วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลาแป้นแก้ว

ปลาแป้นแก้ว



ภาพปลาแป้นแก้วยักษ์ภาพจาก http://www.biogang.net

ปลาแป้นแก้ว

ชื่ออังกฤษ: Siamese glassfish;

ชื่อวิทยาศาสตร์: Parambassis siamensis

ในวงศ์ปลาแป้นแก้ว Ambassidae

ปลาแป้นแก้วเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง



ภาพจากอินเทอร์เนท

ลักษณะทั่วไป

มีลำตัวตัวใสหรือสีขาวคล้ายสีข้าวเม่า มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบแข็งเป็นหนานแหลมอยู่ 7 ก้าน ครีบหลังอันที่สองมีเฉพาะก้านครีบฝอย ครีบก้นมีก้านครีบที่เป็นหนานแหลมอยู่ 3 ก้าน มีเกล็ดกลมบางใสและหลุดง่าย ลักษณะเนื้อโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน ตามลำตัวมีจุดสีดำอยู่ทั่วไป

ถิ่นอาศัย

มีอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง ในประเทศไทยพบมากที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ชาวบ้านในแถบกาญจนบุรีและราชบุรีเรียกปลาแป้น แต่ชาวบ้านแถบแม่น้ำเจ้าพระยาและบึงบอระเพ็ดเรียกว่าปลาข้าวเม่า ส่วนชื่อปลากระจกเป็นชื่อที่เรียกกันในหมู่พ่อค้าส่งปลาไปจำหน่ายต่างประเทศ ปลาแป้นนี้ยังพบได้ในลาว , กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์และอินโดนีเซีย



ภาพจากอินเทอร์เนท

นิสัย

นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทั่วไป รักสงบไม่รบกวนปลาอื่น เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน มักจับได้ในปริมาณทีละมาก ๆ โดยใช้แสงไฟล่อเพื่อให้ปลามากินแมลงบนผิวน้ำ

ขนาด

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร

อาหาร

กินจุลินทรีย์และตัวอ่อนของแมลงน้ำ จำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก



ปลาตัวนี้ติดมากับอวนที่รอกุ้งกะปิในลำน้ำบางปะกง เมื่อมาถึงฝั่ง ปลาก็ตายเสียแล้ว

ประโยชน์

นิยมใช้บริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยการฉีดสีเข้าไปในตัวปลาเป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีส้ม หรือสีแดง เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ปลาเรนโบว์" รือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งสีเหล่านี้ก็จะจางและซีดลงไปเองตามเวลา

ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาข้าวเม่า" หรือ "คับของ" หรือ "แว่น" ในภาษาเหนือ เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์



ภาพจากอินเทอร์เนท

วงศ์ปลาแป้นแก้ว

วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae,

อังกฤษ: Asiatic glassfish

วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง

ในอันดับปลากะพง

พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล

มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน

เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด

สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii)

มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง"

มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตราย

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย

ยังมีปลาวงศ์ปลาแป้นซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนได้

ปลาแป้นแก้วนี้ที่บางกรูดเรียกว่า ปลากระจก

1 ความคิดเห็น: