วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธองค์ ๘๘ ศักยราชออกบวช




ขอขอบคุณภาพจากwww.watprokfa.com

หลังจากที่ พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา โปรดให้ประชุมศากยะตระกูลทั้งหมด ตรัสให้กุมารตระกูลละหนึ่งคนออกบรรพชา ได้มีขัตติยกุมาร หนึ่งพันองค์ออกบรรพชาพร้อมกัน

ขณะยังประทับอยู่ที่ นิโครธาราม พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า กิมพิลศากราชแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีอัธยาศัยที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงทรงเนรมิตรูปสตรีที่สวยงาม ตั้งแต่วัยรุ่น วัยสาว วัยกลางคน จนถึงวัยชรามีการเจ็บไข้และตายในที่สุดให้ปรากฎ

กิมพิลศากยะ พิจารณาว่า วัยย่อมล่วงไปเร็วพลัน รูปกายนี้ของเราก็เช่นกัน เกิกความสลดใจในภาพที่เห็น บังเกิดความเบื่อหน่าย ประสงค์ที่จะผนวช

ในคราวนั้นอนุรุทธศากยตัดสินใจที่จะออกบรรพชาศึกษาพระธรรมวินัย ได้ไปชวนศากยะองค์อื่น ๆ ให้บวชด้วย จึงเป็นสาเหตุที่กิมพิลตัดสินใจจะออกบรรพชาในทันที

พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จึงเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ โดยใช้เส้นทางที่เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ประทับแรมพักที่อนุปิยอมพวัน

ณ ที่นั่น เหล่าพระราชวงศ์ทั้ง ๖ คือ พระเจ้าภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานันทะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ แห่งศากยวงศ์กบิลพัสดุ์ และเจ้าชายเทวทัตซึ่งเป็นศากยวงศ์เทวทหะ พร้อมด้วยพระอุบาลี พนักงานภูษามาลาในราชสำนัก ตามเสด็จมากราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทยังที่ประทับแรม พระผู้มีพระภาคเจ้าประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ทุกองค์ ภิกษุเหล่านั้นโดยเสด็จพระบรมศาสดาไปยังกรุงราชคฤห์




ขอขอบคุณภาพจาก http://pop2534.blogspot.com/


มูลเหตุศากยวงศ์ทั้ง ๖ พระองค์บรรพชาอุปสมบท

เจ้าชายอนุรุทธะ เป็นพระโอรสของเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชษฐาพระนามว่าเจ้าชายมหานามะ พระอนุรุทธะ และพระกนิฏฐภคินีพระนามว่าเจ้าหญิง โรหีณี เจ้าชายอนุรุทธะเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ แม้คำว่าไม่มี ก็ไม่เคยได้สดับเลย

สมัยหนึ่ง พระศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลกษัตริย์ ในเวลานั้น ศากยกุมารทั้งหลายออกบวชตามพระศาสดาเป็นอันมาก

วันหนึ่ง เจ้าชายมหานามะได้ปรารภเรื่องนี้กับเจ้าช่ายอนุรุทธะว่า ในตระกูลของเราไม่มีใครออกบวชตามพระศาสดาเลย ในบรรดาเรา ๒ คน คนใดคนหนึ่งควรจะออกบวช

เจ้าชายอนุรุทธะ ซึ่งเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติเคยดำรงอยู่ในความสุข ไม่สามารถจะบวชได้ จึงบอกขอให้เจ้าชายมหานามศากยะออกบวช

เจ้าชายมหานามะจึงบอกให้เจ้าชายอนุรุทธะพระอนุชาเรียนรู้เรื่องการงานของผู้ครองเรือนเสียก่อน

เริ่มตั้งแต่การทำนาเป็นต้นไป เมื่อเจ้าชายอนุรุทธะได้ฟังแล้ว เห็นว่าการงานมีมากมาย ที่สุดของการงานไม่ปรากฏ คิดเบื่อหน่ายในการงาน จึงขอให้พระเชษฐาอยู่ครองเรือน

ครั้นแล้วเจ้าชายอนุรุทธะจึงเข้าไปขออนุญาตต่อพระมารดา พระมารดาตรัสห้ามไม่ยอมให้ออกบวช ครั้นเจ้าชายอนุรุทธะอ้อนวอนอยู่เนือง ๆ

อย่างนั้น พระมารดาจึงคิดหาอุบายที่จะไม่ให้เจ้าชายอนุรุทธะออกบวช จึงออกอุบายว่า ให้ไปหาพระเจ้าภัททิยะซึ่งเป็นสหายของเจ้าชายอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยะออกบวชด้วยก็จงบวชเถิด ทั้งนี้ ก็ด้วยทรงหวังว่า พระเจ้าภัททิยะเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินคงจะออกบวชไม่ได้เป็นแน่

