วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มหาบุรุษ

มหาบุรุษ




ขอขอบคุณภาพจาก
http://manora999.exteen.com/20100921/entry-4





Agreat man with liberated mind.

The so-called person or being is composed of nama and rupa . Nama and rupa (mentality and materiality) are devided into five aggregates. The physical phenomenon is only one aggregate. called rupakhanda. Nama ( mentality ) consists of four aggregates.

1. Vedanakhandha - the aggregate of felling.
2. Sannakhandha - the aggregate of perception.
3. Sankharakkhandha – the aggregate of mental formations.
4. Vinnanakhandha - the aggregate of consciousness.

Sometimes the Omniscient Buddha gave a discourse summarizing these five aggregates as two processes – nama and rupa. mental and physical phenomena. Thus nama and rupa must be thoroughly realized by the meditator so that he can liberate the mind from all defilements.



มหาบุรุษ...บุรุษผู้เป็นอิสระ พ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง

สิ่งมีชีวิตอันเป็นสมมุติเรียกกันว่า “บุคคล” ย่อมประกอบขี้นด้วย นามและรูป นามและรูป (จิตและกาย ) ยังแบ่งออกได้เป็น ๕ กอง เรียกกันว่า ขันธ์ ๕ โดย รูป ( สภาวธรรมทางกาย) นับเป็น ๑ ขันธ์ เรียกว่า รูปขันธ์ ส่วน นาม (สภาวธรรมทางจิต) ประกอบด้วยขันธ์ ๔ กอง ด้วยกันคือ
1. เวทนาขันธ์ - ส่วนที่เสวยอารมณ์หรือรับรู้ความรู้สึก รู้สึก (สุข ทุกข์ เฉยๆ)
2. สัญญาขันธ์ – ความจำได้หมายรู้
3. สังขารขันธ์ – สภาพที่ปรุงแต่งจิต
4. วิญญาณขันธ์ – ตัวรู้ หรือจิตที่รับรู้อารมณ์ ( เมื่ออายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน)

ในบางพระสูตร พระสัพพัญญููสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงย่อ เอา ขันธ์ ทั้ง ๕ ลงเหลือเป็น ๒ กระบวนการ คือ นาม และรูป (สภาวธรรมทางจิตและสภาวธรรมทางกาย) ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ปฎิบัติธรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ใน นาม และรูป ให้ทะลุปรุโปร่ง จึงจะสามารถปลดปล่อยจิตของตนให้พ้นจากกิเลสทั้งมวลได้.




To realise mental phenomena ( nama) is much more important than to realize physical phenomena ( rupa) because it is mental phenomena that create the world. Here “ the world “ means all living beings in the world. The Buddha said.

“ Mano pubbangama dhamma.
mano settha manomaya
Manasa ce padutthena,
bhasati va karoti va,
Tato nam dukkhamanveti,
Cakkam va vahato padam “
“ The mind is the leader,
the mind is dominant,
all things are made by mind.
If one should speak or act with corrupt mind,
Suffering ( Dukkha ) caused by that follows him,
As the Wheel of a cart followers the ox’s hoof .”



และพึงเข้าใจด้วยว่า การเข้าไปเห็นแจ้งในสภาวธรรมทางจิต (นาม) สำคัญยิ่งกว่าการเห็นแจ้งในสภาวะธรรมทางกาย (รูป) เพราะสภาวธรรมทางจิต (นาม ) นี่แหละที่สร้างโลกขึ้นมา... คำว่า “ โลก “ ในที่นี้หมายถึง สรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งมวลในโลกนี้ ดังพระพุทธพจน์ ที่ว่า
“ มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติวา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ . “
( พุทธ ) ธรรมบท ๒๕/๑๓
“ สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นผู้นำ

มีใจเป็นใหญ่
สำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าคนมีใจชั่วแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม
ความทุกข์ย่อมติดตามบุคคลนั้น เพราะความทุจริต ๓ ทาง นั้น
เหมือนล้อเกวียนหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้กำลังลากอยู่ฉะนั้น”



So when you do an unwholesome deed, the cause is unwholesome mentally, unwholesome mental states are called “akusala” in pali . Wholesome mental state are called “kusala” .A wholesome mind brings about wholesome speech and deeds.

The root cause of good deeds and good speech is a wholesome mind. The root cause of bad deeds and bad speech is and unwholesome mind . When the mind is unwholesome, deeds and speech become unwholesome, and this produces suffering. When the mind is wholesome, then deeds and speech are wholesome, which produces happiness and peace.



เมื่อใดก็ตามที่บุคคลกระทำการไม่ดีใดๆ ซึ่งชั่วร้ายหรือผิดศีลธรรม ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำไม่ดีนั้นๆก็คือจิตที่ไม่ดี จิตที่ผิดศีลธรรมซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า “อกุศล” นี่เอง ส่วนจิตที่ดีงามมีศีลธรรมนั้นภาษาบาลีเรียกว่า “กุศล” และจิต อันเป็นกุศลนี่เองที่นำมาซึ่งวาจาและการกระทำอันเป็นกุศลด้วย

“กุศลจิต” จึงเป็นรากเหง้าของวาจาและการกระทำอันเป็นกุศลทั้งหลาย ส่วนรากเหง้าของวาจาและการกระทำที่ไม่ดีไม่งามหรือทุจริตชั่วร้ายก็คือ “กุศลจิต” นี่เอง เมื่อจิตไม่เป็นกุศล ก็ย่อมพาให้วาจาและการกระทำไม่เป็นกุศลตามไปด้วย นี่เองคือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ หากจิตเป็นกุศลเสียแล้ว วาจาและการกระทำก็ย่อมเป็นกุศลตามไปด้วย และย่อมก่อให้เกิดความสุขสงบ ตามมาเช่นกัน.





A liberated Mind

So the mind is the most important thong of all. The mind is much more important than the body. That is why the Buddha says “ vimuttacitta” He doesn’t said “ vimuttkaya”

“vimuttcitta” means liberated mind, If we said “ vimuttakaya” it would mean liberated body. The Buddha never said “vimuttakaya, liberated body, he always said “ vomuttacitta”: liberated mind. Why? Because when the mind is liberated from defilements and suffering. the body also becomes liberated from suffering..

As you may know, the venerable Moggallana had a liberated mind, completely liberated from all defilements through the final stage of enlightenment, arahantship. When he was about to pass away, he was killed by robbers , because of his pass kamma. The robbers thought that the venerable One was dead, but actually he was not yet dead as he had entered into

“ phalasamabatti : which protected his life against any killing. He was beaten to “ a sack of chaff “ but he did not feel any mental suffering because his mind was liberated from defilements, he was not attached to his body. He saw unpleasant physical sensations as arising as passing away of natural process of feeling or sensation.



จิตที่อิสระจากทุกข์ทั้งมวล

จิตจึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดและสำคัยยิ่งกว่ากาย ด้วยเหตุนี้เองสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสถึง “ วิมุตตจิต” โดยมิได้ทรงกล่าวถึง “ วิมุตตกาย” เลย

“วิมุตตจิต” แปลว่า จิตที่เป็นอิสระ หากจะมีคำว่า “ วิมุตตกาย “ ก็คงจะแปลว่า กายที่เป็นอิสระ แต่เพราะเหตุใดเล่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถึงเฉพาะวิมุตตจิต เท่านั้น คำตอบก็คือ เมื่อจิตหลุดพ้น เป็นอิสระจากกิเลสและกองทุกข์เสียแล้ว กายก็ย่อมเป็นอิสระจากกองทุกข์ตามไปด้วยเช่นกัน





ดังที่ทราบกันดีว่า พระโมคคัลลานะมหาเถระ เป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวลอย่างสมบูรณ์เมื่อบรรลุธรรมชั้นสูงสุด เป็นพระอรหันต์ ยามเมื่อพระมหาเถระจะเข้าสู่ ปรินิพพานนั้น เนื่องจากกรรมเก่าของท่าน ท่านจึงถูกรุมประหัตประหารโดยหมู่โจร ในขณะที่หมู่โจรรุมทำร้ายอย่างโหดเหี้ยมจนเข้าใจว่าท่านมหาเถระสิ้นชีพไปแล้วนั้น ท่านมหาเถระ ได้เข้า “ ผลสมาบัติ “ ซึ่งจะช่วยปกป้องท่านจากภัยอันคุกคามชีวิตทั้งปวงได้ หมู่โจรทุบตีท่านมหาเถระจนแหลกเหลว แต่จิตของท่านกลับมิได้รู้สึกเป็นทุกข์แต่อย่างใด เนื่องเพราะจิตของท่านมหาเถระได้หลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวลแล้วอย่างสมบูรณ์ ท่านมิได้ยึดติดอยู่กับกาย ท่านมหาเถระจึงมองเห็นทุกขเวทนาทางกายนั้นเป็นเพียง เวทนา หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นและดับไปตามธรรมชาติเท่านั้นเอง



Though his body was injured and beaten very badly, he didn’t feel any painful sensation, he didn’t feel any suffering because his mind was liberated from all defilements. He didn’t take his body to be himself, he saw it as ever-changing mental and physical phenomena. Then he was liberated from physical suffering too. If his mind was not liberated from defilements, he would have suffered a great deal, but he didn’t take any mental and physical phenomena to be a person or a self, a being or a man.

This is why Buddha said the mind should be liberated from defilements. When the mind is liberated, you don’t have either mental or physical suffering. There’s why the Buddha teaches us to see things as they naturally are, by means of mindfulness meditation. That is why we have to practice mindfulness meditation so that we can liberate the mind from defilements.



แม้ว่าร่างกายของท่านมหาเถระจะถูกทุบตีทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัสถึงเพียงนั้น ท่านมหาเถระก็หาได้รู้สึกเจ็บปวดและเป็นทุกข์ทางใจแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะจิตของท่านเป็นอิสระแล้วขากกิเลสทั้งปวง ท่านมิได้ยึดติดว่า กายที่บาดเจ็บนั้นเป็นกายของท่าน แต่กลับมองเห็นว่ามันเป็นเพียงสภาวธรรมทางกายและทางจิตที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกขเวทนาทางกายด้วย หากจิตของท่านยังไม่หลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวงแล้วไซร้ ท่านย่อมจะต้องเป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส แต่ท่านหลุดพ้นจากทุกข์นั้นอย่างสิ้นเชิงได้ก็เพราะท่านมิได้ยึดว่าสภาวธรรมทางจิตและทางกายใดๆ เป็น บุคคล เป็นตัวตน เป็นคน เป็นสิ่งมีชีวิต

ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า สาธุชนพึงปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวล เมื่อจิตเป็นอิสระจากกิเลสแล้ว บุคคลนั้นย่อมจะไม่มีความทุกขืกายทุกข์ใจอีกต่อไป พระพุทธองค์ตรัสสอนให้ตามกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงด้วยการเจริญสติ เราจึงพึงหมั่นฝีกฝนเจริญวิปัสสนากรรมฐาน-กรรมฐานแห่งสติ เพื่อที่จะปลดปล่อยจิตของเราให้เป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวลได้ในที่สุดนั่นเอง



How can we liberate the mind?

How can we liberate the mind from defilements and suffering? One day the venerable Sariputta went to the omniscient Buddha and asked him a question. Venerable sir, A great man ; thus people speak. How far is one a great Man? The Buddha said,” With mind liberated is one a Great Man. With mind not liberated, one is not a Great Man “

Great Man is “Mahapurisa” in pali. In scripture, the word “ “Mahapurisa” refers to the Buddha. In some cases, it means “noble man” “with the mind liberated” is “ vimuttacitto” in pali.
“ vimuuta” means liberated, citto means mind.
Then the Buddha continued to explain how to the mind can be liberated.

“ Idha sariputta bkikkhu kaye kayanupassi viharati
Atapi sampajano satima vineyya loke

Abhijjhadomanassam” s.v.158 )





ทำอย่างไรจึงจะปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นได้

เราจะปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งมวลได้อย่างไร เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรมหาเถระ ได้ไปเฝ้าสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าและทูลถามว่า “ พระพุทธเจ้าข้า ผู้คนทั่วไปมักกล่าวถึงมหาบุรุษ อย่างไรเล่าพระเจ้าค่ะจึงจะเรียกว่าเป็น มหาบุรุษ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า

” บุคคลอันจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว เรียกได้ว่าเป็น มหาบุรุษ... หากจิตยังมิได้หลุดพ้นเป็นอิสระ มิอาจเรียกได้ว่าเป็นมหาบุรุษ

“มหาบุรุษ” เป็นภาษา บาลีอันหมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ในพระคัมภีร์ คำว่า มหาบุรุษ หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในบางกรณี คำนี้หมายถึง “อริยบุคคล” “ จิตที่หลุดพ้นเป็นอิสระ” ในภาษาบาลีเรียกว่า “ วิมุตตจิต”

วิมุตตะ แปลว่า หลุดพ้นเป็นอิสระ
จิตตะ หมายถึงจิต-ธรรมชาติที่รู้อารมณ์หรือรับรู้อารมณ์ได้
จากนั้น พระพุทธองค์ยังได้ทรงพระกรุณาตรัสอธิบายต่อไปอีกด้วยว่า ทำอย่างไรบุคคลจึงจะปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นเป็นอิสระได้
“ อิธ สารีปุตฺโต ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ “

Venerable Chanmyay Sayadaw
Ashin Janskabhivamsa
Agga-maha-Kammatthanacariya
The Abbat of Chanmyay Yeiktha Meditation Center.
Venerable Chanmyay Sayadaw is one of the five principle disciples of the most Venerable Mahasi Sayadaw. Being world -famous as a master Teacher of both Vipassana and Metta meditation practice. Venerable Chanmyay Sayadaw has traveled to 28 countries in Asia, Africa, Australia,
Europe and North America. During these travels, he tirelessly conducts meditation retreats, delivers Dhamma talks and generally spreads Dhamma goodwill throughout the world.

Translate to Thai by Montatip Khunwattana





คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ มหาบุรุษเขียนโดย ท่านอาจารย์ เชมเย สยาดอ พระชนกาภิวงศ์ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะ
เจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน เชมเย ยิกต้า
นครย่างกุ้ง สหภาพพม่า จัดพิมพ์เมื่อ ปี ๒๕๔๘

ท่านเดินทางสอนวิปัสสนากรรมฐานสาธุชนประเทศต่างๆ ๒๘ ประเทศ ทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย อาฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ ประเทศไทย ปีละครั้ง
ในปี ๒๕๕๑ ท่านมีอายุ ๘๑ ปี ท่านมาสอนที่เมืองไทยกว่า ๒๐ ปี
ท่านเป็นศิษย์เอก หนึ่งในห้า ของท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ อูโสภณะ
เรื่องนี้ เป็นธรรมบรรยาย แสดงที่ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ ปี ๒๕๔๑
แปลไทยโดย คุณ มณฑาทิพย์ คุณวัฒนา




พลอยโพยม ขออนุญาต นำมาเผยแผ่ เนื่องในวาระโอกาส ที่ได้เข้าปฏิบัติธรรม คอร์ส ของของท่านที่ยุวพุทธิกสมาคม ๑๖-๒๙ พศจิกายยน พ.ศ. ๒๕๕๘

การให้ธรรมเป็นทานย่อมเหนือการให้ทั้งปวง

ต้องขอภัยหากมีคำผิดพลาด เป็นเพราะพลอยโพยม Key ผิดเอง เพราะไม่สันทัด

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทศน์มหาฃาติ คาถาพัน วันเดียวจบ

