วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลาเทโพ

ปลาเทโพ



ชื่ออื่น"หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ

ชื่ออังกฤษ BLACK EAR CATFISH

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius larnaudii

อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae)

ปลาเทโพเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่คล้ายปลาสวาย



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างคล้ายปลาสวายเพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกัน มีหัวโต หน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาว ค่อนข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโต อยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ริมฝีปากบนมุมปากแห่งละคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่อยู่เหนือครีบหู



ถิ่นอาศัย

ในประเทศไทยพบว่าปลาเทโพอาศัยอยู่ในแม่น้้าสายต่าง ๆ เช่น แม่น้้าโขง แม่น้้ามูลหรือแม้แต่สาขา ของแม่น้้าเจ้าพระยาแม่น้้าปิงและยังสามารถพบได้ในอ่างเก็บน้้าขนาดใหญ่เช่นอ่างเก็บน้้าเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เคยพบชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา

ปลาเทโพจัดเป็นปลาน้้าจืดที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพงและเป็นที่ต้องการของตลาด ท้าให้ปลาเทโพที่จับได้จากธรรมชาติเหลือน้อยลง





นิสัย

รักสงบ ว่องไวปราดเปรียว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมักอยู่รวมกับปลาสวาย

อาหาร

กิน สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้, เมล็ดพืช, ปลา, หอย, แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์

ขนาด

มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร

ประโยชน์

เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง "แกงเทโพ" มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ เป็นต้น



ปัจจุบันสามารถ การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ ด้วยการผสมเทียมโดยวิธีฉีดฮอร์โมน ท้าให้มีลูกปลาออกสู่ตลาดจึงมีเกษตรกรนำมาเลี้ยงในบ่อดินและในกระชังเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิตปลาเทโพออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ปลาเทโพเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อสภาพแวดล้อมและมีปลาเทโพเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อสภาพแวดล้อมและมีราคาสูง การเลี้ยงปลาเทโพในบ่อที่น้้าไหลหรือเลี้ยงในกระชังจะได้ปลาที่มีคุณภาพ เนื้อดี กลิ่นสาบลดลง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น



ที่มาของข้อมูล

ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทยโดยสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

วิกิพีเดีย

www.fisheries.go.th/if-ubon/web2/images/download/platapo.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น