถวายพระพร



ขอขอบคุณภาพจากm.dmc.tv
เป็นการสื่อภาพแทน สำหรับm.dmc.tv เป็นภาพตอน โลสกชาดก


ลำดับนั้น บรรดามหาเศรษฐีและคฤหบดีทั้งหลาย ซึ่งมีความเคารพเลื่อมใสในพระนาง ทั้งล้วนเป็นอุปัฏฐากใหญ่ในพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า
ท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี
จุลอนาถบิณฑิกเศรษฐี
นางวิสาขามหาอุบาสิกา
นางสุปวาสามหาอุบาสิกา
รวมทั้งแพทย์หลวง หมอชีวกโกมารภัจจ์
ซึ่งมีศรัทธาปรารถนาจักให้พระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าไปเข้าสู่นิพพานในอารามที่ตนสร้างไว้ จึงต่างคนต่างก็เข้าไปถวายนมัสการที่พระบาทแล้วทูลอาราธนา แต่ก็ถูกพระนางปฏิเสธเสียสิ้น โดยอ้างว่าเป็นพุทธสถานไม่ควรแก่การที่พระภิกษุณีจักเข้าไปใช้ร่วม แม้จะเป็นการดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานก็ตามที

แล้วพระนางก็ค่อยจรลีโดยบ่ายพระพักตร์ไปยังอารามของนางภิกษุณี ซึ่งเป็นสถานที่อันตั้งพระหฤทัยว่าจักดับขันธ์เข้าสู่นิพพานที่นั่น


ขอขอบคุณภาพจาก
สื่อเป็นภาพแทนซึ่งไม่ตรงกับบทจริงของm.dmc.tv สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์สัพพัญญูเจ้า จึงทรงมีพระมหากรุณาดำรัสสั่งพระเจ้าปเสนทิโกศลในขณะนั้นว่า


ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11028891/Y11028891.html

"ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร! ขอพระองค์พร้อมกับอำมาตย์ราชบริพารจงรีบเสด็จไปก่อนพระพืมพาเถรี จงไปจัดการตกแต่งประดับประดา ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพิมพาจะดับขันธ์เข้าสู่นิพพานที่อารามของนางภิกษุณีให้เป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่พระพิมพาเถรีไปถึงจึงจะควรนะมหาบพิตร แล้วเราตถาคตจะติดตามไปในภายหลัง"

ได้ทรงสดับพระพุทธดำรัสสั่งดั่งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงน้อมพระองค์ลงถวายนมัสการที่พระยุคลบาทของสมเด็จพระชินวร แล้วก็รีบเสด็จพาอำมาตย์ราชบริพารด่วนจรไปยังอารามนางภิกษุณี โดยมีบรรดามหาเศรษฐีคฤหบดี และพราหมณ์ มหาศาลตามเสด็จไปด้วย

ครั้นถึงแล้ว ต่างคนก็เร่งรัดจัดการตกแต่งเครื่องสักการบูชา เป็นต้นว่าประทีปธูป เทียนธงฉัตรและดอกไม้ให้เป็นสถานที่อันวิจิตรอลังการควรแก่เป็นสถานดับขันธปรินิพพานแห่งสมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีซึ่งมีบุญอันยิ่งใหญ่ แล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้มีความเคารพเลื่อมใสในพระเถรีเป็นอันมาก จึงมีพระบรมราชโองการ ตรัสสั่งให้ปูลาดด้วยสุจหนี่ยี่ภู่พระเขนยทอง เบื้องบนให้ดาดเพดานห้อยย้อยไปด้วยบุปผาชาติอันมีกลิ่นหอมสุมาลัย แล้วให้วงด้วยพระวิสูตรสุวรรณรัตนะ ตามด้วยอัจกลับประทีปแก้วแล้วรายราชวัตรฉัตรธง ประดับเครื่องสูงสำหรับขัตติยมหาศาล แล้วให้ตั้งพานพนมแก้วพนมทอง และพนมบุปผาชาติต่างๆ มีทั้งธูปเทียนชวาลา ไว้คอยท่ารับเสด็จจนเสร็จเรียบร้อยเป็นอันดี





ก็เป็นเวลาที่พระนางพิมพาเถรี ซึ่งมีพระภิกษุณีสงฆ์พันหนึ่งแวดล้อมเดินทางมาถึงพอดี พระเจ้าปเสนทิโกศลบรมกษัตริย์จึงสั่งให้มหาอุบาสก ๒ คน คือ อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี และจุลอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี กับมหาอุบาสิกา ๒ คน คือ นางวิสาขามหาอุบาสิกาและนางสุปวาสามหาอุบาสิกา ให้ออกไปเชิญเสด็จสมเด็จพระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าเข้าไปภายใน

ครั้นเสด็จเข้าไปถึงแล้ว สมเด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลก็อาราธนาให้เสด็จขึ้นไปสู่พระแท่นที่บรรทม พระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าได้เสาวนาการคำอาราธนาของพระราชาธิบดีแล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่พระแท่นที่บรรทม เอนพระองค์ลงไสยาสน์เหนืออาสนะอันวิจิตรอลังการ์นั้น มหัศจรรย์ก็ดลบันดาลบังเกิดมีเป็นประการต่างๆไปจนกระทั่งถึงพรหมโลก