วันที่  ๑๒   สิงหาคม   ๒๕๕๘  ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเทศน์มหาชาติ จบในวันเดียว

นอกจากนี้ยุวพุทธได้จัดพิมพ์หนังสือของคุณแม่ สุรีย์  มีผลกิจ แต่เปลี่ยนรูปเป็นงานของครูเหม เวชกร




พิธีชาดกเทศนามาชาติ มีปรากฎอยู่ในพระราชนิพนธ์ มหาชาติคำหลวงในสมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังสวดอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเวลาเข้าพรรษา และปรากฎอยู่ในเรื่องขุนช้างขุนแผนว่าด้วยสามเณรแก้วขึ้นเทศน์กัณฑ์มัทรี

ประเพณีมีเทศน์มหาชาติ
เป็นทานมัยกุศลที่นิยมในเมืองไทย ผู้นับถือพระพุทธศาสนาที่ชอบบำเพ็ญกุศลบริจาคทานในขบวนเทศน์มหาชาติ มีเครื่องส่อ ๓ ประการ ๑. เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธวจนะ ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทาน เทศนาแก่พระภิกษุสงฆ์ พุทธบริษัทนิโครธาราม ในกรุงกบิลพัสดุ์ก็แลบรรดาพระพุทธวจนะ ทั้งหลาย เมื่อผู้ใดสดับย่อมเกิดสิริสวัสดิมงคล เป็นกุศลราศี

๒. เชื่อกันว่าผู้ใดปรารถนาจะใคร่ประสบพระศาสนาของพระศรีอริยะเมตไตรย ซึ่งนิยมกันว่าจะเป็นการที่มนุษย์มีความเจริญเกษมสุขยิ่งยวด บุคคลผู้นั้นสดับตรับฟังเวสสันดรชาดกอันประดับด้วยคาถาถึงพัน ในวันและราตรีเดียวให้จบและบูชาด้วย ประทีปธูปเทียนธงฉัตรสารพัดดอกไม้ ดอกบัว ดอกอุบลจงกลนี ราชพฤกษ์ ดอกผักตบ ให้ครบจำนวนถ้วนสิ่งละพัน ผลอานิสงส์นั้น จะชักนำให้สมมโนรถจำนง ฉะนี้

๓. มหาชาตินี้ ท่านผู้เทศนาก็สำแดงกระแสเสียงเป็นทำนองอันไพเราะต่าง ๆ ทั้งที่สมาคมก็ครึกครื้น เกิดปิติโสมนัสรื่นเริงบันเทิงใจ ได้ทันใจบริเวณที่มีเทศน์

มหาชาติจะต้องมีพิณพาทย์จบกัณฑ์หนึ่งก็มีเพลงประจำกัณฑ์ ตามเค้าเรื่องในกัณฑ์นั้นๆ เช่น จบกัณฑ์ทศพร ซึ่งพระอินทร์ให้พรพระผุสตี พิณพาทย์ก็ตีเพลง สาธุการ เหมือนธรรมเทียบ ตีฆ้องชัยระหว่างสวดมนต์เย็นก็มี ทางที่ก็ประดับประดาครึกครื้นรุ่งโรจน์ด้วย แสงเทียน ธูปหอมรื่นชื่นชูใจ ทำนองพระเทศน์ ไพเราะจับใจ เสียงพิณพาทย์ประโคมสนั่น บางแห่งมีเทศน์เป็น ๒ – ๓ วัน หรือแบ่งมีแต่บางกัณฑ์ บางวัน ก็มี แต่อย่างที่ตั้งพิธี ที่จะให้ได้รับผลอานิสงส์สมบูรณ์ตามที่เชื่อดังกล่าวย่อมมีในวันเดียวครบ ๑๓ กัณฑ์

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๗





พระราชาทรงให้พระโอรสและพระธิดาคือพระมหินท์และพระนางสังฆมิตตา ผนวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ครั้งนั้น ได้ยินว่า พระมหินท์มีพระชนมายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์  พระนางสังฆมิตตามีพระชนม์ ๑๘ ปี

พระสงฆ์รับพระราชดำรัสแล้ว ให้พระมหินท์บรรพชาอุปสมบท โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระมหาเทวะ้ถระ เป็นอนุสาวนาจารย์ พระมัชฌันติกเถระ เป็นกรรมวาจาจารย์  พระมหินท์บรรลุอรหัตตจผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในมณฑลที่อุปนมบทนั่นเอง




ส่วนพระนางสังฆมิตตา บรรพชาเป็นสามเณรี โดยมีพระธัมมปาลิตเถรี เป็นอุปัชฌาย์ พระอายุปาลิตเถรี เป็นกรรมวาจาจารย์ (เนื่องจากพระนางสังฆมิตตาอายุยังไม่ครบบวช จึงมิได้อุปสมบท)

พระนางสังฆมิตตาได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระขีณาสพเถรีในคราวที่บรรพชานั่นเอง

หลังจากผนวชแล้ว พระมหินท์เถระได้ศึกษาพระธรรมและพระวินัยอยู่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์ ได้เรียนอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ขบภายใน ๓ พรรษา ได้เป็นปาโมกข์ (ห้วหน้า) ของภิกษุประมาณ ๑๐๐๐ รูป  ผู้เป็นศิษย์ของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๖





พระราชาทรงประทับยืนที่อโศการาม  ทอดพระเนตรดูการฉลองพระวิหาร ที่รุ่งโรจน์อยู่ด้วยการบูชาสักการะของมหาชน ด้วยความปิติปราโมทย์  แล้วตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในศาสนาของพระทศพลโลกนาถเจ้าของเราทั้งหลาย มีผู้ใดบ้างที่ได้สละปัจจัยมากมาย ทำการก่อสร้างวิหารและเจดีย์เป็นต้น เพื่อถวายไว้เป็นสมบัติของพระศาสนา เช่นที่โยมกระทำอยู่ บัดนี้จะถือได้ว่า โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนาได้หรือไม่

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ  ทูลตอบว่า
ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัยในพระศาสนาของพระศาสดาเช่นกับพระองค์ แม้เมื่อพระตถาคตเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ไม่มีผู้ใดเลย พระองค์เท่านั้นทรงมีการบริจาคที่ยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงเป็นผู้ยกย่องเชิดชูพระศาสนาที่แท้ แม้กระนั้นพระองค์ยังได้ชื่อว่าเป็นเพียงปัจจยทายก คือผู้อุปัฏฐากพระศาสนาเท่านั้น  ต่อเมื่อใดพระองค์ยินยอมให้ทายาทของพระองค์ได้บวช เมื่อนั้นพระองค์จึงจะได้ขึ้นชื่อว่า ทายาท ของพระศาสนาอย่างแท้จริง


พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระโอรส ซึ่งประทับอยู่ในที่ไม่ไกล   ดำริว่า เราประสงค์จะสถาปนาพระกุมารองค์นี้ไว้ในตำแหน่งอุปราช จำเดิมแต่เวลาที่ติสสกุมารผนวชแล้ว  ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น การบรรพชาเป็นคุณชาติอุดมกว่ากว่าตำแหน่งอุปราชเสียอีก

 พระราชาจึงตรัสถามพระโอรสและพระธิดาว่า เธอบวชได้ไหม ทั้งสองพระองค์ประสงค์จะผนวชอยู่แล้ว  ทูลตอบว่า ได้พระเจ้าข้า พระราชาทรงขอบใจพระโอรส และพระธิดา มีพระราชหฤทัยเบิกบาน ตรัสกับภิกษุสงฆ์

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้กุมาร กุมารีเหล่านี้บวช เพื่อกระทำให้โยมเป็นทายาทพระศาสนาเถิด

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๕





พระราชาทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่าผู้ใดทราบเรื่องสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุบ้าง ที่ประชุมนั้นมีพระเถระรูปหนึ่งอายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่า