ครั้นแล้วเจ้าชายอนุรุทธะจึงไปหาพระเจ้าภัททิยะและชักชวนให้ออกบวชด้วยกัน ครั้งแรกพระเจ้าภัททิยะทรงปฏิเสธไม่ยอมออกบวช แต่ทนอ้อนวอนไม่ได้ ในที่สุดก็ตกลงใจยอมบวชด้วย และเจ้าชายอนุรุทธะได้ไปชักชวนเจ้าศากยะอื่น ๆ ออกบวชด้วยอีก ๓ พระองค์ คือ เจ้ายชายอานันทะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ และฝ่ายโกลิยวงศ์อีก ๑ พระองค์คือ เจ้าชายเทวทัต รวมเป็น ๗ ทั้งอุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา พากันพร้อมใจกันออกบวช

ทั้งหมดนั้นจึงพากันไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยนิคมเพื่อทูลขอบวช




ขอขอบคุณภาพจาก http://warakan097.wordpress.com

โดยเจ้าศากยะทั้งหลายทูลขอให้บวชอุบาลีภูษามาลาก่อน ทั้งนี้ เพราะอุบาลีผู้นี้เป็นคนรับใช้ของเจ้าศากยะทั้งหลายมาก่อน ตามธรรมดาเจ้าศากยะทั้งหลายนั้นเป็นคนมีมานะถือตัวกล้า


เมื่ออุบาลีบวชก่อน เจ้าศากยะเหล่านั้นจักทำการกราบไหว้และทำกิจอื่น ๆ แก่อุบาลีแล้วจักได้ลดมานะความถือตัวว่าเป็นศากยะลงได้ พระศาสดาก็โปรดให้บวชอุบาลีก่อน แล้วบวชเจ้าศากยะเหล่านั้นในภายหลัง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/puttha_buddha/20.html
http://www.dhammathai.org/monk/monk41.php
วิกิพีเดีย


ทั้งนี้พลอยโพยมเคยมีบทความเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็น นิทานธรรมะ เรื่องขนมชื่อว่า..."ไม่มี"...ที่
http://bangkrod.blogspot.com/2011/09/blog-post_04.html

พระเจ้าภัททิยะ เป็นพระโอรสของพระนางศากยกัญญา พระนามว่า กาฬีโคธาราชเทวี ในกรุงกบิลพัสดุ์ พระนามว่า ภัททิยราชกุมาร
เมื่อเจริญเติบโตแล้วได้เสวยราชสมบัติสืบศากยวงศ์ ครั้นต่อมาถูกอนุรุทธกุมาร ผู้เป็นพระสหายมาชักชวนให้ออกบวช ครั้งแรก ภัททิยราชกุมารไม่เต็มใจจะออกบวชด้วย ในที่สุดก็จำเป็นต้องยอมบวช จึงได้ทูลลาพระมารดา เพื่อสละราชสมบัติเสด็จออก ไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นุปิยนิคมแคว้นมัลละพร้อมด้วยพระราชกุมาร ๕ พระองค์ คือ อนุรุทธะ,อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ, และเทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเข้าด้วยจึงเป็น ๗ ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย

ครั้นพระภัททิยะได้อุปสมบทแล้วเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายในพรรษาที่บวช นั่นเอง เมื่อท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด จะเป็นป่าช้า หรือร่มไม้ก็ดี หรือแม้กระทั่งที่ว่างจากเรือนแห่งอื่น ๆ ก็ดี มักเปล่งอุทานในที่นั้น ๆ เสมอว่า สุขหนอ ๆ

ภิกษุทั้งหลายได้ยินได้ฟังเช่นนั้นแล้ว จึงได้นำความนั้นไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า ท่านพระภัททิยะอุทานอย่างนี้ คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ มัวนึกถึงราชสมบัติเป็นแน่ พระบรมศาสดาจึงรับสั่งให้หา พระภัททิยะ มาแล้วตรัสถามว่า

ภัททิยะ ได้ทราบว่า เธอเปล่งอุทานอย่างนั้นจริง หรือ
พระภัททิยะทูลว่าจริงพระเจ้าข้า
พระพุทองค์ ตรัสถามอีกว่า เธอมีความคิดเห็นอย่างไร จึงได้เปล่งอุทาน เช่นนั้น
ท่านพระภัททิยะกราบทูลว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต้องจัดการรักษาป้องกันทั้งภายในและภายนอกวัง ทั้งภายในเมือง และนอกเมือง จนตลอดทั่วอาณาเขต ข้าพระองค์ แม้มีการอารักขาอย่างนี้ ก็ยังต้องหวาดสะดุ้ง กลัวภัยอยู่เป็นนิตย์ บัดนี้ ข้าพระองค์ถึงจะอยู่ในป่า หรือใต้ร่มไม้ หรือแม้จะอยู่ในที่ว่างจากเรือนแห่งอื่น ๆ ก็ไม่รู้สึกหวาดกลัว หรือสะดุ้ง มีขนไม่ลุกชูชัน เพราะความกลัวเป็นปกติ อาศัยอาหารที่ผู้อื่น ให้เลี้ยงชีวิต มีใจดุจมฤคเป็นอยู่ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้จึงเปล่งอุทาน อย่างนั้น

พระบรมศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน ชมเชยในเวลานั้น
ท่านพระภัททิยะนั้น เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง ทั้งท่านก็ได้เป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติแล้ว ถึงอย่างนั้นก็ยังสละราชสมบัติออกบวช ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลสูง ต่อมาครั้นท่านดำรงชนมายุ สังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dhammathai.org/monk/monk14.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น