ฝูงเทพเจ้าในฉกามาพจรสวรรค์ และบรรดามหาพรหมทั้งหลาย ครั้นได้ทราบความว่าสมเด็จพระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้า จะดับขันธ์เข้าสู่นิพพานในกาลวันนั้น ต่างองค์ต่างก็จัดแจงซึ่งเครื่องสักการบูชา รีบออกจากเทพยวิมานเมืองสวรรค์ชั้นฟ้าลงมาสู่อารามภิกษุณี เมืองสาวัตถีมหานคร ใช่แต่เทวดาอินทร์พรหมเท่านั้นก็หามิได้ แม้แต่เหล่าทิพยกายผู้วิเศษทั้งหลายคือ ยักษ์ นาค สุบรรณ และคนธรรพ์ ฤาษีสิทธิ์วิทยาธรทั้งหลาย บรรดาที่มีใจเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อได้ทราบความต่างก็พากันมาจนเต็มไปทั้งห้องนภาดล




ขณะนั้น สมเด็จพระนางพิมพาเถรี จึงทูลถามพระราชาธิบดีปเสนทิโกศลขึ้นว่า

"ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร ! ขณะนี้เป็นเวลาประมาณสักเท่าใด? "

" ข้าแต่สมเด็จพระแม่เจ้า ! ขณะนี้เป็นเวลาสายัณห์ พระอาทิตย์จวนจะอัศดงคตแล้ว เจ้าข้า"

"ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระราชสมภาร ! บัดนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์พระองค์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาเสด็จมาถึงหรือยังเล่า"

"ข้าแต่สมเด็จพระแม่เจ้า ! สมเด็จพระมหากรุณาสัพพัญญูเจ้ายังหาเสด็จมาถึงไม่ แม้สมเด็จพระราหุลบวรดนัย ก็ยังไม่เสด็จมาเจ้าข้า"

"ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร ! ถ้าเช่นนั้น พิมพานี้จะดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานต่อเพลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง."

พระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าตรัสฉะนี้ ก็ฝืนพระทัยพยุงกายลุกขึ้นแล้วก็แสดงพระธรรมเทศนาให้โอวาทแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายไปจนสิ้นปฐมยาม

เสร็จแล้วจึงให้เรียกภิกษุณีสงฆ์มาประชุมกัน ประทานโอวาทโดยนัยอันวิจิตรพิศดารจนสิ้นมัชฌิมยาม

ครั้นล่วงเข้าปัจฉิมยามจวนถึงปัจจุสมัย สมเด็จพระจอมไตรโลกนาถบรมศาสดากับพระราหุลอรหันต์ก็พาพระภิกษุสงฆ์บริวารเสด็จมาถึงพอดี

พระนางพิมพาเถรีถวายนมัสการพระชินสีห์เจ้าเป็นครั้งสุดท้ายแล้วก็อธิษฐานเข้าฌานสมาบัติเป็นลำดับไป ตั้งต้นแต่ปฐมฌานจนจึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมา

พอถึงเพลาปัจจุสมัยใกล้อรุณรุ่ง จึงอธิษฐานเข้าและออกจากจตุถฌานสมาบัติ แล้วพระนางแก้วพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้า ก็ดับขันธ์เข้าสู่อมตมหานฤพานทันใด



สมัยนั้น มนุษย์และเทวดาแต่บรรดาที่ยังเป็นปุถุชนตัดความรักอาลัยไม่ขาดไปจากขันธสันดาน เมื่อได้ทราบว่าพระนางเจ้าดับขันธ์เข้าสู่อมตมหานฤพานแล้ว ต่างก็พากันโศกาดูรร่ำไห้เสียงเซ็งแซ่ควรจะสงสาร ส่วนท่านที่เป็นอรหันตอริยบุคคลมีองค์สมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ก็บังเกิดธรรมสังเวชในหฤทัยทุกถ้วนหน้า

คราทีนั้นสมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้าจอมสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ จึงทรงมีเทวโองการให้อัญเชิญพระศพมาชำระสระสรงด้วยอุทกวารี

แล้วสมเด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นใหญ่ จึงถวายผ้าเนื้อละเอียดให้หุ้มห่อบรมศพแห่งพระเถรี

เหล่าเทวดาและมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็ปลดเปลื้องเครื่องประดับออกจากกาย ถวายให้เป็นเครื่องประดับพระศพกันมากมายหนักหนา

มีคำที่พระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ว่า พระบรมศพของพระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าในวันนั้น ทรงไว้ซึ่งความงามโสภายิ่งกว่าเทพอัปสรสวรรค์ทุกชั้นฟ้าเสียอีก

ลำดับนั้น ท่านท้าวสุทธาวาสมหาพรหมผู้วิเศษ ซึ่งด่วนจรมาแต่สุทธาวาสพรหมโลกด้วยศรัทธาเลื่อมใส ก็อธิษฐานใจเนรมิตด้วยพรหมฤทธิ์ ให้เป็นหีบทองเข้ารองรับพระศพใส่ไว้เป็นอันดี

ฝ่ายสมเด็จท้าวโกสีย์อมรินทราธิราช ก็เนรมิตด้วยเทพฤทธิ์ ให้บังเกิดเป็นเมรุทองมียอดได้ ๕๐๐ ยอด มีสัณฐานงดงามรุ่งเรืองเลื่อม พรรณรายกอปรไปด้วยเครื่องประดับอันวิจิตร

นอกจากพรหมและเทวดาจักเนรมิตด้วยฤทธิ์แห่งตนแล้ว บรรดามนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาด้วยฉัตรธงเป็นอาทิ แล้วก็อัญเชิญพระบรมศพขื้นสู่พระเมรุทองประโคมด้วยดุริยดนตรีเสียงพิลึกกึกก้องโกลาหล

สมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่องค์อมรินทราธิราชซึ่งประทับยืนอยู่ในขณะนั้นว่า เราตถาคตจะประทานเพลิงศพเจ้าพิมพาก่อนผู้อื่นใดในกาลบัดนี้



สมเด็จท้าวโกสีย์ผู้ใหญ่ในไตรตรึงษ์สรวงสวรรค์ ได้สดับพระพุทธฎีกาดั่งนั้น ก็มิได้ทรงรอช้าให้เสียเวลา น้อมนำเอาเพลิงอันเกิดแต่แว่นแก้วมณีเข้าทูลถวายทันที

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเอาเพลิงมาแต่หัตถ์ท้าวโกสีย์ แล้วก็ทรงประทานเพลิง

ต่อจากนั้น จึงพระพรหมเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่างก็เข้าถวายเพลิงเป็นลำดับไปในภายหลัง

เพลิงที่มนุษย์และเทวดาถวายก็ดี เตโชธาตุที่บังเกิดขึ้นเองก็ดี ทั้งสองสิ่งนี้ได้รวมกัน เผาผลาญบรมศพพระนางพิมพาภิกษุณีเจ้าให้เป็นเถ้าถ่านละเอียดจุณวิจุณ แต่มาตรว่าพระอังคารก็มิได้เหลือหลง ยังคงมีแต่พระธาตุซึ่งมีพรรณอันงามดุจดอกมณฑาเท่านั้น

ครั้นการถวายพระเพลิงบรมศพพระนางซึ่งมีคุณใหญ่ เสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว

สมเด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลมหาราช จึงทรงกราบทูลองค์พระจอมไตรโลกนาถขึ้นในขณะนั้นว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมเด็จพระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าท่านดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานครั้งนี้ ปรากฏว่ามีมนุษย์และเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์ พากันมาสักการบูชาและถวายพระเพลิงมากมายยิ่งหนักหนา ควรจะเห็นว่ามากกว่าพระอรหันต์สาวกที่ดับขันธ์เข้าสู่นิพพานไปแล้วทั้งปวง




เมื่อเป็นเช่นนี้บรมธาตุอันมีพรรณงามดุจดังดอกมณฑา แห่งสมเด็จพระนางพิมพาเถรีที่เหลือปรากฏอยู่นี้ ควรจักนำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่ใด พระเจ้าข้า"

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเสาวนาการพระราชปุจฉาดังนั้น จึงทรงมีพระพุทธฎีกาดำรัสสั่งองค์ราชาธิบดีปเสนทิโกศล ให้ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์ ณ สถานที่อันควรแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุสีดอกมณฑา แห่งองค์พระพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้า เพื่อให้เหล่าเทวดาอินทร์พรหมและมนุษย์ ที่มีน้ำใจเคารพเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาได้กระทำคารวะสักการบูชาสืบต่อไปชั่วกาลนาน ด้วยประการฉะนี้

ในกาลเป็นที่อวสานแห่งบทอันว่านิสสรณวิมุตติ ใคร่ที่จักกล่าวสรุปความสำคัญ เพื่อให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายกำหนดจดจำได้ง่ายว่า นิสสรณวิมุตตินี้ หมายถึงความหลุดพ้นโดยการสลัดออกไป ตัวนิสสรณวิมุตติแท้ๆ ก็ได้แก่ พระนิพพาน อันเป็นยอดธรรมทางพระพุทธศาสนานั่นเอง สมจริงตามหลักฐานอันปรากฏมีในคัมภีร์สารัตถัปปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย โดยอรรถพรรณนาว่า

นิพฺพานํ สพฺพกิเลเสหิ นิสฺสชฺชตฺตา อปคตตฺตา ทูเร ฐิตตฺตา นิสฺสรณวิมุตฺตีติ สํขํ คตํ


หมายเหตุ
เสาวนาการ, น. การฟัง, การได้ฟัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.sujipuli.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539241829
http://www.palapanyo.com/pimpa
สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณี
จาก หนังสือ วิมุตติรัตนมาลี
รจนาโดย พระพรหมโมลี
วัดยานนาวา กทม.