เมื่ออาตมภาพอายุ ๗ ขวบ พระมหาเถระผู้บิดาของอาตมภาพ ได้ใช้ให้อาตมภาพถือหีบมาลัย สั่งว่า
มานี่สามเณรในระหว่างกอไม้ทางทิศอาคเนย์มีสถูปหินอยู่ เป็นที่ควรสักการบูชา เราจักไปบูชาในที่นั้น  อาตมภาพรู้เพียงแค่นี้

พระราชาตรัสว่า ที่นั้นแหละ แล้วมีรับสั่งให้ตัดกอไม้ นำสถูปหินและดินที่กลบไว้ออกเห็นเป็นพื้นดบกปูน จึงตรัสสั่งให้ทำลายปูนโบกและแผ่นอิฐตามลำดับ ก็ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ ๗ ประการ และรูปหุ่นยนต์ถือดาบ  กำลังเดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้ทำการเซ่นสรวงก็ยังมิได้เห็น จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลาย ตรัสว่า
 เมื่อข้าพเจ้ารับพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ไปแล้ว จะนำไปบรรจุในวิหาร ๘๔๐๐๐ เพื่อกระทำสักการะ ขอเทวดาอย่าทำอันตรายแก่ข้าพเจ้าเลย

 ขณะนั้นท้าวสักกะเทวราชเสด็จจาริกไป ทรงเห็นพระเจ้าอโศกนั้นแล้ว เรียก วิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า
พ่อเอย พระธรรมราชาอโศกจักนำพระบรมสารีริกธาตุไป  เพื่อเผยแผ่แก่ชาวโลก เธอจงลงไปสู่บริเวณนั้น แล้วทำลายหุ่นยนต์เสีย

วิสสุกรรมเทพบุตร แปลงเพศเป็นเด็กชายชาวบ้านไว้จุก ยืนถือธนูตรงพระพักตร์ของพระราชา ทูลว่า
ข้าจะนำทางมหาราชเจ้า

พระราชาตรัสว่า
นำไปสิพ่อ






วิสสุกรรมเทพบุตรจับศรยิงสลักบังคับหุ่นยนต์  ทำให้ทุกอย่างกระจัดกระจายไป

ครั้งนั้นพระราชาทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณี มีอักษรจารึกไว้ว่า
ในอนาคตกาลให้เจ้าแผ่นดินถือเอาแก้วมณีัแท่งนี้ทำลายดวงตรา

พอพระราชากระทำตาม ทรงเปิดประตูแล้วเสด็จเข้าไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุภายในสถานที่นั้น
ประทีปที่ตามไว้เมื่อเริ่มสร้างสถูปก็ยังลุกโพลงอยู่เช่นเดิม
ดอกบัวขาบก็เหมือนนำมาวางไว้ในขณะนั้น
เครื่องหอมก็เหมือนมีผู้นำมาวางไว้เมื่อครู่นี้เอง

พระราชาทรงถือแผ่นทองที่จารึกไว้ว่า
ในอนาคตกาล ครั้งพระกุมารพระนามว่าอโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระธรรมราชา ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ ให้แพร่หลายออกไป

พระราชากระพุ่มพระหัตถ์ ทรงกระทำอัญชลี ด้วยความปิติโสนนัส จากนั้นได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดออกมา แล้วปิดเรือนพระบรมธาตุไว้ ทรงทำที่ทุกแห่งให้ปกติดังเดิม โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ (สถูปหิน) ไว้ข้างบน

พระเจ้าอโศกมหาราช อัญเชิญพระบรมธาตุทั้งหมดบรรจุในเจดีย์ทั้งสิ้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทั่วชมพูทวีป เสร็จแล้วเตรียมการฉลองอย่างโอฬาร ทรงให้ปีะชาชนทั้งหมดสมาทานศีล ๘ มีพระประสงค์จะทำการฉลองพระอารามและเจดีย์ให้ครบ ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน



ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ


วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๔





พระเจ้าอโศกมหาราช มีความเลื่อมใสในพระพุุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง วันหนึ่งพระราชาทรงถวายมหาทานที่อโศการาม ตรัสถามปัญหาท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว มีประมาณเท่าใด

พระสงฆ์ถวายพระพรว่า
มหาบพิตร ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วมี  ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระราชาเมื่อทราบว่า พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้ามี ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ทรงรับสั่งว่า เราจักบูชาพระธรรมขันธ์แต่ละขันธ์ ด้วยวิหารแต่ละหลัง

จึงโปรดให้สร้างวิหารและเจดีย์ไว้ในนครต่าง ๆ จนครบ ๘๔๐๐๐ แห่งทั่วชมภูทวีป
ส่วนพระองค์เองทรงสร้างมหาวิหารในเมืองปาฏาลีบุตรชื่อ อโศการาม โดยมีพระอินทคุตตเถระ  ผู้มีฤิทธิ์มากมีอานุภาพมากสิ้นอาสวะแล้วเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง พระเถระได้ดูแลการก่อสร้างให้สำเร็จภายใน ๓ ปี




เมื่อวิหารสร้างเสร็จแล้ว พระราชาตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า โยมให้สร้างวิหาร ๘๔๐๐๐  วิหารแล้ว จักได้บรมธาตุจากไหนเล่า

ภิกษุสงฆ์ทูลว่า
ถวายพระพร พวกอาตมภาพได้ฟังมาว่า สถานที่เก็บพระบรมธาตุมีอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้  แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน

พระราชาจึงรับสั่งให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ ก็ไม่พบ ทรงให้ทำเจดีย์คืนดีอย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา   ไปยังกรุงเวสาลี แม้ในที่นั้นก็หามิได้ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ไปยังเมืองปาวา  เมืองกุสินารา เมืองอัลงกัปปะ เวฏฐทีปะ

ในที่ทุกแห่งที่เสด็จไป รื้อเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย

จากนั้นเสด็จไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคามไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์ของตน ครั้นทำเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดีดังเดิมแล้วก็เสด็จกลับไปยังกรุงราชคฤห์


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๓




ติสสอุปราช ผู้เป็นพระภาดาร่วมพระมารดากับพระราชาอโศก วันหนึ่งเสด็จไปล่าเนื้อ ทอดพระเนตรเห็น พระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้นั่งให้พญาช้างจับกิ่งสาละโบกพัดอยู่  เกิดความปราโมทย์ ดำริว่า เมื่อไรหนอเราจักพึงได้บวชเหมือนพระมหาเถระนี้

พระเถระรู้อัธยาศัยของติสสอุปราช ได้เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วยืนอยู่บนพื้นน้ำสระโบกขรณี ห้อยจีวรและผ้าอุตราสงส์ไว้ในอากาศแล้วเรื่มทรงน้ำ

ติสสอุปราชเห็นอานุภาพพระเถระ ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
ดำริว่าเราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว
แล้วเสด็จกลับไปทูลพระราชาว่า หม่อมฉันจักบวช

พระราชาทรงยับยั้งเป็นเอนกประการ




พระเจ้าอโศกไม่ทรงสามารถให้ติสสอุปราชกลับพระทัยได้ จึงทรงนำไปวิหาร ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังข่าวว่าติสสอุปราชจักบวช จึงพากันตระเตรียมบาตรและจีวรไว้ พระอุปราชเสด็จไปย้งเรือนที่บำเพ็ญเพียร  ได้ทรงผนวชในสำนักของพระมหาธรรมรักขิตเถระ  พร้อมอัคคิพรหม ผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา

ในคัมภีร์มหาวงศ๋กล่าวว่า สุมนราชกุมาร โอรสพระเจ้าอัคคิพรหมและพระนางสังฆมิตตา ทูลขอบรรพชาเป็นสามเณรในวันนั้นด้วย  มีกุลบุตรผนวชตามพระอุปราชเป็นจำนวนมากในครั้งนั้น

