วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ๑





กาลล่วงผ่านไปจนถึงสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ในคัมภีร์มหาวงศ์กล่าวไว้ว่า

 พระเจ้าอโศก มีพระอนุชาร่วมพระมารดา (พระนางธรรมา) นามว่า ติสสะ เมื่อเจิญวัยพระราชบิดา พระเจ้าพินทุสาร ทรงแต่งตั้งให้เป็นอุปราชครองแคว้นอวันตี มีกรุงอุชเชนีเป็นเมืองหลวง หลังจากพระราชบิดาสวรรคต จึงเสด็จกลับมายังปาฏาลีบุตร ดำรงตำแหน่งพระราชา ทรงรับสังให้สำเร็จโทษพระอนุชาต่างมารดาทั้งปวง ยกเว้นติสสกุมารซึ่งเป็๋นพระอนุชาร่วมพระมารดาแต่ผูเดียว


เมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ ๔ ปี  จึงกระทำการราชาภิเษก ทรงตั้งติสสกุมารในตำแหน่งอุปราช ระยะแรกที่ขึ้นครองราชย์ พระเจ้าอโศกทรงบริจาคทานแก่เหล่าพราหมณ์ และปริพาชกตามที่พระราชบิดาเคยกระทำมา




วันหนึ่งพระราชาประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นนักบวชเหล่านั้นบริโภคอาหารด้วยมารยาทไม่เรียบร้อย ไม่มีความสำรวมอินทรีย์ จึงรับสั่งให้เชิญนักบวชเหล่านั้นเข้ามาในพระราชนิเวศน์ พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ทรงทราบได้ว่านักบวชเหล่านั้นไม่ทีธรรมะเป็นสาระใด ๆ เลย พระราชาจึงถวายของที่ควรแก่การบริโภคแก่นักบวชเหล่านั้นแล้วส่งกลับไป


เวลาล่วงไป วันหนึ่ง ขณะประทับอยู่บนปราสาท พระราชาทอดพระเนตรเห็นสามเณรรูปหนึ่ง มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบท กำลังเดินผ่านไปทางลานหลวง ทรงพอพระทัย ดำริว่าสามเณรน้อยนี้ น่าจักมีโลกุตตรธรรมแน่นอน ทรงบังเกิดความเลื่อมใสและความรักในสามเณร สมจริงดังคำพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
 ความรักย่อมเกิดเพราะเหตุ ๒ ประการคือ
เพราะการอยู่ร่วมกันในภพก่อน ๑
เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑


สามเณรรูปนั้นคือ นิโครธสามเณร โอรสของสุมนราชกุมาร ราชบุตรองค์โตของพระเจ้าพินทุสารกับพระันางสุมนา ที่พระเจ้าอโศกสั่งประหารก่อนขึ้นครองราชย์ พระมหาวรุณเถระให้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๗ ขวบล ซึ่งได้สำเร็จอรหัตตผลในขณะที่กำลังปลงผม

ขอขอบคุณข้อมูลจากพระพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สุรีย์ มีผลกิจ-วิเชียร มีผลกิจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น