เหตุผลอีกประการหนึ่งที่พระเจ้าอโศกกลับมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้นคือ
ประมาณปีที่ ๑๓ หลังจากขึ้นครองราชย์พระองค์ยกทัพไปทำสงครามกับแคว้นกาลิงคะ ได้ประสบชัยชนะ
แต่ในการสงครามครั้งนั้นต้องสูญเสียทั้งชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก

พระองค์ทรงสลดพระทัย จึงเปลี่ยนพระดำริจาก สังคามวิชัย (การชนะด้วยสงคราม) เป็นธรรมวิชีย (ชนะด้วยธรรม)  คือชนะใจกันด้วยความดี สร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้แก่ปวงชนโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๒






พระราชาอโศกรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์สามเณรเข้ามาในพระราชนิเวศน์เพื่อถวายบิณฑบาต ทรงน้อมถวายอาหารทุกชนิดที่ีเตรียมไว้สำหรับพระองค์

สามเณรรับอาหารบิณฑบาตแต่พอยังอัตภาพให้เป็นไป ในที่สุดภัตกิจ
พระราชาตรัสถามว่า
พ่อเณรรู้พระโอวาท ที่พระศาสดาทรงประทานแก่พวกพ่อเณรบ้างไหม

สามเณรตอบว่า  มหาบพิตร อาตมภาพย่อมรู้โดยเอกเทศ (บางส่วน) เท่านั้น
พระราชารับสั่งว่า  พ่อเณร ขอจงแสดงโอวาทในส่วนที่พ่อเณรรู้นั้น แก่โยมบ้าง



นิโครธสามเณรได้แสดง  อัปปมาทวรรค ในขุททนิกาย ธรรมบท ถวายพระราชา  ว่า
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย

พระราชาทรงพอพระทัย เกิดความเลื่อมใสอย่างยิ่งในสามเณร  สามเณรอนุโมทนาแล้ว
พระราชารับสั่งว่า
พ่อเณร โยมจะถวายธุวภัต (ภัตที่ถวายเป็นประจำ) แก่พ่อเณร
สามเณร  ถวายพระพรว่า  อาตมภาพจักถวายภัตเหล่านั้นแก่ภิกษุสงฆ์

พระราชาตรัสถามว่า พ่อเณร ผู้ที่ชื่อภิกษุสงฆ์ ได้แก่บุคคลเช่นไร
สามเณรทูลตอบว่า  มหาบพิตร  บรรพชาและอุปสมบทของอาตมภาพอาศัยหมู่ภิกษุใด หมู่ภิกษุนั้น ชื่อว่าภิกษุสงฆ์
พระราชาจึงปวารณาถวายนิตยภัตแก่ภิกษุสงฆ์ในพระราขนิเวศน์ รับสั่งให้เลิกบริจาคภัตแก่เหล่านักบวชนอกศาสนาทั้งสิ้น
สามเณรยังพระราชาพร้อมทั้งบริษัทให้รับ ไตรสรณคมม์ และเบญจศีล ดำรงมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๑





กาลล่วงผ่านไปจนถึงสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ในคัมภีร์มหาวงศ์กล่าวไว้ว่า

 พระเจ้าอโศก มีพระอนุชาร่วมพระมารดา (พระนางธรรมา) นามว่า ติสสะ เมื่อเจิญวัยพระราชบิดา พระเจ้าพินทุสาร ทรงแต่งตั้งให้เป็นอุปราชครองแคว้นอวันตี มีกรุงอุชเชนีเป็นเมืองหลวง หลังจากพระราชบิดาสวรรคต จึงเสด็จกลับมายังปาฏาลีบุตร ดำรงตำแหน่งพระราชา ทรงรับสังให้สำเร็จโทษพระอนุชาต่างมารดาทั้งปวง ยกเว้นติสสกุมารซึ่งเป็๋นพระอนุชาร่วมพระมารดาแต่ผูเดียว


เมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ ๔ ปี  จึงกระทำการราชาภิเษก ทรงตั้งติสสกุมารในตำแหน่งอุปราช ระยะแรกที่ขึ้นครองราชย์ พระเจ้าอโศกทรงบริจาคทานแก่เหล่าพราหมณ์ และปริพาชกตามที่พระราชบิดาเคยกระทำมา




วันหนึ่งพระราชาประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นนักบวชเหล่านั้นบริโภคอาหารด้วยมารยาทไม่เรียบร้อย ไม่มีความสำรวมอินทรีย์ จึงรับสั่งให้เชิญนักบวชเหล่านั้นเข้ามาในพระราชนิเวศน์ พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ทรงทราบได้ว่านักบวชเหล่านั้นไม่ทีธรรมะเป็นสาระใด ๆ เลย พระราชาจึงถวายของที่ควรแก่การบริโภคแก่นักบวชเหล่านั้นแล้วส่งกลับไป


เวลาล่วงไป วันหนึ่ง ขณะประทับอยู่บนปราสาท พระราชาทอดพระเนตรเห็นสามเณรรูปหนึ่ง มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบท กำลังเดินผ่านไปทางลานหลวง ทรงพอพระทัย ดำริว่าสามเณรน้อยนี้ น่าจักมีโลกุตตรธรรมแน่นอน ทรงบังเกิดความเลื่อมใสและความรักในสามเณร สมจริงดังคำพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
 ความรักย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒ ประการคือ
เพราะการอยู่ร่วมกันในภพก่อน ๑
เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑


สามเณรรูปนั้นคือ นิโครธสามเณร โอรสของสุมนราชกุมาร ราชบุตรองค์โตของพระเจ้าพินทุสารกับพระันางสุมนา ที่พระเจ้าอโศกสั่งประหารก่อนขึ้นครองราชย์ พระมหาวรุณเถระให้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๗ ขวบล ซึ่งได้สำเร็จอรหัตตผลในขณะที่กำลังปลงผม

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ


วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระมหากัสสปเถระนิพพาน





พระมหากัสสปะนิพพาน

เมื่อสำเร็จการปฐมสังคายนาแล้ว พระมหากัสสปเถระก็พักอยู่ในเวฬุวนาราม ปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ประมาท ให้โอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์

อยู่มาวันหนึ่ง พระมหากัสสปเถระเข้าฌานสมาบัติ จึงพิจารณาอายุสังขารของท่านเห็นว่าแก่ชรา มีอายุได้  ๑๒๐ ปีแล้ว เล็งแลดูไปก็เห็นว่าอายุของท่านสิ้นแล้ว พรุ่งนี้ท่านจะนิพพาน และจะนิพพานในระหว่างภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตใกล้เมืองราชคฤห์

ครั้นรุ่งเช้าพระมหาเถระจึงให้ประชุมสงฆ์ แล้วสั่งสอนว่า อย่าประมาท อุตส่าห์พยายามอย่าให้ขาดเวลา จงปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ตัวท่านนั้นสิ้นอายุแล้ว จะนิพพาน ณ เพลาเย็นวันนี้แล้ว
บรรดาพระภิกษุที่เป็นปุถุชน ได้ฟังก็พากันเศร้าโศกร้องไห้ บรรดาพระขีณาสพทั้งหลายครั้นแจ้งเหตุ ต่างก็ปลงสังเวชว่า เกิดมาเป็นสัตว์สังขารแล้ว มีแต่จะสูญสิ้นไปเป็นที่สุด เกิดแล้วดับไป ถ้าแม้นระงับสังขารลงเสียได้ แล้วนั่นแหละจึงจะเป็นสุข



ฝ่ายพระมหาเถระเห็นดังนั้น จึงได้ประโลมปลอบว่า อันเกิดมาเป็นสังขารแล้วไม่เที่ยงแท้ ย่อมปรวนแปรไปมา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสในอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้น ย่อมเทศนาไว้ทุก ๆ พระองค์ว่า เกิดมาเป็นสัตว์เป็นสังขารแล้ว ไม่แคล้วอนิจจังเลย เมื่อเห็นชัดฉะนี้แล้ว พึงเร่งกระทำเพียรพยายาม ยกตนให้พ้นอนิจจังให้จงได้ อันพระยามัจจุราชนี้ไซร้ ยากที่บุคคลจะข้ามพ้น เว้นไว้แต่พระอริยบุคคลที่ท่านสำเร็จพระนิพพาน อนึ่ง เล่าพระภิกษุทั้งหลาย จะใคร่เห็นเราในขณะเมื่อเข้าสู่นิพพาน จงไปประชุมอยู่แทบเชิงเขากุกกุฎปาตบรรพตนั้นเถิด



พระมหาเถระบอกเล่าพระสงฆ์ฉะนี้แล้ว เพลานั้นเล่าก็ควรจะบิณฑบาต ท่านจึงออกจากเวฬุวนาราม เพื่อไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับมาสู่ที่กระทำภัตตกิจ

เมื่อกระทำภัตตกิจเสร็จแล้วจึงดำริว่า พระเจ้าอชาตศัตรูมีอุปการะแก่ท่านเป็นอันมาก มีศรัทธาบริจาคจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์มิได้ขาด เคารพนบนอบในพระรัตนตรัย ช่วยท่านในการปฐมสังคายนา จำท่านจะไปบอกเล่า ให้พระเจ้าอชาตศัตรูรู้ก่อนจึงจะสมควร คิดแล้วท่านจึงเข้าไปในเมืองราชคฤห์

เมื่อเวลาเที่ยงนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูบรรทมอยู่ ท่านจึงได้แจ้งแก่บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านประสงค์จะมาลาพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเข้าสู่พระนิพพานในเวลาเย็นวันนี้

จากนั้นท่านก็กลับสู่เวฬุวนาราม วัตรปฎิบัติสิ่งใดที่ควรจะกระทำ ท่านก็ทำเสร็จทุกประการ แล้วจึงจากเวฬุวันพร้อมพระสงฆ์เป็นอันมาก เดินทางไปยังกุกกุฏบรรพต ไปถึงเมื่อเวลาเย็น แล้วท่านก็แสดงปาฎิหาริย์ต่าง ๆ พลางเทศนาโปรดมหาชนทั้งปวง ให้ลุล่วงเข้าสู่อริยภูมิเป็นอันมาก

จากนั้นท่านได้อำลาพระสงฆ์ทั้งหลายว่า ให้อุตสาห์เจริญสมณธรรม อย่าประมาทในคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เราจะลาท่านทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานแล้ว จากนั้นท่านจึงเข้าไปสู่ระหว่างภูเขาทั้งสามลูก คิดอยู่ในใจว่าท่านจะนิพพานในปีนี้ แล้วพระมหาเถระจึงขึ้นสู่ที่ไสยาสน์ นั่งพับพะแนงเชิง เข้าสู่ผลสมาบัติ

เมื่อออกจากผลสมาบัติแล้ว จึงตั้งอธิฐานไว้ว่า ถ้าแหละท่านดับสูญสิ้นอายุสังขาร เข้าสูนิพพานแล้วเมื่อใด ภูเขาทั้งสามลูกนี้จงมาประชุมกันเป็นลูกเดียว ให้ปรากฏเป็นห้องหับอยู่ภายในภูผา อุปมาดังห้องที่ไสยาสน์




เมื่อพระเจ้าอชชาตศัตรูมาทรงกระทำสักการะ ก็ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกนี้เปิดออก เพื่อให้พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทอดพระเนตร จากนั้นขอจงกลับปิดดังเดิม

พระมหาเถระได้ตั้งอธิฐานอีกว่า ตั้งแต่บัดนี้ไป มนุษย์ทั้งหลายอายุจะน้อยถอยลงทุกที ตราบเท่าถึง ๑๐ ปี อายุขัย กาลครั้งนั้นจะเกิดการฆ่าฟันกันตาย เกิดมิคสัญญี มนุษย์ทั้งหลายเห็นกันสำคัญว่าเป็นเนื้อ ต่างเข้าไล่ฆ่าฟันกันตายจนสิ้นสุด ยังเหลืออยู่แต่มนุษย์ ที่หนีไปหลบซ่อนอยู่ผู้เดียว จึงอยู่ได้ ครั้งต่อมาบรรดาผู้ที่หลบซ่อนนั้น ออกมาพบกันบังเกิดเมตตาต่อกัน ประพฤติแต่สุจริตธรรม เมื่อสืบเชื้อสายกันต่อมา ก็มีอายุเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนถึงอสงไขยเป็นที่สุด คนทั้งหลายก็ประมาทมิได้ประพฤติธรรม อายุก็ลดน้อยถอยลงจนเหลือ ๘ หมื่นปี

ในกาลครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระเมตไตรย พระองค์จะเสด็จมา ณ ที่นี้ แล้วตรัสบอกแก่พระสงฆ์ว่า ท่านผู้นี้เป็นสาวกผู้ใหญ่ในศาสนาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามปรากฏว่า อริยกัสสปเถระ ถือธุดงค์ได้สิ้นทั้ง ๑๓ ประการ ตราบเท่าสิ้นชีวิตของท่านคือ ถือบังสุกุลิกธุดงค์ เตจีวริกธุดงค์ บิณฑบาติกาธุดงค์ สัปปทานจาริกธุดงค์ เอกาสนิกธุดงค์ ปัตตบินฑิกธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ อารัญญิกธุดงค์ รุกขมลิกธุดงค์ อัพโภกาสิกธุดงค์ โสสานิกธุดงค์ ยถาลันตติกธุดงค์ เนสัชชิกธุดงค์ ตั้งแต่วันอุปสมบทมา ตราบเท่าถึงวันเข้าพระนิพพาน




พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น จากนั้นเพลิงก็จักบันดาลลุกโพลงขึ้นเอง เผาผลาญสรีระให้สูญสิ้นไป

เมื่อพระมหากัสสปเถระอธิฐานแล้ว จึงเอนองค์ลงเหนือแท่นที่ไสยาสน์โดยบุรพเบื้องทักขิณา ลำดับหัตถบาทเป็นระเบียบ หันพระเศียรสู่อุดรทิศา ก็ดับเบญจขันธ์ เข้าสู่นิพพาน สูญสิ้นทั้งวิบากขันธ์และกรรมมัชรูปไม่เหลือ มิได้สืบต่อรูปกายให้ปรากฏในภพหน้า ก็ปรากฏชื่อว่า อนุปาทิเสสปรินิพพาน

พระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อทราบข่าวพระมหากัสสปเถระนิพพานก็เศร้าโศกเสียพระทัยยิ่งนัก และได้เดินทางไปเคารพศพพระมหาเถระ

ทรงให้จัดการสมโภชพระมหาเถระ ๗ วัน เมื่อครบกำหนดแล้วจึงได้เสด็จกลับคืนสู่พระนคร พระเจ้าอชาตศัตรูรักษาศีลบำเพ็ญทานเป็นเนืองนิจ ด้วยพระทัยคิดถึงคำสอนแห่งพระมหาเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์ 


สรีระพระมหากัสสปเถระนั้น ทุกวันนี้ก็ยังปรากฏเป็นปรกติมิได้เปื่อยเน่า เครื่องสักการบูชาก็ยังตั้งอยู่เป็นปรกติ มิได้ดับสูญไป






พระมหากัสสปเถระไม่ได้มีความคิดที่จะไปรบกวนให้พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้ เสด็จมาสลายร่างของท่านแต่อย่างใด แต่ที่ท่านต้องอธิษฐานจิตเช่นนั้น ก็เป็นเพราะท่านได้เห็นถึงบุพกรรมในอดีตที่ตัวท่านและพระศรีอริยเมตไตร ได้เคยกระทำกรรมร่วมกันมา กล่าวคือ ในสมัยที่ตัวท่านเกิดเป็นช้างมงคลพระที่นั่ง ส่วนพระศรีอริยเมตไตร เกิดเป็นนายหัตถาจารย์ ดังนั้น เมื่อเรื่องราวทั้งหมดยังตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม  แม้แต่ผู้ที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระศรีอริยเมตไตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถที่จะพ้นจากวิบากกรรมในอดีตที่แต่ละพระองค์ทรงเคยกระทำผิดพลาดเอาไว้ได้


ชขอขอบคุณภาพจาก
http://www.dmc.tv/pages/latest_update/20110105-พระมหากัสสปะตรวจดูอายุสังขาร_LEFT.html

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-mahakassapa-06.htm

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเก็บพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ ๒



ดอกบุนนาค

พระราชาอชาตศัตรู ทรงเปลื้องเครื่องประดับทั้งหมดบูชา  ทรงเปิดประตูทองแดงแล้วเสด็จออกมา ทรง
คล้องตราพระราชลัญจกร ( เครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ ) ไว้ที่ประตู ทรงวางแท่งแก้วมณีแท่งใหญ่ไว้ที่ตรงนั้น  แล้วโปรดให้จารึกอักษรว่า

ในอนาคตกาลครั้งแผ่นดินพระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมา ณ ที่นี้ จงถือเอาแท่งแก้วมณีนี้ ทำลายดวงตรา แล้วเปิดประตูเข้าไปกระทำสักการะพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายเถิด

ท้าวสักกะเทวราช เรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า
พ่อเอย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเก็บพระบรมธาตุแล้ว  เธอจงตั้งกองรักษาการณ์ไว้ที่นั้น



ดอกบุนนาค

วิสสุกรรมเทพบุตรประกอบรูปหุ่นยนต์มีโครงร่างร้าย ถือพระขรรค์สีแก้วผลึก รักษาบริเวณห้องพระบรมสารีริกธาตุนั้น หุ่นยนต์นั้นเคลื่อนตัวได้รวดเร็วเสมือนลม

วิสสุกรรมเทพบุตรประกอบหุ่นยนต์แล้ว ติดสลักบังคับไว้อันเดียวเท่านั้น เอาศิลาล้อมไว้โดยรอบ เสมือนเรือนสร้างด้วยอิฐ ข้างบนปิดด้วยศิลาแผ่นเดียว กลบดินเกลี่ยพื้นให้เรียบแล้วประดิษฐานสถูปหินไว้บนที่นั้น


เมื่อการเก็บพระบรมสารริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระมหากัสสปเถระ ดำรงอยู่จนตลอดอายุก็นิพพานไป พระราชาอชาตศัตรูเสด็จสวรรคตแล้ว ไปบังเกิดในโลหกุมภีนรก  พวกมนุษย์แม้เหล่านั้นต่างก็ทำกาละตามกันไป


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเก็บพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ ๑.





เจดีย์แก้วผลึกเป็นเจดีย์องค์นอกสุด บนเจดีย์แก้วผลึกนั้น โปรดให้สร้างเรือนทำด้วยรัตนะล้วน บนเรือนรัตนะนั้น

ให้สร้างเรือนทำด้วยทองคำไว้ บนเรือนทองคำนั้น ให้สร้างเรือนทำด้วยเงินไว้ บนเรือนเงินนั้นให้สร้างทำด้วยทองแดงไว้ บนเรือนทองแดงนั้น ให้โรยเมล็ดทรายทำด้วยรัตนะทั้งหมด เกลี่ยดอกไม้น้ำ ดอกไม้บกไว้ ๑๐๐๐ ดอก

โปรดให้สร้างชาดก ๕๕๐ ชาดก
สร้างพระอสีติมหาเถระ
พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระนางมหามายาเทวี
สหชาติทั้ง ๗


ทั้งหมดดังกล่าวมานี้ ล้วนทำด้วยทองคำทั้งสิ้น แล้วโปรดให้ตั้งหม้อน้ำเต็ม ที่ทำด้วยทองและเงินอย่างละ ๕๐๐ หม้อ  ให้ยกธงทอง ๕๐๐ ธง ให้ทำประทีปทอง ๕๐๐ ดวง ประทีบเงิน ๕๐๐ ดวง ทรงใส่ไส้ผ้าเปลือกไม้ไว้ในประทีปเหล่านั้น บรรจุด้วยน้ำมันหอม




ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ อธิษฐานว่า ขอดอกไม้อย่าเหี่ยว กลิ่นหอมอย่าหาย ประทีบอย่าหมดเชื้อ
 แล้วให้จารึกอักษรไว้บนแผ่นทองว่า

ในอนาคตกาล ครั้งพระกุมารพระนามว่าอโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชา ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลายไป ดังนี้


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์





หลังจากการสังคายนาครั้งแรกเสร็จสิ้นแล้ว  ในกาลต่อมาพระกัสสปเถระพิจารณาเห็นอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นแก่พระบรมสารีริกธาตุ  ในอนาคต จึงไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า

มหาบพิตร พระองค์ควรเก็บพระบรมสารริกธาตุ  มารวมไว้ที่กรุงราชคฤห์

พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสว่า
 ดีละ กิจในการเก็บพระบรมสารริกธาตุนั้นเป็นกิจของโยม  แต่ว่าโยมจะนำพระบรมธาตุเหล่านั้นมาได้อย่างไร
พระมหากัสสปะทูลว่า
การจะไปนำพระบรมธาตุนั้นเป็นภาระของพวกอาตมภาพเอง




 พระเถระได้ไปอัญเชิญพระบรมธาตุจากราชตระกูลทั้ ๗ นั้น  มาประดิษฐานรวมไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งทางทิศอาคเนย์ แห่งกรุงราชคฤห์
ส่วนพระบรมธาตุในรามคาม เหล่านาคเก็บรักษาไว้ ด้วยพระเถระเห็นว่า ต่อไปในอนาคต พญานาคจะเชิญพระบรมธาตุเหล่านี้ ไปประดิษฐานไว้ในพระมหาเจดีย์ ในมหาวิหารลังกาทวีป


พระราชามีรีับสั่งให้ขุดที่นั้นลึก ๘๐ ศอก  คุ้ยดินออกจากที่นั้น ให้ก่ออิฐแทน โปรดให้ปูเครื่องลาดโลหะไว้ภายใต้ สร้งพระสถูปไว้อย่างละ ๘ ครั้งนั้น พระราชาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไว้ในผอบจันทน์เหลือง ทรงใส่ผอบจันทน์เหลืองนั้น ลงในผอบจันทน์เหลืองอีกใบหนึ่ง ทรงรวมผอบจันทน์เหลือง ๘ ใบไว้ในใบเดียวกัน

ด้วยวิธีการนั้น ทรงบรรจุไว้ในสถูปจันทน์แดง  สถูปงา สถูปรัตนะ สถูปทองคำ  สถูปเงิน สถูปมณีี สถูปทับทิม  สถูปแก้วลาย  และสถูปแก้วผลึก  อย่างละ ๘  โดยแนวเดียวัน


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องพระอานนท์ร่วมการทำสังคายนาครั้งแรก





หลังจากพระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดา ขณะเสด็จกลับกรุงราชคฤห๋แวะประทับที่อนุปิยอัมพวัน
 เจ้าชายอานนท์พระราชโอรสพระเจ้าสุกโกทนะ กับพระนางกีสาโคตมี  ซึ่งตามลำดับศายวงศ์ เจ้าชายอานนท์เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระบรมศาสดาและเป็นสหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร

เจ้าชายอานนท์พร้อมด้วยพระราชวงศ์ ๕ พระองค์และอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระผู้มีพรพภาคเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา 

พระอานนท์ได้ฟังธรรมกถาของท่านปุณณมันตานีบุตร ผู้เป็นหลานของพระอัญญาโกณทัญญะ พระอานนท์ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

ในพรรษาที่ ๒๐ พระพุทธองค์ทรงตั้งพระอานนท์ให้เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ในการอุปัฏฐาก มีความจงรักภักดีในพระบรมศาสดา แม้ชีวิตก็สละเพื่อพระพุทธองค์ได้ เป็นผู้มีความทรงจำธรรมอันน่าอัศจรรย์ เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมของพระศาสดา ทั้งที่ยังเป็นพระเสขะอยู่ (ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ )

เมื่อเหล่าภิกษุสงฆ์ขอให้พระมหากัสสปเถระเลือกพระอานนท์เป็นภิกษุสงฆ์องค์ที่ ๕๐๐ ในการทำสังคายนานั้น
พระมหากัสสปเถระเลือกให้พระอานนท์เป็นผู้วิสัชชนาพระธรรม ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก



ครั้งนั้นเมื่อก่อนวันทำสังคายนา พระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้จะทำสังคายนาพระธรรมวินัย เรายังเป็นเสขบุคคลอยู่ การไปประชุมร่วมกับพระเถระผู้เป็นอเสขะ เป็นสิ่งไม่สมควรเลย บังเกิดความอุตสาหะเจริญกายคตาสติ พากเพียรเป็นอันมากตลอดราตรีนั้น จงกรมอยู่จนล่วงมัชฌิมยาม ดำริว่าเราอาจจะทำความเพียรมากเกินไป จึงลงจากที่จงกรมในเวลาใกล้รุ่ง เข้าไปสู่วิหารด้วยประสงค์จะพักผ่อน ขณะที่กำลังเอนกายลง ศรีษะยังไม่ทันถึงหมอน เท้าทั้งสองเพียงพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้นจิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ ในคืนก่อนวันประชุมสังคายนานั้นเอง ความเป็นพระอรหันต์ของพระอานนท์  เว้นจากอิริยาบททั้ง ๔

ครั้นถึงเวลากระทำสังคายนา ภิกษุพร้อมเพรียงแล้ว พระอานนท์คิดว่า บัดนี้เป็นเวลาอันสมควรที่จะเข้าสู่ที่ประชุม เพื่อจะแสดงอานุภาพ ท่านพระอานนท์ผุดขึ้นจากพื้นดิน แสดงตนบนอาสนะในขณะนั้น (บางตำรากล่าวว่า ท่านเหาะไปทางอากาศแล้วนั่งเหนืออาสนะของท่าน)

พระมหากัสสปเถระเห็นอาการพระอานนท์ดังนั้น ทราบว่าพระอานนท์ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว มีความรู้สึกว่า
 หากพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระพุทธองค์ก็จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ บัดนี้เราจะให้สาธุการ ซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์
ดังนี้แล้ว พระมหากัสสปเถระได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การทำสังคายนาพระธรรมวินัย




ที่กรุงราชคฤห์ในสมัยนั้น
มีวัดใหญ่ ๑๘ วัดล้อมรอบ  ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ภิกษุต่างถือบาตรจีวรของตน ๆ แล้วทิ้งเสนาสนะพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อเสร็จกิจแล้ว พระเถระคิดว่า พวกเราต้องทำการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม ตลอดเดือนต้นของพรรษา เพื่อบูชาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อเปลื้องคำติเตียนของพวกเดียรถีย์ที่จะตำหนิว่า สาวกของพระโคดมบำรุงวัดวาอาราม เมื่อพระศาสดายังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็พากันทอดทิ้งเสีย





พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบ ได้พระราชทานช่างที่ทำงานฝีมือมาช่วย ได้จัดการปฏิสังขรณ์มหาวิหารใหญ่ทั้งหมด ตลอดเดือนต้นฤดูฝน

เสร็จแล้วพระเถระทูลพระราชาว่า งานปฏิสังขรณ์วัดเสร็จแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะกระทำการสังคายนาพระธรรมวินัย

พระเจ้าอชาตศัตรูมีดำรัสว่า ดีแล้ว เจ้าข้า พระคุณเจ้าทั้งหลาย การฝ่ายอาณาจักรขอเป็นหน้าที่ของโยม ส่วนการฝ่ายศาสนจักร ขอให้เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้าทัั้งหลาย

 พระเจ้าอชาตศัตรูรับสั่งให้สร้างธรรมสภา  สำหรับการสังคายนาที่ใกล้ปากถ้ำ สัตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ ตามที่พระเถระประสงค์


การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้ กระทำหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน แล้ว ๔ เดือน
หมายเหตุ มีเอกสารหลายแหล่งระบุว่าการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้ กระทำหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน แล้ว ๓ เดือน
พลอยโพยมก็ขออ้างตามข้อมูลที่นำมาจากเอกสารทีใช้อ้างอิงระบุไว้ตามนั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หลังพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน





พระอานนท์ ถือบาตรและจีวรของพระพุทธองค์   เสมืิอนเมื่อครั้งยังไม่ปรินิพพานเดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ๋  ๕๐๐ รูป  ในระหว่างทางมีภิกษุผู้เป็นบริวารมากขึ้นจนประมาณมิได้  มีเสียงร่ำไห้กันอึงมีตลอดทาง

เมื่อถึงกรุงสาวัตถี ชาวกรุงสาวัตถีต่างพากันถือดอกไม้ของหอมไปต้อนรับ ร้องไห้รำพันว่า

"ข้าแต่พระอานนท๋ผู้เจริญ  เมื่อก่อนท่านมากับพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ท่านทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน"

มีการเศร้าโศกรำพันอย่างมากเหมือนในวันที่เสด็จปรินิพพาน ฉะนั้น



ในอรรถกถา พรหมชาลสูตร กล่าวว่า

ท่านพระอานนท์สั่งสอนมหาชน  ให้เข้าใจด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น
แล้วเข้าสู่พระเชตวันวิหาร ไหว้พระคันธกุฎีที่พระพุทธองค์ประทับ เปิดประตูนำเตียงตั่งออกปัดกวาด ทิ้งขยะดอกไม้แห้ง  ท่านได้กระทำทุกอย่างอันเป็นวัตรที่ต้องปฏิบัติ เหมือนในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ ทำหน้าที่ไปพลางรำพันไปพลางว่า

 เวลานี้เวลาสรงน้ำของพระองค์ เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม  เป็นเวลาสำเร็จสีหไสยา  เป็นเวลาสรงพระพักตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้เพราะท่านยังเป็นเสชบุคคล พระอานนท์เป็นผู้มีความรักตั้งมั่นในพระศาสดา  เป็นผู้มีความผูกพันที่เคยอุปการะกันและกันมาหลายแสนชาติ




เทวดาองค์หนค่งซึ่งสถิตอยู่ ณ ป่าใหญ่ ใกล้กรุงสาวัตถีเห็นดังนั้น จึงมากล่าวเตือนพระอานนท์ว่า

"ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ หากท่านยังแต่มุ่งปลอบใจผู้อื่น และยังแสดงความอาลัยในพระตถาคตอยู่เช่นนี้ ท่านจะหาทางบำเพ็ญสมณธรรม  เพื่อความหลุดพ้นได้อย่างไร"

พระอานนท์ได้ฟังคำเตือนของเทวดา จึงพยายามระงับความเศร้าโศกลง และขอร้องให้เหล่าภิกษุสงฆ์  ช่วยกันปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมในพระเชตวันจนแล้วเสร็จ

ครั้นใกล้วันเข้าพรรษา พระอานนท์และพระเถระผู้ใหญ่ก็อำลาภิกษุสงฆ์  ออกเดินทางไปกรุงราชคฤห์ เพื่อเตรียมการสังตายนาพระธรรมวินัย


ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